lördag 6 augusti 2016

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 ประชาชนไทยเตรียมตัวไปใช้สิทธิ์ออกเสียงลงประชามติ" รับ-ไม่รับ" ร่างรธน.ฉบับมีชัย ...(รธน.ที่ร่างโดยเผด็จการเพื่อเผด็จการ) ...

ThaiE - News

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะไปใช้สิทธิ์ในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559

(สำหรับ่ท่านที่ไม่ไปใช้สิทธิ์ เชิญข้ามบทความนี้ไปได้เลยค่ะ):
คำเตือน:
1. อย่า "มั่นใจ" ในข่าวที่ออกมา "หลอกล่อ" ว่า คนจะ "โหวดโน" เป็นส่วนใหญ่ นี่คือ ยุทธวิธี ที่อาจจะทำให้ท่าน "ตายใจ" และ คิดว่า "ชนะอยู่แล้ว " เลยไม่ออกมาลงคะแนนกัน
2. อย่า "ชะล่าใจ" เกี่ยวกับ "ข่าว" และ "ข้อมูล" ใดๆ ทั้งสิ้น
3. ตัวท่านคือ "ผู้ตัดสิน" และ "ผู้ชี้ชะตา" ในอนาคต ถึง "รุ่นลูกรุ่นหลาน" กันเลยทีเดียว
สำหรับท่านที่จะไปถึงคูหาการลงคะแนน ก่อนที่คูหาจะเปิดในเวลา 08:00 น.:
1. ต้องแน่ใจว่า กล่องใส่บัตรลงคะุแนน เป็นกล่องเปล่าๆ ไม่มีบัตรลงคะแนนใดๆ อยู่ในกล่องหรือในหีบ ก่อนที่การลงคะนนจะเริ่มขึ้น
2. โต๊ะวางบัตรลงคะแนน อาจจะมีผ้าคลุมโต๊ะปูอยู่ ช่วยตรวจด้วยว่า ไม่มี กล่อง หรือ หีบใดๆ ที่ "จำลอง" กล่องใส่บัตรลงคะแนน วางหรือบังอยู่ใต้โต๊ะ
ก่อนจะออกจากบ้าน:
1. อย่าลืมนำบัตรประชาชนใส่กระเป๋า เพื่อยืนยันตนเอง
2. เอาปากกาลูกลื่นติดตัวไปด้วย (ถ้าปากกาในคูหามีอุปสรรค ท่านสามารถใช้ของท่านได้)
3. สังเกตุรายชื่อใน บัญชีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน
หลังจากได้รับบัตรลงคะแนนแล้ว:
1. ตรวจดูสภาพของบัตรลงคะแนน ว่า มีรอยฉีกขาด หรือ รอยหมึกใดๆ หรือไม่ โดยเฉพาะในช่องที่จะต้องทำการกากบาท
2. อ่านคำถามให้ "แน่ใจ" ว่า "เขาถามอย่างนั้นจริงๆ " และ ไม่เปลี่ยนแปลง ตามตัวอย่างที่ปรากฎให้เห็นกัน
3. ต้องกากบาททั้งสองคำถาม การกากบาทคำถามเดียว และไม่ตอบอีกหนึ่งคำถาม จะส่งผลให้เป็น "บัตรเสีย"
4. การกากบาท จะต้องทำ "หนึ่งครั้งต่อหนึ่งคำถาม" ในช่องที่ต้องการเลือก
5. เห็นมีการโพสต์ในเวปว่า จะไปทำเครื่องหมาย "สวัสดิกะ" เพื่อต่อต้าน และ ปฎิเสธความชอบธรรม ของฝ่าย "เผด็จการ" กัน....
ถึงแม้ว่า เครื่องหมาย "สวัสดิกะ" จะเป็นการใช้ "เส้นสองเส้นตัดกัน" แต่นั่นไม่ใช่เครื่องหมาย "กากบาท"
และจะส่งผลให้บัตรลงคะแนนของท่าน กลายเป็น "บัตรเสีย" ไป
6. เช็คดูความเรียบร้อยหลังจากทำการกากบาท ทั้งสองคำถาม จากนั้นก็พับบัตร
หลังจากกากบาทเสร็จ:
1. พับบัตรลงคะแนน ตามที่ระบุไว้
2. คลี่บัตรลงคะแนนออกมา สังเกตุด้วยว่า มีรอยอะไรที่เลอะ ในช่องที่กาไว้หรือไม่
(บางท่านอาจจะใช้ปากกาหมึกซึม และ เราไม่ทราบคุณภาพของ กระดาษที่ใช้เป็นบัตรลงคะแนน เพราะฉะนั้น มันอาจจะ "ซึม" หรือ "เปรอะ" อยู่ในช่องอื่นๆ ทำให้กลายเป็น "บัตรเสีย" ไป)
3. เช็คด้วยความมั่นใจว่า ไม่มีรอยฉีกขาดใดๆ
4. ตรวจอีกครั้งแล้วพับ จากนั้น นำไปหยอดในตู้
5. โพสต์บรรยากาศในการลงคะแนนให้หลายๆ ท่านได้ทราบว่า เป็นไปด้วยความคึกคัก หรือ เป็นไปอย่างเชื่องช้า หรือ มีปัญหาอะไร ให้ผู้อ่านทาง Internet ได้รับทราบกัน
กรุณาระมัดระวังในการโพสต์รูปต่างๆ ภายในคูหา เพราะอาจจะมีปัญหาถึงท่านได้
หลังจากปิดการลงคะแนนไปแล้ว:
1. นำ "ไฟฉาย" ติดตัวไปด้วย เผื่อมีปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าที่หน่วยลงคะแนน
2. กลับมาที่คูหาการลงคะแนน เพื่อมาตรวจผลการลงคะแนน รวมทั้ง การขานว่า "รับ" หรือ "ไม่รับ"
3. ถ้าสงสัยว่า เป็น "บัตรเสีย" ต้องให้ผู้ตรวจสอบ แสดงให้เห็นว่า "เกิดอะไรขึ้น" โดยเฉพาะ ถ้ามี "รอยขาด" ในช่องการลงคะแนน
4. บันทึกผลของการลงคะแนนในหน่วยการลงคะแนนนั้นๆ แล้วโพสต์ลงใน Social Media
5. ตรวจดูว่า ในเขตการลงคะแนนของท่าน มีผู้มาใช้สิทธิ์กี่เปอร์เซ็นต์
6. บันทึกหลักฐานทุกอย่างไว้ หากมีการก่อกวน หรือ ปิดกั้นการตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสเกิดขึ้น
เหตุฉุกเฉินที่ท่านควรทำแผนสำรองไว้:
1. หากมีปัญหาในการสื่อสารกับเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์, SMART PHONE หรือสัญญาณอินเตอร์เนท ท่านจะมีแผนสำรองอย่างไร ในการบอกกล่าวกับเพื่อนๆ ของท่านกันได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น เนทดับ, ไฟดับ ฯลฯ
2. ถ้าผลการลงคะแนนในคูหาของท่าน ต่างกันกับที่สรุปไว้ พยายามเก็บหลักฐานในการลงคะแนนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อนำไปใช้ในการปฎิเสธการรับความชอบธรรมของการลงคะแนนครั้งนี้
May the Force Be with You.....





Inga kommentarer:

Skicka en kommentar