Prachatai
ข้อคิดมุมมองของพวกกากเดนศักดินา(ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล)
“คนส่วนใหญ่ของสังคมไทยอยู่นอกสังคมประชาธิปไตย อย่างชาวนา ประเมินว่าคนส่วนใหญ่เหล่านี้ จะรู้วิธีกระบวนการทางประชาธิปไตย น่าจะใช้เวลาอีก 2 เจเนอเรชั่น หรือเจเนอเรชั่นละ 25 ปีคิดว่าเราคงต้องใช้เวลาอีก 30-40 ปี คงจะพร้อมในการเป็นประชาธิปไตยได้”
“ประชาธิปไตย” นั้นเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบมัน ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแสดงออกของมันในสังคมมนุษย์ได้
จริงอย่างที่ท่านอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ โพสต์ข้อคิดของท่านไว้ นั่นคือ คนไทยไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตยเป็นข้ออ้างอมตะนิรันดร์กาลของชนชั้นนำตามประเพณีของไทย
ที่น่าสังเกตด้วยก็คือ อุปสรรคสำคัญของประชาธิปไตยในสังคมไทยซึ่งชนชั้นนำมักอ้างถึงก็คือ สถาบันรัฐสภาไม่อาจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ เช่น ผู้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิก คือเจ้าสัวจีนซึ่งไม่เห็นแก่ประโยชน์ของชาติไทย หรือนักเลงอันธพาลที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ข้ออ้างทำนองนี้ถูกใช้ในหมู่ชนชั้นนำ (ซึ่งขยายตัวมารวมเอาลูกหลานเจ๊กที่ได้รับการศึกษาแบบฝรั่งด้วย) สืบมาหลัง 2475 จนถึงทุกวันนี้ แม้ในการใช้กำลังทหารยึดอำนาจระงับการก้าวเดินของประชาธิปไตยไทยครั้งสุดท้ายเมื่อ 2557 ก็มีจุดมุ่งหมายจะลดบทบาทและอำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยเช่นนี้เริ่มกับฝรั่งก่อน (ที่จริงมีหนังสือที่ฝรั่งเขียนหลายเล่ม ทั้งที่พิมพ์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม และหลังจากนั้น ที่พูดว่าคนไทยยังไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตย-เพื่อตอบสนองระบอบอาณานิคมตะวันตก และตอบสนองสงครามเย็น) เพราะเมื่อพยายามจะบรรยายว่าประชาธิปไตยคืออะไร ก็มักเริ่มด้วยการนำเอาความคิดของนักปราชญ์มาเป็นตัวตั้งเสมอ นับตั้งแต่สมัยกรีกมาจนถึงยุคแสงสว่างแห่งปัญญา (Enlightenment) และนักปราชญ์ในรุ่นหลังจากนั้น ชนชั้นนำไทยที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก จึงมักเข้าใจประชาธิปไตยจากตัวสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกตะวันตก มากกว่ามองที่เป้าหมายของประชาธิปไตย
แทนที่จะมองจากสถาบันหรือองค์กร ผมใคร่เสนอให้มองประชาธิปไตยจากจุดมุ่งหมายก่อน แล้วจะเห็นว่า “ประชาธิปไตย” นั้นเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบมัน ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแสดงออกของมันในสังคมมนุษย์ (หรือแม้แต่สัตว์-จากการศึกษาของนักสัตวศาสตร์สมัยใหม่) ได้
ผมขอเสนอว่า ธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์คือการต่อรองของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม ไม่ต่างจากแกนกลางของระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าระบอบประชาธิปไตยพยายามจะทำให้แต่ละคน และแต่ละกลุ่มมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกันเท่านั้น
ขอให้สังเกตการณ์การต่อรองในสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบปกครองอะไร (หรือวัฒนธรรมอำนาจชนิดไหน) ว่าเป็นธรรมชาติหรือเป็นปกติธรรมดาซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ ทุกหนทุกแห่ง ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากสังคมไทยในอดีตซึ่งก็รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างไร ว่าที่จริงแล้วอำนาจไม่ได้กระจุกอยู่ที่สมมุติเทพอย่างที่เข้าใจกัน หากแต่ละกลุ่มก็มีอำนาจต่อรองอยู่มากบ้างน้อยบ้างทั้งสิ้น
แม้แต่ในซ่องโจร กำปั้นใหญ่ของหัวหน้าโจรเพียงอย่างเดียว ก็ไม่พอที่จะเผด็จอำนาจไว้ได้แต่ผู้เดียว เช่น การแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้จากการปล้นสะดม ต้องมีหลักเกณฑ์บางอย่างซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมู่โจร มิฉะนั้นแล้ว ก็ไม่อาจรักษาลูกน้องไว้ได้ หรืออาจถึงกับถูกลูกน้องรุมทำร้ายได้ (อย่าลืมว่าในซ่องโจรไม่มีอำนาจที่ถูกทำให้เป็นสถาบันมั่นคงโดยอาศัยกฎหมาย, ประเพณี, หรือวัฒนธรรมใดๆ อันตรายของอำนาจที่ปราศจากสถาบันรองรับจึงย่อมมีสูงเป็นธรรมดา)
เพราะฉะนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า อำนาจต่อรองอันแรกที่ทุกคนและทุกกลุ่มมีคืออำนาจดิบ Jared Diamond เล่าถึงวิถีชีวิตของประชาชนบนเกาะนิวกินี (ทั้งซีกปาปัวนิวกินีและซีกที่เป็นของอินโดนีเซีย) ว่า เพราะไม่มีสถาบันการปกครองอะไรที่ใหญ่ไปกว่าเผ่าขนาดเล็ก การต่อรองเพื่อใช้และหวงแหนทรัพยากรจึงต้องอาศัยการสงคราม ซึ่งต่างกระทำต่อกันอยู่เกือบตลอดเวลา
ในสังคมที่มีสถาบันแห่งอำนาจที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่นอยุธยาต่างกลุ่มต่างต่อรองกันโดยใช้อำนาจที่ซับซ้อนกว่าอำนาจดิบ เช่นอำนาจทางการเมืองของเจ้าเมือง มักถูกใช้ไปเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตัวมากกว่าส่งส่วยแรงงานและสินค้าให้แก่เมืองหลวง พระเจ้าแผ่นดินก็รู้ แต่ไม่ต้องการจับผิดเพราะจะทำให้วุ่นวายกว่าปล่อยเอาไว้ พระภิกษุเป็นที่นับถือของประชาชน จึงมีอำนาจต่อรองกับอำนาจอื่นได้ และพระภิกษุก็ใช้อำนาจนั้นในการต่อรองเสมอมา เช่นต่อรองกับนายบ้าน หรือแม้แต่ต่อรองกับบ้านเมือง พระสายอรัญวาสีจึงไม่น่าไว้วางใจแก่บ้านเมืองนัก เพราะอาจใช้ความนับถือของประชาชนระดับล่างก่อกบฏหรือดื้อแพ่งได้ พระป่า (จริงๆ) จึงไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากบ้านเมืองนัก และตลอดประวัติศาสตร์อยุธยา ก็เต็มไปด้วยการกบฏที่มีผู้นำเป็นภิกษุหรือทิดที่เพิ่งสึกออกมา
สรุปให้เหลือสั้นๆ หน่อยก็คือ จากอำนาจดิบในซ่องโจร ก็กลายเป็นอำนาจที่เกิดจากวัฒนธรรมหรือโครงสร้างการปกครองหรือเศรษฐกิจ เอามาใช้เพื่อต่อรองกันได้ ตำนานเรื่องละครชาวบ้านที่ไปเล่นในวังหลวงในปลายอยุธยา แล้วปล่อยให้ตัวละครเจรจาเรื่องเก็บภาษีผักบุ้ง เพื่อกระทบนโยบายของคนสนิทพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ก็เป็นการต่อรองผ่านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เพราะละครชาวบ้านก็เหมือน “ตลกหลวง” ในราชสำนักฝรั่ง พอจะพูดอะไรที่คนอื่นไม่กล้าพูดได้บ้าง อย่างน้อยละครก็ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องสมมุติหรือจริงเหนือจริง
โอกาสต่อรองไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนข้างบน ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ก็ต่อรองเหมือนกัน ทั้งต่อรองกันเองในชุมชนและต่อรองกับรัฐ
ในภาคอีสาน ชาวบ้านอาจซุบซิบให้สมาชิกชุมชนที่ใจแคบ ไม่เอื้อเฟื้อต่อชุมชน กลายเป็นผีปอบ ซึ่งก็คือหนทางหนึ่งที่จะขับไล่บุคคลผู้นั้นออกไปจากชุมชน ในภาคเหนือใช้เรื่องผีปอบหรือผีกะเป็นเครื่องมือในการกีดกันคนจนมิให้เข้ามาแต่งงานกับลูกสาวซี่งจะทำให้เกิดสิทธิบนที่ดินของครอบครัวได้ คนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีกะก็อาจต่อรองโดยการหันไปพึ่งมิชชันนารีคริสเตียน และหาทางตั้งเนื้อตั้งตัวในเศรษฐกิจแบบใหม่ได้เร็วกว่าชาวบ้านทั่วไปด้วยซ้ำ
การตั้งสมญา, การนินทา, การล้อเลียน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านอาจต่อรองกับอำนาจในหมู่บ้านได้
ชาวบ้านที่ไม่อยากเสียส่วยให้รัฐ เพราะเหตุใดก็ตาม มีวิธีต่อรองที่ง่ายมากคือหนีออกจากรัฐเสีย เช่นไปตั้งซ่องอยู่ในป่าพ้นเขตอำนาจรัฐออกไป James Scot พูดถึงเขตที่สูงมหึมาที่พาดผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากเวียดนามไปถึงพม่าและส่วนหนึ่งของจีนตอนใต้ (อาจารย์เบนยังเตือนว่า ต้องรวมเกาะแก่งในทะเลจีนตอนใต้อีกมากมาย ซึ่งประชาชนอาจหนีรัฐไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ หรือตั้งเป็นซ่องโจรสลัดได้อีก) ว่าเป็นเขตที่มีผู้คนหนีจากรัฐไปตั้งภูมิลำเนามาแต่โบราณ หนีทั้งทางกายภาพและหนีทั้งทางวิถีชีวิต เช่นไม่ปลูกข้าวซึ่งผลผลิตต้องโผล่มาให้รัฐมองเห็นและนับได้ว่าจะเก็บส่วยเท่าไร หันไปปลูกพืชหัวที่อยู่ใต้ดินแทน เพื่อหลบหลีกสายตาของรัฐ
หากใจไม่ถึงขนาดหลบออกจากรัฐ ก็ยังมีวิธีต่อรองกับรัฐอย่างอื่นแก่ชาวบ้านอยู่นั่นเอง ระบบอุปถัมภ์ที่ชอบพูดถึงกันบ่อยๆ ก็เป็นอย่างหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ซึ่งชาวบ้านสร้างขึ้นกับผู้มีอำนาจเพื่อปกป้องคุ้มครองตนเองนั้น ถามว่าคุ้มครองจากอะไรบ้าง คงตอบได้ว่าหลายอย่างเช่น “ผู้ใหญ่” คนอื่น และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญแก่ชาวบ้านไม่น้อยคือปกป้องจากรัฐ ยิ่งความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กระจายไปกว้างขวางเท่าไร อำนาจรัฐก็ยิ่งน้อยลง เท่านั้น
การติดสินบนก็เป็นการต่อรองอีกอย่างหนึ่ง “เดินสวนเดินนา” หรือสำรวจการถือครองที่ดินกันทีหนึ่ง ก็ต้องหาเงินมาติดสินบนให้เจ้าหน้าที่ประเมินที่นาที่สวนไว้ต่ำๆ เพื่อจะได้เสียค่านาและสมพักษรน้อยลง ข้าราชการสมัยอยุธยาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของข้าราชการปัจจุบัน มีรายได้หลักไม่ใช่จาก “เงินปี” ที่หลวงจ่ายให้หรอกนะครับ แต่จากสินบนนี่แหละ
ขอยกมาเป็นตัวอย่างเพียงเท่านี้ แท้จริงแล้วชาวบ้านยังมีวิธีต่อรองกับรัฐได้อีกหลายอย่างเหลือคณานับ
ก็เห็นได้ไม่ยากว่า การต่อรองภายในรัฐที่ไม่ประชาธิปไตยจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายได้สักเพียงไร จนรัฐอาจแตกแยก เละเทะไปได้บ่อยๆ ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของชัยชนะของกองทัพพระเจ้าซินพยูชินเหนืออยุธยาอาจเกิดจากหัวเมืองใหญ่ทั้งทางเหนือและใต้ ใช้การรุกรานของอังวะเป็นเครื่องมือต่อรองกับอยุธยา ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากคนกลุ่มต่างๆ ที่ประชาชนต้องทนรับ เพราะอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน
ประชาธิปไตยคือการทำให้ธรรมชาติของสังคมมนุษย์หรือการต่อรองกลายเป็นสถาบัน เกิดระเบียบแบบแผนในการต่อรองกัน ไม่จำเป็นต้องหนีเข้าป่า ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังกองทัพของต่างประเทศมาต่อรองกับรัฐของตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังดิบเข้าหักหาญเอาชนะกัน แน่นอนว่าไม่มีประชาธิปไตยของสังคมใดสมบูรณ์พร้อม จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อทำให้ประชาธิปไตยขยายตัวและ “ก้าวหน้า” มากขึ้น
เกณฑ์ในการใช้วัดความกว้างขวางและความก้าวหน้าของประชาธิปไตยคือ การต่อรองทำได้อย่างปลอดภัยแก่ทุกฝ่ายได้มากขึ้นหรือไม่ มีคนหลากหลายกลุ่มมากขึ้นสามารถเข้ามาต่อรองได้หรือไม่ และอำนาจต่อรองกระจายไปแก่คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมมากขึ้นหรือไม่ เขาไม่ได้วัดกันว่าบ้านเมืองมีความ “สงบ” มากขึ้นหรือน้อยลง เพราะความ “สงบ” เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างมากกว่าระบอบปกครอง ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตลอดกว่า 400 ปีของอยุธยานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากประชาธิปไตยเลย แต่จะโทษราชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในบางรัชสมัยก็มีความสงบต่อเนื่องกันตลอดหลายรัชกาล
ประชาธิปไตยไม่ปฏิเสธการต่อรอง ยอมรับว่าเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์เหมือนกับสังคมทั้งหลายที่ผ่านมาในอดีต ประชาธิปไตยเพียงแต่เปลี่ยนกระบวนการต่อรอง ให้เกิดสถาบันทางการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรมที่เปิด คือทุกคนทุกกลุ่มเข้ามาต่อรองได้ ทำให้การต่อรองในสังคมประชาธิปไตยยิ่งมีความสลับซับซ้อนขึ้นเป็นอันมาก แต่ความสลับซับซ้อนของการต่อรองไม่ใช่ของใหม่ที่ประชาธิปไตยนำมาให้ เพราะในการต่อรองของสังคมโบราณที่พัฒนาถึงระดับสังคมเมืองแล้ว ก็มีความสลับซับซ้อนอย่างมากเช่นกัน เฉพาะในสังคมชนเผ่าบรรพกาลเท่านั้น ที่ใช้แต่เพียงพิธีกรรมและความรุนแรงในการต่อรอง
ดังนั้น ต้องไม่ลืมเป็นอันขาดว่า แม้กระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยอาจเป็นของใหม่ในบางสังคม แต่ตัวการต่อรองเป็นของเก่าที่อยู่คู่กันมากับสังคมทุกสังคม ด้วยกระบวนการที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสถานการณ์ตลอดมา การเรียนรู้กระบวนการต่อรองอย่างใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปแก่มนุษย์ทุกคนในทุกสังคม หากเขามีโอกาส และไม่ถูกขัดขวาง
ผมจึงไม่ปฏิเสธสิ่งที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล พูดว่ากระบวนการประชาธิปไตยไม่เป็นที่รู้กันแพร่หลายในหมู่คนบางกลุ่มของสังคมไทย แต่คนกลุ่มไหนครับที่ไม่รู้และไม่ยอมรับกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตย ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย คนที่ไม่รู้หรือไม่ยอมรับ และพยายามขัดขวางกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยมากว่าศตวรรษแล้ว คือชนชั้นนำตามประเพณี เป็นคนส่วนน้อยของสังคม ไม่ใช่คนส่วนใหญ่
ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อการเลือกตั้งกลายเป็นเครื่องมือการต่อรองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ เราจะเห็นความกระตือรือร้นและความเชี่ยวชาญของประชาชนระดับล่าง ในการใช้เครื่องมือนี้เพื่อการต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยสงบมากขึ้น (ฆาตกรรมทางการเมืองในสองระดับลดลงไปอย่างมากในสามทศวรรษที่ผ่านมา เพราะมันไม่ทำกำไร หรือทำได้ไม่คุ้มล่ะสิครับ) แต่ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ใครกันเล่าที่คอยขัดขวางกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยอย่างเอาเป็นเอาตายตลอดมา ใช้อำนาจทางวัฒนธรรมในการบ่อนเซาะกระบวนการนี้ จนถึงที่สุด เมื่อไม่สามารถระงับมิให้กระบวนการนี้ขยายตัวได้ ก็ใช้กำลังกองทัพเป็นเครื่องมือในการต่อรอง เท่ากับปฏิเสธกระบวนการต่อรองที่ ม.ร.ว.จัตุมงคลพูดถึงโดยตรง
จะต้องใช้เวลาอีกถึง 2 ชั่วอายุคนหรือไม่ก่อนที่ไทย “จะพร้อมในการเป็นประชาธิปไตยได้” ผมคิดว่าไม่ เพราะหันไปดูขบวนการประชาชนในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งคุ้นเคยและมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในการใช้ประโยชน์จากกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตย ขบวนการนี้ขยายตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีพลังภายใต้การยึดอำนาจโดยกองทัพมาแล้วถึงสามครั้ง
สิ่งที่น่าจะเป็นห่วงมากกว่าก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป จะมีลักษณะอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน 28 มีนาคม 2559
ที่มา มติชนออนไลน์
“ประชาธิปไตย” นั้นเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบมัน ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแสดงออกของมันในสังคมมนุษย์ได้
จริงอย่างที่ท่านอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ โพสต์ข้อคิดของท่านไว้ นั่นคือ คนไทยไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตยเป็นข้ออ้างอมตะนิรันดร์กาลของชนชั้นนำตามประเพณีของไทย
ที่น่าสังเกตด้วยก็คือ อุปสรรคสำคัญของประชาธิปไตยในสังคมไทยซึ่งชนชั้นนำมักอ้างถึงก็คือ สถาบันรัฐสภาไม่อาจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ เช่น ผู้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นสมาชิก คือเจ้าสัวจีนซึ่งไม่เห็นแก่ประโยชน์ของชาติไทย หรือนักเลงอันธพาลที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตัว
ข้ออ้างทำนองนี้ถูกใช้ในหมู่ชนชั้นนำ (ซึ่งขยายตัวมารวมเอาลูกหลานเจ๊กที่ได้รับการศึกษาแบบฝรั่งด้วย) สืบมาหลัง 2475 จนถึงทุกวันนี้ แม้ในการใช้กำลังทหารยึดอำนาจระงับการก้าวเดินของประชาธิปไตยไทยครั้งสุดท้ายเมื่อ 2557 ก็มีจุดมุ่งหมายจะลดบทบาทและอำนาจของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
ผมเข้าใจว่า ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยเช่นนี้เริ่มกับฝรั่งก่อน (ที่จริงมีหนังสือที่ฝรั่งเขียนหลายเล่ม ทั้งที่พิมพ์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม และหลังจากนั้น ที่พูดว่าคนไทยยังไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตย-เพื่อตอบสนองระบอบอาณานิคมตะวันตก และตอบสนองสงครามเย็น) เพราะเมื่อพยายามจะบรรยายว่าประชาธิปไตยคืออะไร ก็มักเริ่มด้วยการนำเอาความคิดของนักปราชญ์มาเป็นตัวตั้งเสมอ นับตั้งแต่สมัยกรีกมาจนถึงยุคแสงสว่างแห่งปัญญา (Enlightenment) และนักปราชญ์ในรุ่นหลังจากนั้น ชนชั้นนำไทยที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก จึงมักเข้าใจประชาธิปไตยจากตัวสถาบันทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกตะวันตก มากกว่ามองที่เป้าหมายของประชาธิปไตย
แทนที่จะมองจากสถาบันหรือองค์กร ผมใคร่เสนอให้มองประชาธิปไตยจากจุดมุ่งหมายก่อน แล้วจะเห็นว่า “ประชาธิปไตย” นั้นเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบมัน ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแสดงออกของมันในสังคมมนุษย์ (หรือแม้แต่สัตว์-จากการศึกษาของนักสัตวศาสตร์สมัยใหม่) ได้
ผมขอเสนอว่า ธรรมชาติของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์คือการต่อรองของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม ไม่ต่างจากแกนกลางของระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าระบอบประชาธิปไตยพยายามจะทำให้แต่ละคน และแต่ละกลุ่มมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกันเท่านั้น
ขอให้สังเกตการณ์การต่อรองในสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบอบปกครองอะไร (หรือวัฒนธรรมอำนาจชนิดไหน) ว่าเป็นธรรมชาติหรือเป็นปกติธรรมดาซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ ทุกหนทุกแห่ง ในที่นี้จะยกตัวอย่างจากสังคมไทยในอดีตซึ่งก็รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแต่อย่างไร ว่าที่จริงแล้วอำนาจไม่ได้กระจุกอยู่ที่สมมุติเทพอย่างที่เข้าใจกัน หากแต่ละกลุ่มก็มีอำนาจต่อรองอยู่มากบ้างน้อยบ้างทั้งสิ้น
แม้แต่ในซ่องโจร กำปั้นใหญ่ของหัวหน้าโจรเพียงอย่างเดียว ก็ไม่พอที่จะเผด็จอำนาจไว้ได้แต่ผู้เดียว เช่น การแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้จากการปล้นสะดม ต้องมีหลักเกณฑ์บางอย่างซึ่งเป็นที่ยอมรับในหมู่โจร มิฉะนั้นแล้ว ก็ไม่อาจรักษาลูกน้องไว้ได้ หรืออาจถึงกับถูกลูกน้องรุมทำร้ายได้ (อย่าลืมว่าในซ่องโจรไม่มีอำนาจที่ถูกทำให้เป็นสถาบันมั่นคงโดยอาศัยกฎหมาย, ประเพณี, หรือวัฒนธรรมใดๆ อันตรายของอำนาจที่ปราศจากสถาบันรองรับจึงย่อมมีสูงเป็นธรรมดา)
เพราะฉะนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า อำนาจต่อรองอันแรกที่ทุกคนและทุกกลุ่มมีคืออำนาจดิบ Jared Diamond เล่าถึงวิถีชีวิตของประชาชนบนเกาะนิวกินี (ทั้งซีกปาปัวนิวกินีและซีกที่เป็นของอินโดนีเซีย) ว่า เพราะไม่มีสถาบันการปกครองอะไรที่ใหญ่ไปกว่าเผ่าขนาดเล็ก การต่อรองเพื่อใช้และหวงแหนทรัพยากรจึงต้องอาศัยการสงคราม ซึ่งต่างกระทำต่อกันอยู่เกือบตลอดเวลา
ในสังคมที่มีสถาบันแห่งอำนาจที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่นอยุธยาต่างกลุ่มต่างต่อรองกันโดยใช้อำนาจที่ซับซ้อนกว่าอำนาจดิบ เช่นอำนาจทางการเมืองของเจ้าเมือง มักถูกใช้ไปเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ใส่ตัวมากกว่าส่งส่วยแรงงานและสินค้าให้แก่เมืองหลวง พระเจ้าแผ่นดินก็รู้ แต่ไม่ต้องการจับผิดเพราะจะทำให้วุ่นวายกว่าปล่อยเอาไว้ พระภิกษุเป็นที่นับถือของประชาชน จึงมีอำนาจต่อรองกับอำนาจอื่นได้ และพระภิกษุก็ใช้อำนาจนั้นในการต่อรองเสมอมา เช่นต่อรองกับนายบ้าน หรือแม้แต่ต่อรองกับบ้านเมือง พระสายอรัญวาสีจึงไม่น่าไว้วางใจแก่บ้านเมืองนัก เพราะอาจใช้ความนับถือของประชาชนระดับล่างก่อกบฏหรือดื้อแพ่งได้ พระป่า (จริงๆ) จึงไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากบ้านเมืองนัก และตลอดประวัติศาสตร์อยุธยา ก็เต็มไปด้วยการกบฏที่มีผู้นำเป็นภิกษุหรือทิดที่เพิ่งสึกออกมา
สรุปให้เหลือสั้นๆ หน่อยก็คือ จากอำนาจดิบในซ่องโจร ก็กลายเป็นอำนาจที่เกิดจากวัฒนธรรมหรือโครงสร้างการปกครองหรือเศรษฐกิจ เอามาใช้เพื่อต่อรองกันได้ ตำนานเรื่องละครชาวบ้านที่ไปเล่นในวังหลวงในปลายอยุธยา แล้วปล่อยให้ตัวละครเจรจาเรื่องเก็บภาษีผักบุ้ง เพื่อกระทบนโยบายของคนสนิทพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ก็เป็นการต่อรองผ่านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เพราะละครชาวบ้านก็เหมือน “ตลกหลวง” ในราชสำนักฝรั่ง พอจะพูดอะไรที่คนอื่นไม่กล้าพูดได้บ้าง อย่างน้อยละครก็ไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องสมมุติหรือจริงเหนือจริง
โอกาสต่อรองไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนข้างบน ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ก็ต่อรองเหมือนกัน ทั้งต่อรองกันเองในชุมชนและต่อรองกับรัฐ
ในภาคอีสาน ชาวบ้านอาจซุบซิบให้สมาชิกชุมชนที่ใจแคบ ไม่เอื้อเฟื้อต่อชุมชน กลายเป็นผีปอบ ซึ่งก็คือหนทางหนึ่งที่จะขับไล่บุคคลผู้นั้นออกไปจากชุมชน ในภาคเหนือใช้เรื่องผีปอบหรือผีกะเป็นเครื่องมือในการกีดกันคนจนมิให้เข้ามาแต่งงานกับลูกสาวซี่งจะทำให้เกิดสิทธิบนที่ดินของครอบครัวได้ คนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีกะก็อาจต่อรองโดยการหันไปพึ่งมิชชันนารีคริสเตียน และหาทางตั้งเนื้อตั้งตัวในเศรษฐกิจแบบใหม่ได้เร็วกว่าชาวบ้านทั่วไปด้วยซ้ำ
การตั้งสมญา, การนินทา, การล้อเลียน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ชาวบ้านอาจต่อรองกับอำนาจในหมู่บ้านได้
ชาวบ้านที่ไม่อยากเสียส่วยให้รัฐ เพราะเหตุใดก็ตาม มีวิธีต่อรองที่ง่ายมากคือหนีออกจากรัฐเสีย เช่นไปตั้งซ่องอยู่ในป่าพ้นเขตอำนาจรัฐออกไป James Scot พูดถึงเขตที่สูงมหึมาที่พาดผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากเวียดนามไปถึงพม่าและส่วนหนึ่งของจีนตอนใต้ (อาจารย์เบนยังเตือนว่า ต้องรวมเกาะแก่งในทะเลจีนตอนใต้อีกมากมาย ซึ่งประชาชนอาจหนีรัฐไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ หรือตั้งเป็นซ่องโจรสลัดได้อีก) ว่าเป็นเขตที่มีผู้คนหนีจากรัฐไปตั้งภูมิลำเนามาแต่โบราณ หนีทั้งทางกายภาพและหนีทั้งทางวิถีชีวิต เช่นไม่ปลูกข้าวซึ่งผลผลิตต้องโผล่มาให้รัฐมองเห็นและนับได้ว่าจะเก็บส่วยเท่าไร หันไปปลูกพืชหัวที่อยู่ใต้ดินแทน เพื่อหลบหลีกสายตาของรัฐ
หากใจไม่ถึงขนาดหลบออกจากรัฐ ก็ยังมีวิธีต่อรองกับรัฐอย่างอื่นแก่ชาวบ้านอยู่นั่นเอง ระบบอุปถัมภ์ที่ชอบพูดถึงกันบ่อยๆ ก็เป็นอย่างหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ซึ่งชาวบ้านสร้างขึ้นกับผู้มีอำนาจเพื่อปกป้องคุ้มครองตนเองนั้น ถามว่าคุ้มครองจากอะไรบ้าง คงตอบได้ว่าหลายอย่างเช่น “ผู้ใหญ่” คนอื่น และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญแก่ชาวบ้านไม่น้อยคือปกป้องจากรัฐ ยิ่งความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กระจายไปกว้างขวางเท่าไร อำนาจรัฐก็ยิ่งน้อยลง เท่านั้น
การติดสินบนก็เป็นการต่อรองอีกอย่างหนึ่ง “เดินสวนเดินนา” หรือสำรวจการถือครองที่ดินกันทีหนึ่ง ก็ต้องหาเงินมาติดสินบนให้เจ้าหน้าที่ประเมินที่นาที่สวนไว้ต่ำๆ เพื่อจะได้เสียค่านาและสมพักษรน้อยลง ข้าราชการสมัยอยุธยาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของข้าราชการปัจจุบัน มีรายได้หลักไม่ใช่จาก “เงินปี” ที่หลวงจ่ายให้หรอกนะครับ แต่จากสินบนนี่แหละ
ขอยกมาเป็นตัวอย่างเพียงเท่านี้ แท้จริงแล้วชาวบ้านยังมีวิธีต่อรองกับรัฐได้อีกหลายอย่างเหลือคณานับ
ก็เห็นได้ไม่ยากว่า การต่อรองภายในรัฐที่ไม่ประชาธิปไตยจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายได้สักเพียงไร จนรัฐอาจแตกแยก เละเทะไปได้บ่อยๆ ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของชัยชนะของกองทัพพระเจ้าซินพยูชินเหนืออยุธยาอาจเกิดจากหัวเมืองใหญ่ทั้งทางเหนือและใต้ ใช้การรุกรานของอังวะเป็นเครื่องมือต่อรองกับอยุธยา ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการกดขี่เอารัดเอาเปรียบจากคนกลุ่มต่างๆ ที่ประชาชนต้องทนรับ เพราะอำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน
ประชาธิปไตยคือการทำให้ธรรมชาติของสังคมมนุษย์หรือการต่อรองกลายเป็นสถาบัน เกิดระเบียบแบบแผนในการต่อรองกัน ไม่จำเป็นต้องหนีเข้าป่า ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังกองทัพของต่างประเทศมาต่อรองกับรัฐของตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังดิบเข้าหักหาญเอาชนะกัน แน่นอนว่าไม่มีประชาธิปไตยของสังคมใดสมบูรณ์พร้อม จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อทำให้ประชาธิปไตยขยายตัวและ “ก้าวหน้า” มากขึ้น
เกณฑ์ในการใช้วัดความกว้างขวางและความก้าวหน้าของประชาธิปไตยคือ การต่อรองทำได้อย่างปลอดภัยแก่ทุกฝ่ายได้มากขึ้นหรือไม่ มีคนหลากหลายกลุ่มมากขึ้นสามารถเข้ามาต่อรองได้หรือไม่ และอำนาจต่อรองกระจายไปแก่คนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมมากขึ้นหรือไม่ เขาไม่ได้วัดกันว่าบ้านเมืองมีความ “สงบ” มากขึ้นหรือน้อยลง เพราะความ “สงบ” เกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่างมากกว่าระบอบปกครอง ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตลอดกว่า 400 ปีของอยุธยานั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากประชาธิปไตยเลย แต่จะโทษราชาธิปไตยเพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะในบางรัชสมัยก็มีความสงบต่อเนื่องกันตลอดหลายรัชกาล
ประชาธิปไตยไม่ปฏิเสธการต่อรอง ยอมรับว่าเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์เหมือนกับสังคมทั้งหลายที่ผ่านมาในอดีต ประชาธิปไตยเพียงแต่เปลี่ยนกระบวนการต่อรอง ให้เกิดสถาบันทางการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรมที่เปิด คือทุกคนทุกกลุ่มเข้ามาต่อรองได้ ทำให้การต่อรองในสังคมประชาธิปไตยยิ่งมีความสลับซับซ้อนขึ้นเป็นอันมาก แต่ความสลับซับซ้อนของการต่อรองไม่ใช่ของใหม่ที่ประชาธิปไตยนำมาให้ เพราะในการต่อรองของสังคมโบราณที่พัฒนาถึงระดับสังคมเมืองแล้ว ก็มีความสลับซับซ้อนอย่างมากเช่นกัน เฉพาะในสังคมชนเผ่าบรรพกาลเท่านั้น ที่ใช้แต่เพียงพิธีกรรมและความรุนแรงในการต่อรอง
ดังนั้น ต้องไม่ลืมเป็นอันขาดว่า แม้กระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยอาจเป็นของใหม่ในบางสังคม แต่ตัวการต่อรองเป็นของเก่าที่อยู่คู่กันมากับสังคมทุกสังคม ด้วยกระบวนการที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสถานการณ์ตลอดมา การเรียนรู้กระบวนการต่อรองอย่างใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปแก่มนุษย์ทุกคนในทุกสังคม หากเขามีโอกาส และไม่ถูกขัดขวาง
ผมจึงไม่ปฏิเสธสิ่งที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล พูดว่ากระบวนการประชาธิปไตยไม่เป็นที่รู้กันแพร่หลายในหมู่คนบางกลุ่มของสังคมไทย แต่คนกลุ่มไหนครับที่ไม่รู้และไม่ยอมรับกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตย ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย คนที่ไม่รู้หรือไม่ยอมรับ และพยายามขัดขวางกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยมากว่าศตวรรษแล้ว คือชนชั้นนำตามประเพณี เป็นคนส่วนน้อยของสังคม ไม่ใช่คนส่วนใหญ่
ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อการเลือกตั้งกลายเป็นเครื่องมือการต่อรองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ เราจะเห็นความกระตือรือร้นและความเชี่ยวชาญของประชาชนระดับล่าง ในการใช้เครื่องมือนี้เพื่อการต่อรองอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยสงบมากขึ้น (ฆาตกรรมทางการเมืองในสองระดับลดลงไปอย่างมากในสามทศวรรษที่ผ่านมา เพราะมันไม่ทำกำไร หรือทำได้ไม่คุ้มล่ะสิครับ) แต่ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ใครกันเล่าที่คอยขัดขวางกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตยอย่างเอาเป็นเอาตายตลอดมา ใช้อำนาจทางวัฒนธรรมในการบ่อนเซาะกระบวนการนี้ จนถึงที่สุด เมื่อไม่สามารถระงับมิให้กระบวนการนี้ขยายตัวได้ ก็ใช้กำลังกองทัพเป็นเครื่องมือในการต่อรอง เท่ากับปฏิเสธกระบวนการต่อรองที่ ม.ร.ว.จัตุมงคลพูดถึงโดยตรง
จะต้องใช้เวลาอีกถึง 2 ชั่วอายุคนหรือไม่ก่อนที่ไทย “จะพร้อมในการเป็นประชาธิปไตยได้” ผมคิดว่าไม่ เพราะหันไปดูขบวนการประชาชนในรอบสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งคุ้นเคยและมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นในการใช้ประโยชน์จากกระบวนการต่อรองของประชาธิปไตย ขบวนการนี้ขยายตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีพลังภายใต้การยึดอำนาจโดยกองทัพมาแล้วถึงสามครั้ง
สิ่งที่น่าจะเป็นห่วงมากกว่าก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป จะมีลักษณะอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน 28 มีนาคม 2559
ที่มา มติชนออนไลน์
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar