måndag 15 oktober 2012

......"รณรงค์ทวงคืนพลังงานไทยจากพวกอำมาตย์."....การสัมปทานให้ต่างชาติ.....คำถาม..ใคร ? สั่งให้ทำการปกปิดประชาชนเจ้าของประเทศ ....ใคร ?คือผู้ได้ผลประโยชน์จากการสัมปทาน โดยประเทศชาติและประชาชนในชาติสูญเสียผลประโยชน์มากมายมหาศาลมาเป็นเวลานาน ประชาชนจงออกมาทวงถามหาคำตอบให้ได้ว่าใครอยู่เบื้องหลังการโกงทรัพยากรของชาติเอาผลประโยชน์เป็นของตนเอง


                     
                   

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะนำน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศ ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 2 แสนบาร์เรล/วัน และส่งออกไปต่างประเทศ ประมาณ 3.5 หมื่นบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 15% ของการผลิตทั้งหมด ให้นำกลับเข้ามาใช้ในประเทศทั้งหมด

"เป็นการนำทรัพยากรที่ผลิตได้ในประเทศกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า และไม่ต้องสูญเสียเงินตราจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น และเป็นการลดคำครหาที่ว่าทำไมประเทศสามารถผลิตน้ำมันดิบได้แต่ไม่นำมาใช้ประโยชน์ กลับนำไปส่งออก"นายศิริ กล่าว

ขณะนี้ บมจ.ปตท.(PTT) อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศ และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และจัดทำแผนการนำน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศกลับมาใช้ในประเทศทั้งหมด อย่างไรก็ตาม น้ำมันดิบที่มีการส่งออกในปัจจุบันซื้อขายกันเป็นสัญญาระยะยาว ดังนั้น จึงต้องทยอยลดการส่งออกน้ำมันดิบตามสัญญาที่จะทยอยหมดลง คาดว่าจะเริ่มลดการส่งออกลงในไตรมาส 4/55 ประมาณ 1 หมื่นบาร์เรล/วัน เหลือส่งออก 2.5 หมื่นบาร์เรล/วัน และจะทยอยลดจนเป็น 0 หรือไม่มีการส่งออกเลยในช่วงปลายปี 56

นายศิริกล่าวว่า จากการประมาณการณ์ว่าปัจจุบันต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 8 แสนบาร์เรล/วัน จะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาทในการจัดซื้อเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ แต่ปัจจุบัน ปตท.มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท หากจะต้องจัดซื้อพลังงานในวงเงินกว่า 2 ล้านล้านบาท ในอนาคต อาจจะส่งผลกระทบต่อทุนจดทะเบียนและอาจจะต้องมีการเพิ่มทุนอีก 2-3 เท่าตัว ซึ่งการลงทุนขนาดนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ปตท.อาจจะไม่สามารถรับภาระนี้ได้ ดังนั้น ผู้ดูแลจึงต้องมีความเข้าใจในนโยบายนี้ และต้องจัดทำนโยบายต่างๆ ให้ชัดเจน

หลังจากที่มีการนำน้ำมันดิบ และคอนเดนเสททั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ 207,000 บาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสทในการกลั่นทั้งหมด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะลดการนำเข้าจากต่างประเทศเหลือ 80% จากเดิมมีการนำเข้าจากต่างประเทศ 83% ในปัจจุบัน

อนึ่ง ข้อมูลในปี 54 มีการใช้คอนเดนเสทจากแหล่งผลิตในประเทศ ภายใต้สัญญาสัมปทาน Thailand I (ไทยแลนด์ วัน) รวมจากแหล่งบนบก คือ ภูฮ่อม ของบริษัท Hess และในอ่าวไทย คือ อาทิตย์ และบงกช ของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ./PTTEP) แหล่งเอราวัณ ไพลิน และตราด ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มีการใช้ทั้งหมด 7.54 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ในส่วนนี้ไม่มีการส่งออกไปต่างประเทศ

ส่วนการผลิตน้ำมันดิบที่ได้จากแหล่งผลิตบนบกที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน Thailand I และ Thailand III (ไทยแลนด์ ทรี) คือ น้ำมันดิบเพชร จากแหล่งสิริกิติ์ และแหล่งอื่นๆ ของ ปตท.สผ., น้ำมันดิบอรุโณทัย ของบริษัท MOECO, น้ำมันดิบ POE ของ บริษัท Pan Orient และน้ำมันดิบ NC ของ บริษัท ซิโน-ไทย รวมการใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้ 2.77 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ในส่วนนี้ไม่มีการส่งออก

แต่ในส่วนของการใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตในอ่าวไทย ประกอบด้วย น้ำมันดิบเบญจมาศ, ปัตตานี, และทานตะวัน ของ เชฟรอน, น้ำมันดิบจัสมิน ของบริษัท PEARL, น้ำมันดิบบัวหลวงของ Salamander Energy, และน้ำมันดิบสงขลาของ Coastal Energy รวมการใช้น้ำมันดิบจากอ่าวไทย 7.2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และมีการส่งออก 3.2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar