พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: คัดค้านประชามติ คว่ำบาตรทุกอย่างคือ ไม่ทำอะไรสักอย่าง!
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558
ถึงวันนี้ เริ่มมีแนวโน้มแล้วว่า อาจจะมีประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญ 2558 เมื่อทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่างมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เห็นควรให้มีประชามติ ส่วนคำถามที่ว่า ถ้าผลของประชามติเป็น “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” แล้วจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไรนั้น ดูเหมือนจะมี “ทางเลือก” อยู่เพียงสองทางคือ ให้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งในอดีตมาปรับใช้ หรือให้คณะกรรมาธิการทำการยกร่างใหม่ทั้งฉบับอีกรอบหนึ่ง
แต่ยังมีข้อเสนอจากนักการเมืองและประชาชนแยกเป็นสามแนวทางคือ ให้นำรัฐธรรมนูญ 2550 (ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์) หรือรัฐธรรมนูญ 2540 (นักการเมืองบางคนในพรรคเพื่อไทย) มาปรับใช้ หรือให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (ข้อเสนอของกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย)
อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยืนยันให้คว่ำบาตรกระบวนการทั้งหมดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ซึ่งก็คือ คว่ำบาตรประชามติ คว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ และคว่ำบาตรการเลือกตั้ง รวมทั้ง เรียกร้องกดดันให้พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคร่วมกันคว่ำบาตรกระบวนการข้างต้นทั้งหมดด้วย
เหตุผลของแนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” คือ เป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และผลพวงทั้งหมด ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งกระบวน
แน่นอนว่า ผู้ที่รักประชาธิปไตยจะต้องคัดค้านรัฐประหาร รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังกระทำกันอยู่ แต่การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จะไปบรรลุผลที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
เหตุผลของแนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” คือ เป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และผลพวงทั้งหมด ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งกระบวน
แน่นอนว่า ผู้ที่รักประชาธิปไตยจะต้องคัดค้านรัฐประหาร รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังกระทำกันอยู่ แต่การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จะไปบรรลุผลที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
ข้ออ้างที่ว่า “ปฏิเสธรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็เป็นเพียงโวหารที่ว่างเปล่า เพราะความเป็นจริงในชีวิตนั้นเป็นตรงข้ามคือ ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางคนต้องหลบหนีไปต่างประเทศ หลายคนถูกเรียกตัว ควบคุมตัว มีคดีในศาล ส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่เคยทำและอยู่อย่างหวาดระแวง นี่คือผลที่เป็นจริงของรัฐประหารและมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบก็ต้องจำยอมโดยดุษฎี แม้ปากจะยืนยันว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็ตาม!
การเสนอแนวทางแบบสุดโต่งที่ “ปฏิเสธทุกอย่าง คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้น ฟังดูดี “มีหลักการ” และ “ถูกใจ” ผู้คนจำนวนหนึ่งก็เพราะเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับอารมณ์โกรธและผิดหวังที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ผู้รักประชาธิปไตยปัจจุบัน
การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” แม้จะฟังดูดีในทางการเมือง แต่ผลทางปฏิบัติก็คือ การปล่อยให้กระบวนการของรัฐธรรมนูญชั่วคราวดำเนินไปอย่างลื่นไหลจนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยไร้อุปสรรคใด ๆ นั่นเอง เพราะภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของมาตรา 44 การคว่ำบาตรทุกอย่างดังว่าก็คือการที่คนจำนวนหนึ่งบอกกับตัวเองว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหาร” แล้วก็ไม่ทำอะไร เป็นการมัดมือมัดเท้าและปิดประตูตัวเองออกไปจากการต่อสู้ทางการเมืองในขณะนั้น ขณะที่ประชาชนส่วนข้างมากไม่ได้รับรู้อะไรนอกจากเฝ้าดูกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ จนมีการเลือกตั้ง
ตีพิมพ์ครั้งแรกใน “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2558
ถึงวันนี้ เริ่มมีแนวโน้มแล้วว่า อาจจะมีประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญ 2558 เมื่อทั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่างมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า เห็นควรให้มีประชามติ ส่วนคำถามที่ว่า ถ้าผลของประชามติเป็น “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” แล้วจะต้องดำเนินการต่อไปอย่างไรนั้น ดูเหมือนจะมี “ทางเลือก” อยู่เพียงสองทางคือ ให้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งในอดีตมาปรับใช้ หรือให้คณะกรรมาธิการทำการยกร่างใหม่ทั้งฉบับอีกรอบหนึ่ง
แต่ยังมีข้อเสนอจากนักการเมืองและประชาชนแยกเป็นสามแนวทางคือ ให้นำรัฐธรรมนูญ 2550 (ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์) หรือรัฐธรรมนูญ 2540 (นักการเมืองบางคนในพรรคเพื่อไทย) มาปรับใช้ หรือให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งเพื่อยกร่างใหม่ทั้งฉบับ (ข้อเสนอของกลุ่มเรียกร้องประชามติที่เป็นประชาธิปไตย)
อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ยืนยันให้คว่ำบาตรกระบวนการทั้งหมดของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ซึ่งก็คือ คว่ำบาตรประชามติ คว่ำบาตรรัฐธรรมนูญ และคว่ำบาตรการเลือกตั้ง รวมทั้ง เรียกร้องกดดันให้พรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคร่วมกันคว่ำบาตรกระบวนการข้างต้นทั้งหมดด้วย
เหตุผลของแนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” คือ เป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และผลพวงทั้งหมด ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งกระบวน
แน่นอนว่า ผู้ที่รักประชาธิปไตยจะต้องคัดค้านรัฐประหาร รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังกระทำกันอยู่ แต่การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จะไปบรรลุผลที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
เหตุผลของแนวทาง “คว่ำบาตรทุกอย่าง” คือ เป็นการปฏิเสธรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และผลพวงทั้งหมด ซึ่งก็คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งกระบวน
แน่นอนว่า ผู้ที่รักประชาธิปไตยจะต้องคัดค้านรัฐประหาร รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำลังกระทำกันอยู่ แต่การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้นก็ไม่ใช่วิธีการที่จะไปบรรลุผลที่เป็นจริงในทางปฏิบัติ
ข้ออ้างที่ว่า “ปฏิเสธรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็เป็นเพียงโวหารที่ว่างเปล่า เพราะความเป็นจริงในชีวิตนั้นเป็นตรงข้ามคือ ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บางคนต้องหลบหนีไปต่างประเทศ หลายคนถูกเรียกตัว ควบคุมตัว มีคดีในศาล ส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนกิจกรรมที่เคยทำและอยู่อย่างหวาดระแวง นี่คือผลที่เป็นจริงของรัฐประหารและมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบก็ต้องจำยอมโดยดุษฎี แม้ปากจะยืนยันว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหารและรัฐธรรมนูญชั่วคราว” ก็ตาม!
การเสนอแนวทางแบบสุดโต่งที่ “ปฏิเสธทุกอย่าง คว่ำบาตรทุกอย่าง” นั้น ฟังดูดี “มีหลักการ” และ “ถูกใจ” ผู้คนจำนวนหนึ่งก็เพราะเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับอารมณ์โกรธและผิดหวังที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ผู้รักประชาธิปไตยปัจจุบัน
การ “คว่ำบาตรทุกอย่าง” แม้จะฟังดูดีในทางการเมือง แต่ผลทางปฏิบัติก็คือ การปล่อยให้กระบวนการของรัฐธรรมนูญชั่วคราวดำเนินไปอย่างลื่นไหลจนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยไร้อุปสรรคใด ๆ นั่นเอง เพราะภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของมาตรา 44 การคว่ำบาตรทุกอย่างดังว่าก็คือการที่คนจำนวนหนึ่งบอกกับตัวเองว่า “ไม่ยอมรับรัฐประหาร” แล้วก็ไม่ทำอะไร เป็นการมัดมือมัดเท้าและปิดประตูตัวเองออกไปจากการต่อสู้ทางการเมืองในขณะนั้น ขณะที่ประชาชนส่วนข้างมากไม่ได้รับรู้อะไรนอกจากเฝ้าดูกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ จนมีการเลือกตั้ง
คลิกอ่านเพิ่มทั้งหมด-พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: คัดค้านประชามติ คว่ำบาตรทุกอย่างคือ ไม่ทำอะไรสักอย่าง!
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar