โดย Pitbull 2013
16.10 น. เวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน
ผู้นำจีนชม"นายกฯปู"ฝ่าวิกฤตน้ำท่วมใหญ่-เศรษฐกิจการเงินโลก แนะตั้ง“ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย” ด้านนายกฯไทยขอเสียงจีนหนุนชิงเก้าอี้สมาชิกไม่ถาวรใน"ยูเอ็นเอสซี
โดยนายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีจีนกล่าวชื่นชมบทบาทสำคัญของนายกรัฐมนตรีที่ทุ่มเทพัฒนาความ สัมพันธ์กับจีนในทุกด้าน ขณะเดียวกันสามารถนำพาประเทศไทยผ่านวิกฤตต่าง ๆ เช่น อุทกภัย วิกฤตการเงินโลก เป็นต้น ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีต่อนายสี จิ้นผิง ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน และนายกรัฐมนตรีได้เชิญประธานาธิบดีจีนเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งประธานาธิบดีจีนตอบรับยินดีในโอกาสอันใกล้ อีกทั้ง นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีจีนได้หารือและเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจีนได้เสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่ง เอเชีย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เอเชียมีการพัฒนาการเชื่อมโยงและผลักดัน เศรษฐกิจให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นพ้องและยินดีการจัดตั้งธนาคารดังกล่าว
นายธีรัตถ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้หารือถึงการผลักดันความร่วมมือภายใต้เอกสารความตกลงที่สำคัญ โดยไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเอกสารความตกลงที่ได้ทำขึ้นกับจีน โดยหน่วยงานของทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือและเร่งดำเนินการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น กรอบความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู)ว่าด้วยความร่วมมือในสาขาการ พัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ที่ได้มีการลงนามระหว่างการเยือนไทยของประธานาธิบดีฯเมื่อเดือน ธ.ค.2554 ความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูง พลังงานสะอาด การศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการน้ำ การตั้งเป้ามูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ3 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2558 โดยไทยและจีนจะเพิ่มการค้าขายสินค้าเกษตร เช่น การนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยมากขึ้น อาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้ไทย เป็นต้น ด้านความร่วมมือพหุภาคีนั้น ไทยพร้อมให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนในเวทีระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็หวังว่าจีนจะให้การสนับสนุนไทยในการลงสมัครรับเลือกตั้งใน ตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ในวาระปี 2017-2018.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ต.ค. เวลา14.00น.เวลาท้องถิ่นของเกาะบาหลี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร บาหลี อินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเชียและแปซิฟิค (เอเปค) ครั้งที่ 21 จากนั้น เวลา 15.30 น. นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่โรงแรมลากูน่า รีสอร์ท ก่อนการร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
โดยนายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประธานาธิบดีจีนกล่าวชื่นชมบทบาทสำคัญของนายกรัฐมนตรีที่ทุ่มเทพัฒนาความ สัมพันธ์กับจีนในทุกด้าน ขณะเดียวกันสามารถนำพาประเทศไทยผ่านวิกฤตต่าง ๆ เช่น อุทกภัย วิกฤตการเงินโลก เป็นต้น ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวแสดงความยินดีต่อนายสี จิ้นผิง ที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของจีน และนายกรัฐมนตรีได้เชิญประธานาธิบดีจีนเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ซึ่งประธานาธิบดีจีนตอบรับยินดีในโอกาสอันใกล้ อีกทั้ง นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีจีนได้หารือและเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจีนได้เสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่ง เอเชีย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เอเชียมีการพัฒนาการเชื่อมโยงและผลักดัน เศรษฐกิจให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นพ้องและยินดีการจัดตั้งธนาคารดังกล่าว
นายธีรัตถ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้หารือถึงการผลักดันความร่วมมือภายใต้เอกสารความตกลงที่สำคัญ โดยไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเอกสารความตกลงที่ได้ทำขึ้นกับจีน โดยหน่วยงานของทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือและเร่งดำเนินการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เช่น กรอบความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู)ว่าด้วยความร่วมมือในสาขาการ พัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ที่ได้มีการลงนามระหว่างการเยือนไทยของประธานาธิบดีฯเมื่อเดือน ธ.ค.2554 ความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูง พลังงานสะอาด การศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการน้ำ การตั้งเป้ามูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ3 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2558 โดยไทยและจีนจะเพิ่มการค้าขายสินค้าเกษตร เช่น การนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยมากขึ้น อาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และผลไม้ไทย เป็นต้น ด้านความร่วมมือพหุภาคีนั้น ไทยพร้อมให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับจีนในเวทีระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็หวังว่าจีนจะให้การสนับสนุนไทยในการลงสมัครรับเลือกตั้งใน ตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอสซี) ในวาระปี 2017-2018.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar