1,ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาเฉพาะประเด็นที่รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
2,คำร้องประเด็นใดที่ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เสียเองศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับคำร้องนั้นไว้พิจารณา
น่าจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน ถอนตัวไม่ร่วมพิจารณา 1,นายจรัญ ภักดีธนากุล 2,นายนุรักษ์ มาประณีต 3,นายสุพจน์ ไข่มุกด์..
โดย แม่ลูกจันทร์
เพื่อความสบายใจ
มีควันหลงตกค้าง กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ของรัฐบาลไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ทำให้รัฐบาลนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้โดยไม่ ชักช้าร่ำไรไม่ติดค้างยักแย่ยักยันเหมือนพ.ร.บ.งบประมาณรัฐบาลอเมริกาความจริง เหตุการณ์ก็ผ่านไปแล้วหลายวัน และจบลงด้วยดี จึงไม่มีความจำเป็นต้องวิจารณ์เพิ่มเติม
บังเอิญ “แม่ลูกจันทร์” เพิ่งเปิดเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญดูเล่นแก้เซ็ง พบว่ามีคำแถลงชี้แจงของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับ “สำนักข่าวหัวเขียว” โดยตรงฉะนั้น เพื่อฉลองศรัทธา “แม่ลูกจันทร์” ขออนุญาตลอกคำแถลงชี้แจงข้อเท็จจริงของศาลรัฐธรรมนูญมาสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญดังนี้คือ...ตาม ที่ นสพ.ไทยรัฐ คอลัมน์สำนักข่าวหัวเขียว โดย “แม่ลูกจันทร์” มีความเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุผลที่มีมติรับคำร้องเรื่องนี้ (ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี) ไว้พิจารณาเพราะเป็นประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงความ เห็นของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น เขียนขึ้นโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง ขาดความระมัดระวังรอบคอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง
อันจะเป็นผลให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาล รัฐธรรมนูญขอชี้แจงว่าคำร้องของสมาชิกรัฐสภา (ส.ส.ปชป. และกลุ่ม 40 ส.ว.) ได้อ้างถึงการที่รัฐจัดสรรงบประมาณ ให้ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และองค์กรอิสระ (เช่น ป.ป.ช.) อย่างพอเพียงหรือไม่
โดยที่ผู้ร้องไม่ได้ขอให้พิจารณาในส่วนของงบประมาณของศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดคำร้องประเด็นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องรับคำร้องไว้พิจารณาตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
“แม่ลูกจันทร์” นำคำแถลงชี้แจงข้อเท็จจริงจากเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ มาฉายซ้ำอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่สบายใจ “แม่ลูกจันทร์” กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้อีกทีอย่างไรก็ตามในคำแถลงชี้แจงฉบับนี้ได้ระบุ “หลักการสำคัญ” อันเป็นจุดยืนของศาลรัฐธรรมนูญไว้ถึง 2 ประเด็น
1,ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องไว้พิจารณาเฉพาะประเด็นที่รัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
2,คำร้องประเด็นใดที่ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” เสียเองศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับคำร้องนั้นไว้พิจารณา
“แม่ลูกจันทร์” หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะยึดมั่นหลักการที่แถลงไว้แล้ว ทั้ง 2 ประการถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็จะไม่เกิดปัญหาคาใจและถ้าเป็นเช่นนั้นจริง
การวินิจฉัยคำร้องของ ส.ส.ปชป. และกลุ่ม 40 ส.ว.
กรณีรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว.
น่าจะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน ถอนตัวไม่ร่วมพิจารณา
1,นายจรัญ ภักดีธนากุล 2,นายนุรักษ์ มาประณีต 3,นายสุพจน์ ไข่มุกด์
เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 คนนี้เคยเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
เป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจเผด็จการโดยตรง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 3 คนจึงเข้าข่าย “เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้เต็มเปา
คนเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้มากับมือจะมาเป็นกรรมการตัดสินจะให้แก้? หรือไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ? ได้อย่างไร?
แหม...แบบนี้มันยิ่งกว่าล้วงไข่งูจงอาง.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar