lördag 5 september 2015

3 Scenario การเมืองไทย หลัง สปช.ชี้ชะตารัฐธรรมนูญ

ข่าว-prachachat |




ในที่สุดร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "ดร.บวรศักดิ์อุวรรณโณ" หัวขบวนกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญหลังผ่านพิธีกรรมชี้ชะตาอนาคตร่างรัฐธรรมนูญจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) 249ชีวิต วันที่ 6 กันยายน 58ภาพการเมืองไทยจะเริ่มเด่นชัดขึ้นหลังจากฝุ่นตลบ
 
เพราะก่อนหน้าการลงมติรับ-ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสปช. เสียงวิตกกังวลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบนกระดานอำนาจวาดภาพการเมืองเขม็งเกลียวถึงขั้นแตกหัก โดยเฉพาะ "เงื่อนปม"คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.)
 
เมื่อต่างฝ่ายต่างเห็นภาพสวนทางกันสุดขั้ว เพราะฝ่ายหนึ่งมองว่าจะเป็นทางออกของวิกฤตขัดแย้งหลังม็อบการเมือง 2 ขั้ว 2ข้างใช้ถนนเป็นที่ชุมนุมประท้วงกันนานเกือบทศวรรษ 
 
อีกฝ่ายหนึ่งกลับมองว่าจะเป็นชนวนจุดไฟขัดแย้งอีกครั้ง เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกมัดมือมัดเท้ารวมถึงสอดไส้เปิดช่องทางอำนาจพิเศษ-สืบทอดอำนาจของ คสช.
 
แต่ไม่ว่าสปช.จะโหวตคว่ำหรือโหวตผ่านร่างรัฐธรรมนูญสูตรการเมือง-ไทม์ไลน์การเลือกตั้งจะถูกแบ่งออกเป็น3Scenario
 
Scenario ที่ 1 หากวันที่ 6กันยายน 58สปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ-ผ่านด่านการทำประชามติในวันที่ 17มกราคม 59 ซึ่งก่อนการออกเสียงประชามติจะต้องฝ่าด่านรณรงค์"โหวตคว่ำ" ร่างรัฐธรรมนูญของจากฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย-พรรคประชาธิปัตย์ส่งผลให้การเมืองไทยยังหายใจไม่ทั่วท้องต่อไปอย่างน้อย4เดือนก่อนถึงวันประชาชนเดินเข้าคูหาออกเสียงประชามติ
 
เมื่อผ่านด่านประชามติเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 59กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญร่วมกับแม่น้ำอีก 2 สาย คือรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นพี่เลี้ยงโดยจะเป็นกฎหมายเลือกตั้งจำนวน 6 ฉบับ อาทิ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.และ ส.ส.ให้เสร็จภายใน 2เดือน

เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน-มิถุนายน 59สนช.จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 6ฉบับ ภายใน 90 วัน ก่อนจะส่งศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา (ตีความ)ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 6 ฉบับ ราว 30วันในเดือนกรกฎาคม 59 ทันทีที่ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 6ฉบับ ประกาศบังคับใช้ในเดือนกันยายน 59 เสียงลั่นกลองรบ"ศึกเลือกตั้ง" จะดังระงมในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 59
 
หากฤดูแห่งการเลือกตั้งสามารถผ่านเงื้อมมือกลุ่มแนวรบ-แนวต้านร่างรัฐธรรมนูญไปได้ตลอดรอดฝั่งจะสามารถเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม60และมีรัฐบาล-คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเข้าประจำการในตึกไทยคู่ฟ้าช่วงเดือนกุมภาพันธ์60
 
Scenario ที่ 2 แม้ว่า 6กันยายน 58 สปช.จะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ทว่า ระหว่างทางบรรยากาศทางการเมืองก่อนประชาชนออกเสียงประชามติในวันที่17 มกราคม 59จะถึงจุดบีบคั้นอีกช่วงหนึ่ง เพราะอาจเกิดการ "ลองของ" คสช.ฝ่ายการเมืองรณรงค์ "ไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญ"จนสังคมคล้อยตามและคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ถูกคว่ำในขั้นตอนการทำประชามติ 
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ผ่าทางตันแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 21 คนเพื่อยกร่าง-ปรับแก้รัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 6 เดือนหรือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม 59เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง-ไม่เป็นที่ยอมรับในร่างรัฐธรรมนูญ
 
ก่อนจะเปิดทางให้ประชาชนออกเสียงประชามติอีกครั้งโดยใช้เวลา 4 เดือน หรือระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 59และหากผลการออกเสียงประชามติโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญจะใช้เวลายกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จำนวน 6เดือน และส่งให้ สนช.พิจารณาเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยใช้เวลาราว 9เดือน หรือระหว่างเดือนธันวาคม 59-สิงหาคม 60
 
ก่อนจะเข้าสู่โค้งการเลือกตั้งในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน60
 
3.หาก 6 กันยายน 58สปช.ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ แรงบีบทางการเมืองจะถูกปลดล็อก-นับหนึ่งใหม่ เมื่อ"พล.อ.ประยุทธ์" ในฐานะหัวหน้า คสช.จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ21 คน และยกร่าง-ปรับแก้รัฐธรรมนูญใหม่ภายใน 6เดือน หรือระหว่างเดือนตุลาคม 58-มีนาคม 59
 
จากนั้นเดือนเมษายน-กรกฎาคม 59ประชาชนจะเข้าคูหาออกเสียงประชามติ หากผลออกมาลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญเดือนสิงหาคม 59-เมษายน60 กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ยกร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 6 เดือน และส่งให้สนช.พิจารณาเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความใช้เวลาราว 9เดือน ก่อนจะมีการเลือกตั้งระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 60
 
ไม่ว่าสภาปฏิรูปฯจะยกมือโหวตออกหัวออกก้อยแต่ภาพการเมืองไทยคงหนีไม่พ้น 3 ทิศทางนี้

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat



Inga kommentarer:

Skicka en kommentar