onsdag 17 oktober 2012

วิเคราะห์สถานการณ์ก่อนสิ้นปี 2555 กรณีเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 9



วิเคราะห์สถานการณ์ก่อนสิ้นปี 2555
กรณีเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 9
โดย กลุ่มเสียงประชาชนไทย (สปท.)

                 วันนี้สังคมโลกได้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่าวิกฤตความวุ่นวายในประเทศที่ประทุรุนแรงในรอบ 6  ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการเมืองปลายรัชกาลที่ 9 เนื่องจากระบอบการปรกครองของไทย มิได้เป็นประชาธิปไตย หากแต่เป็นระบอบราชาธิปไตยใหม่ (Neo Absolute Monarchy.) ที่อำนาจการเมืองการปกครองของเศรษฐกิจรวมศูนย์อยู่ที่ตัวของพระมาหากษัตริย์ แต่อาศัยรูปแบบระบอบประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ดังนั้น เมื่อกษัตริย์ใกล้จะสิ้นอายุไขจึงเกิดการแย่งชิงอำนาจระหว่างรัชทายาทคือ สยามมกุฎราชกุมาร (วชิราลงกรณ์) และ สยามมกุฎราชกุมารี (สิรินธร) แต่ที่น่าสงสารที่สุดคือประชาชนไทยที่ไม่อาจจะรู้ความจริงเหล่านี้ได้แต่ต้องรับผลกรรมจากการแย่งชิงอำนาจนี้ 
                 สถานการณ์ความขัดแย้งในพระราชวัง ขณะนี้เกิดข่าวลือแพร่สะพัดกันต่างๆ นาๆ ในสามกลุ่มข้อมูลคือ กลุ่มที่หนึ่งกษัตริย์ภูมิพล สิ้นพระชนม์แล้ว กลุ่มที่สอง กษัตริย์และพระราชินี ใกล้สิ้นพระชนม์แต่ไม่รู้ว่าใครจะสิ้นก่อนกัน กลุ่มที่สาม สุขภาพของกษัตริย์ภูมิพลดีขึ้นแล้ว

                 ท่ามกลางข่าวลือข่าวปล่อย สปท. ขอวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนสิ้นปี 2555 ว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองมิได้ขึ้นต่อกลุ่มข่าวลือใดข่าวลือหนึ่งแต่ปัจจัยสำคัญนั้นขึ้นอยู่กับภาวการณ์ไร้ประสิทธิภาพของระบอบราชาธิปไตยใหม่ที่จะบริหารประเทศชาติต่อไปได้ ความเจ็บป่วยตามอายุไขหรือความตายล้วนแต่ส่งผลต่อวิกฤตการทางการเมืองเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่ส่งผลมากที่สุดตามข้อมูลที่เป็นจริงคือ กษัตริย์ภูมิพลและราชินี ต่างก็ป่วยอย่างหนักไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ส่วนแถลงการณ์และข่าวลือว่าทั้งสองพระองค์อาการดีพร้อมจะบริหารราชการแผ่นดินได้เป็นเรื่องโกหกและไม่ควรนำมาวิเคราะห์ให้เกิดความสับสน
                 เราขอวิเคราะห์สถานการณ์ฟันธงเพื่อประเมินสถานการณ์ในระยะก่อนสิ้นปีนี้ว่าจะเกิดภาวการณ์ปรับเปลี่ยนรัชกาลอย่างแน่นอนไม่เกินสิ้นปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้าเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้รู้ถึงอนาคตและตระเตรียมการณ์รับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นท่ามกลางการหลอกลวงทางข่าวสารและภาพลักษณ์ที่ดีของรัชกาลใหม่ดังนี้...

1.    ความขัดแย้งในการช่วงชิงอำนาจของรัชทายาทที่เหล่าอำมาตย์กลุ่มเก่าต้องการรักษาอำนาจของตนเองไว้ยังพยายามทุกวิธีทางที่จะเชิดสยามราชกุมารีขึ้นเป็น รัชกาลที่ 10 เพื่อพวกตนที่จะบริหารอำนาจกันต่อยังดำรงอยู่โดยไม่ยอมปล่อยให้การสืบราชสมบัติเป็นไปตามกฎมนเทียรบาลด้วยเกรงกลัวว่าสยามมกุฎราชกุมารจะขึ้นครองอำนาจ จะทำให้พวกตนหมดอำนาจและผลประโยชน์ ด้วยเพราะความเข้มแข็งของสยามมกุฎราชกุมาร ไม่ยอมเป็นหุ่นเชิดให้ ดังจะเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าพวกเหล่าอำมาตย์ได้ใช้ความพยายามทุกอย่างในการเสริมกำลังความเข้มแข็งของตนในระบบรัฐสภา ด้วยการแต่งตั้ง ส.ว. ที่หมดอายุและแต่งตั้งเพิ่มเติม ด้วยการแต่งตั้งกลุ่มฮาร์ดคอร์ทางการเมืองที่ร่วมรัฐประหาร 19 กันยา 49 กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอย่างครบถ้วน รวมตลอดถึงยังใช้กลไก ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลอาญาพิเศษสำหรับนักการเมือง และ องค์กรอิสระ พยายามทำลายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทั้งทางกฎหมายและทางการเมืองเพื่อจะกระทำการแย่งชิงอำนาจรัฐบาลอันเป็นเงื่อนไขสำคัญตามรัฐธรรมนูญ50 ในหมวดพระมหากษัตริย์ที่นำไปสู่การแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์ใหม่

2.    สถานการณ์ในวังน่าเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ากษัตริย์และราชินีเกิดการป่วยหนักจนไม่อาจจะบริหารจัดการอำนาจได้แล้ว ดังมีปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดและหลากหลายที่บ่งบอกถึงความจริงนั้นคือ

2.1   การไม่ปรากฏตัวของกษัตริย์และราชินีต่อสาธารณะชน นานเกือบกว่า 5 เดือน นับตั้งแต่หมายกำหนดการที่ออกเมื่อต้นเดือนมิถุนา จะเสด็จไปราชบุรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2555 ทั้งๆที่ในช่วงที่พระองค์เจ็บป่วยประมาณ 5-6 ปี พระองค์จะต้องแสดงตัวต่อสาธารณะชนอย่างน้อยเดือนละครั้ง แม้จะไม่มีพระราชกรณียกิจใดๆเลย  ก็จะมีการสร้างกิจกรรมขึ้นเพื่อให้แสดงพระองค์ว่ายังพร้อมบริหารจัดการอำนาจ เช่น การให้หมอเข็นรถพาออกไปดูแม่น้ำดังที่เป็นข่าวเป็นต้น

2.2   การไม่อาจจะปรับคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ทั้งๆ ที่การเตรียมการณ์ให้นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 ที่หลุดพ้นจากการตัดสิทธิ์ทางการเมืองเมือง 31 พ.ค. 55 มาเป็นรัฐมานตรีได้นานเกือบห้าเดือนแล้วรวมตลอดทั้งแม้จะมีการลาออกของ รมว.มหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ก็มิอาจจะมีการแต่งตั้ง รมว. ใหม่ได้ เพราะเนื่องจากสำนักพระราชวังต้องการปกปิดข่าวความป่วยหนักของกษัตริย์ภูมิพล ซึ่งหัวใจสำคัญหลักคือ นายกฯ ต้องนำรัฐมนตรีใหม่เข้าเฝ้า และกษัตริย์จะต้องให้โอวาทซึ่งเป็นไฟท์บังคับมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนและชาวโลกรู้ความจริงว่ากษัตริย์ได้สิ้นพระชนม์แล้วหรือป่วยหนักมากน้อยอย่างไร  ภาวการณ์ทางการเมืองเช่นนี้ไม่อาจจะทนได้เกินไปกว่าวันที่ 5 ธ.ค. 55 เพราะกษัตริย์ต้องปรากฏตัวต่อสาธารณะชน

2.3   ภาวการณ์เร่งเร้าที่จะทำรัฐประหารรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปรกครอง องค์กรอิสระ ประชาธิปัตย์ พันธมิตร ไม่ต่างอะไรกับเมื่อต้นปี 52 ที่จะล้มรับบาล สมัคร รัฐบาล สมชาย ซึ่งความถี่ของการประสานงานกันทั้งในและนอกสภา ตั้งแต่ 30 , 31 พ.ค. – 1 มิ.ย. จนถึงการตัดสินของของศาลรัฐธรรมนูญกรณีจะล้มรัฐบาลเมื่อ 13 มิถุนา และ มีนา จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนำข้าว เรื่องสนามกอล์ฟอัลไพน์ กรณี ปปช. จะฟ้องเล่นงาน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต่อการสลายการชุมนุม พันธมิตรเมื่อ 7 ต.ค. 51 ทั้งๆที่อัยการสั่งไม่ฟ้องรวมตลอดถึงการนัดชุมนุมใหญ่เริ่ม 21 ต.ค. นี้ เพื่อประสานกับสถานการณ์การยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้นเดือน พฤศจิกายน นี้ รวมตลอดถึง ส.ว. กลุ่ม 40 สายอำมาตย์จะเปิดฉากอภิปรายถล่มเรื่องนโยบายจำนำข้าวและทุจริต ปลายเดือนตุลา  ซึ่ง ปชป. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กำลังร่วมกันละเลง กันอยู่ในขณะนี้

2.4   ท่าทีความเข้มแข็งของทหารเสือราชินีได้แสดงท่าทีที่เปลี่ยนไปต่อรัฐบาลได้บ่งบอกให้เห็นถึงสถานการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่า กษัตริย์และราชินี ทรงประชวนอย่างหนัก  ทำให้การแสดงท่าทีจากที่เคยข่มขู่รัฐบาลด้วยกำลังว่าจะกระทำการรัฐประหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเพราะการยึดอำนาจจะสำเร็จได้ต้องเข้าพบกษัตริย์และราชินีหลังจากกระทำการแล้ว

จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ได้ข้อสรุปและข้อควรระวังดังนี้...

             I.        ความพยายามรัฐประหารด้วยกลไกทางกฎหมายโดยใช้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง องค์กรอิสระ โดยประสานกับการเตรียมการของการก่อจลาจลยังคงอยู่ เพื่อให้เกิดศุนย์ญากาศทางอำนาจและช่วงชิงการแต่งตั้งรัชกาลใหม่ในขณะที่เกิดภาวะศุนย์ญากาศนั้น
           II.        ใช้เกมใหม่ที่คาดไม่ถึงคือการสร้างพินัยกรรมโดยอ้างว่าเป็นพระราชประสงค์ของกษัตริย์ชิงประกาศแต่งตั้ง สยามกุฎราชกุมารีขึ้นครองราชย์บัลลังก์อันเป็นการกระทำรัฐประหารขั้นสูงสุด ในภาวการณ์ที่เป็นทางออกที่ดีที่สุดของเหล่าอำมาตย์เก่าในขณะนี้  ซึ่งจะเป็นการระดมกำลังทหารและประชาชนเข้าสนับสนุนสมเด็จพระเทพและการสืบอำนาจของระบอบอำมาตย์ต่อไป

ดังนั้น สถานการณ์ในภาวการณ์เมืองปลายรัชกาลขั้นสุดท้ายนี้จึงล่อแหลมต่อความรุนแรงและความสับสนของประชาชนที่จะเป็นเหยื่อของระบอบอำมาตย์เก่าและค้ำจุนระบอบกษัตริย์ที่ผุโทรมกดขี่ขูดรีดประชาชนมายาวนานให้สืบอำนาจต่อไปโดยใช้ชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนเป็นเครื่องสังเวย

จบ.

*** การนำเสนอนี้ ในโอกาสครบรอบ 39 ปี 14 ตุลา***

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar