fredag 9 november 2012

..............ความมั่นคงของชาติในอนาคต vs ผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจ ( อเมริกา จีน รัสเซีย )............... เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนที่ต้องคิดให้รอบคอบ วางตัวเป็นกลางมีนโยบายถ่วงดุลย์โดยถือ" เอกราชอธิปไตยของชาติ" เป็นสำคัญและมีนโยบายที่เป็นกลาง.

โดย   Bugbunny

สิ่งที่ถือเป็นความมั่นคงของชาติในอนาคตย่อมไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ยึดถือกันวันนี้
นางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า ในฐานะที่สหรัฐเป็นประเทศประชาธิปไตย จึงเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง และการรับฟังความคิดเห็นส่วนรวมของคนในสังคม จะเปลี่ยนรัฐบาลผ่านทางการเลือกตั้งเท่านั้น อันเป็นคำขู่กลาย ๆ ว่า ถ้าไอ้เสธอ้ายกับแก๊งค์สิ้นคิดมันจะทำอะไร อเมริกาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

นางคริสตี้ เคนนีย์ ทูตสหรัฐคนนี้ ต่างจากนายราล์ฟ บอยซ์ อดีตทูตยุคสิบเก้ากันยามาก นายบอยซ์นั้นใกล้ชิดสนิทสนมกับไอ้หน้าแหลมฟันดำ ขนาดตอนพฤษภา 35 เคยคุ้มครองกันมาก่อน พูดไทยคล่อง อ่านเขียนได้ เคยเป็นอาสาสมัครพีซคอร์ปในเมืองไทย ดังนั้น ไม่แปลกที่เขาจะใกล้ชิดกับไอ้สั่นสิริ คนเคยร่วมงานกันมาในยุคสงครามเย็นย่อมเข้าใจกันดี ตอนนี้เขาเป็นตัวแทนภาคพื้นเอเชียของโบอิ้งแล้วนะ แต่นางคริสตี้เป็นทูตสหรัฐที่เสรีนิยมกว่าบอยซฺ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทูตสหรัฐทุกคนต้องยึดเป็นสรณะก็คือผลประโยชน์ของอเมริกา อเมริกานั้นรู้ดีว่าไทยสำคัญมาก โอบามาถึงอย่างไรก็ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศเขา แค่ใช้วิธีการต่างจากสไตล์ของบุชเท่านั้น

เมืองไทยควรพิจารณาเรื่องนี้ด้วย นั่นคือหัวข้อความมั่นคงของชาตินั้นย่อมเปลี่ยนแปลงได้ไปตามกาลเวลา สมัยจอมพล ป.กับ สมัยจอมพลสฤษดิ์ หัวข้อหลักที่กำหนดเรื่องความมั่นคงของชาติก็ไม่เหมือนกัน สมัยสฤษดิ์กับปัจจุบันก็คนละเรื่อง เมื่อก่อนเราเข้าข้างอเมริกา เข้าร่วมสงครามเย็นกับอเมริกาจนถือเป็นมหามิตร แต่ทุกวันนี้เราเน้นที่อาเซียนและจีนมากกว่า ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนสมัยสฤษดิ์ถนอมประภาสนั้นใครไปเยือนจีนกลับมาติดคุกกันเป็นแถว

นโยบายของชาตินั้นอย่ามัวไปบ้าติดยึดกับเรื่องเก่า ๆ ต้องพลิกแพลงตามสถานการณ์ และต้องมองประเทศชาติเป็นสิ่งสำคัญ อย่าไปบ้าแบบไอ้เสธกบฏและไอ้สงค์ สั่นสิริ โลกเขาไปถึงไหนแล้ว แม่งยังติดยึดกับวิธีการแบบสงครามเย็น คนแบบนี้ควรไปตายซะให้หมดได้แล้ว อยู่ไปก็ถ่วงความเจริญของประเทศเปล่า ๆ

ใครจะไปรู้ว่าอีกยี่สิบสามสิบปีข้างหน้านั้น นโยบายต่าง ๆ และสถาบันหลัก ๆ จำนวนมากที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่วันนี้นั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทั้งในประเทศและสถานการณ์โลกไปอย่างไรก็ได้ อยากฝากให้ฝ่ายความมั่นคงของไทยกรุณาพิจารณาเรื่องนี้ด้วย ควรหาข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีหลักการ อย่าไปเต้นตามพวกบ้า ๆ ที่มากันเป็นวูบ ๆ เหมือนกังนัมด๊านซ์ สไตล์วูวาบนั้นอยู่ไม่นานก็หมดยุค แต่คนไทยเมืองไทยน่าจะยังอยู่กันอีกนานครับ

เพราะถึงอย่างไรผมก็เชื่อมั่นว่า ไอ้พวกเสธอ้ายมันไม่มีปัญญาแช่แข็งประเทศไทยหรอก มีแต่ตัวมันกับพรรคพวกเท่านั้น ที่มีหวังจะโดนแช่แข็งในโลงเย็นกันทั้งโคตรเร็ว ๆ นี้แหละ ถ้ายังไม่เลิกรับจ๊อบมา
ทำลายล้างชาติกันแบบนี้เสียที

โดย  Savor

RE: สิ่งที่ถือเป็นความมั่นคงของชาติในอนาคตย่อมไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ยึดถือกันวันนี้
สิ่งที่ต้องระลึกถึงไว้เสมอคือ อเมริกาทำทุกอย่างเพื่อรักษาประโยชน์ของตัวเองเสมอ

โดยที่วิถีทางที่มะกันจะใช้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองในต่างประเทศนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีทางประชาธิปไตยแบบเดียวกับที่เขามอบให้คนของตัวเอง...


และเรื่องทูตมีความเป็นเสรีนิยม ก็อาจไม่ใช่หลักประกันที่มั่นคงนักสำหรับฝ่ายประชาธิปไตยของเราครับ...

เพราะตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้วในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. ที่ทูตบิชอปของอเมริกา มีแนวโน้มไปทางจอมพล ป. และไม่เอาพวกขวาจัดตกขอบอย่างสฤษดิ์ที่มีพวกอภิชนหนุนหลังอยู่

แต่สุดท้าย รัฐบาลและกระทรวงต่างประเทศของอเมริกาเลือกที่จะสนับสนุนสฤษดิ์ เพราะเหตุผลหลักๆคือ "ความมั่นคง" เพื่อที่จะขยายระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของตัวเอง และต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์

สฤษดิ์จึงได้รับการสนับสนุน และรัฐประหารสำเร็จในที่สุด ส่วนทูตบิชอปก็โดนเรียกกลับไป...

ดังนั้นท่าทีของอเมริกาจะเป็นอย่างไร เราคงต้องดูที่นโยบายของรัฐและกระทรวงต่างประเทศของเขาเป็นหลัก ซึ่งเท่าที่ดูผมก็ยังว่าท่าทีของโอบาม่าต่อภูมิภาคนี้ก็ยังค่อยไม่ดีและก็ไม่ชัดเจนด​้วย แต่เท่าที่คิดก็อาจดีกว่า รอมนีย์ ครับ...

"งานปฏิวัติ เป็นงานซึ่งต้องทำไม่เฉพาะแต่เปลี่ยนระบอบการปกครอง เปลี่ยนระบอบการเศรษฐกิจ การคลัง และการศึกษาเท่านั้น

งานปฏิวัติจะต้องทำให้ตลอดถึงการเปลี่ยนลักษณะนิสัยใจมนุษย์..."


หลวงวิจิตรวาทการ

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar