ประชุมร่วมรัฐสภา เห็นชอบ คงร่างแก้รัฐธรรมนูญ ม.190 ใน ม.3 ด้วยคะแนน 343:51 เสียง ฝ่ายค้าน ชี้การไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภา ปชช.จะขาดข้อมูล ‘ก่อแก้ว’ ยันร่างฯ ไม่ได้เป็นการลดอำนาจนิติฯ
การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่... พ.ศ. ... แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในวันนี้ (16 ต.ค.) เป็นวันที่ 2 เริ่มประชุมเวลา 10.45 น. มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาในมาตรา 3 เกี่ยวกับการกำหนดประเภทหนังสือสัญญา จะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.บางส่วนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกข้อความในมาตรา 190 เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และการค้าระหว่างประเทศ จนเป็นเหตุให้ต้องแก้ไข แต่ความล่าช้าเกิดจากฝ่ายผู้ปฏิบัติมากกว่ากระบวนการของรัฐสภา และเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 190 เพื่อไม่ต้องส่งเรื่องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจจะส่งผลกระทบต่อการกระทำใดๆ ในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเรื่องเขตแดนได้ อีกทั้งเห็นว่า หากไม่นำกรอบการเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ จึงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาโหวตให้กลับไปใช้มาตรา 190 ตามเดิม
พุทธิพงษ์ ชี้การไม่ผ่านสภา ปชช.จะขาดข้อมูล
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การแก้ไขมาตรา 190 อาจทำให้เกิดช่องโหว่ในการทำเอ็มโอยู เพราะไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ส่งผลให้ประชาชนไม่ทราบข้อมูลข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเห็นว่า การนำกรอบเจรจากับต่างประเทศเข้าสู่รัฐสภาเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องกระทำ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ กรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ยืนยันมีความจำเป็นต้องเติมคำว่า "โดยชัดแจ้ง" ในมาตรา 3 ที่ว่าหนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยโดยชัดแจ้ง จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะเป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงชัดเจนว่าสัญญาแบบนั้นสัญญาแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติเสียอาณาเขต หรือทำให้ไทยเสียเปรียบเรื่องการค้าการลงทุน ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาข้อเท็จจริงโดยละเอียดรอบคอบ โดยรับฟังจากภาคประชาชน ภาคราชการ และจากนักวิชาการ แล้วก่อนตัดสินใจระบุคำดังกล่าว
‘ก่อแก้ว’ ยันร่างฯ ไม่ได้เป็นการลดอำนาจนิติฯ ชี้เรื่องสำคัญก็ยังเข้าสภา
ขณะที่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงถึงการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างฯ ว่า ไม่ได้เป็นการลดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามที่มี ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วนได้อภิปราย แต่เป็นการพิจารณาว่า การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศเรื่องใดบ้างที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา เพื่อเป็นการลดทอนปริมาณงานที่รัฐสภาต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก ประเด็นที่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมนั้นควรเป็นเรื่องสำคัญ อาทิ เรื่องดินแดนและอาณาเขต เรื่องการทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง ส่วนประเด็นที่ไม่สำคัญก็ไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา
นายก่อแก้ว ยังกล่าวว่า การที่มีสมาชิกบางคนกล่าวอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ ตนยืนยันว่า การแก้ไขมาตรา 190 ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือเอื้อให้ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการแก้ไขเพื่อให้ประเทศได้ผลประโยชน์ในหลายๆ เรื่อง
สภาเห็นชอบคงม.3
เวลาประมาณ 22.00 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ขอมติเห็นชอบ ในมาตรา 3 ว่าด้วยการยกเลิกความในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ คือ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 343 : 51 เสียง ให้คงมาตรา 3 ทั้งมาตราตามร่างเดิม มีมติเห็นชอบมาตรา 190 ความในมาตรา 3 วรรคแรก 355 : 13 เสียง มีมติเห็นชอบวรรคสอง 359 : 8 เสียง และมีมติให้คงร่างเดิมของกรรมาธิการ วรรคสาม 6 : 361 ทั้งนี้ ในระหว่างการขอมติวรรค 4 ส.ส.ฝ่ายค้าน ลุกขึ้นตะโกนประท้วงอย่างต่อเนื่อง เพราะการลงมติยังสร้างความสับสนให้กับสมาชิก ประธานจึงสักพักการประชุม
การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่... พ.ศ. ... แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในวันนี้ (16 ต.ค.) เป็นวันที่ 2 เริ่มประชุมเวลา 10.45 น. มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณาในมาตรา 3 เกี่ยวกับการกำหนดประเภทหนังสือสัญญา จะต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.บางส่วนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกข้อความในมาตรา 190 เพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สังคม และการค้าระหว่างประเทศ จนเป็นเหตุให้ต้องแก้ไข แต่ความล่าช้าเกิดจากฝ่ายผู้ปฏิบัติมากกว่ากระบวนการของรัฐสภา และเห็นว่า การแก้ไขมาตรา 190 เพื่อไม่ต้องส่งเรื่องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา อาจจะส่งผลกระทบต่อการกระทำใดๆ ในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน และทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเรื่องเขตแดนได้ อีกทั้งเห็นว่า หากไม่นำกรอบการเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ จึงเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาโหวตให้กลับไปใช้มาตรา 190 ตามเดิม
พุทธิพงษ์ ชี้การไม่ผ่านสภา ปชช.จะขาดข้อมูล
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การแก้ไขมาตรา 190 อาจทำให้เกิดช่องโหว่ในการทำเอ็มโอยู เพราะไม่ต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ส่งผลให้ประชาชนไม่ทราบข้อมูลข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเห็นว่า การนำกรอบเจรจากับต่างประเทศเข้าสู่รัฐสภาเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องกระทำ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ และป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
ด้าน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ กรรมาธิการฯ เสียงข้างมาก ยืนยันมีความจำเป็นต้องเติมคำว่า "โดยชัดแจ้ง" ในมาตรา 3 ที่ว่าหนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยโดยชัดแจ้ง จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะเป็นเรื่องที่มีข้อเท็จจริงชัดเจนว่าสัญญาแบบนั้นสัญญาแบบนี้จะทำให้ประเทศชาติเสียอาณาเขต หรือทำให้ไทยเสียเปรียบเรื่องการค้าการลงทุน ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาข้อเท็จจริงโดยละเอียดรอบคอบ โดยรับฟังจากภาคประชาชน ภาคราชการ และจากนักวิชาการ แล้วก่อนตัดสินใจระบุคำดังกล่าว
‘ก่อแก้ว’ ยันร่างฯ ไม่ได้เป็นการลดอำนาจนิติฯ ชี้เรื่องสำคัญก็ยังเข้าสภา
ขณะที่ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แถลงถึงการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างฯ ว่า ไม่ได้เป็นการลดอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ตามที่มี ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วนได้อภิปราย แต่เป็นการพิจารณาว่า การทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศเรื่องใดบ้างที่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมรัฐสภา เพื่อเป็นการลดทอนปริมาณงานที่รัฐสภาต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก ประเด็นที่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมนั้นควรเป็นเรื่องสำคัญ อาทิ เรื่องดินแดนและอาณาเขต เรื่องการทำสนธิสัญญาที่มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวาง ส่วนประเด็นที่ไม่สำคัญก็ไม่จำเป็นต้องนำมาพิจารณา
นายก่อแก้ว ยังกล่าวว่า การที่มีสมาชิกบางคนกล่าวอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้ ตนยืนยันว่า การแก้ไขมาตรา 190 ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือเอื้อให้ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการแก้ไขเพื่อให้ประเทศได้ผลประโยชน์ในหลายๆ เรื่อง
สภาเห็นชอบคงม.3
เวลาประมาณ 22.00 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้ขอมติเห็นชอบ ในมาตรา 3 ว่าด้วยการยกเลิกความในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ คือ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 343 : 51 เสียง ให้คงมาตรา 3 ทั้งมาตราตามร่างเดิม มีมติเห็นชอบมาตรา 190 ความในมาตรา 3 วรรคแรก 355 : 13 เสียง มีมติเห็นชอบวรรคสอง 359 : 8 เสียง และมีมติให้คงร่างเดิมของกรรมาธิการ วรรคสาม 6 : 361 ทั้งนี้ ในระหว่างการขอมติวรรค 4 ส.ส.ฝ่ายค้าน ลุกขึ้นตะโกนประท้วงอย่างต่อเนื่อง เพราะการลงมติยังสร้างความสับสนให้กับสมาชิก ประธานจึงสักพักการประชุม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar