จากทะเลจีนใต้ถึงซีเรีย โดย วีรพงษ์ รามางกูร
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความกลัวสงครามเกิดขึ้นอย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้าร่วมรบโดยอยู่กับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส กลายเป็นประเทศมหาอำนาจ จากเดิมที่อังกฤษฝรั่งเศสเป็นเจ้าอาณานิคมทั่วโลก ได้มีการจัดตั้งสันนิบาตประชาชาติและเกิดวาทะอันหนึ่งความว่า ถ้าประเทศต่างๆ มีอำนาจทางทหารใกล้เคียงกัน สงครามก็จะไม่เกิด เพราะต่างฝ่ายต่างไม่แน่ใจว่าตนจะชนะสงครามหรือไม่
ประเทศในยุโรปจึงแข่งขันกันสร้างกำลังทางทหาร เพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจระหว่างกัน เพื่อที่จะทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่กล้าก่อสงครามขึ้น แต่แล้วสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจนได้ ไม่เป็นไปตามทฤษฎีดุลแห่งอำนาจหรือ balance of power theory
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงสงครามเย็น โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ คือค่ายเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ มีประเทศยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก เป็นพันธมิตร ความจริงในค่ายนี้ก็ไม่ใช่จะมีแต่ประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหมด มีหลายประเทศที่มีรัฐบาลเผด็จการทุนนิยมฝ่ายขวา เช่น หลายประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกาก็อยู่ในค่ายนี้
อีกค่ายหนึ่งก็คือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเป็นหัวเรือใหญ่ มีประเทศยุโรปตะวันออก คิวบาและประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในคาบสมุทรอินโดจีน
แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย จะมีระบอบการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ประกาศตนเป็นอิสระไม่อยู่ในค่ายสหภาพโซเวียต
หลังจากเกิดความแตกแยกในค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอทฤษฎีโลกที่สาม โดยให้สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก เจ้าอาณานิคมเดิมพัฒนาแล้วเป็นโลกที่หนึ่ง สหภาพโซเวียตรัสเซียและประเทศบริวาร ยุโรปตะวันออกเป็นมหาอำนาจของโลกที่สอง ส่วนประเทศเกิดใหม่ที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศยุโรปตะวันตก ในเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา เป็นกลุ่มประเทศโลกที่สาม ที่พร้อมจะต่อต้านลัทธิการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตรัสเซีย
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างก็สร้างแสนยานุภาพ สร้างกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ร้ายแรง รวมทั้งแข่งขันกันในเรื่องเทคโนโลยีเพื่อทำสงครามอวกาศ แต่สงครามก็ไม่เกิด
ในขณะเดียวกัน สาธารณรัฐประชาชนจีนก็ผงาดขึ้นมา เป็นประเทศที่มีกองทัพ มีแสนยานุภาพตามหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพสังคมนิยมโซเวียต ตามทฤษฎีสามโลกของประธานเหมา เจ๋อ ตุง แม้จะมีความสามารถทางทหารไม่เท่ากับสหรัฐอเมริกาและสหภาพรัสเซีย แต่ก็มีความสามารถที่จะตอบโต้ สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพโซเวียตได้
จึงมีคำอธิบายว่าสงครามโลกไม่เกิดขึ้น เพราะเกิดดุลอันใหม่เรียกว่า "ดุลแห่งความกลัว" หรือ "balance of terror"
ในสมัยก่อนประเทศต่างๆ ต่างก็พยายามรักษา "ดุลแห่งอำนาจ" ระหว่างฝ่ายตนกับฝ่ายตรงกันข้าม โดยการทุ่มเททรัพยากรในการสร้างแสนยานุภาพกองทัพยุทโธปกรณ์ มาในสมัยนี้ประเทศต่างๆ พยายามรักษา "ดุลแห่งความกลัว" เอาไว้ เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายตรงกันข้าม แต่ขณะเดียวกันความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็นผู้นำก็ยังมีอยู่ ไม่ได้หายไปไหน
สงครามตัวแทนจึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ สงครามเวียดนามเป็นตัวอย่างอันดี เพราะเป็นการสู้กันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต โดยเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ หรือสงครามในยุโรปตะวันออก เป็นต้น
เมื่อสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐต่างๆ ที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิที่เคยเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าซาร์ล่มสลาย ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นเดิมทั้งหลายก็ประกาศเป็นเอกราช รวมทั้งยูเครนและเบลารุส ซึ่งก่อนหน้านั้นสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ ด้วยนโยบายที่ทันสมัยและเลิกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบการวางแผนจากส่วนกลาง แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มาเป็นระบบเศรษฐกิจโดยกลไกตลาด เพราะระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ผล ไม่เป็นไปตามทฤษฎีมาร์ก เลนิน ดุลแห่งอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตจึงหมดไป แต่ดุลแห่งความกลัวระหว่างสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ยังอยู่
เพื่อรักษาดุลแห่งความกลัวให้คงอยู่ สาธารณรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็มักจะอยู่ข้างเดียวกัน ต่างกับสมัยที่รัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต
เหตุการณ์ในทะเลจีน การอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลจีนและมหาสมุทรแปซิฟิก การอ้างเขตอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำสากล เมื่อจีนก่อสร้างประภาคารขึ้นในหมู่เกาะสแปรตลี โดยอ้างว่าอยู่ใต้อธิปไตยของตน สหรัฐอเมริกาก็นำเรือรบเข้ามาในทะเลจีนที่สหรัฐถือว่าเป็นน่านน้ำสากล
เมื่อเกิดกบฏขึ้นในยูเครน ซึ่งบัดนี้เป็นประเทศเอกราช ประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกาส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยฝ่ายรัฐบาล ขณะเดียวกันรัสเซียก็ส่งกองกำลังเข้ายึดแหลมไครเมีย และเข้าช่วยฝ่ายนิยมรัสเซียสู้รบกับฝ่ายนิยมตะวันตก
คลื่นคนอพยพจากซีเรีย 4-5 ล้านคนหลั่งไหลไปยังประเทศเยอรมนีผ่านประเทศต่างๆ ในยุโรป โดยมีผู้เสียชีวิต 2-3 แสนคน เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้วในโลกอารยะ ในศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นจากการที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกลุ่มไอซีส หรือ ISIS เพื่อโค่นล้มรัฐบาลประธานาธิบดีที่สืบทอดอำนาจจากประธานาธิบดีผู้เป็นบิดา ที่ครองอำนาจมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ
บัดนี้รัสเซียประกาศเข้าช่วยฝ่ายรัฐบาลโดยมีจีนเข้าไปร่วมด้วย
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ จากทะเลจีนใต้ไปจนถึงการสู้รบในตะวันออกกลาง ในซีเรียปัจจุบันซึ่งกำลังบานปลายลุกลามไปทั่วกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ขณะเดียวกันก็มีประชาชนในประเทศอื่นๆ ขันอาสาเข้าไปช่วยรบในซีเรียด้วย ถ้าดูให้ดีเบื้องหลังก็จะเห็นว่าเป็นความขัดแย้งของมหาอำนาจทั้ง 3 อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน โดยมีตัวแทนในภูมิภาคต่างๆ และออกมาในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่หยุดหย่อน หลายคนผูกเรื่องความขัดแย้งเหล่านี้เข้ากับผลประโยชน์ของพ่อค้าผู้ผลิตและขายอาวุธ ทั้งในสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน
เหตุผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม การขัดแย้งปะทะกันในภูมิภาคต่างๆ หรือการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งแต่ก่อนไม่มีผู้ใดสนใจ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเช่นการทิ้งระเบิดผิดที่ การยิงเรือรบของอีกฝ่ายโดยอ้างว่าเข้าใจผิด หรือการสร้างเรื่องราวว่ามีการสะสมอาวุธร้ายแรงแล้วให้เหตุผลที่ตนสร้างขึ้นเข้าโจมตี อาจจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ได้ ถึงจุดหนึ่งก็อาจจะลุกลามกลายเป็นสงครามที่หลายๆ ประเทศ หลายๆ ฝ่ายประกาศเข้าไปมีส่วนร่วม จนกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศหรือเป็นสงครามโลกได้
การเมืองระหว่างประเทศจึงเป็นการเมืองของมหาอำนาจ 3 ฝ่าย เป็นรูป 3 เหลี่ยมดังนี้ สหรัฐ รัสเซียและจีน เป็นหัวเรือใหญ่ เป็นทั้งดุลแห่งอำนาจและดุลแห่งความกลัว สงครามโลกคงจะไม่เกิดหากดุลทั้ง 2 ดุลนี้ยังคงอยู่ และน่าจะยังอยู่เป็นเวลาอีกนาน
ประเทศเล็กๆ ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
........................................
ประเทศในยุโรปจึงแข่งขันกันสร้างกำลังทางทหาร เพื่อรักษาดุลแห่งอำนาจระหว่างกัน เพื่อที่จะทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามไม่กล้าก่อสงครามขึ้น แต่แล้วสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นจนได้ ไม่เป็นไปตามทฤษฎีดุลแห่งอำนาจหรือ balance of power theory
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงสงครามเย็น โลกแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ คือค่ายเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวเรือใหญ่ มีประเทศยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก เป็นพันธมิตร ความจริงในค่ายนี้ก็ไม่ใช่จะมีแต่ประเทศเสรีประชาธิปไตยทั้งหมด มีหลายประเทศที่มีรัฐบาลเผด็จการทุนนิยมฝ่ายขวา เช่น หลายประเทศในทวีปเอเชียและละตินอเมริกาก็อยู่ในค่ายนี้
อีกค่ายหนึ่งก็คือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเป็นหัวเรือใหญ่ มีประเทศยุโรปตะวันออก คิวบาและประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมฝรั่งเศสในคาบสมุทรอินโดจีน
แม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย จะมีระบอบการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ประกาศตนเป็นอิสระไม่อยู่ในค่ายสหภาพโซเวียต
หลังจากเกิดความแตกแยกในค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอทฤษฎีโลกที่สาม โดยให้สหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก เจ้าอาณานิคมเดิมพัฒนาแล้วเป็นโลกที่หนึ่ง สหภาพโซเวียตรัสเซียและประเทศบริวาร ยุโรปตะวันออกเป็นมหาอำนาจของโลกที่สอง ส่วนประเทศเกิดใหม่ที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศยุโรปตะวันตก ในเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา เป็นกลุ่มประเทศโลกที่สาม ที่พร้อมจะต่อต้านลัทธิการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตรัสเซีย
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตต่างก็สร้างแสนยานุภาพ สร้างกองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ร้ายแรง รวมทั้งแข่งขันกันในเรื่องเทคโนโลยีเพื่อทำสงครามอวกาศ แต่สงครามก็ไม่เกิด
ในขณะเดียวกัน สาธารณรัฐประชาชนจีนก็ผงาดขึ้นมา เป็นประเทศที่มีกองทัพ มีแสนยานุภาพตามหลังสหรัฐอเมริกาและสหภาพสังคมนิยมโซเวียต ตามทฤษฎีสามโลกของประธานเหมา เจ๋อ ตุง แม้จะมีความสามารถทางทหารไม่เท่ากับสหรัฐอเมริกาและสหภาพรัสเซีย แต่ก็มีความสามารถที่จะตอบโต้ สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพโซเวียตได้
จึงมีคำอธิบายว่าสงครามโลกไม่เกิดขึ้น เพราะเกิดดุลอันใหม่เรียกว่า "ดุลแห่งความกลัว" หรือ "balance of terror"
ในสมัยก่อนประเทศต่างๆ ต่างก็พยายามรักษา "ดุลแห่งอำนาจ" ระหว่างฝ่ายตนกับฝ่ายตรงกันข้าม โดยการทุ่มเททรัพยากรในการสร้างแสนยานุภาพกองทัพยุทโธปกรณ์ มาในสมัยนี้ประเทศต่างๆ พยายามรักษา "ดุลแห่งความกลัว" เอาไว้ เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายตรงกันข้าม แต่ขณะเดียวกันความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรและศักดิ์ศรีความเป็นผู้นำก็ยังมีอยู่ ไม่ได้หายไปไหน
สงครามตัวแทนจึงเกิดขึ้นอยู่เสมอ สงครามเวียดนามเป็นตัวอย่างอันดี เพราะเป็นการสู้กันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต โดยเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ หรือสงครามในยุโรปตะวันออก เป็นต้น
เมื่อสหภาพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐต่างๆ ที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิที่เคยเป็นเมืองขึ้นของพระเจ้าซาร์ล่มสลาย ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นเดิมทั้งหลายก็ประกาศเป็นเอกราช รวมทั้งยูเครนและเบลารุส ซึ่งก่อนหน้านั้นสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ ด้วยนโยบายที่ทันสมัยและเลิกใช้ระบบเศรษฐกิจแบบการวางแผนจากส่วนกลาง แบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มาเป็นระบบเศรษฐกิจโดยกลไกตลาด เพราะระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ผล ไม่เป็นไปตามทฤษฎีมาร์ก เลนิน ดุลแห่งอำนาจระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตจึงหมดไป แต่ดุลแห่งความกลัวระหว่างสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐรัสเซียและสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ยังอยู่
เพื่อรักษาดุลแห่งความกลัวให้คงอยู่ สาธารณรัฐรัสเซียกับสาธารณรัฐประชาชนจีนก็มักจะอยู่ข้างเดียวกัน ต่างกับสมัยที่รัสเซียยังเป็นสหภาพโซเวียต
เหตุการณ์ในทะเลจีน การอ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลจีนและมหาสมุทรแปซิฟิก การอ้างเขตอำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำสากล เมื่อจีนก่อสร้างประภาคารขึ้นในหมู่เกาะสแปรตลี โดยอ้างว่าอยู่ใต้อธิปไตยของตน สหรัฐอเมริกาก็นำเรือรบเข้ามาในทะเลจีนที่สหรัฐถือว่าเป็นน่านน้ำสากล
เมื่อเกิดกบฏขึ้นในยูเครน ซึ่งบัดนี้เป็นประเทศเอกราช ประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกาส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยฝ่ายรัฐบาล ขณะเดียวกันรัสเซียก็ส่งกองกำลังเข้ายึดแหลมไครเมีย และเข้าช่วยฝ่ายนิยมรัสเซียสู้รบกับฝ่ายนิยมตะวันตก
คลื่นคนอพยพจากซีเรีย 4-5 ล้านคนหลั่งไหลไปยังประเทศเยอรมนีผ่านประเทศต่างๆ ในยุโรป โดยมีผู้เสียชีวิต 2-3 แสนคน เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้วในโลกอารยะ ในศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นจากการที่สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนกลุ่มไอซีส หรือ ISIS เพื่อโค่นล้มรัฐบาลประธานาธิบดีที่สืบทอดอำนาจจากประธานาธิบดีผู้เป็นบิดา ที่ครองอำนาจมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ
บัดนี้รัสเซียประกาศเข้าช่วยฝ่ายรัฐบาลโดยมีจีนเข้าไปร่วมด้วย
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ จากทะเลจีนใต้ไปจนถึงการสู้รบในตะวันออกกลาง ในซีเรียปัจจุบันซึ่งกำลังบานปลายลุกลามไปทั่วกลุ่มประเทศในคาบสมุทรอาหรับ ขณะเดียวกันก็มีประชาชนในประเทศอื่นๆ ขันอาสาเข้าไปช่วยรบในซีเรียด้วย ถ้าดูให้ดีเบื้องหลังก็จะเห็นว่าเป็นความขัดแย้งของมหาอำนาจทั้ง 3 อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน โดยมีตัวแทนในภูมิภาคต่างๆ และออกมาในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่หยุดหย่อน หลายคนผูกเรื่องความขัดแย้งเหล่านี้เข้ากับผลประโยชน์ของพ่อค้าผู้ผลิตและขายอาวุธ ทั้งในสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน
เหตุผลจะเป็นอย่างไรก็ตาม การขัดแย้งปะทะกันในภูมิภาคต่างๆ หรือการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งแต่ก่อนไม่มีผู้ใดสนใจ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเช่นการทิ้งระเบิดผิดที่ การยิงเรือรบของอีกฝ่ายโดยอ้างว่าเข้าใจผิด หรือการสร้างเรื่องราวว่ามีการสะสมอาวุธร้ายแรงแล้วให้เหตุผลที่ตนสร้างขึ้นเข้าโจมตี อาจจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ได้ ถึงจุดหนึ่งก็อาจจะลุกลามกลายเป็นสงครามที่หลายๆ ประเทศ หลายๆ ฝ่ายประกาศเข้าไปมีส่วนร่วม จนกลายเป็นสงครามระหว่างประเทศหรือเป็นสงครามโลกได้
การเมืองระหว่างประเทศจึงเป็นการเมืองของมหาอำนาจ 3 ฝ่าย เป็นรูป 3 เหลี่ยมดังนี้ สหรัฐ รัสเซียและจีน เป็นหัวเรือใหญ่ เป็นทั้งดุลแห่งอำนาจและดุลแห่งความกลัว สงครามโลกคงจะไม่เกิดหากดุลทั้ง 2 ดุลนี้ยังคงอยู่ และน่าจะยังอยู่เป็นเวลาอีกนาน
ประเทศเล็กๆ ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
........................................
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar