tisdag 29 mars 2016

บีบีซีไทย - BBC Thai

บีบีซีไทย - BBC Thai
บีบีซีไทย - BBC Thais foto.
นายกฯใช้อำนาจตาม ม.44 สั่งย้าย 4 ผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ ตาก จันทบุรี ปัตตานี  
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับเผยแพร่วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๙ หน้า ๑๓ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๗๓ ง ได้ตีพิมพ์คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่ง ดังต่อไปนี้
เพื่อให้การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินด้านการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และการบริหารราชการในกระทรวงคมนาคมมีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
...
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ขาดจากตําแหน่งหน้าที่และอัตราเงินเดือนเดิม เพื่อย้ายหรือโอนไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งตามกรอบอัตรากําลังชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษที่จัดให้มีขึ้นในสํานักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ แห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๕๘ เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกําหนดกรอบอัตรากําลังชั่วคราว ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘
(๑) นายยุทธนา วิริยะกิตติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
(๒) นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
(๓) นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
(๔) นายวีรพงศ์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

การย้ายหรือโอนบุคคลไปแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่เป็นอัตรากําลังชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในกรณีนี้ให้สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีและสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกันกําหนดชื่อตําแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และสิทธิประโยชน์ของบุคคลดังกล่าวโดยอนุโลมตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๒ ให้ นายธวัช สุระบาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ข้อ ๓ ให้ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลําพูน รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
ข้อ ๔ ให้ นายวิทูรัช ศรีนาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี
ข้อ ๕ ให้ นายสุริยะ อมรโรจน์วรวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี
ข้อ ๖ ให้ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ พ้นจากตําแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง กระทรวงคมนาคม และให้ดํารงตําแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
ข้อ ๗ ให้ข้าราชการตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ปฏิบัติหน้าที่ตามตําแหน่ง ตั้งแต่วันที่คําสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
ข้อ ๘ ให้สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สํานักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการเกี่ยวกับตําแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วนและให้นายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดํารงตําแหน่ง หรือพ้นจากตําแหน่ง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
ข้อ ๙ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ



บีบีซีไทย - BBC Thais foto.

กรธ. เปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับพร้อมลงประชามติ เตรียมเดินสายสร้างความเข้าใจในระดับจังหวัด
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พร้อมด้วยคณะกรรมการร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ พร้อมใช้ในการทำประชามติแล้ว โดยระบุว่าหากปฏิรูปได้สำเร็จ เชื่อว่าประเทศไทยจะมีความผาสุกและพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ด้านโฆษก กรธ. แจงข้อเสนอของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาตินั้นรับฟัง แต่ไม่ได้แก้ไข ยืนยันบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสอดคล้องอ...ยู่แล้ว ส่วนมาตรา 257 ที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น ไม่ได้ถอดออกเพราะเป็นเรื่องจำเป็น
นายมีชัย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงประเด็น ส.ว.สรรหา ว่า การเขียนให้มี ส.ว.สรรหาจำนวน 200 คน น่าจะเพียงพอตามความต้องการของ คสช.ที่ขอมา ทั้งนี้ เพื่อติดตามและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ส่วนที่กำหนด ส.ว.อีก 50 คนมาจากการเลือกข้ามกลุ่มเป็นการทดลอง ซึ่งหากผิดพลาดยังสามารถแก้ไขได้ ในส่วนของ ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คนที่มาจากผู้บัญชาการเหล่าทัพและปลัดกระทรวงกลาโหมนั้น คงไว้ตามคำขอของ คสช. โดยคิดว่าจะไม่มีน้ำหนักต่อภาพรวมของ ส.ว. และสำหรับข้อสงสัยเกี่ยวกับบทเฉพาะกาลว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช.หรือไม่ นายมีชัยกล่าวว่า หากอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ก็จะได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี
ประธาน กรธ. ยังกล่าวถึงประเด็นเรื่องการไม่เขียนถึงการปฏิรูปกองทัพไว้ในร่างรัฐธรรมนูญให้เท่าเทียมกับการปฏิรูปองค์กรอื่นๆ ว่า ไม่ได้เกิดจากการเกรงใจกองทัพ แต่เนื่องจากกองทัพไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชน ขณะที่ให้มีการปฏิรูปตำรวจเนื่องจากตำรวจเกี่ยวโยงกับประชาชนโดยตรง
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ.กล่าวถึงข้อเสนอแนะและท้วงติงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่วิจารณ์ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองในร่างรัฐธรรมนูญว่า ร่างรัฐธรรมนูญของไทยต้องสอดคล้องกับกติกาและกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเข้าเป็นภาคีอยู่แล้ว ซึ่งทาง กรธ. ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ แต่ประเด็นนี้เป็นประเด็นภายในของไทย ในส่วนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ กังวลเรื่องความสอดคล้องกับกติกาสากลนั้น ยืนยันว่า กรธ. ได้ทำให้สอดคล้องอยู่แล้ว
ในส่วนของข้อเสนอ ให้ยกเลิกมาตรา 257 ที่ให้การรับรองความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น นายอมรกล่าวว่า ประเด็นนี้ กรธ. ไม่ได้แก้ไขหรือหยิบยกออกไป เพราะช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูง และอะไรก็เกิดขึ้นได้จำเป็นต้องคงอำนาจนี้ไว้เป็นหลักประกันให้กับ คสช. ซึ่งเป็นเหมือนรัฐบาลเฉพาะกาล
สำหรับ แนวทางในช่วงทำประชามตินั้น นายอมรกล่าวว่า กรธ. จะเดินสายไปทำความเข้าใจและให้ข้อมูลในจังหวัดต่าง ๆ โดยการประสานผ่านหัวหน้าหน่วยราชการเป็นหลัก แต่คงไม่สามารถทำได้ครบ 77 จังหวัดเพราะเวลาไม่พอ และไม่ได้มุ่งเน้นจังหวัดในภูมิภาคใดเป็นพิเศษ เพราะต้องยอมรับว่าไม่สามารถเปลี่ยนใจใครได้ ควรให้แต่ละคนได้เดินหน้าไปตามความคิดของตัวเอง โดยที่ผ่านมาเน้นสร้างความเข้าใจในส่วนของกองทัพก่อนเพราะได้รับการติดต่อมาก่อน และวันพรุ่งนี้ก็จะไปทำความเข้าใจเรื่องร่างรัฐธรรมนูญกับเจ้าหน้าที่ทหาร ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์

คลิกดูเพิ่ม-Visa mer




Inga kommentarer:

Skicka en kommentar