måndag 4 maj 2015

แรงริษยา แรงอาฆาต กิเลสร้ายในใจคน ช่างมีอานุภาพรุนแรงทำให้คนขาดสติยับยั้งชั่งใจเกิดสันดานดิบกลายเป็นสัตว์นรกในร่างคนปะปนอยู่ในสังคม ทำลายล้างสังคมและทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า เข่นฆ่าทำลายเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน ไม่ละเว้นแม้แต่ประเทศชาติของตัวเอง..

matichononline

รูปภาพของ matichononline


คลิกอ่าน-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430740452
กรณี "สรยุทธ" บทเรียน : ริษยา ของ "ชนชั้นกลาง"

ถ้าถามว่าใครคือ "ดาราชาย" ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมืองไทย

เสียงก็อาจจะแตกเป็นหลายเสี่ยง

บางกลุ่มก็ว่า "ณเดชน์"

บางคนอาจเชียร์ "เจมส์ จิ"

ถ้าถามถึง "ดาราหญิง" บ้าง

บางคนอาจชอบ "อั้ม พัชราภา"

บางคนชอบ "ชมพู่ อารยา"

ถ้าวัยรุ่นอาจชอบ "ญาญ่า"

แต่หากถามว่าใครคือผู้ประกาศข่าวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมืองไทย

น่าจะมีเพียงคำตอบเดียว

"สรยุทธ สุทัศนะจินดา"

ต้องยอมรับว่า "สรยุทธ" นั้นมีคุณสมบัติที่น่าหมั่นไส้เป็นอย่างยิ่ง

ทั้งบุคลิกส่วนตัวที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยอมใคร

และภาพในจอจะค่อนข้างเป็น "ผู้นำ" ที่แสดงความเหนือชั้นกับพิธีกรร่วม

ไม่ว่าจะเป็น "กนก รัตน์วงศ์สกุล" สมัยที่ทำรายการ "คุยคุ้ยข่าว"

หรือ "ปลื้ม" ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ตอนทำรายการเรื่องเล่าเช้านี้ด้วยกัน

ภาพที่ปรากฏหน้าจอเช่นนี้เองทำให้คนจำนวนหนึ่งไม่ค่อยชอบ "สรยุทธ"

นอกจากนั้น "สรยุทธ" ยังเป็นผู้ประกาศข่าวที่ร่ำรวยมาก

ถ้าเทียบกับคนทำธุรกิจ อาจไม่ถือว่ารวยมากนัก

แต่ถ้าเทียบกับคนในแวดวงข่าวแล้ว

"สรยุทธ" รวยมาก

บริษัทไร่ส้ม บริษัทส่วนตัวของเขาที่เป็นเจ้าของรายการ "เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์" มีอัตราการทำกำไรเหนือกว่าแทบทุกธุรกิจ

เพราะรายจ่ายต่ำมาก

แต่รายรับมโหฬาร

ถ้าบอกว่า "สรยุทธ" คือ "ผู้ประกาศข่าวพันล้าน" ก็คงไม่ผิดจากความเป็นจริง

นอกจาก "รวย" แล้ว เขายัง "ดัง" มากด้วย

เป็นคนข่าวที่มีคนกรี๊ดไม่แพ้ซูเปอร์สตาร์

ตอนที่เขาออกหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือ

คนที่ยืนรอขอลายเซ็นยาวเหยียดมากกว่านักเขียนคนไหน

คุณสมบัติทั้งหลายทั้งปวงนี้เองที่ทำให้ "สรยุทธ" น่าหมั่นไส้

โดยเฉพาะสำหรับ "ชนชั้นกลาง"

รวมถึงคนในแวดวงสื่อด้วยกัน



กรณีเรื่องที่ดินเขาใหญ่ ถือเป็น "ตัวอย่าง" ที่ดีที่สุด

เรื่องนี้เริ่มต้นจากการบุกตรวจสอบโครงการโบนันซ่าของรัฐบาลว่าบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่

ในมุมของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นี่คือ การพิทักษ์ป่าสงวน

ขอคืนพื้นที่ป่าจากผู้บุกรุก

เพราะหลักฐานที่ฝ่ายรัฐหยิบยกขึ้นมาค่อนข้างน่าเชื่อถือว่าสนามแข่งรถของโบนันซ่ารุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่า

แต่ในมุมการเมือง หลายฝ่ายก็สงสัยว่าทำไมมุ่งเล่นงานแต่โครงการโบนันซ่า

เพราะเป็นที่รู้กันว่าการชุมนุมของคนเสื้อแดง มักจะเลือกที่ "โบนันซ่า" เป็นประจำ

ถ้าเจ้าของไม่หนุนก็คงจัดไม่ได้

ในทางข่าวเชื่อกันว่าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

กระทืบเท้าขู่ทางการเมือง

ที่สำคัญการตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่เขาใหญ่ที่เริ่มต้นที่โครงการโบนันซ่า ดูเหมือนจะไม่ขยายพื้นที่ตรวจสอบออกไป

หยุดนิ่งที่โครงการนี้นานทีเดียว

จนเริ่มมีคนชี้เป้าเพิ่ม

แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ "เป้า" ที่ชี้ ไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่

กลับเป็นบ้านพักตากอากาศของ "สรยุทธ" ในโครงการ "มูนแดนซ์"

พื้นที่ 8 ไร่

คนชี้เป้าก็คือคนในแวดวงสื่อด้วยกัน

ส่วนหนึ่ง เพราะ "สรยุทธ" โพสต์ภาพบ้านพักที่เขาใหญ่ในสื่อโซเชียลมีเดียหลายครั้ง

ทุกครั้งที่โพสต์ก็จะมีสื่อหยิบขึ้นมาเป็นข่าว

ทั้งที่บ้านของ "สรยุทธ" เมื่อเทียบกับมหาเศรษฐีในเมืองไทยที่มีบ้านพักที่เขาใหญ่แล้ว

ถือว่าเทียบกันไม่ได้เลย

และที่สำคัญทุกคนก็รู้ว่ามหาเศรษฐีในเมืองไทยไม่ต่ำกว่า 50% มีบ้านพักหรือที่ดินที่เขาใหญ่

เอ่ยชื่อออกมา มีกันทุกคน   บางคนทำเป็นโรงแรมหรือโครงการจัดสรรที่ดินด้วย

แต่กระแสข่าวกลับพุ่งเป้าไปที่บ้านของ "พิธีกรชื่อดัง" คนหนึ่งเพียงหลังเดียว

เหมือนเรียกแขกและที่น่าแปลกก็คือ เรียกแขกสำเร็จ

หน่วยงานรัฐทั้งหมดไม่ว่าสีอะไรก็เข้าไปตรวจสอบบ้านของ "สรยุทธ" อย่างจริงจัง  เหมือนมีบ้านพัก



แบบนี้แห่งเดียวในเขาใหญ่

ที่สำคัญ "สรยุทธ" ไม่ใช่นักธุรกิจที่ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน แปลงเอกสารสิทธิ์จาก ส.ป.ก. หรือ สค. มา



เป็นโฉนดเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายลูกค้า  เขาไม่ได้ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน

แต่เขาเป็น "ลูกค้า" ที่ไปซื้อที่ดินจากโครงการ "มูนแดนซ์"เหมือนกับนักธุรกิจและคนดังอีกหลายคน

"สรยุทธ" ก็เหมือนชาวบ้านคนหนึ่งที่ไปซื้อที่ดินจากโครงการจัดสรร

ไม่มีใครรู้หรอกว่าที่ดินแปลงนี้รุกป่าสงวนฯ หรือเปล่า

ถ้าเจ้าของโครงการมีโฉนดยืนยัน เราก็ต้องเชื่อเอกสารของรัฐบาล

ถ้ามีเงื่อนงำหรือผิดพลาด คนที่ต้องรับผิดชอบคือเจ้าของโครงการ   ไม่ใช่ "ลูกค้า"

นี่คือ ตรรกะง่ายๆ ของเรื่องนี้   แต่คนจำนวนมากละเลยไป  ไม่สนใจ "ความ"

แต่สนใจว่า "คน" ที่เป็นข่าวคือใคร   พอเห็นชื่อ "สรยุทธ" คนที่ไม่ชอบก็เชื่อเลยว่าเขาผิด

เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของ "คีรีมายา" ของ "กิตติ-ธนัท ธนากิจอำนวย" แห่งค่ายโนเบิล

"ธนัท" นั้นเป็นแกนนำ กปปส. คนหนึ่ง

"ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์" เป็นคนชี้เป้าคนแรกว่าถ้าตรวจสอบโครงการโบนันซ่า ก็ต้องตรวจสอบ "คีรีมายา



ด้วย   เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางการเมือง   ตรวจ "แดง" ก็ต้องตรวจ "เหลือง" ด้วย

แต่กว่าหน่วยงานรัฐจะเริ่มขยับก็ใช้เวลานานพอสมควร

ที่สำคัญ เขาตรวจบ้าน "สรยุทธ" พื้นที่ 8 ไร่ก่อน "คีรีมายา" 1,600 ไร่

กรณีของ "คีรีมายา" ก็น่าเห็นใจในประเด็นที่ซื้อที่ดินมาจากหน่วยงานของรัฐ

มีบางส่วนถูกต้อง    แต่บางส่วนก็มีตำหนิ  ที่น่าสนใจก็คือ เรื่องราวที่คล้ายกัน แต่ทำไมกระแสโจมตี



"สรยุทธ" จึงแรงกว่า "คีรีมายา  "เหมือนเป็นเรื่องพวกใครพวกมัน

เช่นเดียวกับเมื่อ "สรยุทธ" ออกมาชี้แจงข่าวการบุกรุกป่าของตนเอง โดยอาศัยเวลา "เรื่องเล่าเช้านี้" หลังจากที่มีข่าวโจมตีเขามาพักใหญ่

เหมือนค่ายเนชั่นที่ใช้พื้นที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจตอบโต้กลุ่มทุนที่เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทของตนเอง

แต่ "สรยุทธ" กลับโดนวิจารณ์อย่างหนักในเรื่องจริยธรรม  เป็น "สื่อ" ทำแบบนี้ไม่ได้

ที่น่าสนใจก็คือ "สื่อมวลชน" ที่วิจารณ์คือ คนที่ไปยืนบนเวทีปราศรัย เลือกข้างทางการเมืองอย่าง



ชัดเจน   ไม่เป็นกลางอย่างเปิดเผย

สังคมไทยวันนี้อยู่ในสถานะที่แตกแยกทางความคิดอย่างชัดเจน

"สรยุทธ" กลายเป็น "เหยื่อ" รายหนึ่งของความขัดแย้งนี้   เขาถูกผลักให้ไปยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง

และด้วยคุณสมบัติที่พร้อมมูลที่น่าหมั่นไส้  เขาจึงเป็นกรณีศึกษา

เรื่อง "ความริษยา" ของ "ชนชั้นกลาง"


Inga kommentarer:

Skicka en kommentar