ไทยเสี่ยงสูงค้างชำระหนี้ เหตุทุนต่างชาติถอนออก ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
ถอดความจากรายงานของบลูมเบิร์กเรื่อง 'Thai default-risk soars as funds pull $4 billion' โดย เดวิด ยอง และยูมิ เทโซ /๑๙ มกราคม ๒๕๕๗
อัตราการเสี่ยงของประเทศไทยที่จะไม่สามารถชำระหนี้ได้
(Default) ขึ้นสูงสุดนับแต่เดือนสิงหาคม ขณะที่การชุมนุมต่อต้านรัฐบาลทำให้ผู้จัดการตลาดการเงินนานาชาติพากันเทขายทรัพย์สินในไทย
มูลค่าหลักประกันการชำระหนี้ของไทยพุ่งขึ้นสูงลิ่วหลังจากนักลงทุนต่างประเทศรวมทั้งเวลส์ฟาร์โก
อิ๊งค์ ถอนเงินลงทุนมากกว่า ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาทออกไปจากตลาดหลักทรัพย์ และการลงทุนพันธบัตร
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นต้นมา เมื่อเกิดการประท้วงปิดกรุงเทพฯ เต็มท้องถนน
และมีคนตายไปแล้ว ๘ ราย แปซิฟิคอินเวสต์เม้นต์ แมเนจเม้นต์ โกลด์แมนแซ็คกรุ๊ป
และโกกุไซแอสเส็ทแมเนจเม้นต์ ต่างลดอัตราสำรองชำระหนี้ของตนลงตั้งแต่เดือนตุลาคมแล้ว
ตามรายงานที่ยื่นเพื่อการตรวจสอบ
“เราขายมูลค่าทุนพันธบัตรในไทยของเราหมดไปแล้วเมื่อตอนสิ้นปี” ลอเร็น แวน บิลจอน นักวิจัยประจำเวลส์ฟาร์โกเฟิร์สอินเตอร์แน้ทชั่นแนลแอ็ดไว้เซอร์
ตอบการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคมนี้ “ดูเหมือนว่าความไม่ลงรอยกันขยายกว้างมากระหว่างฝักฝ่ายทางการเมือง”
หนทางแก้วิกฤติได้หลุดไปจากมือนายกรัฐมนตรี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แล้วตั้งแต่เธอประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนธันวาคมและกำหนดเลือกตั้งใหม่ในวันที่
๒ กุมภาพันธ์ พวกผู้ประท้วงต้องการโค่นเธอ และยุติอิทธิพลของพี่ชายเธอ ทักษิณ
ชินวัตร ผู้ที่ถูกโค่นโดยกองทัพบกเมื่อปี ๒๕๔๙ ค่าเงินบาทตกวูบในอาทิตย์นี้จากการที่เก็งกันว่าธนาคารชาติจะชลอการปล่อยสินเชื่อเมื่อเหตุการณ์ร้ายร้อนแรงขึ้น
พร้อมทั้งความคาดหมายว่าจะเกิดรัฐประหาร
“เรายังคงลดความเชื่อถือในค่าเงินบาทต่อเนื่องมาแต่ปลายปีที่แล้วโดยผลจากการที่ความวุ่นวายยืดเยื้อทำให้ภาพพจน์ของค่าเงินไม่น่าดู” ทัตสุย่า ฮิกูชิ ผู้จัดการการเงินของโกกูไวแอสเส็ทในกรุงโตเกียวกล่าวตอบคำซักถามผ่านทางโทรศัพท์เมื่อวันที่
๑๖ มกราคม “เมื่อการเมืองตกอยู่ในสภาพอลเวง ย่อมขาดการเกื้อหนุนทางการคลัง
หนทางเดียวที่จะสนับสนุนสถานการณ์เช่นนี้ได้อยู่ที่ต้องเพลามือการบริหารงานคลัง”
เขาบอกด้วยว่า
โกกุไซซึ่งเป็นกองทุนมวลรวมที่ใหญ่สุดของญี่ปุ่นมีทรัพย์สินกว่า ๑,๐๘๐,๐๐๐ ล้านบาท
งดการลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยไปเมื่อปีที่แล้ว ขณะนี้ก็จะยังคงนโยบายเช่นนี้ต่อไป
ความเสี่ยงดีฟ้อลท์
อัตราการแลกเปลี่ยนเครดิตดีฟ้อลท์
(ถังแตก) เพื่อประกันหนี้ค้างจ่ายของไทยเป็นเวลา ๕ ปี ขึ้นไปเป็น ๑๕๓ เมื่อวันที่
๑๔ มกราคม ในนิวยอร์ค อันเป็นอัตราสูงสุดนับแต่วันที่ ๒๘ สิงหาคม
ทั้งนีตามราคาของซีเอ็มเอ บัญชีเครดิตนี้ขยายตัวออกไป ๔๔ จุดพื้นฐาน นับแต่เริ่มมีการประท้วงรัฐบาลเกิดขึ้นเมื่อ
๓๑ ตุลาคม เทียบกับอัตราการเพิ่มของอินโดนีเซียเพียง ๑๙ จุดพื้นฐาน
และของฟิลิปปินส์แค่ ๑๗ จุดพื้นฐาน
ราคาการปกป้องหนี้ของประเทศไทยอาจขึ้นจาก
๑๕๐ ไปเป็น ๒๐๐ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ตามรายงานของนอร์เดียมาร์เก็ต
หน่วยงานของกลุ่มธุรกิจการเงินใหญ่ที่สุดของยุโรปภาคเหนือซึ่งมีทรัพย์สินที่อยู่ในการบริหารจัดการราว
๒๒๘ พันล้านยูโร ( ๙,๓๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) เมื่อ ๓๐ กันยายน
“ความเสี่ยงขึ้นสูงของราคาแลกเปลี่ยนเครดิตประกันหนี้ (ซีดีเอส) ยังคงระดับสูงเมื่อคำนึงถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการแซกแซงโดยกองทัพ” เอมี่ ซวง นักวิจัยการตลาดอาวุโสภาคพื้นเอเซียของนอร์เดียในกรุงโคเป็นฮาเก็น
เผยในการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม “ความไม่มั่นคงก็เห็นๆ อยู่ ความไม่สงบก็ตรงนั้น แม้โดยทั่วไปจะดูราบรื่นก็ตาม
แต่ว่าการเสี่ยงภัยและพลิกผัน มันยังไม่ถึงจุดผุดขึ้นมาให้เห็นในขณะนี้”
เงินทุนบินหนี
ตัวเลขในรายงานของตลาดหุ้น
และพันธบัตรไทยตั้งแต่ ๓๑ ตุลาคม ปรากฏว่ากองทุนโลกได้ขายหลักทรัพย์ในท้องที่
(ไทย) ออกไปมากกว่าที่ซื้อเข้าแล้วราว ๘,๔๐๐ ล้านบาท ยังมีเหลืออีกประมาณ ๔,๒๐๐
ล้านบาท ค่าเงินบาทตกลง ๕.๒ เปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้น ไปอยู่ที่ ๓๓.๑๔๘
บาทต่อหนึ่งดอลลาร์เมื่อ ๖ มกราคม ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยที่ดัชนีหุ้นของตลาดหุ้นไทยตกลงไป
๑๐ เปอร์เซ็นต์
ในวันที่
๒๒ มกราคมนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดอัตราการซื้อต่อภายในหนึ่งวันจากที่เป็นอยู่
๒.๒๕ เปอร์เซ็นต์ เหลือ ๒ เปอร์เซ็นต์ถ้วน
ทั้งนี้โดยการประเมินความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ที่บลูมเบิร์กสอบถาม ๑๔ ใน ๒๑ คน
อีก ๗ คนทำนายว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แบ๊งค์ชาติสร้างความประหลาดใจให้เกิดขึ้นเมื่อทำการตัดอัตราจุดพื้นฐานลงไป
๒๕ จุดในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน
กระทรวง
การคลังได้ลดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปี
๒๕๕๗ ลงไปจาก ๔.๘ เหลือเพียง ๔ เปอร์เซ็นต์แล้ว
โดยอ้างว่าความไม่สงบเรียบร้อยจะยิ่งเป็นผลร้ายต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
และการลงทุนมากขึ้น
และเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม
กระทรวงการคลังก็ได้ลดความคาดหมายต่อความเจริญทางเศรษฐกิจลงอีกเป็นครั้งที่
สองเหลือ
๓.๑ เปอร์เซ็นต์ จากเดิม ๔ เปอร์เซ็นต์ซึ่งเพิ่งลดมาหมาดๆ จาก ๕.๑
เปอร์เซ็นต์เมื่อวันที่
๒๖ ธันวาคม
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar