Somsak Jeamteerasakul added- 4 new photos.
กลุ่มอมรินทร์ จะถูกเท็คโอเว่อร์ โดยกลุ่มเบียร์ช้าง: อีกหนึ่งความริเริ่มบุกเบิกที่ลงเอยล้มเหลวของ "ปัญญาชน 14 ตุลา" http://goo.gl/SoQIb9
กลุ่มอมรินทร์การพิมพ์
จะถูกเท็คโอเว่อร์ โดยกลุ่มเบียร์ช้าง:
อีกหนึ่งความริเริ่มบุกเบิกด้านการพิมพ์ที่ลงเอยด้วยความล้มเหลวของ
"ปัญญาชน 14 ตุลา"
เพิ่งเห็นข่าวที่กลุ่มอมรินทร์การพิมพ์จะถูกเท็คโอเว่อร์โดยกลุ่มเบียร์ช้าง (ขอบคุณ กระทู้ของ Thanapol Eawsakul อันนี้ goo.gl/IYuEKI ภาพประกอบทุกภาพ ยกเว้นภาพหนังสือในหลวง ผมเอามาจากกระทู้เขา)
รู้สึกเศร้าเหมือนกัน ในที่สุด อีกหนึ่งความริเริ่มบุกเบิกของ "ปัญญาชน 14 ตุลา" ก็ลงเอยด้วยความล้มเหลวของพวกเขา กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุนใหญ่ที่มั่นคง (established) แล้ว หลังจากความล้มเหลวของเครือ ผู้จัดการ และ เนชั่น
กลุ่มอมรินทร์ มีกำเนิดจากคุณชูเกียรติ อุทกะพันธ์ (เกิด 2484 เสียชีวิต 2545) คุณชูเกียรติเป็นนิสิตจุฬารุ่นเดียวกับนิธิ เอียวศรีวงศ์ และอนุช อาภาภิรม หลังจบจุฬา เขาเริ่มทำงานด้านการพิมพ์กับไทยวัฒนาพานิช พร้อมๆกับอนุช หลัง 6 ตุลา ชูเกียรติหันมาบุกเบิกวงการหนังสือ เริ่มจาก "บ้านและสวน" แล้วพัฒนาเรื่อยมา จนกลายเป็นเครืออมรินทร์
เขาเป็นส่วนหนึ่งของเจเนชั่นหรือคนรุ่นที่ผมเรียกว่า "ปัญญาชน 14 ตุลา" คือพวกที่เกิดระหว่างประมาณต้นทศวรรษ 1940 ถึงปลายทศวรรษ 1950 (หรือประมาณ 2483-2500) แน่นอน ผมเองอาจจะนับเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นนี้ แต่เป็น "จูเนียร์" ที่สุดของรุ่นก็ได้ เหตุการณ์ที่เป็น pivotal moments หรือ "ช่วงชี้ขาด" สำหรับคนรุ่นนี้ที่แชร์ร่วมกัน คือ 14 ตุลา - 6 ตุลา
นี่เป็นเจเนชั่นที่ revolutionize หรือ "ปฏิวัติ" แวดวงด้านวัฒนธรรม-ภูมิปัญญาของสังคมไทย จนทำให้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ในแวดวงวิชาการ เจเนชั่นนี้คือเจเนชั่นแรกของไทย ที่นำและบุกเบิกการศึกษา-วิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ แบบตะวันตก (นิธิ, ชัยอนันต์, ฉัตรทิพย์, ชาญวิทย์, รังสรรค์, สมบัติ, ลิขิต ฯลฯ ฯลฯ)
ในแวดวงวรรณกรรมวิจารณ์ สุชาติ สวัสดศรี เสถียร จันทิมาธร ไล่เรียงมาจนถึงรุ่น "จูเนียร์" หน่อยอย่าง ชูศักดิ์ ภัทรกุลวนิช
ในวงการสื่อสารมวลชนและการพิมพ์ นี่คือรุ่นที่บุกเบิกทำให้วงการนี้มีหน้าตาแบบ "โมเดิร์น" หรือแบบตะวันตกอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
เริ่มจากก่อน 14 ตุลาเล็กน้อย ผ่านเลยมาหลัง 14 ตุลา เริ่มที่ "ประชาธิปไตย" แล้วต่อมาก็ The Nation, "ประชาชาติ รายสัปดาห์" (นิตยสารข่าวตามแบบ Time, Newsweek เล่มแรกของไทย) "ประชาชาติ รายวัน" "จตุรัส" ฯลฯ
หลัง 6 ตุลา คนรุ่นนี้ ซึ่งก่อน 6 ตุลา หลายคนร่วมกันทำพวก The Naiton-ประชาชาติ ได้ "เท็คอ๊อฟ" อย่างแท้จริง ด้วยการกระจายกันไปบุกเบิกสร้างเป็นบริษัทด้านการพิมพ์และสื่อของแต่ละคน
สุทธิชัย รื้อฟื้นสร้างเป็นเครือเนชั่น-กรุงเทพธุรกิจ
ขรรค์ชัย สร้างมติชน (สุจิตต์ ตอนแรกแยกไปทำ "ศิลปวัฒนธรรม" ซึ่งต่อมาถูกเข้าไปรวมกับ มติชน)
สนธิ ลิ้มทองกุล ไปสร้าง ผู้จัดการ
ชัชรินทร์ สร้าง อาทิตย์-มาตุภูมิ
(ชัชรินทร์ ซึ่งนิตยสาร "อาทิตย์-มาตุภูมิ" เป็นนิตยสารข่าวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในครึ่งแรกของทศวรรษ 2520 ล้มเหลวก่อน)
ดังที่กล่าวข้างต้น ช่วงหลัง 6 ตุลานี้เอง ที่ชูเกียรติ เริ่มบุกเบิกงานตีพิมพ์ของตัวเอง ที่ "บ้านและสวน" แล้วจึงพัฒนาเป็นแพรว... จนกลายเป็นเครืออมรินทร์ในที่สุด แต่ประเด็นที่ผมสนใจเป็นพิเศษของกรณีชูเกียรติคือ กล่าวได้ว่า เขาและบริษัทของเขา มีบทบาทสำคัญในกระบวนการที่ผมเรียกว่า Mass Monarchy คือการกระบวนการ "สร้าง" ในหลวงภูมิพล ให้กลายเป็น "นักเขียน" ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่ไม่เคยปรากฏมาก่อน (ในหลวงได้รับการยกย่องสารพัดมาก่อนหน้านั้น แต่ไม่เคยในฐานะ "นักเขียน")
หนังสือ "นายอินทร์-ติโต-พระมหาชนก-ทองแดง" ที่สร้างให้ในหลวงเป็น "นักเขียน" ล้วนพิมพ์ที่อมรินทร์ อันที่จริง ดังที่หลายคนอาจจะพอทราบ ชื่อ "ร้านหนังสือนายอินทร์" เป็นชื่อที่ในหลวงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ ตามชื่อหนังสือของพระองค์ ... กล่าวได้ว่า "อมรินทร์" กลายเป็น publisher หรือ "สำนักพิมพ์ของในหลวง" อย่างไม่เป็นทางการไป (ดูกระทู้นี้ของผมประกอบ goo.gl/CDiQ6e
อันที่จริง กระบวนการ shift หรือ "ขยับ-เคลื่อนย้าย" ทางความคิดของปัญญาชนรุ่นนี้ ไปทางสถาบันกษัตริย์ (โดยเฉพาะในหลวงภูมิพล) เป็นอะไรที่ไม่ใช่เกิดเฉพาะกรณีชูเกียรติ แต่เกิดทั่วไปทั้งเจเนเรชั่น (รวมทั้งนิธิ เป็นต้น) ซึ่งผมเคยเรียกว่า "การเปลี่ยนประเด็นครั้งใหญ่" (thematic shift) ซึ่งด้านที่สำคัญทีสุดคือการ reconciliation with the monarchy หรือ "คืนดีกับสถาบันกษัตริย์" เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ประเด็นปัญหาอีกต่อไป (no longer an issue)
แน่นอน "ฉันทมติ" ใหม่ที่เกิดจากการขยับหรือเคลื่อนย้ายทางความคิดดังกล่าว ซึ่งถึงจุดสูงสุดระหว่างกลางทศวรรษ 2530 ถึงปลายทศวรรษ 2540 ได้ถูกเทสต์ และทำให้เริ่มเกิดการแตกสลายลงหลังการเริ่มต้นของวิกฤติในช่วงปี 2548-49
.........................
เมื่อไม่กี่วันก่อนนี้เอง ผมได้คุยกับ "มิตรอาวุโส" คนหนึ่ง (จริงๆคือคนในรุ่นที่ผมพูดถึงนี้คนหนึ่ง แต่อายุมากกว่าผมหลายปี) กับ "มิตรวัยเยาว์" (กว่าผม) อีกคน ว่าสักวัน ผมอยากเห็นคนเขียนประวัติศาสตร์ของปัญญาชนรุ่นนี้ เราเริ่มจากคุยกันถึงเรื่องการถึงแก่กรรมของ อ.ลิขิต และการป่วยหนักของ อ.ชัยอนันต์ แล้วเลยพูดไปถึง อ.ชาญวิทย์ นิธิ รังสรรค์ และบทบาทของพวกเขาในแง่เป็นนักวิชาการอาชีพรุ่นแรกสุด ที่นำวิธีการศึกษาสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์แบบตะวันตกมาใช้ในมหาวิทยาลัยไทย
ผมเองเสนอว่า หนังสือที่ตีพิมพ์จากวิทยานิพนธ์เมื่อเร็วๆนี้ของ อ."หยิน" กนกรัตน์ เรื่อง Rise of the Octobrists ("คนเดีอนตุลา") ผมยังไม่ถึงกับชอบนักในแง่เป็นงานประวัติศาสตร์คนรุ่นนี้ ผมเห็นว่าข้อมูลยังน้อยไป และยังขาดความละเอียดแม่นยำในระดับที่ผมชอบ (ทั้งในแง่ที่เกียวกับคนรุ่นนี้ และปริบทประวัติศาสตร์) ผมโจ๊กเล่นๆว่า ต้องให้อย่าง "ประจักษ์" มาเขียน (หรือไม่ก็ อ.ณัฐพล คือสองคนนี้ เขาละเอียดเรื่องการค้นข้อมูลมาก อันทีจริง ณ ขณะนี้ มีอดีตนักศึกษาทีผมเคยสอนอยู่ 2-3 คน ที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และกับอีกคนที่จบปริญญาเอก เริ่มเป็นอาจารย์แล้วไม่กี่ปีนี้ ที่มีวี่แววจะทำงานทำนองเดียวกันได้ แต่นั่นคงเป็นเรื่องของอนาคต)
"มิตรอาวุโส" ก็บอกกับผมว่า ผมเขียนเองสิ ผมก็บอกว่า สงสัยไม่ได้ ผม "ใกล้" กับคนรุ่นนี้มากเกินไป ต้องมีระยะห่างกว่าที่ผมเป็น....
สมศักดิ์ เจียม
เพิ่งเห็นข่าวที่กลุ่มอมรินทร์การพิมพ์จะถูกเท็คโอเว่อร์โดยกลุ่มเบียร์ช้าง (ขอบคุณ กระทู้ของ Thanapol Eawsakul อันนี้ goo.gl/IYuEKI ภาพประกอบทุกภาพ ยกเว้นภาพหนังสือในหลวง ผมเอามาจากกระทู้เขา)
รู้สึกเศร้าเหมือนกัน ในที่สุด อีกหนึ่งความริเริ่มบุกเบิกของ "ปัญญาชน 14 ตุลา" ก็ลงเอยด้วยความล้มเหลวของพวกเขา กลายเป็นส่วนหนึ่งของทุนใหญ่ที่มั่นคง (established) แล้ว หลังจากความล้มเหลวของเครือ ผู้จัดการ และ เนชั่น
กลุ่มอมรินทร์ มีกำเนิดจากคุณชูเกียรติ อุทกะพันธ์ (เกิด 2484 เสียชีวิต 2545) คุณชูเกียรติเป็นนิสิตจุฬารุ่นเดียวกับนิธิ เอียวศรีวงศ์ และอนุช อาภาภิรม หลังจบจุฬา เขาเริ่มทำงานด้านการพิมพ์กับไทยวัฒนาพานิช พร้อมๆกับอนุช หลัง 6 ตุลา ชูเกียรติหันมาบุกเบิกวงการหนังสือ เริ่มจาก "บ้านและสวน" แล้วพัฒนาเรื่อยมา จนกลายเป็นเครืออมรินทร์
เขาเป็นส่วนหนึ่งของเจเนชั่นหรือคนรุ่นที่ผมเรียกว่า "ปัญญาชน 14 ตุลา" คือพวกที่เกิดระหว่างประมาณต้นทศวรรษ 1940 ถึงปลายทศวรรษ 1950 (หรือประมาณ 2483-2500) แน่นอน ผมเองอาจจะนับเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นนี้ แต่เป็น "จูเนียร์" ที่สุดของรุ่นก็ได้ เหตุการณ์ที่เป็น pivotal moments หรือ "ช่วงชี้ขาด" สำหรับคนรุ่นนี้ที่แชร์ร่วมกัน คือ 14 ตุลา - 6 ตุลา
นี่เป็นเจเนชั่นที่ revolutionize หรือ "ปฏิวัติ" แวดวงด้านวัฒนธรรม-ภูมิปัญญาของสังคมไทย จนทำให้มีรูปร่างหน้าตาอย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน
ในแวดวงวิชาการ เจเนชั่นนี้คือเจเนชั่นแรกของไทย ที่นำและบุกเบิกการศึกษา-วิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ แบบตะวันตก (นิธิ, ชัยอนันต์, ฉัตรทิพย์, ชาญวิทย์, รังสรรค์, สมบัติ, ลิขิต ฯลฯ ฯลฯ)
ในแวดวงวรรณกรรมวิจารณ์ สุชาติ สวัสดศรี เสถียร จันทิมาธร ไล่เรียงมาจนถึงรุ่น "จูเนียร์" หน่อยอย่าง ชูศักดิ์ ภัทรกุลวนิช
ในวงการสื่อสารมวลชนและการพิมพ์ นี่คือรุ่นที่บุกเบิกทำให้วงการนี้มีหน้าตาแบบ "โมเดิร์น" หรือแบบตะวันตกอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
เริ่มจากก่อน 14 ตุลาเล็กน้อย ผ่านเลยมาหลัง 14 ตุลา เริ่มที่ "ประชาธิปไตย" แล้วต่อมาก็ The Nation, "ประชาชาติ รายสัปดาห์" (นิตยสารข่าวตามแบบ Time, Newsweek เล่มแรกของไทย) "ประชาชาติ รายวัน" "จตุรัส" ฯลฯ
หลัง 6 ตุลา คนรุ่นนี้ ซึ่งก่อน 6 ตุลา หลายคนร่วมกันทำพวก The Naiton-ประชาชาติ ได้ "เท็คอ๊อฟ" อย่างแท้จริง ด้วยการกระจายกันไปบุกเบิกสร้างเป็นบริษัทด้านการพิมพ์และสื่อของแต่ละคน
สุทธิชัย รื้อฟื้นสร้างเป็นเครือเนชั่น-กรุงเทพธุรกิจ
ขรรค์ชัย สร้างมติชน (สุจิตต์ ตอนแรกแยกไปทำ "ศิลปวัฒนธรรม" ซึ่งต่อมาถูกเข้าไปรวมกับ มติชน)
สนธิ ลิ้มทองกุล ไปสร้าง ผู้จัดการ
ชัชรินทร์ สร้าง อาทิตย์-มาตุภูมิ
(ชัชรินทร์ ซึ่งนิตยสาร "อาทิตย์-มาตุภูมิ" เป็นนิตยสารข่าวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในครึ่งแรกของทศวรรษ 2520 ล้มเหลวก่อน)
ดังที่กล่าวข้างต้น ช่วงหลัง 6 ตุลานี้เอง ที่ชูเกียรติ เริ่มบุกเบิกงานตีพิมพ์ของตัวเอง ที่ "บ้านและสวน" แล้วจึงพัฒนาเป็นแพรว... จนกลายเป็นเครืออมรินทร์ในที่สุด แต่ประเด็นที่ผมสนใจเป็นพิเศษของกรณีชูเกียรติคือ กล่าวได้ว่า เขาและบริษัทของเขา มีบทบาทสำคัญในกระบวนการที่ผมเรียกว่า Mass Monarchy คือการกระบวนการ "สร้าง" ในหลวงภูมิพล ให้กลายเป็น "นักเขียน" ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่ไม่เคยปรากฏมาก่อน (ในหลวงได้รับการยกย่องสารพัดมาก่อนหน้านั้น แต่ไม่เคยในฐานะ "นักเขียน")
หนังสือ "นายอินทร์-ติโต-พระมหาชนก-ทองแดง" ที่สร้างให้ในหลวงเป็น "นักเขียน" ล้วนพิมพ์ที่อมรินทร์ อันที่จริง ดังที่หลายคนอาจจะพอทราบ ชื่อ "ร้านหนังสือนายอินทร์" เป็นชื่อที่ในหลวงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ ตามชื่อหนังสือของพระองค์ ... กล่าวได้ว่า "อมรินทร์" กลายเป็น publisher หรือ "สำนักพิมพ์ของในหลวง" อย่างไม่เป็นทางการไป (ดูกระทู้นี้ของผมประกอบ goo.gl/CDiQ6e
อันที่จริง กระบวนการ shift หรือ "ขยับ-เคลื่อนย้าย" ทางความคิดของปัญญาชนรุ่นนี้ ไปทางสถาบันกษัตริย์ (โดยเฉพาะในหลวงภูมิพล) เป็นอะไรที่ไม่ใช่เกิดเฉพาะกรณีชูเกียรติ แต่เกิดทั่วไปทั้งเจเนเรชั่น (รวมทั้งนิธิ เป็นต้น) ซึ่งผมเคยเรียกว่า "การเปลี่ยนประเด็นครั้งใหญ่" (thematic shift) ซึ่งด้านที่สำคัญทีสุดคือการ reconciliation with the monarchy หรือ "คืนดีกับสถาบันกษัตริย์" เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ประเด็นปัญหาอีกต่อไป (no longer an issue)
แน่นอน "ฉันทมติ" ใหม่ที่เกิดจากการขยับหรือเคลื่อนย้ายทางความคิดดังกล่าว ซึ่งถึงจุดสูงสุดระหว่างกลางทศวรรษ 2530 ถึงปลายทศวรรษ 2540 ได้ถูกเทสต์ และทำให้เริ่มเกิดการแตกสลายลงหลังการเริ่มต้นของวิกฤติในช่วงปี 2548-49
.........................
เมื่อไม่กี่วันก่อนนี้เอง ผมได้คุยกับ "มิตรอาวุโส" คนหนึ่ง (จริงๆคือคนในรุ่นที่ผมพูดถึงนี้คนหนึ่ง แต่อายุมากกว่าผมหลายปี) กับ "มิตรวัยเยาว์" (กว่าผม) อีกคน ว่าสักวัน ผมอยากเห็นคนเขียนประวัติศาสตร์ของปัญญาชนรุ่นนี้ เราเริ่มจากคุยกันถึงเรื่องการถึงแก่กรรมของ อ.ลิขิต และการป่วยหนักของ อ.ชัยอนันต์ แล้วเลยพูดไปถึง อ.ชาญวิทย์ นิธิ รังสรรค์ และบทบาทของพวกเขาในแง่เป็นนักวิชาการอาชีพรุ่นแรกสุด ที่นำวิธีการศึกษาสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์แบบตะวันตกมาใช้ในมหาวิทยาลัยไทย
ผมเองเสนอว่า หนังสือที่ตีพิมพ์จากวิทยานิพนธ์เมื่อเร็วๆนี้ของ อ."หยิน" กนกรัตน์ เรื่อง Rise of the Octobrists ("คนเดีอนตุลา") ผมยังไม่ถึงกับชอบนักในแง่เป็นงานประวัติศาสตร์คนรุ่นนี้ ผมเห็นว่าข้อมูลยังน้อยไป และยังขาดความละเอียดแม่นยำในระดับที่ผมชอบ (ทั้งในแง่ที่เกียวกับคนรุ่นนี้ และปริบทประวัติศาสตร์) ผมโจ๊กเล่นๆว่า ต้องให้อย่าง "ประจักษ์" มาเขียน (หรือไม่ก็ อ.ณัฐพล คือสองคนนี้ เขาละเอียดเรื่องการค้นข้อมูลมาก อันทีจริง ณ ขณะนี้ มีอดีตนักศึกษาทีผมเคยสอนอยู่ 2-3 คน ที่กำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก และกับอีกคนที่จบปริญญาเอก เริ่มเป็นอาจารย์แล้วไม่กี่ปีนี้ ที่มีวี่แววจะทำงานทำนองเดียวกันได้ แต่นั่นคงเป็นเรื่องของอนาคต)
"มิตรอาวุโส" ก็บอกกับผมว่า ผมเขียนเองสิ ผมก็บอกว่า สงสัยไม่ได้ ผม "ใกล้" กับคนรุ่นนี้มากเกินไป ต้องมีระยะห่างกว่าที่ผมเป็น....
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar