คำแปลโทรเลขทูตอังกฤษเรื่องหลวงธำรงเล่ากรณีสวรรคต พร้อมคำอธิบาย "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" ดู
คำแปลฉบับเต็ม โทรเลขทูตอังกฤษประจำกรุงเทพลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2491 เล่าการสนทนากับหลวงธำรง กรณีสวรรคต - พร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น"
เมื่อวานนี้ ผมได้แปล "ใบปะหน้า" โทรเลขที่ทอมป์สันทูตอังกฤษประจำกรุงเทพส่งไปยังกระทรวงต่างประเทศในลอนดอน เล่าเรื่องการสนทนากับหลวงธำรง เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึ่งคุณ Andrew MacGregor Marshall ได้ค้นพบในหอเก็บเอกสารแห่งชาติของอังกฤษ (ดูกระทู้ที่แล้ว ซึ่งอธิบายถึงปริบทของโทรเลข ที่นี่ https://goo.gl/fvArPQ)
ต่อไปนี้คือคำแปลฉบับเต็ม ตัวโทรเลขเอง หลังจากนั้น ผมจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้อเสนอว่ากรณีสวรรคตเป็น "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" (ที่หลวงธำรงกล่าวกับทอมป์สันในโทรเลข)
.............
สถานทูตอังกฤษ
23 กุมภาพันธ์ 2491(1948)
คุณเดนิ่ง,
1. ในระหว่างการสนทนากับหลวงธำรงที่ผมกล่าวถึงในย่อหน้าสุดท้ายของโทรเลข หมายเลข 143 ของวันนี้ ผมตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลาย หลังยึดอำนาจแล้ว ได้อ้างอย่างใหญ่โตถึงความตั้งใจของพวกเขาที่จะแก้ปริศนาการสวรรคตของในหลวงอานันท์ และในการณ์นั้นได้ออกคำขู่ต่อคนจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายปรีดีและเลขานุการที่เป็นนายทหารเรือของเขา ทุกวันนี้ก็ไม่มีใครได้ยินความคืบหน้าของกรณีอันน่าเศร้านี้แล้ว. อันที่จริง เท่าที่ผมมอง ดูเหมือนทุกทางที่มีการสืบสวนกัน ลงเอยที่ทางตันหมด. ผมจึงถามหลวงธำรงว่า มีข้อมูลอะไรไหมที่เขาจะบอกผมได้?
2. หลวงธำรงตอบว่า ผลการสืบสวนสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตัดความเป็นไปได้เรื่องฆ่าตัวตายออก แต่บ่งชี้ไปในทางฆาตกรรมหรืออุบัติเหตุ. ถ้าเป็นอุบัติเหตุ, ในหลวงอานันท์ก็ไม่ใช่เป็นคนทำเอง. เรื่องเศร้าครั้งนั้น [ถ้าเป็นอุบัติเหตุ]เกิดจากการกระทำ "ของอีกคนหนึ่ง" ["by the other one"]. หลวงธำรงไม่ได้ลงไปในรายละเอียด หรือเอ่ยถึงชื่อใคร. อย่างไรก็ตาม เขาอธิบายว่า พอรู้ผลการสืบสวน เขาได้บอกพวกเจ้าหน้าที่สืบสวนตรงๆว่า ไม่มีอะไรที่[เรา]สามารถบอกต่อสาธารณะได้ นอกจากที่เคยประกาศไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2491 คือในหลวงอานันท์สวรรคตจาก "อุบัติเหตุ". หลวงธำรงกล่าวต่อไปว่า ความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ทำให้ทุกคนที่รู้ข้อเท็จจริงต้องปิดปากเงียบ แม้แต่คนที่เป็นอดีตเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขานุการ [หมายถึงเฉลียว - สศจ] และมหาดเล็กสองคนที่ขณะนี้ถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหา.
3. ผมรายงานเรื่องข้างต้น เผื่อจะมีความสำคัญอะไรบ้าง. การบอกเล่าของหลวงธำรงสอดคล้องกับท่าทีที่ปรีดีใช้ตั้งแต่ต้นและสนับสนุนสิ่งที่พระองค์เจ้าจุมภฏบอกผมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน (ดูโทรเลขของผม หมายเลข 1003 ในวันต่อมา). มีเรื่องราวอันน่าเศร้าและชั่วร้าย [sad and sinister story] อยู่เบื้องหลังกรณีที่น่าหวาดกลัวนี้ และเรื่องราวที่ว่าคงไม่เกี่ยวกับการเมือง [เซ้นซ์หรือความหมายของประโยคหลังสุดของทอมป์สันนี้ หมายถึงว่า กรณีสวรรคตน่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องภายในวังเอง ไม่เกี่ยวกับการเมืองภายนอก - สศจ]
นับถือเสมอ,
ทอมป์สัน
.............
ถ้าเทียบกับที่หลวงธำรงบอกทูตสหรัฐในอีกหนึ่งเดือนต่อมา (31 มีนาคม 2491) หลวงธำรงยังพูดกับทอมป์สันทูตอังกฤษแบบไม่ตรงๆเต็มที่ (หลวงธำรงบอกทูตอเมริกันตรงๆว่า "..หลักฐานต่างๆที่รวบรวมได้ระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีมีแนวโน้มมัดตัว [implicate] กษัตริย์หนุ่มองค์ปัจจุบัน") แต่เท่าที่เขาบอกทูตอังกฤษไปว่า ผลการสอบสวนออกมาว่าเกิดจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ใช่ในหลวงอานันท์ทำเอง แต่ "เกิดจากการะทำของอีกคนหนึ่ง" นั้น ก็เพียงพอที่จะไม่มีปัญหาว่าเขาต้องการหมายถึงใคร (แม้เขาจะ "ไม่ได้..เอ่ยชื่อใคร" กับทูตอังกฤษก็ตาม) ดังนั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษจึงเขียนไปใน "ใบปะหน้า" โทรเลขว่า "ดูเหมือนว่าข้อสรุปประการเดียวที่เราสามารถได้จากการสนทนาครั้งนี้[ระหว่างทอมป์สันกับหลวงธำรง] คือ ในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นผู้ทำให้เกิด [responsible for] การตายของพี่ชายตัวเอง -- ไม่ว่าโดยจงใจหรือโดยอุบัติเหตุ." (ดูกระทู้เมื่อวาน)
ดังที่ผมเคยอธิบายไว้ในบทความเรื่อง "ปริศนากรณีสวรรคต ตอนที่ 1" (ดูบทความที่นี่ http://goo.gl/xu6k7j) ทฤษฎีว่าในหลวงอานันท์ "ถูกผู้อื่นยิงโดยไม่ตั้งใจ(โดยอุบัติเหตุ)" ได้ถูกตัดทิ้ง ไม่เคยถูกนำมาพิจารณาเลยตั้งแต่ต้น เพราะทุกคนย่อมรู้ดีว่า "โดยสามัญสำนึกแล้ว ผู้ที่จะเอาปืนไปล้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ [แล้วปืนลั่นขึ้นโดยอุบัติเหตุ] มีอยู่พระองค์เดียวคือสมเด็จพระอนุชา" (สรรใจ แสงวิเชียร และวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489, หน้า 176) ทั้งในการชันสูตรพระศพโดยคณะแพทย์ และในคณะกรรมการสอบสวน (ที่เรียกว่า "ศาลกลางเมือง") เวลากล่าวถึง "อุบัติเหตุ" มีความหมายอย่างเดียวเท่านั้น คืออุบัติเหตุโดยในหลวงอานันท์เอง (ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นไปไม่ได้) และเมื่อคณะกรรมการเหล่านี้ (เช่นเสียงส่วนใหญ่ในคณะแพทย์) ลงความเห็นว่า "เป็นการฆาตกรรม เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นอุบัติเหตุ" ความหมายจริงๆ ก็มีเพียงว่า ในหลวงอานันท์ถูกผู้อื่่นยิง ไม่ได้ยิงพระองค์เอง - ความจริงแล้ว "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" ในแง่บาดแผลหรือสภาพพระศพไม่ได้ต่างกับฆาตกรรมหรือถูกผู้อื่นยิงโดยตั้งใจเลย ดังนั้นที่คณะกรรมการเหล่านี้ลงความเห็นว่า "ฆาตกรรม" แท้จริงแล้วก็หมายถึงเพียง "ถูกผู้อื่นยิง" เท่านั้น และที่ว่า "อุบัติเหตุเป็นไปไม่ได้" ก็หมายเพียงแค่ว่า "อุบัติเหตุโดยพระองค์เอง" เป็นไปไม่ได้
ความรับรู้ที่ออกมาต่อสาธารณะ เลยกลายเป็นว่า ในหลวงอานันท์ถูกคนร้ายจากภายนอกลอบเข้ามาปลงพระชนม์ ไม่ใช่เกิดจากยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ เพราะ "อุบัติเหตุ" ในกรณีนี้ ถูกทำให้เหลือเพียงอุบัติเหตุโดยพระองค์เองเท่านั้นดังกล่าว(ซึ่งเป็นไปไม่ได้) และไม่ว่ารัฐบาลปรีดีหรือหลวงธำรง หรือใครก็ตามในสมัยนั้นหรือสมัยหลัง ก็ไม่สามารถยกความเป็นไปได้ที่ว่าจะเป็น "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" (ซึ่งทำให้บาดแผลและพระศพไม่ต่างจากฆาตรกรรม)ขึ้นมาพิจารณาได้ เพราะผู้ที่ต้องสงสัยถ้าเป็นกรณีอุบัติเหตุโดยผู้อื่น มีเพียงพระอนุชาหรือในหลวงองค์ใหม่ผู้เดียว การตัดความเป็นไปได้นี้ออกไปโดยสิ้นเชิงแต่แรก จึงเป็นประโยชน์ต่อพระอนุชา (และเป็นความซวยของปรีดีที่ได้แต่ยืนยันว่า "เป็นอุบัติเหตุ" - ซึ่งสาธารณะเข้าใจว่าหมายถึงอุบัติเหตุโดยในหลวงอานันท์เองที่เป็นไปไม่ได้ - โดยไม่สามารถบอกได้ว่า หมายถึง "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" ก็ได้)
เมื่อวานนี้ ผมได้แปล "ใบปะหน้า" โทรเลขที่ทอมป์สันทูตอังกฤษประจำกรุงเทพส่งไปยังกระทรวงต่างประเทศในลอนดอน เล่าเรื่องการสนทนากับหลวงธำรง เกี่ยวกับกรณีสวรรคต ซึ่งคุณ Andrew MacGregor Marshall ได้ค้นพบในหอเก็บเอกสารแห่งชาติของอังกฤษ (ดูกระทู้ที่แล้ว ซึ่งอธิบายถึงปริบทของโทรเลข ที่นี่ https://goo.gl/fvArPQ)
ต่อไปนี้คือคำแปลฉบับเต็ม ตัวโทรเลขเอง หลังจากนั้น ผมจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้อเสนอว่ากรณีสวรรคตเป็น "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" (ที่หลวงธำรงกล่าวกับทอมป์สันในโทรเลข)
.............
สถานทูตอังกฤษ
23 กุมภาพันธ์ 2491(1948)
คุณเดนิ่ง,
1. ในระหว่างการสนทนากับหลวงธำรงที่ผมกล่าวถึงในย่อหน้าสุดท้ายของโทรเลข หมายเลข 143 ของวันนี้ ผมตั้งข้อสังเกตว่า แม้ผู้ก่อการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีกลาย หลังยึดอำนาจแล้ว ได้อ้างอย่างใหญ่โตถึงความตั้งใจของพวกเขาที่จะแก้ปริศนาการสวรรคตของในหลวงอานันท์ และในการณ์นั้นได้ออกคำขู่ต่อคนจำนวนหนึ่ง รวมทั้งนายปรีดีและเลขานุการที่เป็นนายทหารเรือของเขา ทุกวันนี้ก็ไม่มีใครได้ยินความคืบหน้าของกรณีอันน่าเศร้านี้แล้ว. อันที่จริง เท่าที่ผมมอง ดูเหมือนทุกทางที่มีการสืบสวนกัน ลงเอยที่ทางตันหมด. ผมจึงถามหลวงธำรงว่า มีข้อมูลอะไรไหมที่เขาจะบอกผมได้?
2. หลวงธำรงตอบว่า ผลการสืบสวนสมัยที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ตัดความเป็นไปได้เรื่องฆ่าตัวตายออก แต่บ่งชี้ไปในทางฆาตกรรมหรืออุบัติเหตุ. ถ้าเป็นอุบัติเหตุ, ในหลวงอานันท์ก็ไม่ใช่เป็นคนทำเอง. เรื่องเศร้าครั้งนั้น [ถ้าเป็นอุบัติเหตุ]เกิดจากการกระทำ "ของอีกคนหนึ่ง" ["by the other one"]. หลวงธำรงไม่ได้ลงไปในรายละเอียด หรือเอ่ยถึงชื่อใคร. อย่างไรก็ตาม เขาอธิบายว่า พอรู้ผลการสืบสวน เขาได้บอกพวกเจ้าหน้าที่สืบสวนตรงๆว่า ไม่มีอะไรที่[เรา]สามารถบอกต่อสาธารณะได้ นอกจากที่เคยประกาศไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2491 คือในหลวงอานันท์สวรรคตจาก "อุบัติเหตุ". หลวงธำรงกล่าวต่อไปว่า ความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์ทำให้ทุกคนที่รู้ข้อเท็จจริงต้องปิดปากเงียบ แม้แต่คนที่เป็นอดีตเจ้าหน้าที่สำนักราชเลขานุการ [หมายถึงเฉลียว - สศจ] และมหาดเล็กสองคนที่ขณะนี้ถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหา.
3. ผมรายงานเรื่องข้างต้น เผื่อจะมีความสำคัญอะไรบ้าง. การบอกเล่าของหลวงธำรงสอดคล้องกับท่าทีที่ปรีดีใช้ตั้งแต่ต้นและสนับสนุนสิ่งที่พระองค์เจ้าจุมภฏบอกผมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน (ดูโทรเลขของผม หมายเลข 1003 ในวันต่อมา). มีเรื่องราวอันน่าเศร้าและชั่วร้าย [sad and sinister story] อยู่เบื้องหลังกรณีที่น่าหวาดกลัวนี้ และเรื่องราวที่ว่าคงไม่เกี่ยวกับการเมือง [เซ้นซ์หรือความหมายของประโยคหลังสุดของทอมป์สันนี้ หมายถึงว่า กรณีสวรรคตน่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องภายในวังเอง ไม่เกี่ยวกับการเมืองภายนอก - สศจ]
นับถือเสมอ,
ทอมป์สัน
.............
ถ้าเทียบกับที่หลวงธำรงบอกทูตสหรัฐในอีกหนึ่งเดือนต่อมา (31 มีนาคม 2491) หลวงธำรงยังพูดกับทอมป์สันทูตอังกฤษแบบไม่ตรงๆเต็มที่ (หลวงธำรงบอกทูตอเมริกันตรงๆว่า "..หลักฐานต่างๆที่รวบรวมได้ระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีมีแนวโน้มมัดตัว [implicate] กษัตริย์หนุ่มองค์ปัจจุบัน") แต่เท่าที่เขาบอกทูตอังกฤษไปว่า ผลการสอบสวนออกมาว่าเกิดจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ใช่ในหลวงอานันท์ทำเอง แต่ "เกิดจากการะทำของอีกคนหนึ่ง" นั้น ก็เพียงพอที่จะไม่มีปัญหาว่าเขาต้องการหมายถึงใคร (แม้เขาจะ "ไม่ได้..เอ่ยชื่อใคร" กับทูตอังกฤษก็ตาม) ดังนั้น เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษจึงเขียนไปใน "ใบปะหน้า" โทรเลขว่า "ดูเหมือนว่าข้อสรุปประการเดียวที่เราสามารถได้จากการสนทนาครั้งนี้[ระหว่างทอมป์สันกับหลวงธำรง] คือ ในหลวงองค์ปัจจุบันเป็นผู้ทำให้เกิด [responsible for] การตายของพี่ชายตัวเอง -- ไม่ว่าโดยจงใจหรือโดยอุบัติเหตุ." (ดูกระทู้เมื่อวาน)
ดังที่ผมเคยอธิบายไว้ในบทความเรื่อง "ปริศนากรณีสวรรคต ตอนที่ 1" (ดูบทความที่นี่ http://goo.gl/xu6k7j) ทฤษฎีว่าในหลวงอานันท์ "ถูกผู้อื่นยิงโดยไม่ตั้งใจ(โดยอุบัติเหตุ)" ได้ถูกตัดทิ้ง ไม่เคยถูกนำมาพิจารณาเลยตั้งแต่ต้น เพราะทุกคนย่อมรู้ดีว่า "โดยสามัญสำนึกแล้ว ผู้ที่จะเอาปืนไปล้อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ [แล้วปืนลั่นขึ้นโดยอุบัติเหตุ] มีอยู่พระองค์เดียวคือสมเด็จพระอนุชา" (สรรใจ แสงวิเชียร และวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย, กรณีสวรรคต 9 มิถุนายน 2489, หน้า 176) ทั้งในการชันสูตรพระศพโดยคณะแพทย์ และในคณะกรรมการสอบสวน (ที่เรียกว่า "ศาลกลางเมือง") เวลากล่าวถึง "อุบัติเหตุ" มีความหมายอย่างเดียวเท่านั้น คืออุบัติเหตุโดยในหลวงอานันท์เอง (ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นไปไม่ได้) และเมื่อคณะกรรมการเหล่านี้ (เช่นเสียงส่วนใหญ่ในคณะแพทย์) ลงความเห็นว่า "เป็นการฆาตกรรม เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นอุบัติเหตุ" ความหมายจริงๆ ก็มีเพียงว่า ในหลวงอานันท์ถูกผู้อื่่นยิง ไม่ได้ยิงพระองค์เอง - ความจริงแล้ว "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" ในแง่บาดแผลหรือสภาพพระศพไม่ได้ต่างกับฆาตกรรมหรือถูกผู้อื่นยิงโดยตั้งใจเลย ดังนั้นที่คณะกรรมการเหล่านี้ลงความเห็นว่า "ฆาตกรรม" แท้จริงแล้วก็หมายถึงเพียง "ถูกผู้อื่นยิง" เท่านั้น และที่ว่า "อุบัติเหตุเป็นไปไม่ได้" ก็หมายเพียงแค่ว่า "อุบัติเหตุโดยพระองค์เอง" เป็นไปไม่ได้
ความรับรู้ที่ออกมาต่อสาธารณะ เลยกลายเป็นว่า ในหลวงอานันท์ถูกคนร้ายจากภายนอกลอบเข้ามาปลงพระชนม์ ไม่ใช่เกิดจากยิงพระองค์เองโดยอุบัติเหตุ เพราะ "อุบัติเหตุ" ในกรณีนี้ ถูกทำให้เหลือเพียงอุบัติเหตุโดยพระองค์เองเท่านั้นดังกล่าว(ซึ่งเป็นไปไม่ได้) และไม่ว่ารัฐบาลปรีดีหรือหลวงธำรง หรือใครก็ตามในสมัยนั้นหรือสมัยหลัง ก็ไม่สามารถยกความเป็นไปได้ที่ว่าจะเป็น "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" (ซึ่งทำให้บาดแผลและพระศพไม่ต่างจากฆาตรกรรม)ขึ้นมาพิจารณาได้ เพราะผู้ที่ต้องสงสัยถ้าเป็นกรณีอุบัติเหตุโดยผู้อื่น มีเพียงพระอนุชาหรือในหลวงองค์ใหม่ผู้เดียว การตัดความเป็นไปได้นี้ออกไปโดยสิ้นเชิงแต่แรก จึงเป็นประโยชน์ต่อพระอนุชา (และเป็นความซวยของปรีดีที่ได้แต่ยืนยันว่า "เป็นอุบัติเหตุ" - ซึ่งสาธารณะเข้าใจว่าหมายถึงอุบัติเหตุโดยในหลวงอานันท์เองที่เป็นไปไม่ได้ - โดยไม่สามารถบอกได้ว่า หมายถึง "อุบัติเหตุโดยผู้อื่น" ก็ได้)
เอกสารการทูตอังกฤษ กรณีสวรรคต (อีกฉบับ)
07:31 - 6 มี.ค. 2559 ·
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar