“มีเจตนามุ่งหวังให้เกิดความวุ่นวายปั่นป่วนในประเทศ
เพื่อให้คนเข้ามาอ่านในเพจรู้สึกว่ารัฐบาลและนายกฯเป็นตัวตลก
ไร้ความสามารถบริหารประเทศ เกลียดชัง ต่อต้าน ไม่สนับสนุนรัฐบาลและนายกฯ
พวกที่ชอบความรุนแรงอาจเกิดความกระด้างกระเดื่อง
หรือก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศได้”
คำร้องขอฝากขัง 8 แอดมินเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ทำให้เกิดความวิตกโดยทั่วไป เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่การล้อเลียนรัฐบาลและนายกฯ ถูกตีความเป็นภัยต่อความมั่นคง จากเดิมที่สังคมไทยล้อเลียนผู้นำและรัฐบาลกันเป็นปกติ ถ้าจะมีความผิดก็ฐานหมิ่นประมาท ซึ่งศาลยกฟ้องไปเสียมาก ต่อให้ด่ากราดเป็นปอบ เป็นคนบ้าไสยศาสตร์ เพราะถือว่านายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลสาธารณะ
แน่ละ ท่านนายกฯ ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง ประชาชนวิจารณ์ท่านไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เลือกท่านมา แต่ถ้าจะใช้อำนาจพิเศษ ทำไมไม่ใช้มาตรา 44 กลับใช้มาตรา 116 ซึ่งเป็นกฎหมายปกติ
เพราะถ้าตีความ 116 อย่างนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อไปใครเป็นรัฐบาล ถูกสื่อหรือเพจล้อเลียน สมมติรัฐบาล “อีปู” ก็อาจตั้งข้อหาทำให้คนรู้สึกว่ารัฐบาลและนายกฯเป็น “อีโง่” ไร้ความสามารถ เกลียดชัง ต่อต้าน จนกระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบได้
เพียงแต่รัฐบาล “อีปู” คงต้องขอหมายศาล ไม่สามารถส่งตำรวจทหารไปเอาตัวมาก่อนตั้งข้อหา ต้องให้ทนายเข้าฟังการสอบสวน และต้องฟ้องศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลทหาร
แน่ละ ใครที่เคยอ่านเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” คงเห็นด้วยว่าเจตนาล้อเลียนนายกฯ บางกรณีอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาท แต่คงไม่คาดคิดว่า การล้อเลียนนายกฯ นำไปสู่การก่อความไม่สงบได้ เพราะการกระด้างกระเดื่องจะเกิดขึ้นต้องมีหลายปัจจัย กระทั่งคำร้องฝากขังยังใช้คำว่า “อาจ” แต่เพียงแค่ “อาจ” ก็ถูกขังมาหลายวัน
คำถามคือการล้อเลียนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทำได้แค่ไหนที่ไม่ผิด หรือทำไม่ได้เลย แต่ก็เห็นการ์ตูนิสต์ คอลัมนิสต์ ล้อเลียนวิจารณ์กันทั่วไป ใช่หรือไม่ว่าเป็นความผิดต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบ คือใกล้ชิดแกนนำเสื้อแดง หรือได้รับเงินพานทองแท้ อย่างนั้นถ้าล้อเลียนโดยเจตนาบริสุทธิ์ไม่ได้รับตังค์ใครไม่ผิดใช่ไหม
ว่าเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” ทำให้ท่านเป็นตัวตลก แล้วถ้าบอกว่า “ประยุทธ์เป็นคนตลก” ผิดไหม อ้าว ก็ท่านเคยพูดไว้เองว่าท่านเป็นคนตลก แล้วถ้าใครเอาคำพูด “ผมมันคนไร้ค่า” ไปเผยแพร่ จะโดนมาตรา 116 หรือเปล่า
พูดอย่างนี้ไม่ใช่มาชวนกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับ รัฏฐาธิปัตย์ แต่ปัญหาที่กำลังเกิดคือความไม่แน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือความผิด แล้วแต่ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะตีความบังคับใช้
โพสต์ภาพขันแดงเป็นภัยความมั่นคง ถูกส่งเข้าเรือนจำตรวจภายใน เหมือนนักศึกษานั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ถือเป็นชุมนุมเกิน 5 คน ยืนเฉยๆ ก็โดนเอาผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ โพสต์อิท ก็เจอตำรวจระดมกำลังจากหลาย สน. มาตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพียงเพื่อจับจ่านิวฐาน “ทิ้งขยะ”
การเอาผิดแบบนี้เป็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในระบบกฎหมายไทย มันสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่คนซึ่งเคยปิดเมืองปิดสถานที่ราชการขัดขวางเลือกตั้ง กลับสะใจ ชี้หน้าด่าพวกเรียกร้องประชาธิปไตย “เหยียบย่ำกฎหมาย”
“อะไรคือความผิด” ยิ่งสับสนขึ้นไปอีก ด้วยการตีความ พ.ร.บ.ประชามติ 6 ข้อ 8 ข้อ ของ กกต. ซึ่งกลายเป็นทำอะไรแทบไม่ได้ ทำอะไรก็อาจมีความผิดไปเสียหมด ใครก็แจ้งจับใครได้ จากแม่สายถึงโก-ลก แล้วแต่ตำรวจจะวินิจฉัย
แต่พูดมาพูดไป กกต.สมชัยกลับบอกว่า “กฎเหล็ก” เป็นเพียงแนวปฏิบัติ สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ถ้าศาลตัดสินว่าไม่ผิด ก็แปลว่าทำได้ อ้าว พูดงี้ได้ไง ถูกแจ้งจับประกันตัวสู้คดีกว่าศาลจะตัดสินว่าทำได้ ทั้งเสียหายเสียสิทธิ กกต.ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหรือ
ประเด็นสำคัญคือ ถ้าไม่แยกการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประชามติออกจากอำนาจ คสช. อำนาจทหาร อำนาจควบคุมตัวตาม ม.44 หรือขู่ฮึ่มๆ จะจัดการ แบบไม่ผิด พ.ร.บ.ประชามติยังอาจโดนเรียกปรับทัศนคติ มันจะยุ่งกันไปใหญ่
ถ้าคนข้างหนึ่งในสังคมเกิดความรู้สึกว่า “ทำอะไรก็ผิด” ขนาด #ทวีตอย่างไรไม่ให้โดนจับ ยังจะตีความว่าผิด ต่อให้ประชามติผ่าน ก็ไม่ได้ความสงบความมั่นคงอย่าง ที่ต้องการ คงต้องไล่จับกันอย่างนี้ตลอดไป ถามจริง ไล่จับได้หมดไหม
คำร้องขอฝากขัง 8 แอดมินเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” ในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ทำให้เกิดความวิตกโดยทั่วไป เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่การล้อเลียนรัฐบาลและนายกฯ ถูกตีความเป็นภัยต่อความมั่นคง จากเดิมที่สังคมไทยล้อเลียนผู้นำและรัฐบาลกันเป็นปกติ ถ้าจะมีความผิดก็ฐานหมิ่นประมาท ซึ่งศาลยกฟ้องไปเสียมาก ต่อให้ด่ากราดเป็นปอบ เป็นคนบ้าไสยศาสตร์ เพราะถือว่านายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลสาธารณะ
แน่ละ ท่านนายกฯ ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง ประชาชนวิจารณ์ท่านไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เลือกท่านมา แต่ถ้าจะใช้อำนาจพิเศษ ทำไมไม่ใช้มาตรา 44 กลับใช้มาตรา 116 ซึ่งเป็นกฎหมายปกติ
เพราะถ้าตีความ 116 อย่างนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อไปใครเป็นรัฐบาล ถูกสื่อหรือเพจล้อเลียน สมมติรัฐบาล “อีปู” ก็อาจตั้งข้อหาทำให้คนรู้สึกว่ารัฐบาลและนายกฯเป็น “อีโง่” ไร้ความสามารถ เกลียดชัง ต่อต้าน จนกระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบได้
เพียงแต่รัฐบาล “อีปู” คงต้องขอหมายศาล ไม่สามารถส่งตำรวจทหารไปเอาตัวมาก่อนตั้งข้อหา ต้องให้ทนายเข้าฟังการสอบสวน และต้องฟ้องศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลทหาร
แน่ละ ใครที่เคยอ่านเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” คงเห็นด้วยว่าเจตนาล้อเลียนนายกฯ บางกรณีอาจเข้าข่ายหมิ่นประมาท แต่คงไม่คาดคิดว่า การล้อเลียนนายกฯ นำไปสู่การก่อความไม่สงบได้ เพราะการกระด้างกระเดื่องจะเกิดขึ้นต้องมีหลายปัจจัย กระทั่งคำร้องฝากขังยังใช้คำว่า “อาจ” แต่เพียงแค่ “อาจ” ก็ถูกขังมาหลายวัน
คำถามคือการล้อเลียนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทำได้แค่ไหนที่ไม่ผิด หรือทำไม่ได้เลย แต่ก็เห็นการ์ตูนิสต์ คอลัมนิสต์ ล้อเลียนวิจารณ์กันทั่วไป ใช่หรือไม่ว่าเป็นความผิดต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบ คือใกล้ชิดแกนนำเสื้อแดง หรือได้รับเงินพานทองแท้ อย่างนั้นถ้าล้อเลียนโดยเจตนาบริสุทธิ์ไม่ได้รับตังค์ใครไม่ผิดใช่ไหม
ว่าเพจ “เรารัก พล.อ.ประยุทธ์” ทำให้ท่านเป็นตัวตลก แล้วถ้าบอกว่า “ประยุทธ์เป็นคนตลก” ผิดไหม อ้าว ก็ท่านเคยพูดไว้เองว่าท่านเป็นคนตลก แล้วถ้าใครเอาคำพูด “ผมมันคนไร้ค่า” ไปเผยแพร่ จะโดนมาตรา 116 หรือเปล่า
พูดอย่างนี้ไม่ใช่มาชวนกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับ รัฏฐาธิปัตย์ แต่ปัญหาที่กำลังเกิดคือความไม่แน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือความผิด แล้วแต่ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะตีความบังคับใช้
โพสต์ภาพขันแดงเป็นภัยความมั่นคง ถูกส่งเข้าเรือนจำตรวจภายใน เหมือนนักศึกษานั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ถือเป็นชุมนุมเกิน 5 คน ยืนเฉยๆ ก็โดนเอาผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ โพสต์อิท ก็เจอตำรวจระดมกำลังจากหลาย สน. มาตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพียงเพื่อจับจ่านิวฐาน “ทิ้งขยะ”
การเอาผิดแบบนี้เป็นอะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในระบบกฎหมายไทย มันสั่นคลอนความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมาย ในขณะที่คนซึ่งเคยปิดเมืองปิดสถานที่ราชการขัดขวางเลือกตั้ง กลับสะใจ ชี้หน้าด่าพวกเรียกร้องประชาธิปไตย “เหยียบย่ำกฎหมาย”
“อะไรคือความผิด” ยิ่งสับสนขึ้นไปอีก ด้วยการตีความ พ.ร.บ.ประชามติ 6 ข้อ 8 ข้อ ของ กกต. ซึ่งกลายเป็นทำอะไรแทบไม่ได้ ทำอะไรก็อาจมีความผิดไปเสียหมด ใครก็แจ้งจับใครได้ จากแม่สายถึงโก-ลก แล้วแต่ตำรวจจะวินิจฉัย
แต่พูดมาพูดไป กกต.สมชัยกลับบอกว่า “กฎเหล็ก” เป็นเพียงแนวปฏิบัติ สิ่งที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้ ถ้าศาลตัดสินว่าไม่ผิด ก็แปลว่าทำได้ อ้าว พูดงี้ได้ไง ถูกแจ้งจับประกันตัวสู้คดีกว่าศาลจะตัดสินว่าทำได้ ทั้งเสียหายเสียสิทธิ กกต.ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรหรือ
ประเด็นสำคัญคือ ถ้าไม่แยกการบังคับใช้ พ.ร.บ.ประชามติออกจากอำนาจ คสช. อำนาจทหาร อำนาจควบคุมตัวตาม ม.44 หรือขู่ฮึ่มๆ จะจัดการ แบบไม่ผิด พ.ร.บ.ประชามติยังอาจโดนเรียกปรับทัศนคติ มันจะยุ่งกันไปใหญ่
ถ้าคนข้างหนึ่งในสังคมเกิดความรู้สึกว่า “ทำอะไรก็ผิด” ขนาด #ทวีตอย่างไรไม่ให้โดนจับ ยังจะตีความว่าผิด ต่อให้ประชามติผ่าน ก็ไม่ได้ความสงบความมั่นคงอย่าง ที่ต้องการ คงต้องไล่จับกันอย่างนี้ตลอดไป ถามจริง ไล่จับได้หมดไหม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar