มติชนออนไลน์
สามก๊กแบบไทยๆ โดย ปราปต์ บุนปาน
คลิกอ่าน-สามก๊กแบบไทยๆ โดย ปราปต์ บุนปาน
คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12/มติชนรายวัน 14 ก.ย.2558
ในบทความชื่อ "เจ้าสัวและขุนศึก: บริบททางวัฒนธรรมและการเมืองของสังคมไทยสมัยใหม่ และสามก๊กนิยายพงศาวดารจีน" (ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2536) ซึ่งเป็นบทหนึ่งของหนังสือ "เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ: รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ. เรย์โนลด์ส" มีวารุณี โอสถารมย์ เป็นบรรณาธิการแปล
อาจารย์เครกเขียนถึงกระบวนการที่ทำให้ "สามก๊ก" กลายเป็น "มายาคติ" ทางการเมืองในสังคมไทยไว้อย่างน่าสนใจ
นักวิชาการผู้นี้เสนอว่า คำกล่าวติดหูในสังคมไทย อาทิ "ยังไม่ได้อ่านสามก๊ก อย่าพึงคิดการใหญ่" หรือ "ใครอ่านสามก๊กถึงสามจบคบไม่ได้" นั้น ช่วยขับเน้นให้เห็นถึงกลอุบายทางยุทธศาสตร์ในสามก๊ก ที่เต็มไปด้วยกลลวง ความคดโกง การตีสองหน้า
กลอุบายเหล่านี้จึงเป็นอันตรายหากตกอยู่ในมือคนร้าย ขณะเดียวกัน คนดีมีคุณธรรมก็อาจต้องพึ่งพากลอุบายดังกล่าวเช่นกัน เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดบางประการ
ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ถ้าสามก๊กเป็นมายาคติหรือเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีอำนาจในสังคมไทย
"การเมืองไทย" ก็เป็นเรื่องของการดำเนินกลอุบายอันชาญฉลาดและการชักใยที่เฉียบแหลม มากกว่าจะเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญในการบริหารระบบรัฐสภา
"ประชาธิปไตย" จึงเป็นเพียงนามธรรมเปราะบาง ในความคิดของผู้มีอำนาจทางการเมืองบางกลุ่ม
นอกจากนี้ บทบาทของตัวละครในสามก๊กมักถูกนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของ "ขุนศึก" ในกองทัพ
ตัวอย่างชัดเจน คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งได้รับฉายาว่า "ขงเบ้ง"
แม้ในปี 2533 บิ๊กจิ๋วจะปฏิเสธไม่ยอมรับฉายาดังกล่าว พร้อมบอกว่าสามก๊กเป็นนิยายเกี่ยวกับสงครามและการต่อสู้เพื่ออำนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในอุดมการณ์ส่วนบุคคลของเขา ขุนศึกผู้ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจและการเข้าแทรกแซงการเมืองโดยกองทัพ
อย่างไรก็ดี ในหนังสือชีวประวัติของ พล.อ.ชวลิต ที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นไม่กี่ปีหลังจากนั้น กลับมีการเขียนยกย่องว่าขุนศึกผู้นี้เป็น "ขงเบ้ง" ที่แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยไหวพริบเฉียบแหลม อาทิ การคิดแผนการเอาชนะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยไม่เสียเลือดเนื้อ จนถือว่าเขามีความรู้มากกว่านายทหารร่วมรุ่นและผู้นำกองทัพรุ่นก่อนหน้า
แก่นเรื่องหลักของสามก๊กในมุมมองแบบไทย จึงวนเวียนอยู่ที่ประเด็นความกล้าหาญของทหาร การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ยุทธวิธีการจัดทัพแบบต่างๆ ความสามารถทางภูมิปัญญาของเพศชาย ความจงรักภักดี และการแก้แค้นผู้ที่ทรยศต่อความไว้วางใจ
แก่นเรื่องและความเชื่อเช่นนี้ค่อยๆ สั่งสมกลายเป็นแหล่งความรู้เรื่องอำนาจแบบไทยๆ (ที่แปร/แปลงมาจากนิยายจีน) รวมทั้งยังเป็นแหล่งเผยแพร่ความนิยมในวัฒนธรรมทหาร ซึ่งกระจายตัวออกนอกค่ายทหาร และไม่อาจถูกทำลายลงด้วยกฎเกณฑ์ที่กีดกันขุนศึกออกจากแวดวงการเมืองหลังปี 2535
อาจารย์เครกทิ้งท้ายว่า สาเหตุหนึ่งที่น่าจะทำให้สามก๊กถูกใจนักอ่านชาวไทย ทั้งที่เป็นคนไร้อำนาจ ทว่าปรารถนาจะได้อำนาจ และที่มีอำนาจอยู่ในมือแล้วนั้น
ก็เพราะนิยายเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าอำนาจทางการเมืองสามารถถูกแปรไปเป็นผลประโยชน์ส่วนรวม ได้พอๆ กับผลประโยชน์เฉพาะส่วน ที่นำมาแบ่งปันกันในกลุ่มเพื่อน ญาติ บริวาร
แม้หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 บรรดานักธุรกิจใหญ่ต่างพยายามขจัดหุ้นส่วนที่เป็นขุนศึกออกไปจากระบอบอำนาจ
แต่นักวิชาการต่างชาติผู้นี้ก็ได้อ้างอิงถึงคำกล่าวที่ว่า "สงครามคือธุรกิจ" และ "ธุรกิจคือสงคราม" ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสามก๊กและนิยายประเภทเดียวกันเรื่องอื่นๆ ว่าอาจสะท้อนให้เห็นถึงการมีอะไรร่วมกันของผู้มีอำนาจทั้งสองกลุ่ม
ทั้งหมดเป็นการเก็บประเด็นจากบทความที่เขียนขึ้นเมื่อปี 2536
ส่วนปัจจุบัน ก็คงต้องเอาใจช่วย "บิ๊กตู่" และ "ดร.สมคิด" กันเยอะๆ ครับ
ในบทความชื่อ "เจ้าสัวและขุนศึก: บริบททางวัฒนธรรมและการเมืองของสังคมไทยสมัยใหม่ และสามก๊กนิยายพงศาวดารจีน" (ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2536) ซึ่งเป็นบทหนึ่งของหนังสือ "เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และ คนสามัญ: รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ. เรย์โนลด์ส" มีวารุณี โอสถารมย์ เป็นบรรณาธิการแปล
อาจารย์เครกเขียนถึงกระบวนการที่ทำให้ "สามก๊ก" กลายเป็น "มายาคติ" ทางการเมืองในสังคมไทยไว้อย่างน่าสนใจ
นักวิชาการผู้นี้เสนอว่า คำกล่าวติดหูในสังคมไทย อาทิ "ยังไม่ได้อ่านสามก๊ก อย่าพึงคิดการใหญ่" หรือ "ใครอ่านสามก๊กถึงสามจบคบไม่ได้" นั้น ช่วยขับเน้นให้เห็นถึงกลอุบายทางยุทธศาสตร์ในสามก๊ก ที่เต็มไปด้วยกลลวง ความคดโกง การตีสองหน้า
กลอุบายเหล่านี้จึงเป็นอันตรายหากตกอยู่ในมือคนร้าย ขณะเดียวกัน คนดีมีคุณธรรมก็อาจต้องพึ่งพากลอุบายดังกล่าวเช่นกัน เพื่อบรรลุถึงจุดหมายสูงสุดบางประการ
ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ถ้าสามก๊กเป็นมายาคติหรือเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของผู้มีอำนาจในสังคมไทย
"การเมืองไทย" ก็เป็นเรื่องของการดำเนินกลอุบายอันชาญฉลาดและการชักใยที่เฉียบแหลม มากกว่าจะเป็นเรื่องความเชี่ยวชาญในการบริหารระบบรัฐสภา
"ประชาธิปไตย" จึงเป็นเพียงนามธรรมเปราะบาง ในความคิดของผู้มีอำนาจทางการเมืองบางกลุ่ม
นอกจากนี้ บทบาทของตัวละครในสามก๊กมักถูกนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของ "ขุนศึก" ในกองทัพ
ตัวอย่างชัดเจน คือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งได้รับฉายาว่า "ขงเบ้ง"
แม้ในปี 2533 บิ๊กจิ๋วจะปฏิเสธไม่ยอมรับฉายาดังกล่าว พร้อมบอกว่าสามก๊กเป็นนิยายเกี่ยวกับสงครามและการต่อสู้เพื่ออำนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในอุดมการณ์ส่วนบุคคลของเขา ขุนศึกผู้ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจและการเข้าแทรกแซงการเมืองโดยกองทัพ
อย่างไรก็ดี ในหนังสือชีวประวัติของ พล.อ.ชวลิต ที่ถูกตีพิมพ์ขึ้นไม่กี่ปีหลังจากนั้น กลับมีการเขียนยกย่องว่าขุนศึกผู้นี้เป็น "ขงเบ้ง" ที่แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยไหวพริบเฉียบแหลม อาทิ การคิดแผนการเอาชนะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยไม่เสียเลือดเนื้อ จนถือว่าเขามีความรู้มากกว่านายทหารร่วมรุ่นและผู้นำกองทัพรุ่นก่อนหน้า
แก่นเรื่องหลักของสามก๊กในมุมมองแบบไทย จึงวนเวียนอยู่ที่ประเด็นความกล้าหาญของทหาร การใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ยุทธวิธีการจัดทัพแบบต่างๆ ความสามารถทางภูมิปัญญาของเพศชาย ความจงรักภักดี และการแก้แค้นผู้ที่ทรยศต่อความไว้วางใจ
แก่นเรื่องและความเชื่อเช่นนี้ค่อยๆ สั่งสมกลายเป็นแหล่งความรู้เรื่องอำนาจแบบไทยๆ (ที่แปร/แปลงมาจากนิยายจีน) รวมทั้งยังเป็นแหล่งเผยแพร่ความนิยมในวัฒนธรรมทหาร ซึ่งกระจายตัวออกนอกค่ายทหาร และไม่อาจถูกทำลายลงด้วยกฎเกณฑ์ที่กีดกันขุนศึกออกจากแวดวงการเมืองหลังปี 2535
อาจารย์เครกทิ้งท้ายว่า สาเหตุหนึ่งที่น่าจะทำให้สามก๊กถูกใจนักอ่านชาวไทย ทั้งที่เป็นคนไร้อำนาจ ทว่าปรารถนาจะได้อำนาจ และที่มีอำนาจอยู่ในมือแล้วนั้น
ก็เพราะนิยายเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าอำนาจทางการเมืองสามารถถูกแปรไปเป็นผลประโยชน์ส่วนรวม ได้พอๆ กับผลประโยชน์เฉพาะส่วน ที่นำมาแบ่งปันกันในกลุ่มเพื่อน ญาติ บริวาร
แม้หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 บรรดานักธุรกิจใหญ่ต่างพยายามขจัดหุ้นส่วนที่เป็นขุนศึกออกไปจากระบอบอำนาจ
แต่นักวิชาการต่างชาติผู้นี้ก็ได้อ้างอิงถึงคำกล่าวที่ว่า "สงครามคือธุรกิจ" และ "ธุรกิจคือสงคราม" ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสามก๊กและนิยายประเภทเดียวกันเรื่องอื่นๆ ว่าอาจสะท้อนให้เห็นถึงการมีอะไรร่วมกันของผู้มีอำนาจทั้งสองกลุ่ม
ทั้งหมดเป็นการเก็บประเด็นจากบทความที่เขียนขึ้นเมื่อปี 2536
ส่วนปัจจุบัน ก็คงต้องเอาใจช่วย "บิ๊กตู่" และ "ดร.สมคิด" กันเยอะๆ ครับ
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar