söndag 14 oktober 2012

......"โชคดีที่เป็นภาพในอดีต".......ก่อนอื่นต้องขอบคุณอาจารย์ที่ออกมาอธิบายเกี่ยวกับความเป็นมาของภาพ "พระราชทาน" ขอบอกอาจารย์ว่าพวกเราโชคดีที่อยู่ในยุคปัจจุบันและสังคมโลกเต็มไปด้วยระบบสื่อสารที่ทันสมัยไม่เหมือนในอดีตที่ปิดหูปิดตาประชาชน ปัจจุบันมีการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้นำความจริงต่างๆออกมาเผยแพร่ ทำให้ประชาชนรู้ความจริงต่างๆที่ปกปิดไว้ ทำให้ตาสว่างรู้ว่า"ใครคือฆาตกรอำมหิต" ไม่ได้ถูกปิดหูปิดตาบังคับให้ยกย่องบูชาเป็นเทวดาเหมือนในอดีตอีกต่อไป.....สุดท้ายเราขอยกย่องชมเชยนักวิชาการทุกท่านที่กล้าหาญออกมาร่วมต่อสู้เพื่อความยุติธรรม โดยนำความจริงออกมาเปิดเผยให้คนในสังคมได้รับรู้ ขอให้พวกท่านนำความรู้ความสามารถที่พวกท่านมี มาเป็นแสงสว่างชี้ทางให้ประชาชนในการต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย.....

http://www.facebook....friend_activity


Posted Image สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


กระทู้นี้ เป็นกระทู้ "เบาๆ" (พูดจริงๆ ไม่ได้แกล้งพูดเล่น) ประเภท อ่านเอาเพลินๆ ความจริง ผมก็ลังเลมาหลายวันว่า จะโพสต์ดีไหม

พอดีว่า หลายวันนี้ มีแต่เรือ่งเครียดๆ ทั้งดีบ่งดีเบต ทั้งงาน (ผมเพิ่งทำข้อสอบเสร็จ และส่งไปวันนี้) ก็เลยรู้สึก โพสต์อะไรทีเขียนแล้ว รู้สึกเพลินๆ ดีกว่า
.......................
Posted Image
รูปนี้ ถ่ายเมื่อปี 2537 (ผมจำวันที่และเดือนไม่ได้ และไม่รู้ว่า มีจดไว้ที่ไหนหรือเปล่า ไม่มีเวลาเช็ค) - ขอให้สังเกต (ไม่รู้ภาพชัดพอไหม) ตรงมุมบนด้านซ้าย ของภาพ มี "ลายน้ำ" เป็นอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" และคำว่า "ภาพพระราชทาน"

คือ ผมกลับจากทำปริญญาเอกในต้นปี 2535 (ก่อน "พฤษภาทมิฬ" ไม่กี่เดือน) แล้วตอนแรก ก็ประเภท "อู้" ไม่ยอมแก้ วิทยานิพนธ์ ทีส่งและตรวจแล้ว (ประเภท คล้ายๆอารมณ์ ที่เห็นคุณเพียงคำ ประดับความ บ่นๆ อยู่ไม่กี่วันก่อน เรือง ไม่จบ ก็ไม่เห็นเป็นไร อะไรแบบนั้น) จนมาถึงเกือบปลายปี 2536 จึงค่อยแก้ส่ง และผ่าน ได้ปริญญามา

ตอนแรก ผมก็ไปทำงานที่เกษตร สอนที่ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ (ดีกรีปริญญาเอกผมนี่ PhD in Politics นะครับ ไมใช่ History) บอกตรงๆว่า เหตุผลหนึง เพราะอยาก "หลีก" ธรรมศาสตร์ด้วย คือ รู้สึก "ความทรงจำ" มัน "มากไป" (แต่สุดท้าย ก็ต้องย้ายมา เพราะทนสภาพหลายอย่างทีเกษตรไม่ค่อยได้เหมือนกัน) เริ่มงานปลายปี 2536 ("อัตรา" อาจารย์ ที่ผมเข้าไปแทน คือ อัตรา ของ "อาจารย์ โต้ง" ไกรศักดิ์ ชุณหวัณ)
ทีนี้ ในปีต่อมา มีเพือนนักวิชาการรุ่นน้องคนหนึง เขาชื่อ "เอก" สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ (ที่ทำวิทยานิพนธ์เรือ่ง "เสรีไทย" ที่พอรู้จักกันดี ในวงวิชาการน่ะ) เขาเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์อยู่ รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ก็เรียกว่า เป็น "ผู้ใต้บังคับบัญชา" ของ "พระเทพ" โดยตรงน่ะ

ตอนนั้น ดูเหมือนเขามียศ เป็นพันตรี หรือ พันโท (อาจารย์ จปร.ทุกคนต้องเป็นทหารไปด้วย) แต่ตอนนี้ เป็น "พันเอก ดร." แล้ว ("พระเทพ" ส่งไปเรียน กับ ธงชัย ที่ วิสคอนซิน)

วันหนึง เขาก็ชวนผมว่า ไปบรรยายในวิชาที่เขาสอนสักครั้งไหม ในเรืองวิทยานิพนธ์ที่ผมทำ (ขบวนการคอมมิวนิสิต์ในประเทศไทย) ตัววิชาที่จะให้ไปบรรยายนี่ "พระเทพ" ทรงเป็นคนรับผิดชอบ แต่มีคนช่วยกันบรรยาย 2-3 คน ถ้าจำไม่ผิด

ผมก็สนใจในแง่ว่า การบรรยายใน คลาส จปร (และในวิชาของ "พระเทพ") จะเป็นอย่างไร ก็เลยรับปากไปบรรยาย 1 ครั้ง (ประมาณ 2 ชม. ถ้าจำไม่ผิด)

ก็นับเป็นประสบการณ์ที่ "น่าสนใจ" ดี (เช่น "นักศึกษา" ทีเรียนนี่ "เรียบร้อย" ทีสุด ในชีวิตการสอนผมเลย นังตัวตรง ตลอด 2 ชม เก้าอี้ เป้นตัวๆ ไม่ติดกัน แต่ปรากฏว่า มี "สับปกหงก" หลายคน มารู้ทีหลังว่า พวกเขาฝึกภาคสนามหนัก เวลาเรียนในวิชาแบบนี้จริงๆ จะมีปัญหาเหมือนกัน ซึง ผมเห็นใจอยู่)

บรรยายเสร็จ "พระเทพ" ก็ทรง พระราชทานของทีระลึกให้ ดังในภาพ (เป็นพวกหนังสือ วารสาร ของ รร. และ งานของพระเทพ น่ะ)

หลังจากนั้น ผมก็ลงมาเตรียมกลับ ปรากฏว่า "เอก" ก็มาบอกผมว่า "พระเทพ" ทรงเรียกชวนให้ "ร่วมโต๊ะเสวย" รับประทานข้าวกลางวัน

ผมก็ "ตื่นเต้น" นิดหน่อยอ่ะนะ แต่ก็ตามกลับขึ้นไป รับประทานกลางวัน ก็มี "พระเทพ" กับ อ.ดร.นิออน สนิทวงศ์ ที่ช่วยในเรืองวิชาการ พระเทพ อยู่ รวมกันแลว ก็กินข้าวในโต๊ะเดียวกันแค่ 3 คน ผม พระเทพ อ.นิออน "เอก" เพือนผม ไม่ได้ร่วมด้วย

ก็ "กิน" กันไปคุยกันไป อาหารคือ "ข้าวขาหมู" ซึงอร่อยมากๆ (ปกติ ผมชอบข้าวขาหมูอยู่แล้ว) มารู้ทีหลังว่า จริงๆ เป็น ข้าวขาหมู ทีทาง รร. เขาเตรียมให้พระเทพนั่นแหละ คือเขา ซื้อไว้ให้ 2 ห่อ พอพระเทพ ทรงเรียกผมมากินด้วย (ซึ่งเดิมใน "หมายกำหนดการ" ไม่ได้มีอยู่) ก็ให้ผมกิน 1 ห่อ และเหตุที่อร่อยมาก เพราะได้ยินว่า ซื้อจากร้านมีชื่อ อยู่แถว สามเสน หรือไงนี่แหละ เป็นอาหาร ทรงโปรดมาก ทาง รร.เขาเลย จัดเตรียมไว้

คุยอะไรกันบ้่าง ผมไม่เล่ารายละเอียดนะครับ แค่คร่าวๆคือ คุยกันในฐานะ "คนผ่าน 14 ตุลา" มาด้วยกันนี่แหละ (พระเทพ เข้าจุฬา ปี 2516 ผมเข้า มธ. ปี 2519) "พระสหาย" ของพระเทพ ที่อักษร จริงๆ ก็เป็น แอ๊คติวิสต์ ทีผมรู้จักหลายคน (เช่น "ประสิทธิ์ รุ่งเรืองรัตนกุล") คุยเรือง เหตุการณ์ 14 ตุลา เช้าวันนั้น ทีสวนจิตร (ก็ไมได้ "ลงลึก" อะไรมากนะ แต่ก็มีบางบอันน่าสนใจ)

คุยไปถึงเรือ่ง "อาจารย์ปรีดี" (คำทีพระเทพ ใช้เวลาพาดพิงถึง ปรีดี) เรืองเค้าโครงเศรษฐกิจ อะไรแบบนั้น ...

แล้ว ก็คุยเรือง "ญาติๆ" ผม ที่พระเทพ รู้จัก คือ ด้วยความบังเอิญมากๆ พระเทพ ทรงมี "พระสหาย" ทีอักษร 2 คน ทีเป็น ฝาแฝดกัน ผมเรียก "พี่ป้อม-พี่อ้วน" สุกัญญา - สุมาลี บำรุงสุข (คนแรก ตอนนี้ เป็น อาจารย์ทีเดียวกับผม คนหลัง ที่แปล "แฮรี่ พ็อตเตอร์" น่ะ ตอนนี้ เป็นอาจารย์ อยู่เมืองนอก) ทีนี้ บังเอิญว่า น้องสาวภรรยาผม เขาไปแต่งงานกับ พี่ชายของ "พี่ป้อม-พี่อ้วน" (สุกัญญา สุมาลี) เข้า เลยกลายเป็น่วา ผมเลยไป "ดอง" โดยปริยายด้วย ทีนี้ พอน้องสาว ภรรยา มีลูก "อาป้อม" หรือไงนี่แหละ ในฐานะพระสหาย ก็เลยไปขอพระราชทานให้พระเทพ ตั้งชื่อ หลาน ให้ด้วย ซึงก็เป็น "หลาน" ของผม ไปด้วย (ทางสายภรรยา) .... เราก็คุยเรืองพวกนี้แหละ (สมัยนั้น เด็กๆ วันปีใหม่ อะไร ก็จะส่ง การ์ดให้พระเทพ พระเทพ ก็จะทรงพระราชทาน ช็อกโกแล็ต ขนม มาให้เด็กๆ อะไรแบบนั้น)

....................

ในรูป ถ้าสังเกต จะเห็นว่า "เสื้อสูท" ทีผมใส่นี่ มัน หลวม โครกคราก เพราะในชีวิต ผมไม่เคยซื้อสูท ไม่เคยใส่ เพราะไม่ชอบเลย ยกเว้น 2 ครั้ง เท่าน้้น คือครั้งที่ไปบรรยาย คลาส พระเทพ นี้แหละ ครั้งหนึง อีกครั้ง ซึง "เกียวข้อง" กับพระเทพ เหมือนกัน คือ วันพระราชทานปริญญา ก็เช่าเอา พอดีปีนั้น พระเทพ เป็นคนไปแจก (ตอนนั้น จริงๆ ในหลวง ยังเสด็จ แจกอยู่ แต่ปีทีผมรับ เป็นกรณีพิเศษ ทรงประชวร ปีถัดมา ในหลวง ก็ยังเสด็จตามเดิม)

ตอนแรกที่ผมเตรียมไปสอน ก็แต่ง เชิ้ต ผูกเน็คไท ให้เรียบร้อย แต่พวก ทหาร ทีไปรับ เขาก็แนะว่า "อาจารย์ ไมมีเสื้อสูท หรือครับ" ผมก็บอกว่า ไมมีหรอก ไม่เคยใส่ (ฮา) เขาก็เลย เทียวหยิบยืม ของใคร ในโรงเรียนมาก็ไม่ทราบ ก็ใส่แบบหลวมๆ แบบนี้แหละ

จบ "เรืองเล่า" เบาๆ ครับ :P

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar