torsdag 1 oktober 2015

Somsak Jeamteerasakul ดูเขาถกกันประเด็น 'สนธิญานฟันธง' ประธาน G77 โลกไม่รังเกียจรัฐประหาร


ThaiE - News
ดูเขาถกกันประเด็น 'สนธิญานฟันธง' ประธาน G77 โลกไม่รังเกียจรัฐประหาร
(๓)

ตำแหน่งประธาน G77 and China ที่ไทยเพิ่งเป็น ไม่ใช่ "ผลงาน" ตั้งแต่สมัยยิ่งลักษณ์หรอกครับ

ตอนที่มีข่าวว่าประเทศไทยได้รับเลือกเป็นประธานกลุ่ม G77 and China ระหว่างที่ประยุทธ์เยือนยูเอ็น ผมก็เฉยๆนะ ไม่ได้รู้สึกอะไร แต่ก็เข้าใจว่ามิตรสหายหลายคนที่ต่อต้านรัฐประหารอาจจะรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกว่าต้องหาทางตอบโต้ (ส่วนหนึ่งก็เพราะอีกฝ่ายเอามาเชียร์ด้วย) ก็เลยมีการไป "ขุด" เอกสารของกลุ่ม คำปราศรัยรับตำแหน่งประธานของทูตไทย ตั้งแต่ปี 2014 (ภาพประกอบแรกสุด - ดูเหมือนจะเริ่มจากพี่ Jaran Ditapichai ก่อน แล้วคุณ Doungchampa Spencer-Isenberg ก็นำไปพูดต่อ) เสร็จแล้ว Prachatai ก็ไปรายงาน น่าเสียดายที่ทั้งมิตรสหายเหล่านั้นและ "ประชาไท" ไม่ได้อ่านให้ละเอียด

(๑)
ผมสะดุดใจมากกับคำปราศรัยรับตำแหน่งในปี 2014 ดังกล่าว เพราะจะเห็นว่าทูตไทยพูดไว้ชัดว่า "รับตำแหน่งต่อจากประเทศบราซิลสำหรับปี 2014" คือจะบอกว่าเป็นการพูดล่วงหน้าถึง 2 ปี พูดสำหรับปี 2016 ผมก็รู้สึกชอบกลแล้ว แต่ที่สำคัญ ถ้าเราดูหน้าเว็บของกลุ่มเอง ที่มีรายชื่อประธานในปีต่างๆ มาจนถึงปี 2015 นี้ (ภาพประกอบที่ 2) ในปี 2013 ประธานกลุ่มคือฟิจิ ปี 2014 ประธานกลุ่มคือ โบลิเวีย และปี 2015 ประธานกลุ่มคือ อัฟริกาใต้ - ไม่มีบราซิลอยู่ในปีพวกนี้เลย ทำไมทูตไทยจึงบอกว่าไทยรับตำแหน่งต่อจากบราซิล?

(๒)
ผมก็เลยไปเสียเวลาอ่านเว็บไซต์ของกลุ่มโดยละเอียด ก็ถึง "บางอ้อ" ว่า ความจริง ทูตไทยที่พูด "รับตำแหน่งประธาน" น่ะ เป็นการรับสำหรับปี 2014 จริงๆ แต่เป็นการรับสำหรับ "Chapter" หนึ่งของกลุ่ม คือ Nairobi Chapter (ตัวเอกสารจริงๆก็มาจากหน้า Nairobi Chapter ของกลุ่ม http://www.g77.org/nairobi/index.html )

ความเป็นจริงคือ กลุ่มมีการแบ่งเป็น Chapters ต่างๆ (ไม่รู้จะแปลว่าอะไร "ระดับภูมิภาค" ก็ไม่เชิง "สาขา" ก็ไม่เชิง) ซึ่งมี 5 Chapters ไนโรบี, เจนีวา, ปารีส, โรม, เวียนนา (ดูคำอธิบายเรื่องโครงสร้างกลุ่มที่นี่ http://www.g77.org/doc/index.html ภาพประกอบที่ 4) ซึ่งแต่ละ Chapters ก็มีประธาน เช่นในปีที่ไทยรับตำแหน่งประธาน Nairobi Chapter ต่อจากบราซิลในปี 2014 นั้น ที่ Geneva Chapter ก็มีประเทศแชด รับตำแหน่งประธาน (ภาพประกอบ 5 หรือดูคำปราศรัยของทูตแชด เป็นภาษาฝรั่งเศส ที่นี่ http://www.g77.org/…/Handover%20Statement%20by%20Chad%20inc… )
หรือที่ Vienna Chapter ก็มีประเทศฟิลิปปินส์ รับตำแหน่งประธานของ Vienna Chapter สำหรับครึ่งหลังปี 2014 (ดูคำปราศรัยทูตฟิลิปปินส์ทีนี่
http://www.g77.org/…/Remarks%20G77_Chair_Assumption_July201… )
(๔)


(๕)
ถ้างั้น ที่ประเทศไทย (ภายใต้ประยุทธ์) รับตำแหน่ง "ประธาน G77 and China" ในปีหน้านี้ คือรับตำแหน่งประธานอะไร? ผมคิดว่าน่าจะหมายถึงการรับตำแหน่งประธานของกลุ่มโดยรวมนั่นแหละ และเป็นการรับต่อจากอัฟริกาใต้ซึ่งเป็นอยู่ในปีนี้ โดยที่กลุ่มมีอ๊อฟฟิสกลางที่นิวยอร์ค ขอให้สังเกตว่า หน้ารายชื่อประเทศประธานกลุ่ม (ภาพประกอบที่ 2) ตรงหัวเลย มีเขียนคำว่า in New York อยู่ ผมพยายามอ่านคำอธิบายเรื่องโครงสร้างจากเว็บไซต์กลุ่ม ก็ไม่มีพูดชัด แต่คิดว่าคงไม่ผิด ถ้าจะถือเอาการเลือกประธานที่นิวยอร์ค ระหว่างการประชุมยูเอ็นเป็นการเลือก "ประธานกลุ่ม" ทั้งหมด คือเป็นตำแหน่งสูงสุดของกลุ่มจริง (ถ้าเข้าไปดูเว็บไซต์ทั้งหมด จะเห็นว่าไม่มีการทำลิสต์รายชื่อประธานของแต่ละ Chapters มีแต่รายชื่อประธานกลุ่มในนิวยอร์คนี้)

สรุปแล้ว ที่ประเทศไทยเพิ่งได้รับเลือกเป็น "ประธานกลุ่ม G77 and China" เป็นการเพิ่งมาเลือกปีนี้จริงๆ ไม่ใช่ "ผลงาน" หรือการเลือกกันมาตั้งแต่สมัยยิ่งลักษณ์แต่อย่างใด ที่ยกกันมาว่าเลือกตั้งแต่ปี 2014 น่ะ ไม่ใช่ เป็นเพียงประธาน "Nairobi Chapter" ของกลุ่ม


คลิกดูทั้งหมด-ดูเขาถกกันประเด็น 'สนธิญานฟันธง' ประธาน G77 โลกไม่รังเกียจรัฐประหาร





-สมศักดิ์ เจียม หวังดี ติงไทยอีนิวส์ ไม่ควร "เล่น" เรื่อง "อ่านโพย-พูดไทย-พูดเร็ว"
คลิกอ่าน-สมศักดิ์ เจียม หวังดี ติงไทยอีนิวส์ ไม่ควร "เล่น" เรื่อง "อ่านโพย-พูดไทย-พูดเร็ว"

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar