tisdag 21 januari 2014

ข่าวด่วน -ครม.ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมม็อบเป็นเวลา 60วัน มีผลบังคับใช้พรุ่งนี้ .. "วันที่๒ ก.พ.๕๗ ต้องมีการเลือกตั้ง" เปิดโอกาสให้ประชาชนไทยได้กาบัตรเลือกตั้ง เพื่อเลือกอนาคตของตนเองและเพื่ออนาคตของประเทศชาติ.....เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องรัฐบาลให้เวลาและโอกาสแก่พวกกบฎมานานสมควรแก่เวลาแล้ว แต่กบฎ"เทพ+เทือก" ไม่หยุดซ้ำร้ายกลับข่มขู่ท้าทายอำนาจรัฐกระทำการอยู่เหนือกฎหมายมากขึ้นเรื่อยๆ.!! .



-ครม.ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมม็อบเป็นเวลา 60วัน มีผลบังคับใช้พรุ่งนี้ โดยให้ นายเฉลิม อยู่บำรุง เป็น ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ (ผอ.ศรส.) ส่วน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. และ พล.อ.นิพัทธ ทองเล็ก ปลัดกลาโหม เป็นรองผอ.ศรส.ดูด้านปฎิบัติการ และให้ทหารเป็นคณะกรรมการ

รัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน 60 วัน - ตั้ง "เฉลิม" คุมศรส. เวลา 18.30 น. วันที่ 21 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน กินระยะเวลา 60 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค. 57 พื้นที่บังคับใช้ตามพรบ.ความมั่นคงเดิม ประกอบด้วย กรุงเทพฯ , นนทบุรี , ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี , บางพลี สมุทรปราการ ตั้งร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีแรงงาน เป็นผู้กำกับดูแลศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.)  

 ก่อนหน้านี้ เวลา 14.00 น. ที่บก.ทบ.พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) เป็นประธานประชุมศอ.รส.เต็มคณะ มีรัฐมนตรี ตัวแทนเหล่าทัพและหน่วยงานเกี่ยวข้อง อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ ในฐานะกำกับดูแลศอ.รส. พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวง กลาโหม พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์เดช รองผบช.น.

 ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ไม่ได้เดินทางมาร่วมหารือ โดยส่งพล.ท.อักษรา เกิดผล เสธ.ทบ.เป็นตัวแทน ใช้เวลานานเกือบ2 ชั่วโมง 

 โดยพล.อ.นิพัทธ์ ตอบคำถามสื่อมวลชนเรื่องการตัดสินใจประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า"ให้รอครม." 

 รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมศอ.รส.เริ่มการประชุมในเวลาใกล้เคียงกับการประชุมครม. จนกระทั่งครม.พิจารณาวาระเพื่อทราบจบ นายกรัฐมนตรีได้พักการประชุม เพื่อรอพิจารณาเรื่องสุดท้าย แต่ไม่ระบุว่าเป็นเรื่องใด เพื่อรอฟังผลการหารือของศอ.รส. โดยที่ประชุมศอ.รส.ใช้เวลาประมาณ 15นาที ในการพูดคุยและได้เสนอให้ใช้วิธีโหวตว่าตัวแทนหน่วยงานใดเห็นชอบให้ประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากนั้นมอบหมายให้นายสุรพงษ์ นำผลการหารือของศอ.รส.กลับมาเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง
-ถูกต้องแล้ว..เพื่อไม่ให้ทหารชิงประกาศกฎอัยการศึกตัดหน้า
นั่นหมายถึงทหารจะเข้ามาคุมสถานการณ์เอง



ข้อแตกต่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน (ย่อ)


รัฐบาลประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน 60 วัน เริ่ม 22 มค. ตั้ง "เฉลิม" คุมศรส. - ภราดรชี้ไม่ปิดสื่อ
ข่าวสด ออนไลน์

ที่มา FB Free4thai news Station

ข้อแตกต่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง กับ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน (ย่อ)
1. พ.ร.บ.ความมั่นคง ประชาชนฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฟ้องไม่ได้

2. พ.ร.บ.ความมั่นคง ยังอนุญาตให้มีการชุมนมได้ แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่อนุญาตให้ชุมนุม

3. พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจมากกว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติสามารถปิดล้อม-ตรวจค้น-จับกุมได้

4. หลังเสร็จสิ้นการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง รัฐบาลต้องทำรายงานไปยังรัฐภา และเปิดให้รัฐสภาสอบถาม ดังนั้นปฏิบัติการต่างๆจึงต้องมีแผนงานชัดเจน

แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่จำเป็นต้องรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งหากไม่จำเป็นจริงๆ รัฐบาลก็จะไม่นำพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาใช้
ถ้ามีความพยายามจากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการสร้างความรุนแรง มีความพยายามก่อวินาศกรรม หรือก่อความวุ่นวาย ก็จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล โดย

เบื้องต้นจะใช้กรอบกฎหมายปกติคือใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นหลักและใช้ทหารและพลเรือนเป็นกำลังเสริม จนกว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง

ถ้ามีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงก็จะมีทหารเป็นกำลังหลัก แต่หากสถานการณ์บานปลายและรุนแรงมากก็จำเป็นต้องประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งอยู่ที่ดุลพินิจของฝ่ายบริหารว่าจะให้กำลังของฝ่ายไหนเข้ามาดูแล ซึ่งเมื่อใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ประชาชนจะไม่สามารถฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้

ส่วนอำนาจของเจ้าพนักงานนั้น..... สามารถจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายจับ (ควบคุมตัวได้คราวละ 7 วัน ต่อเนื่องได้ไม่เกิน 30 วัน), ออกคำสั่งเรียกตัวบุคคล, ออกคำสั่งยึด อายัดอาวุธ สินค้า หรือวัตถุอื่นใด, ออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ถอน หรือทำลายอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง, ออกคำสั่งให้ตรวจสอบการสื่อสารทุกรูปแบบ (มาตรา 11)
 
การประกาศพรก.ฉุกเฉินวันนี้ทหารเห็นด้วยแค่
1. ผบ.ทอ.
2.ปลัดกห.
3.รองผบ.สส.
4.เสธ.ทบ
5.รองเสธ.ทร.
โดยให้ตำรวจรับผิดชอบหลัก

ผบ.ทร. กับ ผบ.ทบ  ที่ไม่เห็นด้วย.คงจะเกรงใจเงาหลังอีกฝ่าย ก็ไม่เป็นไร    เรื่องจบที่บนายกแต่งตั้งอัตราจอมพลแก่ พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก เป็นพลเรือเอก และพลอากาศเอก สามารถสั่งการได้ทั้งสามเหล่าทัพ







Inga kommentarer:

Skicka en kommentar