fredag 21 augusti 2020

Update FYI: สถิตพงษ์ สุขวิมล (มือขวาวชิราลงกรณ์)

FYI: สถิตพงษ์ สุขวิมล (มือขวาวชิราลงกรณ์) เข้าคุมเป็นประธาน ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) หลังจาก จิรายุ ลาออก

เมื่อตอนต้นเดือน ผมเล่าถึงการที่จิรายุ (ซึ่งเพิ่งถูกวชิราลงกรณ์ให้พ้นจากทรัพย์สินส่วนกษัตริย์) ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการ ไทยพาณิชย์ (SCB) - ดูกระทู้นี้ https://t.co/r9dMVNzXtP และกระทู้นี้ https://t.co/63M8CxXIV6

วันนี้ (25 เมษายน) ปูนซีเมนต์ไทย (อีกหนึ่งธุรกิจใหญ่ของ สนง.ทรัพย์สินกษัตริย์) ได้มีหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า ได้แต่งตั้ง พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เป็นประธานกรรมการ แทนนายจิรายุที่ลาออกไป (ดูภาพประกอบแรก - ขอบคุณ "มิตรสหาย" ที่ส่งมา)

ผมขอเล่าทบทวนเรื่องนี้เล็กน้อย ดังนี้

• 28 มีนาคม ปูนซีเมนต์ไทย ได้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำปี ขณะนั้นจิรายุยังเป็นประธานกรรมการอยู่ (ดูหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นประชุม ได้ที่นี่ https://goo.gl/Vqu4ZF)

หนึ่งในวาระการประชุม มีการเสนอชื่อ 4 คนเป็นกรรมการ แทนกรรมการที่หมดวาระ ซึ่งใน 4 คน มี สถิตย์พงษ์ สุขวิมล อยู่ด้วย (ดูภาพประกอบที่สอง ซึ่งคัดมาจากหนังสือเชิญประชุม และดูเอกสารแนบหนังสือเชิญประชุม ซึ่งสรุปประวัติ สถิตย์พงษ์ ไว้ที่หน้า 15 https://goo.gl/Y489Xz)

ในวันประชุมจริง มีผู้ถือหุ้นซักถามว่า สถิตย์พงษ์ กับ เกษม วัฒนชัย (อีกคนที่ได้รับเสนอชื่อเป็นกรรมการ ส่วนอีก 2 คนเป็นกรรมการเก่าที่เพิ่งหมดวาระ) "เคยได้บริหารธุรกิจสินทรัพย์ขนาดใหญ่ขนาดไหน หรือได้รับการเสนอชื่อเพราะเป็น Board Seat ของผู้ถือหุ้นใหญ่" (ดูภาพประกอบที่สาม ซึ่งเอามาจาก รายงานการประชุม หน้า 16 https://goo.gl/8Byk8i) น่าสังเกตว่า ในเอกสารแนบหนังสือเรียกประชุม(ที่กล่าวถึงในย่อหน้าก่อน) สถิตพงษ์ เขียนประวัติตัวเองว่า "ความเชี่ยวชาญ - ด้านการบริหารและการจัดการองค์กรขนาดใหญ่" ซึ่งเขาคงหมายถึงวังวชิราลงกรณ์ แต่ไม่มีองค์กรขนาดใหญ่ #ทางธุรกิจ (และยิ่งไม่ใช่ "ธุรกิจสินทรัพย์ขนาดใหญ่" ตามที่ผู้ถือหุ้นถาม)

• 29 มีนาคม (คือวันรุ่งขึ้นหลังการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น) นายจิรายุ ซึ่งเป็นประธานกรรมการ ได้มีหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการ (ตอนจิรายุ ลาออกจากกรรมการ SCB ก็ลาออกหลังวันประชุมผู้ถือหุ้น)

• 25 เมษายน (วันนี้) ที่ประชุมกรรมการ ได้แต่งตั้ง สถิตพงษ์ เป็นประธานกรรมการแทน หลังจากเพิ่งได้เข้าเป็นกรรมการได้ราวเดือนเดียวในที่ประชุมผู้ถือหุ้น 28 มีนาคม

..........

สำหรับท่านที่จำไม่ได้ ผมขอเตือนความจำว่า ขณะนี้ สถิตพงษ์ มีตำแหน่งในวังถึง 6 ตำแหน่งอยู่แล้ว https://t.co/QSuW6hpKa4

แหะๆ ผม "ตก" ตำแหน่งคุณ สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ไปตำแหน่งหนึ่ง (และอัพเดตข้อมูลประวัติส่วนบุคคลของคุณสถิตย์พงษ์)

ตำแหน่งเขาเยอะเหลือเกินน่ะครับ เมื่อวานรวบรวมแล้ว ก็ยังอุตส่าห์ "ตก" ไปได้ เมื่อวานลิสต์ไป 5 ตำแหน่ง : ประธานข้าราชบริพารในพระองค์, เลขาธิการพระราชวัง, ราชเลขานุการในพระองค์, ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์, ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ดูกระทู้เมื่อวาน https://t.co/4fSmYmz761)

ลืมไปสนิทว่า เดือนกรกฎาคมปีกลาย ตอนวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินกษัตริย์ฉบับใหม่ ได้มีการตั้ง "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ใหม่ด้วย โดยให้ สถิตย์พงษ์ เป็นประธานคณะกรรมการ (ดูภาพประกอบซึ่งเป็นตัวคำสั่งแต่งตั้ง และดูรายงานข่าวทาง บีบีซี ไทย ได้ที่นี่ https://goo.gl/JDq3ZN)

ตำแหน่ง "ประธาณคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" นี้ คือตำแหน่งที่เดิม "รมต.คลัง" เป็นโดยตำแหน่ง แต่จริงๆอย่างที่ผมชี้ให้เห็นโดยมีหลักฐานโดยตลอดว่า กระทรวงการคลังไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพย์สินส่วนกษัตริย์เลยตลอด 70 ปีที่ผ่านมา (หลังรัฐบาลรอยัลลิสต์ออก พรบ.มาในปี 2491) ในทางการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯ ตัวกรรมการและประธานคณะกรรมการฯ ก็ไม่มีบทบาทอะไร บทบาททั้งหมดอยู่กับ "ผู้อำนวยการ" ซึ่งคุณจิรายุเป็นมาตั้งแต่ปี 2530 พอวชิราลงกรณ์ออก พรบ.ทรัพย์สินฯใหม่ปีกลาย ก็ตัดเรื่องที่แม้จะเป็นเพียง formal หรือ "โดยตำแหน่ง" นี้ออกไปเลย

การที่เมื่อวาน วชิราลงกรณ์ฯตั้งสถิตพงษ์ที่เป็นประธานกรรมการทรัพย์สินฯอยู่แล้ว ให้เป็นผู้อำนวยการฯ ก็เพราะความที่ตัวประธานไม่ใช่ตำแหน่งที่มีบทบาทในการบริหาร สนง.ทรัพย์สินฯดังกล่าว (การทำธุรกรรม เซ็นสัญญา ฯลฯ เป็นของผู้อำนวยการฯ)

ทีนี้ การที่วชิราลงกรณ์ตั้งสถิตย์พงษ์เป็น "ผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" เมื่อวาน เท่ากับว่า ตอนนี้คุณสถิตย์พงษ์ เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" ของ คณะกรรมการทรัพย์สินฯพร้อมๆกันไป ถ้าเอาตามตัวบท พรบ.ทรัพย์สินฯที่วชิราลงกรณ์ออกปีกลาย "ทรงแต่งตั้่งกรรมการ..คนหนึ่ง เป็นผู้อำนวยการ...ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ" (มาตรา ๘ ดูตัวบทจริงได้ที่นี่ https://goo.gl/turvVN) ความจริง ก็ควรต้องมีการตั้งใครสักคนมาเป็น "ประธาน" แทนสถิตพงษ์ด้วย เพราะไม่เช่นนั้น จะเท่ากับสถิตย์พงษ์เป็นทั้ง "ประธาน" และ "ผู้อำนวยการ" และต้อง "ทำหน้าที่..เลขานุการ" ไปด้วยพร้อมๆกัน แต่ก็ไม่แน่ เขาอาจจะปล่อยไว้แบบนี้ก็ได้ เพราะอย่างที่บอกว่าตัว "คณะกรรมการ" นี้ ไม่ได้มีบทบาทอะไรในการบริหารทรัพย์สินฯมาแต่ไหนแต่ไร อยู่ที่ผู้อำนวยการฯเท่านั้น ซึ่งสถิตย์พงษ์ก็ได้เป็นจากการตั้งเมื่อวานแล้ว

สรุปตำแหน่งทั้งหมดของสถิตพงษ์ ณ ขณะนี้ 6 ตำแหน่ง :

- ประธานข้าราชบริพารในพระองค์
- เลขาธิการพระราชวัง
- ราชเลขานุการในพระองค์
- ผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์
- ประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
- ผู้อำนวยการทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์

.....................

ถ้าใครเช็ค "วิกิพีเดียไทย" จะพบว่า ไม่มีประวัติส่วนตัวอะไรของคุณสถิตย์พงษ์เลย ไม่มีวันเดือนปีเกิดหรือประวัติการศึกษา ซึ่งต้องนับว่าแปลกดี ในแง่ที่เป็นคนซึ่งมีอำนาจและบทบาทกับวังมากขนาดนี้ (ดู https://goo.gl/mhk38G ผมเอารูปคุณสถิตย์พงษ์มาจากที่นั่น ขอบคุณ)

ผมเลยพยายามเสิร์ชหาเอง ก็ได้มาส่วนหนึ่ง นับว่ายังน้อยมาก แต่ขอมาเล่าต่อ ดังนี้

คุณสถิตย์พงษ์ ขณะนี้ อายุ 69 ปี นี่คือข้อมูลล่าสุดตอนต้นปีนี้เอง เพราะมีการเพิ่มคุณสถิตย์พงษ์เข้าไปเป็นกรรมการบอร์ด "เครือซีเมนต์ไทย" เลยมีประวัติอยู่ในรายงานสำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นต้น (https://goo.gl/1enzUN) หมายความว่า เขาน่าจะเกิดในปี 2492 (?)* คือเป็นคน "รุ่นเดียวกัน" กับวชิราลงกรณ์และทักษิณ แก่กว่าวชิราลงกรณ์ประมาณ 3-4 ปี (วชิราลงกรณ์เกิด 2495 ทักษิณ 2492) หรือถ้าเทียบกว้างออกไป คือเป็นคน "รุ่น 14 ตุลา" (จรัล 2490, เสกสรรค์ 2492 ธีรยุทธ 2493)

*(ปีเกิดนี้ยังไม่แน่นอน เพราะในรายงานของการบินไทยต่อตลาดหลักทรัพย์ตอนสิ้นปี 2554 https://goo.gl/hcm3Bq บอกว่าเขาอายุ 61 ปี ซึ่งทำให้เขาน่าจะเกิดปี 2493 และถ้านับจากตอนนั้นมาถึงสิ้นปีกลายหรือต้นปีนี้ เขาก็น่าจะอายุ 67 หรือ 68?)

สถิตย์พงษ์ เข้าเรีียนมัธยมที่สวนกุหลาบ เป็นรุ่นที่ 82 คือเข้าเรียนปี 2506 รุ่นเดียวกับ จุมพล มั่นหมาย (จุมพลเกิดปี 2493) - ขอบคุณท่านที่บอกมาหลังตั้งกระทู้

จบปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต (การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - นั่นคือ เขาไม่ได้จบทหาร ไม่ได้เป็นทหารมาก่อน

ในประวัติเขา(จากข้อมูลข้างต้น) บอกว่า

- ศิษย์การบินรุ่น น.54-16-3โรงเรียนการบินกําแพงแสน
- โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง รุ่นที่ 43
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่น 29
- วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 27

ไม่มีข้อมูลว่าเขาเปลี่ยนเป็นทหารตั้งแต่เมื่อไร

โรงเรียนการบิน ผมเข้าใจว่า พลเรือนก็เรียนได้

แต่ "โรงเรียนนายทหารชั้นบังคับฝูง" เป็นของกองทัพอากาศ สำหรับนายทหาร ผมลองเช็คเว็บไซต์ของโรงเรียน ดูเหมือน "รุ่นที่ 43" น่าจะเป็นปี 2526 (ไม่ชัวร์นะครับ)

เขาเป็นราชเลขานุการในพระองค์พระบรม ปี 2548

เป็นบอร์ดการบินไทย 2552-2556
(และอย่างที่บอกข้างบน เขาเริ่มเป็นบอร์ดเครือซีเมนต์ไทยปีนี้)

เขาไปรู้จักกับพระบรมฯได้ยังไง และทำไมจึงได้รับความไว้วางใจมากมายขนาดนี้ อันนี้ผมไม่ทราบ มีบางคนพูดทำนองว่า เขาเคยทำการบินไทยตั้งแต่ก่อนจะเป็นบอร์ด และสมัยที่พระบรมฯไปขับเครื่องการบินของการบินไทยบ่อยๆ ก็เลยได้รู้จัก (ช่วงที่ได้ไปรู้จัก "คุณนุ้ย" ด้วยอะไรแบบนั้น)

Bilden kan innehålla: 1 person Ingen fotobeskrivning tillgänglig.

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar