fredag 18 november 2016

รัฐบาลคณะ " คสช " ทำตัวเหมือนหัวหน้าโจรจับคนเรียกค่าไถ่ โดยใช้ม. 112 เป็นเครื่องมือ จากตัวอย่างข้างล่างและในหลายกรนีที่ผ่านมา

นี่คือประโยชน์ของ 112 ไง ได้สนองอารมณ์ล่าแม่มด



จาก อ.ปิยบุตร

"สิ่งที่ลุงบัณฑิต อานียา พูดแสดงความเห็นในเวทีเสวนาเมื่อปีที่แล้ว ไม่มีส่วนใดที่เข้าข่ายความผิดตาม ป อาญา มาตรา 112 เลย

แต่ก็นั่นแหละ ภายใต้ระบอบปัจจุบัน ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงข้อความที่พูด แต่อยู่ที่ใครเป็นคนพูด ผู้พูดมีประวัติความเป็นมาอย่างไร และพูดด้วยสำเนียงท่าทีอย่างไร จากนั้นพวกเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดก็จะตีความจินตนาการกันเอง

ผมเล็งเห็นเรื่องนี้ ในวันนั้น ผมเป็นวิทยากรในเวทีด้วย ด้วยความที่รู้จักมักคุ้นกับลุงบัณฑิตอยู่บ้าง เลยจำเป็นต้องขัด เพราะเล็งเห็นว่า อาจเข้าแดนอันตรายได้

ตอนจบงาน ก็คิดว่าคงไม่มีอะไร. ที่ไหนได้ ตำรวจนอกเครื่องแบบพาไป สน แต่สุดท้ายก็เคลียร์กันด้วยดี

1 ปีเศษผ่านไป ทำไมต้องเอาเรื่องนี้ขึ้นมาอีก ไม่มีประโยชน์ใดๆเลย"

https://www.facebook.com/piyabutr2475/posts/10153975783645848

ขอเสริมว่า การจับบัณฑิตแสดงว่า 112 เป็นกฎหมายที่ใช้่ได้ตามอารมณ์ ปีที่แล้วเห็นว่าไม่ผิด ปีนี้เห็นว่าผิด ไม่ใช่การกระทำที่เจ้าหน้าที่เพิ่งรู้ รู้ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เห็นว่าไม่ผิด ไม่มีใครเอาเรื่อง

ประชาไทบอกว่าหลังสวรรคต บัณฑิตโดน "ล่าแม่มด" ตำรวจทหารเอาตัวไป สน. แล้วบอกว่าโพสต์ไม่เหมาะสม แต่ก็แค่ตักเตือนทำข้อตกลง (แปลว่าเอาผิดไม่ได้ ถ้าเข้าข่าย 112 จริงนะ โดนหนักไปแล้ว)

ที่ไหนได้กลับย้อนมาเอาผิดเรื่องเก่า ปีที่แล้ว (ที่เคยเห็นว่าไม่ผิด) กับคนที่ศาลฎีกาเคยตัดสินรอลงอาญาเพราะเห็นว่ามีอาการจิตเภท

นี่คือประโยชน์ของ 112 ไง ได้สนองอารมณ์ล่าแม่มด

http://www.prachatai.com/journal/2016/11/68851

ที่มา

Atukkit Sawangsuk

ooo

ศาลทหารให้ประกันพร้อมเงื่อนไข ‘บัณฑิต อานียา’ คดี 112 เพิ่มหลักทรัพย์เป็น 4 แสน





ภาพ (16 พ.ย.) ที่ศาลทหาร ถ่ายโดย อนุธีร์ เดชเทวพร


Thu, 2016-11-17 16:33
ประชาไท


17 พ.ย.2559 อานนท์ นำภา ทนายความนายบัณฑิต อานียา แจ้งว่า ศาลทหารอนุญาตปล่อยชั่วคราวนายบัณฑิต อานียาแล้วในวันนี้ โดยนายประกันได้วางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 400,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ทีมช่วยเหลือคดีนักโทษการเมืองระดมจากการบริจาคและบางส่วนเป็นการหยิบยืมมา อย่างไรก็ตาม ศาลระบุเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวด้วยว่า 1.ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล 2.ห้ามร่วมชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดคามไม่สงบในราชอาณาจักรและห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใดหรือเป็นหนังสือ เพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

บัณฑิต อานียา ถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษแล้ว 1 คืนตั้งแต่เมื่อวานนี้ (16 พ.ย.) หลังพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงครามนำตัวมาขอฝากขังยังศาลทหาร ทนายจำเลยขอยื่นประกันตัวด้วยเงินสด 300,000 บาท ศาลยกคำร้องโดยระบุว่า หลักทรัพย์ยังไม่เพียงพอให้ศาลพิจารณาใช้ดุลยพินิจ จึงมียื่นประกันใหม่ในวันนี้โดยเพิ่มวงเงินหลักทรัพย์อีก 100,000 บาท

บัณฑิต อานียา เป็นนามปากกาของนักเขียนสูงวัยรายนี้ ชื่อจริงของเขาคือ นายจือเซ็ง (สงวนนามสกุล) อายุ 71 ปีตามเอกสารราชการ แต่เขาระบุว่าอายุจริงของเขาคือ 76 ปี มีอาชีพเป็นนักแปลนักเขียน เขาถูกตำรวจจับกุมตัวตามหมายจับที่ออกเมื่อ 14 พ.ย.2559 ที่ห้องพักย่านหนองแขมแล้วนำตัวไปรับทราบข้อกล่าวหาความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและถูกควบคุมตัวที่สน.ชนะสงคราม 1 คืนก่อนพนักงานสอบสวนจะนำตัวมาฝากขังยังศาลทหาร

สาเหตุของการออกหมายจับในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก การแสดงความคิดเห็นของเขาหลังการเสวนาเรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช? จัดโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2558 โดยเขาเสนอความเห็นให้บัญญัติเรื่องที่เขาเห็นว่าสำคัญ 5 เรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญ และข้อหนึ่งในนั้นระบุถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่ามีส่วนที่พาดพิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจบการเสวนาในวันนั้น ตำรวจ สน.ชนะสงครามที่มาสังเกตการณ์การจัดเสวนาได้เชิญตัวเขาไปโรงพักเพื่อทำการตักเตือนและให้ลงนามในข้อตกลงว่าจะไม่แสดงความเห็นลักษณะนี้อีก โดยไม่ได้ดำเนินคดีแต่อย่างใด กระทั่งต่อมามีการให้เหตุนี้ในการออกหมายจับเมื่อวันที่ 14 พ.ย.และนำมาซึ่งการจับกุมในครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้าการจับกุมในครั้งนี้ เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังการสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 บัณฑิต อานียา ถูก ‘ล่าแม่มด’ โดยถูกด่าทอและคุกคามเอาชีวิตในโลกโซเชียลมีเดีย จากนั้นไม่กี่วันตำรวจและทหารได้ควบคุมตัวเขาจากห้องพักไปยังสน.หนองค้างพลู โดยตำรวจระบุว่าเขาโพสต์แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ อย่างไม่เหมาะสมกับห้วงเวลาแห่งความเศร้าโศกของประชาชนทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้เป็นเพียงการตักเตือนและทำข้อตกลงกับนายบัณฑิตว่าจะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีกและบัณฑิตได้รับปากเจ้าหน้าที่โดยดี นายทหารที่ดูแลพื้นที่ระบุว่าหากเขายังมีพฤติกรรมการโพสต์เช่นเดิมจะดำเนินการดำเนินคดีตามมาตรา 112 ให้ถึงที่สุด

การดำเนินคดีตามมาตรา 112 ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 แล้ว ก่อนหน้านี้หลังรัฐประหาร 2557 ไม่นาน เขาก็เพิ่งโดนดำเนินคดีตามมาตรา 112 แต่ได้รับการประกันตัวและขณะนี้อยู่ระหว่างต่อสู้คดีในศาลทหาร เหตุเกิดจากการแสดงความคิดเห็นในวงเสวนาของพรรคการเมืองขนาดเล็กพรรคหนึ่งที่ระดมความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปในประเด็นต่างๆ โดยเขาถูกฟ้องว่าพูด 2 ประโยคที่เข้าข่ายความผิด

ในส่วนคดี 112 ที่จบไปแล้ว ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อ 17 ก.พ.2557 ให้จำคุก 4 ปี รอลงอาญา 3 ปีเนื่องจากเห็นว่าบัณฑิตมีอาการทางจิตเภท เหตุแห่งการดำเนินคดีเกิดจากปี 2546 พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต.(ขณะนั้น) แจ้งความกล่าวหาเขาว่าพูดแลกเปลี่ยนในงานเสวนาและขายเอกสารที่จัดทำขึ้นเองมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นฯ



เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
'บัณฑิต อานียา' โดนหนที่ 3 คดี 112 เสี่ยงนอนคุก คดีเก่าศาลทหารยังไม่เสร็จ
บัณฑิต อานียา นอนคุก ศาลทหารไม่ให้ประกัน เหตุหลักทรัพย์ไม่พอ-พนง.สส.ไม่อยู่ให้สอบถาม

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar