onsdag 13 maj 2015

ข้อคิดมุมมอง. นักวิชาการ.. ทำไมต้องลงประชามติที่ “เป็นประชาธิปไตย” . ความเสี่ยงทางการเมืองถ้าไม่ทำประชามติ?

ThaiE - News
คลิกอ่าน-พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ พูดถึง นักวิชาการและกลุ่ม "ก้าวหน้า" จำนวนหนึ่ง "ไม่เอา" ประชามติทุกชนิด






นักวิชาการและกลุ่ม "ก้าวหน้า" จำนวนหนึ่ง "ไม่เอา" ประชามติทุกชนิด ด้วยเหตุผลทางปฏิบัติคือ ไม่มีประโยชน์ ยังไงคสช.ก็ไม่ยอม หรือถ้าคสช.ยอม แล้วร่างรธน.ผ่านประชามติ พวกเขาก็จะมีความชอบธรรมทันที ส่วนเหตุผลทางหลักการคือ เท่ากับไปยอมรับกระบวนการของรัฐประหาร เพราะจะมีประชามติได้ ต้องแก้รธน.ชั่วคราว 57

การที่บอกว่า "ไม่ยอมรับรธน.ชั่วคราว 57" แต่ในทางปฎิบัติ มันมีผลต่อทุกคน หลายคนถูกเรียกตัว เจอข้อหา มีคดี ส่วนใหญ่ต้องอยู่อย่างหวาดกลัว ฉะนั้น การยืนยัน "ไม่ยอมรับรธน.ชั่วคราว 57" จึงเป็นแค่โวหารที่ไม่มีผลเป็นจริง แล้วยังเป็นการมัดมือเท้าตัวเองอีกด้วย

ที่คนกลุ่มนี้ (นำโดยสศจ) เสนอคือ ไม่เอาประชามติ ไม่ยอมรับรธน.58 กระโดดข้ามไปบอยคอตการเลือกตั้งโน่นเลย แต่การเสนอเช่นนี้ก็คือ ปล่อยให้กระบวนการลื่นไหลไปจนมีรธน. มีประกาศวันเลือกตั้ง แล้วค่อย "ทะลุปล้อง" เรียกร้องให้พรรคการเมือง "บอยคอตเลือกตั้ง" ผมถามว่า ถึงตอนนั้น จะมีพรรค ("หมาที่ไหน") กล้าบอยคอตเลือกตั้ง?

คนที่เรียกร้องประชามติก็รู้ว่า ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลยที่คสช.จะยอม? แล้วเรียกร้องทำไม? ถ้ากระแสเรียกร้องประชามติมาแรง แล้วเขาดื้อไม่ให้มีประชามติ ดันทุรังผ่านรธน.ออกมาจนได้ คำตอบคือ "ดีเหมือนกัน" รธน.58 จะยิ่งขาดความชอบธรรม ซึ่งจะกระทบไปถึงการจัดการเลือกตั้งด้วย

แต่ถ้าเขายอมให้มีประชามติ คำตอบคือ "ดีเหมือนกัน" อีกเพราะจะเกิดการอภิปรายในพื้นที่สาธารณะประเด็น "รธน.ต้องมาจากปชช." รวมทั้งอภิปรายร่างรธน.58 นี้ ถึงเขาห้ามพูด ก็เชื่อว่า จะห้ามไม่อยู่ พรรคการเมืองก็จะมีบทบาทในขั้นนี้ได้ง่ายกว่า

ถ้าผลประชามติคือ "ไม่ผ่าน" แล้วเขายังจะขัดขืน วนกลับไปเริ่มต้นจุดเดิมด้วยสภาปฏิรูปชุดใหม่อีกรอบ ในทางการเมือง เขา "สูญเสีย" อย่างหนัก

ถ้าผลประชามติคือ "ผ่าน" ก็มีเลือกตั้ง แต่สิ่งที่ได้คือ ได้เปิดประตูอภิปรายประเด็น "ที่มาของรธน." และได้วิพากษ์ร่างรธน.58 ไว้แล้ว ประเด็นเหล่านี้จะยังคงอยู่ต่อไป และพร้อมที่จะกลับมาอีกครั้งเมื่อรธน.58 ถูกฉีกในที่สุด




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar