fredag 3 januari 2014

..อย่าตื่นข่าว...ลือข่าวลวง ข่าวปิดกรุงเทพฯ.."แผนชั่ว" ของเผด็จการอำมาตย์ทรราชย์ ที่มีผู้หวังดีนำมาปล่อยข่าว เพื่อหลอกประชาชนให้ออกมาถูกฆ่าเหมือนทุกครั้งในอดีตที่ผ่านมา ...

เรื่องขอความร่วมมือ.....

โดย   ราษฎรไทย
๓ ม.ค. ๕๗

ถึงพี่น้องประชาชนร่วมชาติผู้รักประชาธิปไตยทุกคน  จงเตรียมพร้อมอยู่ในที่ตั้ง   รอเวลา  รอโอกาสอันสมควร...เมื่อชาติต้องการ. 

อย่าตื่นข่าวลือ...ข่าวลวง  ข่าลับ ของผู้หวังดี ที่ขณะนี้ปล่อยข่าวตลอดเวลา...  จงติดตามข่าวสารอย่างมีสติใน  การอ่าน   การฟัง  การส่งข่าว..โปรดคิดไตร่ตรองอย่ามีเหตผล.
จงมีความเชื่อมั่น  ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ  เชื่อมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย   ประชาชนอย่าใจร้อน  ไม่ออกมาตกเป็นเครื่องมือให้เผด็จการอำมาตย์ใจดำอำมหิต ลงมือทำตาม"แผนชั่ว" ยึดปิดกรุงเทพฯได้สำเร็จ   ทำให้ประชาชนกรุงเทพฯเดือดร้อนแล้ว  ให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายต่อสู้ฆ่ากันเอง  เพื่อเป็นสาเหตเข้าสู่การเกิดสงครามกลางเมืองทำลายล้มล้างระบอบประชาธิปไตยไม่ให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๒ ก.พ.๕๗  เพื่อต้องการปิดประเทศ...ตามที่พวกเผด็จการอำมาตย์ทรราชต้องการ   ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้..แต่ประชาชนอย่าประมาทกับความใจดำอำมหิตชั่วช้าสารเลวของจอม"ปีศาจตาเดียว"เด็ดขาด


เรื่องการควบคุมสถานการณ์ป้องกันรักษาความสงบในเขตกรุงเทพฯปล่อยให้ผู้รักษากฎหมายจัดการ
พี่น้องประชาชนอย่าคิดทำหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รักษากฎหมาย..เด็ดขาด   เพื่อความปลอดภัยของประชาชน. เพื่อการทำงานควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้คล่องตัวไม่มีปัญหาในการปราบโจรอันธพาลที่คิดจะออกมาก่อกวนปิดกรุงเทพฯ   ขอให้พี่น้องเพื่อนร่วมชาติจงยึดมั่นในหลักการเตรียมพร้อมตลอดเวลา  แปดปีเวลาแห่งการรอคอยคงไม่สูญเปล่า...ทุกวันนี้พี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติทุกคนรู้แล้วว่าเราสู้กับใคร?อะไรคือปัญหาที่แท้จริงของความวุ่นวายทั้งหมด  และที่สำค้ญรู้ว่าใครคือ"เส้นใหญ่"ผู้มีอำนาจเจ้าของม็อบกบฎที่แท้จริง  เจ้าของ"แผนชั่ว"สั่งให้พวกโจรกบฏปิดกรุงเทพฯ....

วันที่ 03 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 19:40 น.  ข่าวสดออนไลน์

นายกฯ ถกฝ่ายมั่นคงรับมือ กปปส. สั่งทำแผนรปภ.สถานที่สำคัญ ส่งทหาร22กองร้อยหนุนตร.

 เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ม.ค. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอณาจักร (กอ.รมน.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะ ผอ.กอ.รมน. ได้เรียกประชุมคณะกรรมการอำนวยการวาระพิเศษ อาทิ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.กอ.รมน. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งขาติ (สมช.) ขณะที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารเรือ และท ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการจากกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งสิ้น 21 คน

 ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมเร่งด่วน ซึ่งเป็นวาระพิเศษ เพื่อการร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงภายในประเทศ และในที่ประชุมมี 2 วาระ โดยในวาระแรกนั้นนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดูแลกำลังพลในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 70,400 คน ซึ่งนายกรัฐมตรีเน้นย้ำให้มีการทำงานที่เป็นเอกภาพ โดย กอ.รมน. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ บูรณาการการทำงาน ส่วนในวาระที่ 2 นายกรัฐมนตรีหารือเรื่องการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ระหว่างการเคลื่อนไหวใหญ่ของกลุ่ม กปปส. ในวันที่ 5-8 ม.ค.2557 และการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 13 ม.ค.2557 ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องดูแลประชาชนให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงดูแลด้านความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ให้เกิดความสงบและสันติในสังคมด้วย

 แหล่งข่าวระดับสูงในที่ประชุม เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แสดงความเป็นห่วงกับการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ที่ประกาศยกระดับ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ โดยเฉพาะการปิดถนนในเส้นทางหลักถึง 20 สาย จึงอยากให้ทางกองทัพบกจัดกำลังเข้าไปสนับสนุนภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากขณะนี้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีไม่พอต่อภารกิจการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยเบื้องต้นให้ทางกองทัพบกจัดกำลังพลประมาณ 22 กองร้อย เข้ามาสนับสนุนดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการสำคัญ ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปดูแลในเส้นทางหลักต่าง ๆ จำนวน 20,000 นาย โดยจะให้ตำรวจ และ ทหารมีการบูรณาการในการทำงานให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ มอบหมายให้ เสนาธิการทหารบก และ ผู้ช่วยผู้บัญชากาตำรวจแห่งชาติ ไปจัดทำแผนการปฏิบัติการ ซึ่งคาดว่าจะให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 วันนี้ ก่อนที่ กปปส.จะมีการจัดการชุมนุมในวันที่ 5 ม.ค.นี้

 แหล่งข่าวในที่ประชุม ยังกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องที่สำนักงานตรวจแห่งชาติ และ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เสนอให้มีการออก พรก.ฉุกเฉิน เพื่อมาบังคับใช้การดูแลการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.นั้น โดยนายกรัฐมนตรี ได้มีการสอบถามไปยังตำรวจ และ สมช. ที่ได้มีการเสนอเรื่องดังกล่าว โดยทางตำรวจได้มีการชี้แจงว่า จากการประเมินสถานการณ์แล้วเกรงว่าสถานการณ์จะเกิดบานปลาย โดยเฉพาะมือที่ 3 อาจจะเข้ามาสร้างสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวายเหมือนกับที่สนามไทย-ญี่ปุ่นดินแดง จึงต้องการที่จะให้ทางรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อมาบังคับใช้และจะได้สะดวกต่อการปฏิบัติภารกิจในการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเต็มที่

 ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ยังไม่น่าจะมีการพัฒนาให้เกิดความรุนแรงในช่วงนี้ และเห็นว่า พรบ.ความมั่นคงที่บังคับใช้อยู่ก็น่าจะเพียงพอต่อการดูแล ซึ่งทางกองทัพพร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการร้องขอเข้ามา

 “พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เพราะเห็นว่าหากรัฐบาลมีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน แล้วจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  เกรงว่าเมื่อประกาศแล้วสถานการณ์จะมีการพัฒนาเหมือนกับเหตุการณ์ในช่วงปี 2553 ทั้งนี้ ผบ.เหล่าทัพต้องการที่จะให้ 2 ฝ่ายจัดตัวแทนมาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกันเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ โดย โดยเฉพาะการพูดคุยกันในประเด็นหลัก 4 เรื่อง คือ 1.การปฏิรูปบ้านเมืองควรจะเป็นไปในทิศทางใด 2.การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ.นี้ควรจะมีอยู่หรือจะเลื่อนออกไป 3.การบริหารประเทศที่อยู่ในสภาวะขัดแย้ง และ 4. คือ การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งถ้าหากมีการพูดคุยกันในรายละเอียดแล้วคิดว่าจะแก้ไขสถานการณ์ได้ ทั้งนี้ในที่ประชุมจึงได้มีการตัดสินใจให้มีการบังคับใช้ พรบ.ความมั่นคงในการดูแลความปลอดภัย โดยจะยังไม่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน” แหล่งข่าว ระบุ

 สำหรับข้อเสนอของ สมช. มีดังนี้ 1.หากม็อบใช้อาวุธ หรือ มีมือที่ 3 ก่อเหตุรุนแรง ให้พร้อมประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ควบคุมสถานการณ์ได้ทันที โดยให้เจ้าหน้าที่ทหารออกมาช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2. การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน นั้น มีระยะเวลา 3 วัน หรืออาจเสนอผ่าน ครม. ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามตามหน้าที่ ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร 3.เพิ่มมาตรการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถพกอาวุธประจำกายได้ เพื่อป้องกันตัว และสามารถรองรับสถานการณ์ที่เข้มข้นให้มากขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ผู้ชุมนุมใช้อาวุธก็จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีอาวุธเข้ามาควบคุมสถานการณ์ได้ทันที และ4.ขอกำลังทหารเข้ามาเสริมกำลังตำรวจเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่มาเป็นกองหนุนอยู่แล้วจำนวน 22 กองร้อย ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อวางจุดกำลังทหารอีกครั้ง ในวันนี้ และจะเข้ามาเสริมกำลังตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. เป็นต้นไป

 จากนั้นเวลา 16.30 น. พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษก กอ.รมน. แถลงภายหลังการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีการพิจารณาวาระเรื่องโครงการสร้างอัตรากำลังพลของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าประจำปี 2557 ซึ่งเป็นไปตาม ม.17 ของ พรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรพ.ศ. 2551 โดยเป็นแผนงานประจำปี และที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในโครงสร้างนี้ที่จะมีการปรับเปลี่ยนทุกปี โดยมีอัตรากำลังพลและโครงสร้างการจัดเพื่อให้เหมาะสมสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละปี โดยในปี 2557 จะมีกำลังทหารหลักลดลง  ส่วนกำลังที่เพิ่มขึ้นได้แก่กำลังทหารพราน ตำรวจและพลเรือน โดยจะดำรงความต่อเนื่องและขยายผลความสำเร็จของการปฏิบัติงานปี 2556

 นอกจากนี้ที่ประชุมยังใช้เวลาส่วนใหญ่กับการหารือเรื่องการชุมนุมในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ได้ข้อสรุปว่าในกรอบศอ.รส.จะให้ฝ่ายแผนไปดำเนินการพิจารณาหาวิธีการที่เหมาะสม โดยเน้นการบูรณาการกำลังที่มีอยู่ในกรอบโครงสร้างอัตราของ ศอ.รส. และดำเนินการให้ได้ผล โดยมีจุดมุ่งหมายลดความเดือดร้อนของประชาชนตามที่มีข่าวว่าจะมีการยกระดับการชุมนุม ทั้งนี้ยังยึดถือแนวทางสันติ และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง อีกทั้งที่ประชุมได้สรุปว่าทุกพื้นที่มีพื้นที่กว้างใน 20 จุด อาจจะต้องมีการจัดลำดับความเร่งด่วนในการดูแลพื้นที่เพื่อให้มีกำลังเพียงพอ โดยคงกรอบอัตราโครงสร้างเดิมของศอ.รส. คือใช้ทหารจำนวน 20 กองร้อย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้กำลังพลประมาณ 20,000 นาย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินแน่นอน

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar