torsdag 31 mars 2016

รู้เท่าทันศักดินา เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย....การเรียนรู้การเมืองไทยจากประวัติศาสตร์ คือการส่องไปในอดีต เพื่อมองอนาคต เพื่อจะเข้าใจอะไรมากยิ่งขึ้น และมองเห็นอนาคตได้ง่ายขึ้น



รูปภาพของ James Walsky Magazine
James Walsky Magazine

รู้เท่าทันศักดินา
ตอน จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เราไม่รู้จัก (ตอนที่ ๓)
รู้หรือไม่ว่า เขาคือใคร
...
- เขาเป็นลูกคนธรรมดา พื้นเพเป็นคนเมืองนนท์
- เขาเป็นทหารปืนใหญ๋
- เขาเป็นนักเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในคณะราษฎร์
- เขาร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศในขณะอายุ ๓๕ ปี
- เขาเป็นแม่ทัพผู้ปราบกบฏบวรเดชในขณะอายุ ๓๖ ปี
- เขาเป็นนายกรัฐมนตรี ๘ สมัย รวมเวลาเกือบ ๒๐ ปี
- เขาเป็นจอมพลคนแรกของประเทศไทย
- เขาเป็นเคยเป็นนายกรัฐมนตรี รมว.กลาโหม รมว.มหาดไทย และผบ.ทบ. ในคราวเดียวกัน
- เขาเป็นผู้กุมชะตาของประเทศในภาวะที่ขับขันที่สุด
- เขาเคยต้องติดคุกในฐานอาชญากรสงคราม
- หลังพ้นโทษต้อง เขาต้องยุติบทบาททางการเมืองและกลับมาทำไร่ถั่วฝักยาว
- ต่อมาชีวิติของเขาพลิกผันเมื่อผู้ที่จงรักภักดียึดอำนาจมาให้อีกครั้ง
- เขาเคยผ่านการรัฐประหารและกบฎนับครั้งไม่ถ้วน รวมทั้งรัฐประหารตัวเอง
- เขาเคยนเคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง ๓ ครั้ง ทั้งโดนยิง และวางยาพิษ
- เขาเคยถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่นอนอยู่
- เขาเคยโดนจี้เป็นตัวประกันบนเรือรบ แต่รอดตายมาได้โดยว่ายน้ำขึ้นฝั่ง
- สุดท้าย เขาต้องจบชีวิตในต่างแดนโดยไม่มีโอกาสกลับสู่มาตุภูมิ
เขาชื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม....
มีชื่อเดิมว่า "แปลก ขีตตะสังคะ"

หลายคนบอกว่า เขาคือ นายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดคนหนึ่งที่เคยมีในประเทศนี้ หลายคนรู้ว่า เขาคือนักบุกเบิกเพื่อสามัญชน หลายคนรู้ว่าเขาคือนักการทหารที่ต่อสู้ ขับเคี่ยวกับศักดินาอย่างถึงพริก ถึงขิงที่สุดในประวัติศาสตร์
แต่ทำไมความดีงามที่เขาเคยทำไว้ในแผ่นดิน จึงหายไปในประวัติศาสตร์ ?
ถ้าไม่มีจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในประวัติศาสตร์ วันนี้ ประเทศนี้หน้าตาจะเป็นอย่างไร ?
ดูเพิ่มเติม



รูปภาพของ James Walsky Magazine




James Walsky Magazine ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 ภาพ
เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตอน ปันยารชุน กับ จุดยืนในการเมืองสยาม(ตอน ๒)
หากการเรียนรู้การเมืองไทยจากประวัติศาสตร์ คือการส่องไปในอดีต เพื่อมองอนาคต การย้อ...นมองตัวละครสำคัญในการเมืองไทยปัจจุบัน โดยศึกษาย้อนกลับเข้าไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็จะเข้าใจอะไรมากยิ่งขึ้น และมองเห็นอนาคตได้ง่ายขึ้น เช่น
เมื่อเอ๋ยถึง "ปันยารชุน" ทุกคนมักจะนึกถึง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เจ้าของฉายา ผู้ดีรัตนโกสินทร์ แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า "ปันยารชุน" นั้นเกี่ยวข้องกับ การเมืองสยามมาช้านาน โดยเฉพาะการทำงานรับใช้ราชสำนักมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ ๑. พระยาสฤษดิการบรรจง(สมาน ปันยารชุน)ได้กล่าวไว้ตอน ๑ และ ตอน ๒นี้ จะกล่าวถึง บิดาของนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งก็คือ...
๒. มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน)
พระยาปรีชานุสาสน์ เดิมชื่อว่า เสริญ ปันยารชุน เกิดเมื่อ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ที่บ้านริมคลองบางหลวง ธนบุรี เป็นบุตรของพระยาเทพประชุน (ปั่น ปันยารชุน) กับคุณหญิงจัน
ตัวของนายเสริญ ปันยารชุน มีประวัติด้านการศึกษาและการรับราชการโดดเด่นมาก * เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ (เมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว) ซึ่งสามัญชนน้อยมาก นอกจากจะเป็นผู้ทีสืบเชื้อสาย ราชสกุลเท่านั้น จึงได้รับโอกาสเช่นนั้น
ในแง่ของการรับราชการ นายเสริญ ปันยารชุน ก็ประสบความสำเร็จสุงสุด ได้รับความไว้วางใจจากราชสำนัก ดูแลโรงเรียนวชิราวุธและ สุดท้ายดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
การลาออกจากราชการของนายเสริญ ปันยารชุน ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ น่าสนใจมาก** เพราะอยุ่ในปีเดียวกับที่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ (ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ) ทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง*** ซึ่งหลานปู่ของท่าน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ )คือ หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์**** ต่อมาได้เป็น ภรรยาของนายอานันท์ ปันยารชุน
เมื่อพระยาปรีชานุสาสน์ลาออกจากราชการเมื่ออายุได้ ๔๕ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ และได้ก่อตั้งบริษัท สยามพาณิชยการ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการพิมพ์ จนต่อมาได้เป็นสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยคนแรก จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๕ *****
โปรดสังเกตุ การเติบโตและหน้าที่การงาน ความเกี่ยวข้องกับราชสำนักของ
นายเสริญ ปันยารชุน ตั้งแต่การได้รับทุนเล่าเรียนหลวงในยุคนั้น การได้รับความไว้วางใจให้ดุแลโรงเรียนวชิราวุธ การเติบโตในกระทรวงธรรมการ จนกระทั่งได้ลาออกจากราชการในยุคของคณะราษฎร์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการกวาดล้างผู้ที่เกี่่ยวข้องกับ กบฎฝ่ายเจ้าพ.ศ.๒๔๗๖ หรือ กบฎบวรเดช นั้นเอง

หมายเหตุ :
* พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
หลังจบการศึกษา ได้กลับมาเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๖ และได้เป็นปลัดทูลฉลอง กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖
.......................................
** พระยาปรีชานุสาสน์ ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ก่อตั้งบริษัท สยามพาณิชยการ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการพิมพ์ และออกหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เช่น "สยามนิกร" "บางกอกครอนิเคิล" "สุภาพสตรี" "ไทยฮั้วเซียงป่อ" มีนักหนังสือพิมพ์ในสังกัด เช่น โชติ แพร่พันธุ์ มาลัย ชูพินิจ สุภา ศิริมานนท์ เฉลิม วุฒิโฆษิต ประภาศรี ศิริวรสาร มาลี พันธุมจินดา (สนิทวงศ์) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไทยพาณิชยการ และขายกิจการให้แก่ อารีย์ ลีวีระ
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ กลุ่มนักหนังสือพิมพ์ของไทย ได้รวมตัวกันจัดตั้ง สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และคัดเลือก พระยาปรีชานุสาสน์ เป็นนายกสมาคมคนแรก จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๕
.........................................
*** พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ ทรงปลงพระชนม์พระองค์เองเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เนื่องจากทรงคับแค้นพระทัยที่ถูกอำนาจการเมืองในขณะนั้น (สมัยพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นนายกรัฐมนตรี) บีบคั้นให้กดดัน และฟ้องร้องดำเนินคดี ดำเนินการริบทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสละราชสมบัติไปก่อนหน้านั้น
อนึ่ง ในเวลานั้น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
.........................................
**** หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน มีนามเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ เป็นธิดาของพลโท หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับ หม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา และหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์พระธิดาพระองค์ที่ ๑๑ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับ หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีพีน้องร่วมพระบิดาและพระมารดาเดียวกัน คือ
หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล สมรสกับ พันตำรวจเอกวสิฐ สุนทรสิงคาล
หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์ สมรสกับ อรวรรณ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา (ตันตยาวนารถ)

หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นลื่อในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับอานันท์ ปันยารชุน มีธิดา ๒ คน คือ
นันดา ไกรฤกษ์ (สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ บุตร นายเพิ่มพูน ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง)
ดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ (สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ บุตร ศ.ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ อดีตปลัดกระทรวงคมนาคมและ ท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์)
........................................
***** พระยาปรีชานุสาสน์ลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ก่อตั้งบริษัท สยามพาณิชยการ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจการพิมพ์ ซึ่งนอกจากรับจ้างงานพิมพ์ทั่วๆ ไปแล้วยังลงทุนออกหนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ครบทั้ง ๓ ภาษาเจ้าแรกของเมืองไทย คือ หนังสือพิมพ์รายวัน สยามนิกร และนิตยสาร สุภาพสตรี ในภาษาไทย, หนังสือพิมพ์รายวัน ไทยฮั้วเซี่ยงป่อ ในภาษาจีน และหนังสือพิมพ์รายวัน บางกอกโครนิเกิล ในภาษาอังกฤษ ฯลฯ
ความเป็นมาที่ได้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เพราะ

"นักหนังสือพิมพ์ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการรวมเพื่อนๆ มาจับกลุ่มกันเป็นสมาคมฯคือ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ทั้งๆ ที่มีอายุอานามเพียง ๓๖ ปี
แต่ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ยืนยันเสียงหนักแน่นว่าผลักดันทุกอย่างให้เดินหน้าเพื่อสร้างสมาคมฯเพื่อเพื่อนนักหนังสือพิมพ์ ไม่ใช่เพื่อตัวเองเพราะฉะนั้นเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว สมควรเชิญพระยาปรีชานุสาสน์ นักหนังสือพิมพ์อาวุโสมาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก"

ท่านพระยาปรีชานุสาสน์ จึงเป็นนายกสมาคมหนังสือพิมพ์ฯ คนแรก นับจากวันก่อตั้งเมื่อ ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๘๔ จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๕ รวม สองสมัยติดต่อกัน
การตัดสิทธิ์การศึกษา หรือ การกีดกันการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญปี ๕๙ นี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนัก เพราะ การกีดกั้นราษฎร์ไม่ให้ได้รับการศึกษา มีมานานแต่อดีตกาล.......


รูปภาพของ James Walsky Magazine
James Walsky Magazine
เรียนรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตอน การกีดกั้นราษฎร์ไม่ให้ได้รับการศึกษา มีมานานแต่อดีตกาล
เรื่องการตัดสิทธิ์การศึกษา หรือ การกีดกันการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญปี... ๕๙ นี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนัก
เพราะหากเราได้ศึกษาจากประวัติศาสตร์การเมืองไทย จะเห็นว่าในการให้พลเมืองเข้ารับราชการเป็นเรื่องของชนชั้นสูงเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หากจะรับราชการ หรือ ประกอบอาชีพอื่นๆ (นอกจากยาม ซึ่ง กม.กำหนดให้จบ ม.๓) จำเป็นต้องเรียนต่อในระดับทีสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ นี่คือประเด็นทางชนชั้นที่ชัดเจนมาก
เรื่องการให้การศึกษาในระดับสูง เป็นพื้นที่สงวนของชนชั้นสูงมานานมากแล้ว เรื่องราวเหล่านี้ สามารถศึกษาได้จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย ดังต่อไปนี้
- จากประกาศคณะราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๕
"ประกาศคณะราษฎร" ในตอนที่กล่าวว่า "มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่าราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน" *๑
- จากการสำรวจพระราชดำรัส ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะพบข้อน่าสนใจดังนี้
๑.รัฐบาลกษัตริย์ชักจูงคนให้มาสนใจ "แบบเรียนที่รัฐกำหนดเนื้อหา (อุดมการณ์แห่งสยาม)" ด้วยแรงจูงใจบางประการ (คือ ถ้าไม่เรียนก็จะไม่ได้ "รับราชการ") :
"นักเรียนทั้งปวง...เราจะขอกล่าวซ้ำอีกว่าต่อไปภายหน้า คนที่ไม่รู้หนังสือแล้วจะไม่ได้รับราชการเป็นแน่แท้" (พระราชดำรัสพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบ พ.ศ.๒๔๒๙) *๒
๒.แม้ประชาชนจะมีการศึกษาแต่ความเจริญทั้งปวงต้องขึ้นต่อการนำของกษัตริย์ (ต้องรู้จักสำเหนียกตน "ข้าเจ้า") เพื่อความเป็นอิศรภาพจากต่างชาติ ดำรงความเป็นเอกราช (ราชา+คนเดียว) :
"ท่านทั้งหลายผู้เป็นประชาชนของเรา บัดนี้ควรที่เราทั้งหลายจะปณิธานอันดีและรักษาไว้ด้วย เราตั้งใจอธิษฐานว่าเราจะกระทำการจนเต็มกำลังอย่างดีที่สุดที่จะให้กรุงสยามเป็นประเทศอันหนึ่งซึ่งมีอิศรภาพและความเจริญ และส่วนท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้น จะเป็นผู้มีความตรงและความจริงต่อพระเจ้าแผ่นดินของตน และช่วยกันกระทำการทุกสิ่งซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงทำให้เป็นการดีแก่ท่านทั้งหลายด้วย" *๓
- จากแบบเรียน ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะพบข้อน่าสนใจดังนี้
เมื่อมีกระทรวงธรรมการแล้วก็ทำ "แบบเรียน" ปลูกฝังอุดมการณ์จงรักภักดีต่อกษัตริย์และชาติผ่าน "การศึกษา" :
"อย่าลืมว่าเราเป็นคนรักชาติของเราและรักพระเจ้าอยู่หัวของเรามากกว่าตัวของเราเอง" (แบบเรียนธรรมจรรยา เล่ม ๒, ๒๔๖๖)*๔
เชิงอรรถ
*๑ อ่าน ประกาศคณะราษฎร ใน "เว็บไซต์นิติราษฎร์" : http://www.enlightened-jurists.com/…/Statement-of-Thai-Revo…
*๒ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสตอบในการพระราชทานรางวัลนักเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ใน "พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๗ ถึง พ.ศ.๒๔๕๓)", พระนคร, กรมศิลปากร, ๒๔๕๘. หน้า ๓๘.
*๓ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, อ้างแล้ว, หน้า ๒๙-๓๐.
* ๔ หนังสือแบบเรียนธรรมจรรยา เล่ม ๒ พ.ศ.๒๔๖๖ ใน "วิทยาจารย์" เล่ม ๒, หน้า ๑๖๕.
หมายเหตุ :
แหล่งข้อมูลบางส่วนจาก : http://blogazine.pub/blogs/phuttipong/post/3725
ดูเพิ่ม







Inga kommentarer:

Skicka en kommentar