นักศึกษา-ปชช. ร่วมชุมนุม #มอชองัดข้อเผด็จการ ที่เชียงใหม่ ชู 3 นิ้วยืนหยัด 3 ข้อเรียกร้อง พร้อมอ่านรายชื่อนักศึกษาและชาวนาภาคเหนือที่เสียชีวิตจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย รวมทั้งนิสิต จิรโสภณ คณะผู้จัดทำ 'วลัญชทัศน์' ฉบับภัยเขียว และผู้นำชาวนา อินถา ศรีบุญเรือง นอกจากนี้ยังกล่าวยกย่องการต่อสู้ของคนเสื้อแดง และเชิญชวนคนเสื้อเหลือง และ กปปส. หากสำนึกได้แล้วขอให้มายืนเคียงข้างกันเพื่อร่วมต่อสู้จนกว่าจะได้ประชาธิปไตย
ที่มา: Twitter/ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
24 ส.ค. 63 สถานการณ์ชุมนุม #มอชองัดข้อเผด็จการ ที่ศาลาอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนักเรียน นักศึกษาทยอยเข้าร่วมมาตั้งแต่เวลา 16.00 น. โดยทวิตเตอร์ @TLHR214 ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่ามีการตั้งจุดตรวจคัดกรองอุณหภูมิ และแยกโซนด้วยรั้วเหล็กกั้นระหว่างนักศึกษากับประชาชนทั่วไป แต่ละกลุ่มต้องมีการแสดงบัตรประจำตัวระหว่างคัดกรอง และมีการติดสติ๊กเกอร์คนละสีกัน
มีรายงานจากผู้จัดงานด้วยว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบกระจายอยู่โดยรอบตั้งแต่ก่อนเริ่มงาน และคอยบันทึกภาพสต๊าฟท์จัดงาน
อย่างไรก็ตามในเวลาราว 17.30 น. เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก จึงมีการนำรั้วเหล็กที่กั้นระหว่างนักศึกษากับประชาชนออก เพื่อขยายพื้นที่ ทั้งนี้ยังมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาในพื้นที่ศาลาอ่างแก้วไม่ได้ ต้องยืนฟังปราศรัยและร่วมกิจกรรมรอบๆ บริเวณศาลาอ่างแก้ว
คลิปช่วงเคารพธงชาติและชู 3 นิ้วตะโกนคำขวัญ "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ"
นักเรียนมัธยมปราศรัยเรื่องความล้มเหลวทางการศึกษาที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว รวมทั้งเรื่องเสรีภาพการแสดงออก และการเรียกร้องประชาธิปไตย "หนูมาในฐานะเยาวชน ที่ถูกรัฐบาลโขมยความฝันไป"
ที่มา: ขอขอบคุณนักข่าวพลเมือง เอื้อเฟื้อภาพ
ในเวลา 18.00 น. ช่วงเคารพธงชาติ ผู้ร่วมกิจกรรมชู 3 นิ้ว และตะโกนคำขวัญ "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" โดยตลอดการชุมนุมซึ่งสลับกับการแสดงดนตรี มีการย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง 1. หยุดคุกคามประชาชน 2. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ 3. ยุบสภา โดยใช้แฮชแท็ก #มอชองัดข้อเผด็จการ
และในเวลา 19.45 น. บนเวทีบรรเลงเพลงเพื่อมวลชน ขณะเดียวกันตัวแทนนักศึกษาอ่านรายชื่อรุ่นพี่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เสียชีวิตในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และผู้ที่เสียชีวิตหลังเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
โดยมีการอ่านรายชื่อ นิสิต จิรโสภณ นักศึกษาภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มช. และผู้จัดทำวารสาร 'วลัญชทัศน์' ฉบับ "ภัยเขียว" เดือนกันยายน 2514 ภายหลังเขาเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย และเสียชีวิตระหว่างเดินทางโดยรถไฟไปทำข่าวที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2 เมษายน 2518
เดชา นพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์
พรเลิศ กองแสง คณะศึกษาศาสตร์
พิชัย กระแสรัตกุล คณะมนุษยศาสตร์
วันชัย บุญปฐมโรจน์กุล คณะแพทยศาสตร์
อาวุธ ช่อผกา คณะสังคมศาสตร์
สมนึก เดชเกรียงไกรศร คณะเภสัชศาสตร์
"เราต้องไม่ลืมนะครับว่า มีคนตายเพราะต่อต้านเผด็จการจริงๆ รุ่นพี่เหล่านั้นได้สละชีวิตตัวเองเพื่อการต่อต้านเผด็จการ และเพื่อให้ได้มาซึ่งระบอบที่ประชาชนเป็นใหญ่อย่างแท้จริง" ตัวแทนนักศึกษากล่าว
นอกจากนี้ได้อ่านรายชื่อสมาชิกสหพันธ์ชาวนาชาวนาไร่แห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ ที่ถูกลอบสังหารและสูญหายในช่วงก่อน 6 ตุลาคม 2519 ได้แก่
1. นายอาจ ธงโท ต.ต้นธง อ.เมือง จ.ลำพูน ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2518
2. นายประเสริฐ โฉมอมฤต อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2518
3. นายพุฒ ปงลังกา ผู้นำชาวนา จ.เชียงราย ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2518
4. นายแก้ว ปงซาคำ ผู้นำชาวนา จ.เชียงราย ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2518
5. นายจา จักรวาล อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2518
6. นายบุญทา โยทา อ.เมือง จ.ลำพูน ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2518
7. นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2518
8.
นายอินถา ศรีบุญเรือง รองประธานสหพันธ์ฯ ระดับชาติ และประธานสหพันธ์ฯ
ภาคเหนือ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อ 31 กรกฎาคม 2518
9. นายสวัสดิ์ ตาถาวรรณ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2518
10. นายมี สวนพลู อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2518
11. นายตา แก้วประเสริฐ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2518
12. นายตา อินต๊ะคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2518
13. นายพุฒ ทรายคำ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518
14. นายนวล กาวิโล อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกระเบิดและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2518
15. นายบุญรัตน์ ใจเย็น อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2518
16. นายลา สุภาจันทร์ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2518
17. นายคำ ต๊ะมูล อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2519
18. นายวงศ์ มูลอ้าย อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2519
19. นายพุฒ บัววงศ์ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2519
20. นายทรง กาวิโล อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ถูกอุ้มหายไปเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2519
21. นายดวงคำ พรหมแดง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2519
22. นายนวล ดาวตาด อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2519
23. นายชิต คงเพชร อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2519
"เราต้องไม่ลืมว่ามีคนตายจริงๆ เพราะต่อต้านเผด็จการ ถ้าการเมืองดีจะไม่มีคนตายแบบนี้อีกต่อไป" ตัวแทนนักศึกษากล่าว
สำหรับการอ่านรายชื่อสมาชิกสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ ผู้เสียชีวิต เกิดขึ้นในห้วงเวลาครบรอบ 45 ปี ลอบสังหาร นายอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ฯ ภาคเหนือ ซึ่งถูกยิงและเสียชีวิตเมื่อ 31 กรกฎาคม 2518
นอกจากนี้มีนักศึกษาอีกคนหนึ่ง กล่าวถึงคนเสื้อแดงว่า เมื่อ 10 ปีก่อนคนเสื้อแดงในวันที่ถูกสลายการชุมนุมเหมือนถูกผลักออกจากพื้นที่สาธารณะ ไม่มีตัวตน และไม่ถูกยอมรับ แม้แต่ตัวเขาที่ในเวลานั้นเป็นนักเรียนและเป็นคนเสื้อแดงก็เหมือนไม่มีตัวตนเช่นกัน โดยเขาถือโอกาสนี้ชวนคนเสื้อแดงลุกขึ้นแสดงตัว และเชิญชวนให้ผู้ร่วมกิจกรรมช่วยกันปรบมือขอบคุณที่คนเสื้อแดงยังคงยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เขากล่าวว่าที่พูดถึงคนเสื้อแดงวันนี้ ไม่ได้ต้องการให้ถอดเสื้อสีแดงแล้วมาสู้กับนักศึกษา แต่ขอให้ใส่เสื้อแดงแล้วมายืนเคียงข้างกันต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
นักศึกษาคนดังกล่าว กล่าวต่ออีกว่า เช่นเดียวกับ คนเหลือง และคนที่เคยเป่านกหวีด ถ้าสำนึกหรือคิดได้แล้วว่าสังคมต้องการประชาธิปไตย ท่านไม่จำเป็นต้องถอดเสื้อท่านทิ้ง แต่ท่านมายืนเคียงข้างกันได้มั้ย "วันนี้ไม่ได้ต้องการให้คนฝ่ายใดสละสีเสื้อ แต่ขอให้มายืนเคียงข้างกันจนกว่าจะได้ประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมา"
ในช่วงท้ายกิจกรรมมีการเชิญนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จากการจัดการปราศรัย #คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo เมื่อ 19 ก.ค. ที่ประตูท่าแพ โดยในรายงานของทวิตเตอร์ @THLR2014 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่าผู้จัดอ่านแถลงการณ์ประชาราษฎร์ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุข้อเรียกร้อง 35 ข้อ ครอบคลุมทั้งเรื่องอำนาจอธิปไตยของประชาชน การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การแก้ไขระบบกฎหมาย การกร
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar