ควันหลงจากเยอรมันนีนิดหน่อยครับ ภาพบนเป็นบริเวณ Checkpoint Charlie ถ่ายเมื่อวันที่ 22 พค.ที่ผ่านมา ส่วนภาพล่างเป็นภาพในอดีตของบริเวณใกล้เคียงกันแต่คนละมุมซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นจุดผ่านเข้าออกระหว่างเขตของรัสเซียกับเขตของสหรัฐอเมริกาในกรุงเบอร์ลิน
ผมเคยไปที่จุดนี้ 2 ครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2530 ในช่วงเป็นสส.สมัยแรก ได้มีโอกาสข้ามไปมาระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตกด้วย ในขณะนั้นบรรยากกาศค่อนข้างทะมึนน่ากลัวพอสมควร ไม่มีวี่แววว่าเยอรมันตะวันตกและตะวันออกจะรวมกันได้ แต่ต่อมาอีก 3 ปี...เยอรมันนีก็รวมเป็นประเทศเดียวกันได้สำเร็จโดยสันติ
หลังจากเยอรมันรวมประเทศได้ไม่นาน ยังจำได้ดีว่าวันหนึ่งมีเพื่อนคนหนึ่งกลับจากต่างประเทศและมีโอกาสได้แวะกรุงเบอร์ลินแล้วมาเยี่ยมผมที่บ้าน บอกว่ามีของที่ระลึกมาฝากเป็นของชิ้นเล็กๆห่อกระดาษ แกะออกมาเป็นหินก้อนเล็กๆซึ่งเป็นชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินที่เคยกั้นระหว่างเยอรมันตะวันตกและตะวันออกไว้เป็นเวลาประมาณ 40 ปี
ผมได้มีโอกาสได้คุยกับปัญญาชนชาวเยอรมันคนหนึ่ง เขาเล่าว่าเมื่อประมาณ 3-4 เดือนก่อนกำแพงเบอร์ลินจะถูกทลายลง เขาซึ่งเป็นชาวเยอรมันตะวันตกคุยกับเพื่อนซึ่งเป็นปัญญาชนชาวเยอรมันตะวันออกและมีความเห็นร่วมกันว่าเยอรมันที่ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนกว่าจะรวมกันได้คงใช้เวลาอีกสัก 10-20 ปี แต่ผ่านไป 3-4 เดือนก็เกิดการรวมประเทศอย่างที่พวกเขาเองก็คาดไม่ถึง
นึกถึงสิ่งที่ผู้รักประชาธิปไตยและรักสันติของเยอรมันนีต้องเผชิญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งเกิดการรวมประเทศได้ มีอะไรที่น่าคิด น่าศึกษาไม่น้อยเลยครับ
ผมได้มีโอกาสได้คุยกับปัญญาชนชาวเยอรมันคนหนึ่ง เขาเล่าว่าเมื่อประมาณ 3-4 เดือนก่อนกำแพงเบอร์ลินจะถูกทลายลง เขาซึ่งเป็นชาวเยอรมันตะวันตกคุยกับเพื่อนซึ่งเป็นปัญญาชนชาวเยอรมันตะวันออกและมีความเห็นร่วมกันว่าเยอรมันที่ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนกว่าจะรวมกันได้คงใช้เวลาอีกสัก 10-20 ปี แต่ผ่านไป 3-4 เดือนก็เกิดการรวมประเทศอย่างที่พวกเขาเองก็คาดไม่ถึง
นึกถึงสิ่งที่ผู้รักประชาธิปไตยและรักสันติของเยอรมันนีต้องเผชิญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งเกิดการรวมประเทศได้ มีอะไรที่น่าคิด น่าศึกษาไม่น้อยเลยครับ
คลิก-ดูเพิ่มเติม
คุยกับชาวเยอรมันที่เขาบังเอิญติดตามเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยเราพอสมควร ถามเขาเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งของเขา เขาก็เลยให้ข้อมูลแบบเป็นข้อสรุปที่เขาคงเห็นว่าเกี่ยวข้องกับประเด็นที่มีการอ้างว่ากำลังจะเอาระบบของเขามาใช้
เขาบอกว่าระบบการเลือกตั้งที่ประเทศเขานำมาใช้นั้นต้องการแก้ปัญหาทางการเมืองก่อนหน้านั้นคือพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคใหญ่ได้เสียงพอสมควรแต่ไม่ค่อยได้ที่นั่งจึงนำระบบบัญชีรายชื่อมาใช้เพื่อให้พรรคเหล่านั้นมีโอกาสได้ที่นั่งมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ต้องการให้มีพรรคข...นาดเล็กจำนวนมากเกินไป จึงกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้เสียงน้อยกว่านั้นก็่จะไม่ได้ที่นั่งในแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ
เขาบอกว่าระบบการเลือกตั้งที่ประเทศเขานำมาใช้นั้นต้องการแก้ปัญหาทางการเมืองก่อนหน้านั้นคือพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคใหญ่ได้เสียงพอสมควรแต่ไม่ค่อยได้ที่นั่งจึงนำระบบบัญชีรายชื่อมาใช้เพื่อให้พรรคเหล่านั้นมีโอกาสได้ที่นั่งมากขึ้น
แต่ขณะเดียวกันเขาก็ไม่ต้องการให้มีพรรคข...นาดเล็กจำนวนมากเกินไป จึงกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้เสียงน้อยกว่านั้นก็่จะไม่ได้ที่นั่งในแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ
เจตนาของเขาคือต้องการให้ระบบพรรคการเมืองเข้มแข็ง
ในระบบของเขาไม่มีการสมัครรับเลือกตั้งโดยสังกัดกลุ่มการเมือง สมัครเป็นบุคคลโดยไม่ต้องสังกัดพรรคได้ แต่ตั้งแต่มีการเลือกตั้งกันมา เพิ่งมีผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งไปเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะระบบของเขาและประชาชนเยอรมันให้ความสำคัญกับระบบพรรคการเมือง
ไม่มีระบบโอเพ่นลิสต์ที่ให้ผู้ออกเสียงเลือกบัญชีได้พร้อมกับรายบชื่อผู้สมัครเพียงชื่อเดียว
นายกรัฐมนตรีของเขามาจากการเลือกตั้ง
ที่เขาแบ่งบัญชีรายชื่อออกเป็นหลายบัญชีไม่ใช่ทั้งประเทศบัญชีเดียวเพราะเขามีการปกครองแบบสหพันธรัฐ มีความสัมพันธ์ทางการบริหาร ปกครองระหว่างประชาชนกับผู้บริหารหรือผู้ออกกฎหมายในแต่ละรัฐซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ไม่ได้แบ่งการปกครองออกเป็นรัฐๆอย่างเขา
ก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง เห็นว่ายังเป็นประเะด็นที่สนใจกันอยู่พอดีด้วยครับ
ในระบบของเขาไม่มีการสมัครรับเลือกตั้งโดยสังกัดกลุ่มการเมือง สมัครเป็นบุคคลโดยไม่ต้องสังกัดพรรคได้ แต่ตั้งแต่มีการเลือกตั้งกันมา เพิ่งมีผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งไปเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะระบบของเขาและประชาชนเยอรมันให้ความสำคัญกับระบบพรรคการเมือง
ไม่มีระบบโอเพ่นลิสต์ที่ให้ผู้ออกเสียงเลือกบัญชีได้พร้อมกับรายบชื่อผู้สมัครเพียงชื่อเดียว
นายกรัฐมนตรีของเขามาจากการเลือกตั้ง
ที่เขาแบ่งบัญชีรายชื่อออกเป็นหลายบัญชีไม่ใช่ทั้งประเทศบัญชีเดียวเพราะเขามีการปกครองแบบสหพันธรัฐ มีความสัมพันธ์ทางการบริหาร ปกครองระหว่างประชาชนกับผู้บริหารหรือผู้ออกกฎหมายในแต่ละรัฐซึ่งต่างจากประเทศไทยที่ไม่ได้แบ่งการปกครองออกเป็นรัฐๆอย่างเขา
ก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง เห็นว่ายังเป็นประเะด็นที่สนใจกันอยู่พอดีด้วยครับ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar