måndag 11 maj 2015

36 วัน 7 ประเทศ 8 เมือง...." โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย: ไดอะลอกกับยุโรป " กับ รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์....

รศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเกียวโต
มติชนออนไลน์



(ณ กระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย)





นอกเหนือจากการสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยทาลลินแล้ว ผมยังได้รับเชิญให้ไปบรรยายเกี่ยวกับการเมืองไทย ณ มหาวิทยาลัยลัทเวีย (ซึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปชมความงามของเมืองหลวงริก้าด้วย) การร่วมการสัมมนาโต๊ะกลมที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เกี่ยวกับประเด็นผลกระทบทางการเมืองต่อนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักวิชาการที่ต้องทำงานภายใต้บรรยากาศของความเป็นเผด็จการ (ในการสัมมนาโต๊ะกลมนี้ ทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงสต๊อกโฮล์มได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสอดส่องด้วย) 


ที่สำคัญไม่ด้อยไปกว่ากันคือการที่ผมได้รับเชิญจากหน่วยงานทางราชการของหลายประเทศในยุโรป อาทิ ได้รับเชิญให้กลับไปยังกรุงลอนดอนเพื่อบรรยายสรุปเกี่ยวกับอนาตทางการเมืองไทยให้กับหน่วยงานด้านความมั่นคงของสหราชอาณาจักรการได้รับเชิญให้บรรยายสรุปให้กับกระทรวงการต่างประเทศเอสโตเนีย (ซึ่งได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจากเอกอัครราชทูตกิติมศักดิ์เอสโตเนียประจำไทยที่ดูเหมือนจะเข้าใจปัญหาการเมืองไทยไม่ด้อยไปกว่าผม) การบรรยายสรุป ณ สถาบันมอสโควแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการต่างประเทศมอสโคว (ได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นเช่นกัน โดยเจ้าภาพได้จัดเจ้าหน้าที่มาดูแลผมตลอดการเยือน) และการบรรยายสรุป ณ กระทรวงการต่างประเทศสวีเดน นอกจากนี้ ที่สวีเดน ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการเดินขบวนวันแรงงานแห่งชาติที่นั่น และได้ชูประเด็นเรื่องการแทรกแซงการเมืองของกองทัพไทยในการทำรัฐประหาร โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มคนไทยที่รักประชาธิปไตยในสวีเดน รวมถึงการบรรยายให้กับคนไทยที่นั่นในเวลาต่อมาด้วย

ประเทศในยุโรปเหล่านี้สนใจความเคลื่อนไหวทางการเมืองไทยอย่างมาก บางประเทศ(ซึ่งไม่อาจระบุชื่อได้) กำลังมองหาแนวทางในการเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัฐบาลทหารของไทย และจะกำหนดท่าทีต่อต้านรัฐธรรมนูญที่พวกเขามองว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย รวมไปถึงโอกาสที่จะปฏิเสธความชอบธรรมของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคตและรัฐบาลที่จะจัดตั้งขึ้นภายในร่มเงาของกลุ่มอำนาจเก่าผมย้ำกับประเทศเหล่านี้ว่าไทยจะไม่กลับไปเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ปกติ หากกองทัพยังคงเข้าแทรกแซงการเมืองอยู่เนืองๆ และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังอยู่

ก่อนเดินทางกลับสู่เกียวโตนั้น ผมได้แวะเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับเสรีภาพของสื่อออนไลน์ ณ กรุงอูลานบาตาร์ ตามคำเชิญของกระทรวงการต่างประเทศของมองโกเลีย ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อเรื่องสื่อกับผลกระทบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งกรณีของไทยได้รับความสนใจอย่างมาก  โดยในการสัมมนานี้ มหาวิทยาลัย British Columbia ของแคนาดา เป็นผู้จัดร่วมกับทางการมองโกเลีย ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา

ผมสิ้นสุดการเดินทางในทริปที่สองหลังจากการเกียวโตไปทั้งสิ้น36 วัน เดินทางไป 7 ประเทศ 8 เมือง และให้ทั้งความรู้และรับความรู้ใหม่ๆ มากขึ้น แม้ผมจะเดินทางคนเดียว บางครั้งต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยว แต่ผมได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจากผู้ที่พบเจอ โดยเฉพาะการมีไดอะลอกที่มีความหมายมากๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทยในหมู่มิตรที่ยุโรป







Visa översättning




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar