วรเจตน์เตือนดีไซน์ระบบลต.ให้ได้รบ.ผสม ไม่เป็นผลดีไร้เสถียรภาพ สภาก็ไม่ฟังก์ชั่น
หลัง กรธ. วางกรอบระบบเลือกตั้งแบบจัดสรร ปันส่วนผสม นำคะแนนผู้ที่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ระบบเขต มารวมกับระบบบัญชีรายชื่อ ‘วรเจตน์’ เตือนดีไซด์ระบบลต.ให้ได้รบ.ผสม ไม่เป็นผลดีไร้เสถียรภาพ สภาก็ไม่ฟังก์ชั่น แนะต้องคำนึงหลักความยุติธรรมของการนับคะแนนเสียงกับประสิทธิภาพในการทำงานของสภาฯ
จากกรณีที่ เดลินิวส์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาเรื่องระบบการเลือกตั้ง โดยที่ประชุม กรธ.ได้ร่วมกันกำหนดหลักการ 4 ประการสำคัญ เพื่อให้เป็นกรอบการพิจารณาเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งในอนาคต ประกอบด้วย 1.ส.ส.ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง 2.ระบบการเลือกตั้งไม่ควรซับซ้อน ประชาชนเข้าใจง่าย 3.เพื่อเป็นการเคารพประชาชนที่ลงคะแนน จึงพยายามทำให้คะแนนเลือกตั้งที่ประชาชนให้ทุกคะแนนมีความหมาย ไม่ว่าจะลงคะแนนให้ใคร คะแนนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ควรสูญเปล่า 4.เป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ประชาชนสนใจออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นว่าควรเพิ่มอีก 1 ประเด็น คือควรให้เข้ากับบริบทหรือวิถีชีวิตของคนไทย โดยไม่ขัดหลักสากล
เดลินิวส์ ยังรายงานอีกว่าหลังจากที่ประชุมได้กำหนด 4 กรอบ จึงได้มีข้อสรุปเรื่องระบบการเลือกตั้งว่าจะใช้ระบบการเลือกตั้งที่กำหนดให้เอาคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.ที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง ไปคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยประชาชนจะลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งเพียงหนึ่งใบ โดยมีการยกตัวอย่างว่า สมมติเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้สมัคร ส.ส.จำนวน 5 พรรค หากพรรค ก.ได้รับคะแนนสูงสุดให้ถือว่าผู้สมัครพรรคนั้นได้เป็น ส.ส.ทันที แต่ให้เอาคะแนนของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครไม่ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 4 พรรค ไปคำนวณเพื่อหาจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคต่อไป ขณะที่ คะแนนของพรรคที่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.เขตแล้ว จะไม่ถูกนำมาคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก
‘วรเจตน์’ ชี้ว่าปัญหาไม่ใช่เรื่องระบบเลือกตั้ง แต่ปัญหาสำคัญคือการไม่เคารพผลเลือกตั้ง
แต่ประเด็นสำคัญ เห็นว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว จะเคารพผลการเลือกตั้งอันเป็นเจตน์จำนงของประชาชนหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ไม่ว่าจะออกแบบระบบเลือกตั้งเช่นไร ก็จะเป็นเพียงเครื่องมือในการเอาชนะทางการเมือง เพียงอย่างเดียว วรเจตน์ เสนอให้บัญญัติกฎหมายเลือกเลือกตั้งขึ้นมาเฉพาะ ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญ ระบุเฉพาะหลักการสำคัญเท่านั้น
จากกรณีที่ เดลินิวส์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม มีการพิจารณาเรื่องระบบการเลือกตั้ง โดยที่ประชุม กรธ.ได้ร่วมกันกำหนดหลักการ 4 ประการสำคัญ เพื่อให้เป็นกรอบการพิจารณาเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งในอนาคต ประกอบด้วย 1.ส.ส.ควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง 2.ระบบการเลือกตั้งไม่ควรซับซ้อน ประชาชนเข้าใจง่าย 3.เพื่อเป็นการเคารพประชาชนที่ลงคะแนน จึงพยายามทำให้คะแนนเลือกตั้งที่ประชาชนให้ทุกคะแนนมีความหมาย ไม่ว่าจะลงคะแนนให้ใคร คะแนนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ควรสูญเปล่า 4.เป็นระบบเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ประชาชนสนใจออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นว่าควรเพิ่มอีก 1 ประเด็น คือควรให้เข้ากับบริบทหรือวิถีชีวิตของคนไทย โดยไม่ขัดหลักสากล
เดลินิวส์ ยังรายงานอีกว่าหลังจากที่ประชุมได้กำหนด 4 กรอบ จึงได้มีข้อสรุปเรื่องระบบการเลือกตั้งว่าจะใช้ระบบการเลือกตั้งที่กำหนดให้เอาคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.ที่ไม่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง ไปคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยประชาชนจะลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งเพียงหนึ่งใบ โดยมีการยกตัวอย่างว่า สมมติเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้สมัคร ส.ส.จำนวน 5 พรรค หากพรรค ก.ได้รับคะแนนสูงสุดให้ถือว่าผู้สมัครพรรคนั้นได้เป็น ส.ส.ทันที แต่ให้เอาคะแนนของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครไม่ได้รับเลือกตั้ง จำนวน 4 พรรค ไปคำนวณเพื่อหาจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคต่อไป ขณะที่ คะแนนของพรรคที่ได้รับเลือกให้เป็น ส.ส.เขตแล้ว จะไม่ถูกนำมาคำนวณหาจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่ออีก
‘วรเจตน์’ ชี้ว่าปัญหาไม่ใช่เรื่องระบบเลือกตั้ง แต่ปัญหาสำคัญคือการไม่เคารพผลเลือกตั้ง
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
วันนี้ VoiceTV รายงานด้วยว่า วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตกรณี การกำหนดระบบเลือกตั้ง ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แบบจัดสรร ปันส่วนผสม โดยนำคะแนนผู้ที่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ระบบเขต มารวมกับระบบบัญชีรายชื่อ ว่า ประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาการเมืองโดยมุ่งเน้นไปที่ระบบเลือกตั้ง ซึ่งมองว่าการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งบ่อยครั้ง ไม่เกิดประโยชน์แต่ประเด็นสำคัญ เห็นว่า เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว จะเคารพผลการเลือกตั้งอันเป็นเจตน์จำนงของประชาชนหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ไม่ว่าจะออกแบบระบบเลือกตั้งเช่นไร ก็จะเป็นเพียงเครื่องมือในการเอาชนะทางการเมือง เพียงอย่างเดียว วรเจตน์ เสนอให้บัญญัติกฎหมายเลือกเลือกตั้งขึ้นมาเฉพาะ ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญ ระบุเฉพาะหลักการสำคัญเท่านั้น
“ระบบเลือกตั้งในช่วงหลังอาจจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในทางการเมืองมากเกินไป เราจำได้ใช่ไหมครับว่าหลังรัฐประหารปี 49 ก็มีการออกแบบระบบเลือกตั้งแบบหนึ่ง แบบที่มีหลายๆ เขต ไม่ให้ประเทศเป็นเขตใหญ่เขตเดียว เพราะกลัวว่าจะมีคนเคลมว่าได้กี่ล้านคะแนน และมารัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ก็แก้กลับไปเป็นแบบเดิมมันแก้กลับไปกลับมาแบบนี้ ผมไม่คิดว่าประเทศชาติจะได้อะไรเท่าไหร่จากการแก้กลับไปกลับมาแบบนี้สำหรับวันนี้วันนี้ วรเจตน์ เดินทางไปที่ศาลทหารกรุงเทพฯ อีกครั้ง เพื่อรับฟังการนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์ คดีฝ่าฝืนคำสั่งเรียกรายงานตัวต่อ คสช. แต่เนื่องจากฝ่ายโจทก์ ไม่ได้ยื่นหลักฐานตามที่เคยแสดงไว้ จึงไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายจำเลย ศาลทหารจึงวินิจฉัย ให้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 29 มีนาคม 2559
ระบบเลือกตั้งที่ดีคือระบบที่สะท้อนเจตจำนงของประชาชน และในขณะเดียวกันก็ต้องคิดถึงเรื่องประสิทธิภาพของการทำงานในรัฐสภาด้วย คือถ้าใช้ระบบสัดส่วนล้วนๆ หรือเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้มีพรรคการเมืองจำนวนมากในสภา ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือสภาผู้แทนราษฎรมันจะไม่ฟังก์ชั่น เพราะฉะนั้นเวลาเขาคิดระบบเลือกตั้งเขาพยายามผสานคุณค่า 2 อย่างเข้าไว้ด้วยกัน คือ หลักความยุติธรรมของการนับคะแนนเสียงของประชาชนกับประสิทธิภาพในการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร มันต้องมีดุลยภาพ 2 ส่วนนี้เข้าด้วยกัน ระบอบประชาธิปไตยมันถึงเดินไปได้
ในขณะที่ตอนนี้เราออกแบบระบบเลือกตั้งโดยมุ่งเป้าหมายไปที่อยากมีรัฐบาลผสม ซึ่งมันไม่ควรเป็นธงหรือเป็นเป้าหมายของการออกแบบระบบเลือกตั้ง มันจะไม่ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ สภาก็ไม่ฟังก์ชั่นทำงานไม่ได้ มันจะเกิดสภาพแบบนั้น ซึ่งโดยรวมไม่เป็นผลดี” วรเจตน์ กล่าว
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar