lördag 3 november 2012

.....มาทำความรู้จัก.... " ระบอบประชาธิปไตย คืออะไร ".....".เสรีภาพคืออะไร" โดยอาจารย์สถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฎีกา.

Posted Image


Democracy หากประชาชนต้องการแล้วก็ไม่มีใครขัดขวางได้ : สถิตย์ ไพเราะดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความเรื่อง "ร่วมสร้างพลเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย" ของอาจารย์สถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลกีฎา ผ่านทางเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นบทความที่อาจารย์สถิตย์้ใช้บรรยายในการเสวนาวิชาการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา โดยเนื้อหาเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

" อาจารย์สถิตย์ ไพเราะอดีตรองประธานศาลฎีกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโสในศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอาจารย์ (พิเศษ) ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

บทความนี้ เขียนขึ้นประกอบการเสวนาทางวิชาการ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เรื่อง

เคยมีนักศึกษาถามผมว่า การเป็นผู้พิพากษาควรมีคุณสมบัติอย่างไร
คุณสมบัติของผู้พิพากษาที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ ต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ใจ ตามที่มาตรา 26(3) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการบัญญัติไว้

ระบอบประชาธิปไตย คืออะไร
ประการแรก ในระบอบประชาธิปไตยนั้น อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลายตามที่มาตรา 1แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองประเทศสยามชั่วคราวที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ได้ร่างขึ้นและทูลเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่ 27มิถุนายน 2475 เพราะฉะนั้น ตราบใดที่อำนาจสูงสุดคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการยังไม่อยู่ในมือราษฎรทั้งหลาย ตราบนั้นประเทศไทยก็ยังไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประการที่สอง การปกครองระบอบประชาธิปไตยบุคคลที่อยู่ภายใต้การปกครองต้องมีเสรีภาพตามประกาศอิสรภาพของประเทศอเมริกา ซึ่งร่างโดยท่านโธมัส เจฟเฟอร์สัน เมื่อ ค.ศ.1789

เสรีภาพคืออะไร
เสรีภาพ คือ การที่บุคคลจะพูด จะทำ จะเขียนอย่างไรก็ได้ ถ้าในขณะที่พูด ที่ทำ ที่เขียนนั้น ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ ฉะนั้น จะออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังให้เป็นโทษแก่บุคคลไม่ได้ไม่ว่าทางใดๆ เพราะถ้าหากทำเช่นนั้นได้ บุคคลย่อมไม่มีเสรีภาพ เมื่อบุคคลไม่มีเสรีภาพจะเรียกว่าการปกครองนั้นเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่ได้

ประการที่สาม รัฐบาลของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนตามที่ท่านประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอน ได้กล่าวที่เมืองเกตตีสเบิร์ก (Gettysburg) ในสมัยสงครามกลางเมืองของอเมริกา ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4ของไทย
รัฐบาลที่จะเป็นรัฐบาลของประชาชนโดยประชาชนก็ต้องเป็นรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา รัฐบาลที่ประชาชนไม่ได้เลือกตั้งเข้ามา แต่มาจากขุนศึกก็ดี ศักดินาก็ดี อำมาตย์ก็ดี ย่อมไม่ใช่รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน ไม่ใช่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

ประการที่สี่ คนในระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้องมีความเสมอภาค ข้อความนี้ปรากฎอยู่ที่หน้าศาลสูงสุดของประเทศอเมริกา Equal justice under law ฉะนั้น ตราบใดที่ประชาชนยังไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ยังมีสองมาตรฐาน ตราบนั้นก็ยังเรียกว่าประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้

ประเทศจะปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับประชาชน
หากประชาชนต้องการแล้วก็ไม่มีใครขัดขวางได้
เพราะเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ "

Souce : เฟซบุ๊กดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ // ภาพ : Voice TV
by Watsana

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar