måndag 25 maj 2015

ข่าวทั่วไป เรื่องราวของสังคมที่เต็มไปด้วยปัญหาวุ่นวายไร้อนาคตหาทางออกไม่ได้ สังคมที่ประชาชนถูกปล้นสิทธิเสรีภาพ ถูกปิดหู ปิดตา ปิดปาก ไร้สิทธิไร้เสียง ทุกชีวิตตกอยู่ภายใต้อำนาจของปลายกระบอกปืนทหารที่ทั้งขู่ทั้งบังคับไม่ให้ต่อต้านร่าง"รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนวยอวยเจ้า" ของแก็งค์มาเฟียรับใช้ระบอบภูมิพล ..ถามแล้วสังคมจะปรองดองอยู่กันสงบสุขได้อย่างไร?..

มติชนออนไลน์



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432522426








คลิกอ่านรายละเอียด http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432539793
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล : ประชามติกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ประชามติที่ดีนั้นต้องเกิดขึ้นจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่นำมาขอประชามติ และจะต้องเป็นความคิดเห็นที่บริสุทธิ์ ปราศจากการชี้นำเพื่อผลประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นประชามติที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน คุ้มค่ากับเวลาและงบประมาณที่เสียไปในการทำประชามตินั้น




คลิกอ่านบทความฉบับเต็ม -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1432546096
ระบบราชการ โดย ปราปต์ บุนปาน
ถ้าถามว่า คสช.ยังเชื่อมั่นในระบบราชการอยู่หรือไม่? ขออนุญาตเดาแทนว่า น่าจะยังเชื่อมั่นอยู่
แต่ยิ่งเชื่อมั่น ก็ยิ่งต้องจ้ำจี้จ้ำไช

ยิ่งเชื่อมั่น ก็ยิ่งต้องเข้มงวดและแม้จะเชื่อมั่นกับระบบ ทว่าก็คงเริ่มไม่เชื่อในตัวคน ซึ่งทำงานอยู่ในระบบดังกล่าว มากขึ้นเรื่อยๆ  ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ มาสอดส่อง ดูแล ตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอย่างใกล้ชิดอีกต่อหนึ่ง
จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจ "วิเศษ" ตามรัฐธรรมนูญ ม.44 มาช่วยเร่งรัดกระบวนการทำงานของระบบราชการ และลัดขั้นตอนการปรับย้ายข้าราชการ
จึงจำเป็นต้องชำระล้าง "ข้าราชการไม่ดี" ออกไป
อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า แม้จะมีการจัดทัพข้าราชการบ่อยครั้งกว่าปกติ ภายในช่วงเวลาเพียงแค่ปีเดียว (เผลอๆ อาจบ่อยกว่ารัฐบาลของนักการเมืองอีก)
แต่เหนือขึ้นไปกว่าข้าราชการเหล่านั้น ก็มี คสช. และ ครม. (ที่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ เลย จนน่าแปลกใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าในรัฐบาลชุดนี้ มีการโยกย้ายปลัดกระทรวงบ่อยครั้งกว่าการปรับคณะรัฐมนตรี) รวมถึงองค์กรที่รวมกันได้เป็น "แม่น้ำห้าสาย" ซึ่งยังคงตั้งมั่นอยู่ในอำนาจ
ลึกไปกว่านั้น ยังคงมี "กองทัพ" อันเป็นภาพลักษณ์ตัวแทนของข้าราชการน้ำดี (และ "ไม่มี" การตรวจสอบซึ่งบ่งชี้ว่าทหารไม่ซื่อสัตย์สุจริต) ที่ดำรงอำนาจเป็น "แกนกลาง" ของระบบราชการ อยู่อย่างเข้มแข็งมั่นคงต่อไป







คลิกอ่าน-มหาดไทย ลั่น! ไม่ว่าใครก็ยุบ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้

รูปภาพของ บีบีซีไทย - BBC Thai

บีบีซีไทย - BBC Thai
กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง-กฎหมาย ยื่นข้อเสนอแก้ไขร่าง รธน.ยืนยันต้องได้รัฐบาลที่เข้มแข็งก่อนสร้างกลไกตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ย้ำนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. ส่วน ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
วันนี้นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีประเด็นเสนอขอแก้ไข 129 ประเด็น
นายสมบัติ บอกกับบี...บีซีไทยว่าจุดประสงค์ในการยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมก็เพื่อให้ปรับโครงสร้างรัฐธรรมนูญทั้งหมด และทำให้รัฐธรรมนูญมีความกะทัดรัดมากขึ้น ส่วนรายละเอียดต่าง ๆ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ระบุไว้ในเวลานี้ ให้นำไปใส่ไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแทน
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า จุดประสงค์ของการเสนอแก้ไขก็เพื่อให้ได้รัฐบาลที่เข้มแข็ง ก่อนจะไปสร้างกลไกการตรวจสอบใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ตัวนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็น ส.ส. ซึ่งเป็นหลักการที่ปกครองโดยประชาชน หากนำคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย และยังก้าวถอยหลัง
“ในส่วนของ ส.ว.นั้น ในเมื่อประชาชนต้องการเลือกตั้งแม้จะยังไม่เข้าใจในหลักการดีพอ ขณะเดียวกันกรรมาธิการยกร่างฯ กำหนดให้ ส.ว.มีอำนาจเหนือสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิ์เสนอร่างกฎหมายเช่นเดียวกับ ส.ส. และยังมีอำนาจตรวจสอบรับรองผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ส.ว.ก็ควรจะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต้องการให้ ส.ว.เสนอกฎหมายปฏิรูป ผมอยากทราบว่าจะเสนอปฏิรูปกันไปนานแค่ไหน หลังจากนั้นแล้ว ส.ว.จะเสนอกฎหมายอะไรอีก การร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องที่ต้องคิดและมองไปในระยะยาว”
สำหรับประเด็นหลักอื่น ๆ ที่ยื่นเสนอแก้ไข อาทิ ให้จัดการเลือกตั้งแบบสัดส่วนคู่ขนาน แทนระบบสัดส่วนผสม โดย ส.ส.500 คน จะมาจาก ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน เป็นต้น
ทั้งนี้ นอกจาก สปช.แล้ว ในวันนี้ คสช.และคณะรัฐมนตรีได้ส่งคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ แล้วเช่นกัน
คลิก-ดูเพิ่มเติม





คลิกดูเพิ่ม-matichononline - Visa översättning






Inga kommentarer:

Skicka en kommentar