Somsak Jeamteerasakul
มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์ https://goo.gl/93aGxP
มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์
(รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/SI9Ijo)
ประเด็นที่ให้แก้มี ๓ ประเด็นใหญ่ อย่างที่มีการลือๆกันมาก่อนหน้านี้ และมีประเด็นย่อยเพิ่มเข้ามาอีกนิดหน่อย ดังนี้
#ประเด็นที่หนึ่ง
"มาตรา ๕" ที่มาจาก "มาตรา ๗" เดิม ที่พันธมิตรฯเคยอ้างขอ "นายกพระราชทาน"
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ได้เขียนใหม่ สร้างกลไกในการแก้วิกฤติขึ้นมา (ที่ประชุมผู้นำศาล สภา รัฐบาล)
กษัตริย์ใหม่ ให้แก้กลับไปเป็นแบบ "มาตรา ๗" เดิม คงเพื่อสงวนสำหรับกรณีที่กษัตริย์ต้องการออกมาแสดงบทบาทอำนาจแทรกแซงในการแก้วิกฤติด้วยตัวเอง
#ประเด็นที่สอง
ว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการ" (มาตรา ๑๖, ๑๗ และ ๑๙)
แก้ให้กษัตริย์ใหม่สะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องตั้ง ซึ่งได้มีการแก้ไปแล้วในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ เช่น การไปเที่ยวเยอรมันครั้งหลังสุด (จนเมื่อเช้านี้ที่เพิ่งกลับ) ก็ไม่มีการตั้งผู้สำเร็จแล้ว ฉบับ ๒๕๖๐ มีการเพิ่มให้กษัตริย์สามารถทำลิสต์คนที่จะให้เป็นผู้สำเร็จไว้ล่วงหน้าได้ ถึงเวลาถ้าไม่ได้มีการตั้งไว้ และต้องตั้ง (คงเช่นเผื่อเซ็นชื่อตอนกษัตริย์ไม่อยู่) ก็ให้เอาคนจากในลิสต์มาเป็น
#ประเด็นที่สาม
เรื่อง "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" (มาตรา ๑๘๒)
เดิมในรัฐธรรมนูญก่อนๆ มีเพียงบอกว่าต้องมี "ผู้รับสนองฯ" และละไว้เรื่องผู้รับสนองฯคือผู้รับผิดชอบในการกระทำในประกาศ, พระบรมราชโองการ ที่ "รับสนองฯ" นั้นๆ
ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ที่ผ่าน "ประชามติ" ไปแล้ว ได้เพิ่มวรรคสอง ระบุชัดเจนว่า ผู้รับสนองฯ "เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงในบรรดาที่ได้รับสนองพระบรมราชโองการ"
กษัตริย์ให้ตัดวรรคสองนี้ออกไป เรื่องนี้ ผมยอมรับว่าแปลกใจเหมือนกัน เพราะวรรคสองที่เพิ่มเข้ามาในร่าง ๒๕๕๙ ก็เพื่อให้ชัดเจนลงไปว่า ผู้รับสนองฯรับผิดชอบ กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ การที่กษัตริย์ให้ตัดออกไป อาจจะเพียงเพราะเห็นว่า(หรือที่ปรึกษาแนะว่า) ปล่อยไว้ตามเดิม เป็นที่เข้าใจกันพอแล้ว หรือไม่ก็กลัวว่า การเพิ่มเข้าไปเช่นนั้น จะกลายเป็นช่องให้ตีความได้ว่า อำนาจจริงในการกระทำตามประกาศในทุกกรณี กลายเป็นของผู้รับสนองฯไปด้วยหมด กษัตริย์มีหน้าที่แค่เซ็นเฉยๆ (ทำนองเดียวกับที่เป็นไปตามหลักสากล เช่นในอังกฤษ ราชินีเซ็นอย่างเดียว จึงไม่เกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ)
#ประเด็นย่อยเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีการและตั้งสมุหราชองครักษ์
มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๕
มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มข้อยกเว้นเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีว่า "ต้องไม่เป็นข้าราชการ...เว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" คิดว่าคงแค่เป็นประเด็นทางเทคนิค เพราะเดิมยกเว้นว่าคนเป็น "ข้าราชการ" เป็นองคมนตรีไม่ได้ เพิ่มอันนี้เข้าไป เพื่อให้รัดกุม เพราะอันที่จริง คนเป็นองคมนตรีถือเป็นข้าราชการเหมือนกัน ก็ให้เป็นได้ เพราะถือเป็น "ข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" อยู่
มาตรา ๑๕ เดิมในร่าง ๒๕๕๙ เขียนว่า "การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย"
ฉบับที่แก้ใหม่นี้ ตัดคำว่า "สมุหราชองครักษ์" ออกไป
ผมยอมรับว่างงเรื่องนี้ เพราะเหมือนเป็นการไปลดอำนาจกษัตริย์ แต่มานึกๆดู ตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ คือระดับผู้บังคับบัญชาและบริหารของกรมราชองครักษ์ สังกัดกระทรวงกลาโหม คือเป็นทหารทั่วไปที่ไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกษัตริย์โดยตรง กษัตริย์ใหม่อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากไปที่จะคอยมาดูการแต่งตั้งตำแหน่งพวกนี้ทั้งหมด เลยให้ตัดออกไป
added 4 new photos.
(รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/SI9Ijo)
ประเด็นที่ให้แก้มี ๓ ประเด็นใหญ่ อย่างที่มีการลือๆกันมาก่อนหน้านี้ และมีประเด็นย่อยเพิ่มเข้ามาอีกนิดหน่อย ดังนี้
#ประเด็นที่หนึ่ง
"มาตรา ๕" ที่มาจาก "มาตรา ๗" เดิม ที่พันธมิตรฯเคยอ้างขอ "นายกพระราชทาน"
รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ได้เขียนใหม่ สร้างกลไกในการแก้วิกฤติขึ้นมา (ที่ประชุมผู้นำศาล สภา รัฐบาล)
กษัตริย์ใหม่ ให้แก้กลับไปเป็นแบบ "มาตรา ๗" เดิม คงเพื่อสงวนสำหรับกรณีที่กษัตริย์ต้องการออกมาแสดงบทบาทอำนาจแทรกแซงในการแก้วิกฤติด้วยตัวเอง
#ประเด็นที่สอง
ว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการ" (มาตรา ๑๖, ๑๗ และ ๑๙)
แก้ให้กษัตริย์ใหม่สะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องตั้ง ซึ่งได้มีการแก้ไปแล้วในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ เช่น การไปเที่ยวเยอรมันครั้งหลังสุด (จนเมื่อเช้านี้ที่เพิ่งกลับ) ก็ไม่มีการตั้งผู้สำเร็จแล้ว ฉบับ ๒๕๖๐ มีการเพิ่มให้กษัตริย์สามารถทำลิสต์คนที่จะให้เป็นผู้สำเร็จไว้ล่วงหน้าได้ ถึงเวลาถ้าไม่ได้มีการตั้งไว้ และต้องตั้ง (คงเช่นเผื่อเซ็นชื่อตอนกษัตริย์ไม่อยู่) ก็ให้เอาคนจากในลิสต์มาเป็น
#ประเด็นที่สาม
เรื่อง "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" (มาตรา ๑๘๒)
เดิมในรัฐธรรมนูญก่อนๆ มีเพียงบอกว่าต้องมี "ผู้รับสนองฯ" และละไว้เรื่องผู้รับสนองฯคือผู้รับผิดชอบในการกระทำในประกาศ, พระบรมราชโองการ ที่ "รับสนองฯ" นั้นๆ
ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ที่ผ่าน "ประชามติ" ไปแล้ว ได้เพิ่มวรรคสอง ระบุชัดเจนว่า ผู้รับสนองฯ "เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงในบรรดาที่ได้รับสนองพระบรมราชโองการ"
กษัตริย์ให้ตัดวรรคสองนี้ออกไป เรื่องนี้ ผมยอมรับว่าแปลกใจเหมือนกัน เพราะวรรคสองที่เพิ่มเข้ามาในร่าง ๒๕๕๙ ก็เพื่อให้ชัดเจนลงไปว่า ผู้รับสนองฯรับผิดชอบ กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ การที่กษัตริย์ให้ตัดออกไป อาจจะเพียงเพราะเห็นว่า(หรือที่ปรึกษาแนะว่า) ปล่อยไว้ตามเดิม เป็นที่เข้าใจกันพอแล้ว หรือไม่ก็กลัวว่า การเพิ่มเข้าไปเช่นนั้น จะกลายเป็นช่องให้ตีความได้ว่า อำนาจจริงในการกระทำตามประกาศในทุกกรณี กลายเป็นของผู้รับสนองฯไปด้วยหมด กษัตริย์มีหน้าที่แค่เซ็นเฉยๆ (ทำนองเดียวกับที่เป็นไปตามหลักสากล เช่นในอังกฤษ ราชินีเซ็นอย่างเดียว จึงไม่เกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ)
#ประเด็นย่อยเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีการและตั้งสมุหราชองครักษ์
มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๕
มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มข้อยกเว้นเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีว่า "ต้องไม่เป็นข้าราชการ...เว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" คิดว่าคงแค่เป็นประเด็นทางเทคนิค เพราะเดิมยกเว้นว่าคนเป็น "ข้าราชการ" เป็นองคมนตรีไม่ได้ เพิ่มอันนี้เข้าไป เพื่อให้รัดกุม เพราะอันที่จริง คนเป็นองคมนตรีถือเป็นข้าราชการเหมือนกัน ก็ให้เป็นได้ เพราะถือเป็น "ข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" อยู่
มาตรา ๑๕ เดิมในร่าง ๒๕๕๙ เขียนว่า "การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย"
ฉบับที่แก้ใหม่นี้ ตัดคำว่า "สมุหราชองครักษ์" ออกไป
ผมยอมรับว่างงเรื่องนี้ เพราะเหมือนเป็นการไปลดอำนาจกษัตริย์ แต่มานึกๆดู ตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ คือระดับผู้บังคับบัญชาและบริหารของกรมราชองครักษ์ สังกัดกระทรวงกลาโหม คือเป็นทหารทั่วไปที่ไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกษัตริย์โดยตรง กษัตริย์ใหม่อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากไปที่จะคอยมาดูการแต่งตั้งตำแหน่งพวกนี้ทั้งหมด เลยให้ตัดออกไป
added 4 new photos.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar