torsdag 24 november 2016

ข้อมูลและความเห็นเพิ่มเติมกรณีพระบรมฯอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษีมรดกให้แคว้นบาวาเรีย และปัญหาทรัพย์สินมรดกในหลวงภูมิพล




Somsak Jeamteerasakul

 
พระบรมฯอาจจะต้องเสียภาษีมรดกให้แคว้นบาวาเรีย-บาเยิร์น
พระบรมฯอาจจะต้องเสียภาษีมรดกให้แคว้นบาวาเรีย-บาเยิร์น
ผมเห็นข่าวนี้มา 5-6 วัน จากกระทู้นี้ของคุณ Andrew (ลิงค์: goo.gl/Np49ly) ซึ่งอ้างข่าวในเว็บไซต์สื่อเยอรมัน ตัวรายงานข่าวเป็นภาษาเยอรมัน ดูได้ที่นี่ goo.gl/az2vzw
แต่พอดีหลายวันนี้ผมยุ่งๆอยู่ และตัวรายงานเป็นภาษาเยอรมันด้วย ผมเลยไม่ทันได้โพสต์
ก็พอดีมี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ส่งลิงค์เรื่องเดียวกันนี้ ที่เป็นภาษาอังกฤษมาให้ เมื่อครู่นี้ (ขอบคุณมากครับ) ผมจึงคิดว่า ควรโพสต์ให้ดูกันได้
ดูได้ที่นี่ http://sea-globe.com/crown-prince-inheritance-tax/
จริงๆตัวรายงานภาษาเยอรมันข้างต้น ถ้าใช้ Google translate เป็นภาษาอังกฤษ ก็พออ่านได้นะ
เรื่องนี้ซีเรียสไหม? เท่าที่ผมอ่านดู คิดว่าก็ซีเรียสอยู่บ้างเหมือนกัน รายงานข่าวเยอรมัน (อ้างในภาษาอังกฤษด้วย) ได้ไปสัมภาษณ์คุณแดเนียล เลห์มันน์ หุ้นส่วนของบริษัท Großkanzlei Baker Tilly Roelfs ในมิวนิค (ผมเสิร์ชดูแล้ว นี่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายบริษัทด้านให้คำปรึกษา (Consultants) ที่ใหญ่ที่สุดเครือข่ายหนึ่งของเยอรมัน) คุณเลห์มันน์กล่าวว่า "เนื่องจากพระบรมฯมีที่พักอาศัยในเยอรมัน จึงต้องขึ้นต่อหรือถูกบังคับด้วยกฎหมายมรดกด้วย"
ยิ่งกว่านั้น ในรายงานภาษาเยอรมัน (ส่วนนี้ไม่มีอ้างในภาษาอังกฤษ) ได้ไปขอความเห็นจากคุณมาร์คุส โซเดอร์ รัฐมนตรีคลังของแคว้นบาวาเรีย (หรือแคว้นบาเยิร์น: ในภาษาเยอรมันเรียกว่า "บาเยิร์นฟรีสะเตท" หรือรัฐเสรีบาเยิร์น) รัฐมนตรีโซเดอร์บอกว่า ไม่สามารถให้ข้อมูลรูปธรรมได้ เนื่องจากเรื่องภาษีเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แต่โซเดอร์ก็กล่าวว่า "ในกรณีของผู้มีที่พักอาศัยในรัฐ กฎหมายมรดกจะต้องได้รับการบังคับด้วย"
รายงานเยอรมัน กล่าวว่า มูลค่าของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไทย ที่มีการประเมินกันคือ 4 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามกฎหมายบาวาเรีย ภาษีมรดกจะสูงได้ถึง 30% ของมรดกที่ได้
.........
ในรายงานภาษาอังกฤษได้ไปสัมภาษณ์ ดร.พอล แชมเบอร์ส แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ในภาษาเยอรมันไม่มี) ดร.แชมเบอร์ส กล่าวว่า ถ้าทางการบาวาเรียยืนยันจะเก็บภาษีมรดกจริงๆ รัฐไทยก็คงใช้ท่าทีแสดงไม่พอใจ แต่คงจ่าย เพราะไม่อยากให้เรื่องอื้อฉาวขึ้นมา
Somsak Jeamteerasakul
ข้อมูลและความเห็นเพิ่มเติมกรณีพระบรมฯอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษีมรดกให้แคว้นบาวาเรีย และปัญหาทรัพย์สินมรดกในหลวงภูมิพล

ข้อมูลและความเห็นเพิ่มเติมกรณีพระบรมฯอาจเข้าข่ายต้องเสียภาษีมรดกให้แคว้นบาวาเรีย และปัญหาทรัพย์สินมรดกของในหลวงภูมิพล (ปัญหาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์-ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ของในหลวงภูมิพลที่พระบรมฯจะได้รับ)
กระทู้นี้ต่อเนื่องจากกระทู้ก่อน (ใครยังไม่ได้ดู ที่นี่ครับ goo.gl/1uVAp1)
พอดีมี "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ได้ค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายมรดกของเยอรมันมาให้ (ขอบคุณมากครับ) ผมเอามาโพสต์ให้ดูชัดๆ สำหรับใครที่ไม่ได้ดู เพราะอยู่ในคอมเม้นท์ (และดูการอภิปรายที่น่าสนใจของหลายท่านในคอมเม้นท์นี้ goo.gl/jHsVnE)
ผมเลยถือโอกาสอภิปรายเพิ่มเติมอะไรสักนิด ทั้งเรื่องนี้โดยตรงและเรื่องเกี่ยวข้องที่กว้างออกไป
ถ้าดูตามข้อมูลนี้ คิดว่า พระบรมฯน่าจะเข้าข่ายสามารถถูกพิจารณาเรียกเก็บภาษีจากมรดกทรัพย์สินใดๆที่จะทรงได้จากในหลวงภูมิพลจริงๆ
ก่อนอื่น ขออธิบายเพิ่มเติมอะไรสักนิด ตามข้อมูลนี้ จะเห็นว่า แม้ว่าเขาจะยกตัวอย่างกรณีที่ #ผู้ตาย เป็นผู้มีที่พักอาศัยประจำในเยอรมัน แต่เขาก็พูดไว้ชัดว่า "ไม่ว่าในกรณีผู้ตาย #หรือผู้ได้รับมรดก มีที่พักอาศัยในเยอรมัน" (#either the decease OR THE HEIR has a residence in Germany at the time of his death) นั่นคือ หมายความว่า ไม่จำเป็นว่าผู้ตาย (ในกรณีนี้คือในหลวงภูมิพล) เป็นคนมีที่พักในเยอรมัน แค่ผู้รับมรดกเองเป็นคนมีที่พักในเยอรมัน มรดกที่มีการส่งทอดกันก็สามารถอยู่ภายใต้ภาษีนี้ (เพราะถือว่าเป็นรายได้ของผู้รับมรดก ที่พักอยู่ในเยอรมัน รายได้หนึ่งด้วย - สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ต่างประเทศแล้วไม่ทราบ ปกติใครที่มีที่พำนักระยะยาวในต่างประเทศ เวลาทำเรื่องภาษีในประเทศนั้นจะต้องระบุรายได้ที่ได้จากต่างประเทศด้วย เช่นถ้าอยู่เยอรมัน แต่มีรายได้จากประเทศไทยหรือประเทศอื่นด้วย เวลาทำภาษีประจำปี จะต้องระบุว่าได้รายได้อะไรจากไทยหรือต่างประเทศอื่นด้วย)
อีกประเด็นที่ต่อเนื่องกัน ที่มีบางท่านสงสัยว่า ในเมื่อทรัพย์สินของผู้ตายไม่ได้อยู่ในเยอรมัน คงจะไม่นับ (ในกรณีนี้คือทรัพย์สินในหลวงภูมิพลที่จะให้พระบรมฯเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย) อันนี้ ผมว่าไมใช่นะครับ คือ ถ้านับอันนี้เป็นข้อยกเว้น เขาจะต้องเขียนว่า "และ" คือจะต้องนับเฉพาะในกรณีว่าทั้งผู้ตายและผู้รับมรดกต้องอยู่ในเยอรมันทั้งคู่ แต่นี่เขาเขียนชัดว่า "หรือ" คือ ถ้าผู้รับมรดกอยู่คนเดียวก็ใช้ได้แล้ว หมายถึงว่า ต่อให้ผู้ตายและมรดกผู้ตาย ไม่ได้อยู่ในเยอรมัน ถ้าผู้รับมรดกอยู่ ผู้รับมรดกนั้นก็สามารถเข้าข่า่ยถูกเก็บภาษีจากมรดกที่ได้จากผู้ตายที่ไม่ได้อยู่เยอรมันด้วย (อย่างที่เพิ่งพูดข้างบนว่า ปกติเวลาทำภาษีประจำปี แม้รายได้จากประเทศอื่น ก็ต้องระบุ)
อีกอย่าง ถ้านี่เป็นเงื่อนไขจริงๆ ผมว่าเวลาที่สื่อเยอรมันไปสัมภาษณ์ทนายบริษัทที่ปรึกษา และตัวรัฐมนตรีคลังของแคว้นบาวาเรียเอง (ดูกระทู้ที่แล้ว) เขาคงปฏิเสธไปเลยว่า "ไม่ใช่หรอกๆๆ เพราะทรัพย์สินในหลวงภูมิพลที่่พระบรมฯจะได้รับ เป็นทรัพย์สินที่อยู่ในไทย ไม่นับ"
สรุปแล้ว ดูโดยตัวกฎหมายตามที่เขียนนี้ คงต้องบอกว่า มี grounds หรือ "ฐาน" ให้พระบรมฯจะถูกพิจารณาเรียกเก็บภาษีมรดกที่จะได้จากในหลวงภูมิพลจริง
ผมคิดว่า ปัญหาอยู่ที่ว่า แคว้นบาวาเรียจะซีเรียสมากน้อยแค่ไหนที่จะดำเนินการเรื่องนี้มากกว่า
แน่นอน อย่างที่ทุกคนคงพอรู้กัน ปัญหากฎหมายภาษี (ไม่ว่าประเทศไหน) มันซับซ้อน และมีโอกาสของการมีช่องโหว่ได้ (ใครตามกรณีทรัมพ์คงพอรู้ๆ) ถึงเวลา ต่อให้แคว้นบาวาเรียซีเรียสจะดำเนินการจริง ก็ยังต้องมีการสู้กันทางกฎหมายอีกเยอะ
(กรณีที่มีคนยกเรื่อง diplomatic passport หรือพาสปอร์ตทางการทูตนั้น ผมก็คิดอยู่ - พระบรมฯน่าจะมีพาสปอร์ตการทูต - แต่ผมเข้าใจว่า น่าจะไม่ใช่ใช้เป็นข้อยกเว้นได้ เหตุผลหนึ่งคือถ้าใช้เป็นข้อยกเว้นได้ รมต คลังบาวาเรียก็คงยกขึ้นมาปฏิเสธแล้วเช่นกัน แต่ที่สำคัญ เราต้องไม่ลืมว่า กรณีคนถือพาสปอร์ตการทูตนั้น ส่วนใหญ่คือพวกนักการทูต ที่อยู่ในแต่ละประเทศไม่กี่ปี โอกาสที่ในไม่กี่ปีนี้ จู่ๆจะได้มรดกก้อนใหญ่จากญาติในประเทศตัวเอง ปกติก็น้อยมาก)
.................
ปัญหาที่อยากอภิปรายกว้างออกไปคือ อะไรคือทรัพย์สินมรดกที่พระบรมฯได้รับ และมีมูลค่าเท่าไร (เรื่องมูลค่าเท่าไรนี่คงตอบไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดที่ผมจะพูดต่อไปนี้) ตามรายงาน เขาก็นับเอาตามแบบที่ฝรั่งเข้าใจกันในหลายปีนี้ คือนับจาก "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" นั่นแหละ
แน่นอน ถ้าเกิดเรื่องแคว้นบาวาเรียซีเรียสดำเนินการเรื่องนี้ขึ้นมา ทางรัฐบาลไทยคงแก้ว่า "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของรัฐ ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัว พระบรมฯรับมรดกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะตำแหน่งประมุขรัฐ ไม่ใช่ถือเป็นรายได้ หรือมรดกส่วนบุคคลของพระองค์"
ปัญหาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในทางกฎหมายถือเป็นทรัพย์สินของในหลวง(และในอนาคตของพระบรมฯ) หรือไม่ เป็นปัญหาซับซ้อนอยู่ ซึ่งผมขอไม่อภิปรายเต็มที่ในที่นี้ เพราะจะยาว อย่างสั้นๆคือ ผมมองว่า ตัวกฎหมายทรัพย์สินฯมันเขียนแบบลักลั่น แต่เรื่องที่ว่า #ในทางเป็นจริง (และทางกฎหมายด้วยในบางระดับ) ทรัพย์สินฯดังกล่าวมีลักษณะเป็นทรัพย์สินแบบส่วนตัว ที่จะ "ใช้ในทางใดๆก็ได้ตามใจชอบ" (มาตรา 6 ที่ผมเขียนด้วยภาษาบ้านๆ) เป็นอะไรที่ไม่มีทางปฏิเสธได้ (ดูตัวอย่างง่ายๆกรณีชัดๆ จ่ายเงิน 200 ล้านให้พระบรมฯหย่าศรีรัศมิ์)
แต่ที่น่าสนใจ และไม่ค่อยมีคนพูดถึงคือ ต่อให้สมมุติไม่นับเอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินส่วนตัว และดังนั้น ไม่สามารถถือเป็นทรัพย์สินมรดกที่เสียภาษีได้ จริงๆแล้ว ในหลวงภูมิพลยังมีทรัพย์สินส่วนพระองค์มูลค่าไม่น้อยอยู่ อย่างที่เขียนไปข้างบนว่า เท่าไร ไม่มีใครรู้ แต่หลายคนคงเคยเห็นพวกหุ้นที่มีในชื่อในหลวงภูมิพลในตลาดหลักทรัพย์ (เฉพาะที่เห็นก็น่าจะเป็นร้อยล้านบาทแล้ว - อันที่จริง ปัญหาที่ในหลวงภูมิพลมีชื่อถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผมมองว่า มีปัญหาทางกฎหมายที่ขัดกับตัว พรบ.ทรัพย์สินฯ แต่อันนี้จะยาวถ้าอภิปรายในที่นี้) เท่าที่ผมรู้มาแน่ๆ ในหลวงภูมิพลยังมีที่ดินในพระนามของพระองค์ คือเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์อีกไม่น้อย เช่นที่ดินบริเวณตลาดบางลำภู (เคยเกิดกรณีขึ้นมา ผมจึงรู้)
เมื่อไม่กี่ปีก่อน มีข่าวว่าในหลวงภูมิพลใช้ "พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์" 10 ล้านบาท ทำโครงการอย่างหนึ่ง ถ้าคิดแบบสามัญสำนึก 10 ล้านบาท คงไม่น่าจะใช่เป็นสัดส่วนสูงมากมายอะไรนักในทรัพย์สินส่วนตัวที่ทรงมีอยู่ทั้งหมด พูดแบบบ้านๆคือ สมมุติมี 100 ล้าน คงไม่ให้เงินถึง 10% ไปกับโครงการเดียวแบบนั้น คือทรัพย์สินรวมคงจะต้องเป็นระดับ 1000 ล้านขึ้นไปมากกว่า คืออย่างมากที่ให้ ไม่น่าจะเกินระดับ 1% ของทรัพย์สิน โดยส่วนตัวผมคิดว่า ไม่น่าจะถึงด้วยซ้ำ ถ้ามองแบบคร่าวๆแบบนี้ (รวมถึงการที่ทรงมีหุ้นและที่ดินที่กล่าวข้างต้น) ผมคิดว่า คงมีเหตุผลที่จะประเมินว่า ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของในหลวงภูมิพลเอง จะต้องอยู่ในระดับ 1000 ล้านบาท หรือหลายพันล้านบาทแน่ ทรัพย์สินจำนวนนี้ เทียบเป็นเงินต่างประเทศ ก็ระดับหลายร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐได้ไม่ยาก
อ้อ อย่าลืมว่า ยังมีปัญหาเรื่องเงินที่มีการบริจาค "ให้ใช้ตามพระราชอัธยาศัย" ซึ่งจนทุกวันนี้ ไม่มีใครสามารถบอกว่าได้ ตกลงจัดอยู่ในทรัพย์สินอะไร? เพราะไม่ได้อยู่ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แน่ๆ (อันนี้ยืนยันได้ สนง.ทรัพย์สินเอง ไม่ได้จัดการเงินส่วนนี้ เขาจัดการเฉพาะเรื่องที่ดินและการลงทุน) อย่างกรณีตัวอย่าง 10 ล้านที่ว่าทรงให้โครงการหนึ่งเร็วๆนี้ เอาเฉพาะเงินที่บริษัทอย่างซีพี บริจาคให้ในหลวงภูมิพล "ใช้ตามพระราชอัธยาศัย" ไม่กี่ครั้งก็ถึง 10 ล้านสบายๆแล้ว (ดังนั้นที่ว่า 10 ล้าน น่าจะไม่ถึง 1% ของทรัพย์สินส่วนพระองค์นี่เป็นไปได้เยอะ)
ตอนที่ในหลวงภูมิพลสวรรคต ผมคุยๆกับคนไทยจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็พูดกันถึงเรื่องทีว่าพระบรมฯจะเข้าคอนโทรลสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทน (ที่ไปเยอรมันกับพระบรมฯตอนนี้ ว่ากันว่า มีคุณ "ดร. อ" อยู่ด้วย นัยว่า คงไปคุยกันเรื่องการจัดการเรื่องนี้ในอนาคตด้วย)
แต่ผมก็บอกว่า ที่ผมสนใจมากเหมือนกัน แม้จะหาข้อมูลไม่ได้คือ ตกลง ทรัพย์สินที่ได้ชื่อ "ส่วนพระองค์" โดยตรงของในหลวงภูมิพลนั้น มีการเขียนพินัยกรรมยกให้ใครบ้างหรือไม่ เท่าไร (เช่น ยกให้พระราชินีเท่าไร ให้ลูกแต่ละคนเท่าไร)
แน่นอน อย่างที่รู้กันแหละ ประเทศไทย นักการเมืองต้อง declare ทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมด แต่เจ้า ไม่ต้อง ดังนั้น เราก็คงต้องอยู่ในความมืดกันต่อไป (แม้ว่า ในความเป็นจริง ทรัพย์สินเจ้า หรือการใช้จ่ายเงินทองของเจ้า มาจากตำแหน่งสาธารณะเสียเยอะ เช่นกรณีเงินบริจาคข้างต้น ไม่นับเรื่องตัว "ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ที่อ้างว่าเป็นของรัฐเอง ที่ไม่เปิดข้อมูลให้รู้กัน .... เรียกว่า ถ้าเป็นทรัพย์สินของรัฐ รัฐนี้ก็คือรัฐยุคมืดนั่นแหละ ไม่ใช่รัฐสมัยใหม่ ที่ต้องสามารถตรวจสอบทรัพย์สินได้)
เอวัง

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar