onsdag 30 september 2020

ความเป็นมาของขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

 

สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน

                                  สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
โดย  ปรีดี พนมยงค์  ( หลวงประดิษฐมนูธรรม )  รัฐบุรุษอาวุโส  อดีตผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ ๘ และ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย
จากหนังสือ  ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า  และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน. ( เอกสารประวัติศาสตร์  ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสซื่อ MA VIE  MOUVEMENTÈE ET MES 21 ANS D´ EXIL EN CHINE POPULAIRE  แปลโดย  จำนงค์  ภควรวุฒิ  พรทิพย์  โตใหญ่ )
-๑-       เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพีร์ลฮาเบอร์ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔  และได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลสยามเพื่อนำทัพญี่ปุ่นผ่านดินแดนสยามในการที่จะไป โจมตีพะม่าและมลายู  ซึ่งอยู่ในปกครองของอังกฤษ  ข้าพเจ้าทราบดีว่า  นี่เป็นการเข้ายึดครองสยามนั่นเอง  การกระทำเช่นนี้ของญี่ปุ่นขัดกับอุดมคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของ ข้าพเจ้า  ในระหว่างที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี  ได้มีการประชุมหารือ  เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นในการเดินทัพผ่านดินแดนสยาม  ข้าพเจ้าได้พยายามผลักดันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่เราได้แถลงไว้หลายครั้ง หลายหนในอดีต  กล่าวคือ  เราจะต่อต้านการรุกรานของกองทัพทหารต่างชาติไม่ว่าชาติใด  เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของชาติ  นอกจากนี้  ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า  จะเป็นการต่อสู้เพื่อเหตุผลอันชอบธรรม   เพราะนี่เป็นการต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ  ขณะที่ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้  นายกรัฐมนตรี  จอมพลป. พิบูลสงครามก็ขัดจังหวะ  และห้ามข้าพเจ้าพูดต่อ  มีรัฐมนตรีบางคนที่เห็นว่า  เพียงอนุญาตให้กองทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศสยามนั้นยังไม่พอ  หากยังคิดอีกว่า  ประเทศสยามน่าจะเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น  เพื่อจะได้ดินแดนที่สูญเสียให้อังกฤษและฝรั่งเศสไปกลับคืนมา   แต่ผลที่สุดความเห็นของข้าพเจ้าก็จัดอยู่ในกลุ่มเสียงข้างน้อย
            การที่ข้าพเจ้าคัดค้านการยินยอมของรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงครามนั้นทำให้ญี่ปุ่นโกรธแค้นข้าพเจ้ามาก   และได้บีบบังคับให้นายกรัฐมนตรีย้ายข้าพเจ้าออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังไปรับตำแหน่งอื่นที่สูงขึ้น   แต่ต้องไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารราชการ  ข้าพเจ้าจึงได้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี   และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเอกฉันท์ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งในคณะผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ที่ว่างอยู่ ๑ ตำแหน่ง  ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว  แม้ว่าข้าพเจ้าจะรู้สึกว่าถูกบังคับก็ตาม  ข้าพเจ้าก็ยอม  เพราะคิดว่าตำแหน่งใหม่นี้จะทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสจัดตั้งองค์การต่อต้าน ญี่ปุ่น  ซึ่งต่อมารู้จักกันในนาม  “ ขบวนการเสรีไทย “
นอก จากกลุ่มคนไทยผู้รักชาติที่อยู่ในประเทศแล้ว  นักเรียนไทยในต่างประเทศ  เช่น  ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้รวมตัวกันจัดตั้ง  “ ขบวนการเสรีไทย “  โดยได้เข้าร่วมกับขบวนการที่เราจัดตั้งขึ้นภายในประเทศ  กลายเป็นขบวนการเดียวกัน  โดยมีข้าพเจ้าเป็นหัวหน้า
          ในระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ นั้น  มีผู้สนับสนุนและเข้าร่วมเป็นแนวหน้าของขบวนการเสรีไทยจำนวนประมาณ  ๘๐,๐๐๐ คน  และอีก ๕๐๐,๐๐๐ คนพร้อมที่จะเข้าร่วมเมื่อคราวจำเป็น 
-๒-        กองทหารญี่ปุ่นได้ชัยชนะในมลายูในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน  และรุกรานคืบหน้ารวดเร็วถึงประเทศพม่า  นับเป็นการคุกคามทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ รัฐบาลไทยสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา  โดยหวังว่าอาจจะได้ดินแดนบางส่วนที่สยามเคยสูญเสียไปและที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึด ครองนั้นกลับคืนมา  นอกจากนี้  รัฐบาลไทยยังได้แสดงท่าทีเป็นศัตรูต่อประเทศจีนด้วย  การประกาศสงครามนั้น  ถือว่าไม่ถูกต้องตามกฏหมาย  เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร  และข้าพเจ้า ซึ่งอยู่ในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ไม่ได้ลงนาม  ถึงกระนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรบางประเทศถือว่า  ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น  เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงคราม เจ้า หน้าที่หลายคนที่ฝ่ายรัฐบาลสัมพันธมิตรส่งเข้ามาในประเทศสยามอย่างลับๆ  เพื่อมาเป็นที่ปรึกษาในการทำสงครามพลพรรค  และเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น เรียกขบวนการของเราว่า  “ สยาม  ราชอานาจักรใต้ดิน “ 
-๓-         ขบวนการของเราได้กำหนดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ ๒ ด้านประกอบกันคือ  ด้านหนึ่งต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน  และอีกด้านหนึ่ง  เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร  เพื่อให้สัมพันธมิตรเห็นว่า  การประกาศสงครามของจอมพลป. พิบูลสงคราม  ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย  เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองขบวนการของเรา  และรัฐบาลพลัดถิ่นที่เราคิดจะตั้งขึ้น  ตลอดจนยอมรับว่าเป็นพันธมิตรด้วย  ดังเช่นที่พวกเขาได้รับรอง  COMITE  FRANCAIS  DE  LIBERATION  NATIONALE    นำ โดยนายพล เดอโกลล์  ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ส่งทูตพิเศษเพื่อไปเจรจาเรื่องนี้ อย่างลับๆ  เราได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูตสยามที่ประจำอยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์ม  ซึ่งได้ร่วมขบวนการด้วยเป็นผู้ติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตโซเวียตที่ประจำ อยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์มเช่นกัน การ เจรจาครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวัง  ความรอบคอบและเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง  เพราะประเทศอังกฤษถือว่าการประกาศสงครามของจอมพลป. พิบูลสงครามนั้นมีผลสมบูรณ์ในขณะที่ประเทศสัมพันธมิตรอื่น  (  สหรัฐอเมริกา  สหภาพโซเวียต  รัฐบาลผลัดถิ่นของฝรั่งเศส ) ต่างก็มีท่าทีเฉพาะของตน  แต่ในแง่ของการทหารนั้น  บทความหลายชิ้น  และหนังสือหลายเล่มที่ตีพิมพ์ในสหราชอานาจักร  และสหรัฐอเมริกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความช่วยเหลือ  และความร่วมมือของเรานานัปการ  อันเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร  ข้าพเจ้าขอนำคำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์  เมานท์แบทเตน  ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ไทมส์  ฉบับวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ มากล่าวอ้างไว้ดังนี้  หนังสือพิมพ์ไทมส์   ๑๘/๑๒/๑๙๔๖ “  อาคันตุกะผู้หนึ่งจากสยาม  การรณรงค์ของหลวงประดิษฐฯ คำเปิดเผยของลอร์ด  เมานท์แบทเตน “ 
“   ลอร์ด  เมานท์แบทเตน  แห่งพม่า  ผู้ซึ่งไม่นานมานี้  เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์  ได้รับการต้อนรับเลี้ยงอาหารกลางวันโดยชิตี้  ลิเวอรี่ คลับ ณ ไซออน คอลเลจ  เมื่อวานนี้ได้บรรยายไว้ในสุนทรพจน์ของท่านถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลวง ประดิษฐ์ฯ  รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม  ในการกำจัดกองทัพญี่ปุ่นซึ่งยึดครองประเทศนั้น  ท่านลอร์ดได้สาธยายเกี่ยวกับรายละเอียดซึ่งหนังสือพิมพ์ไทมส์ได้เคยลงพิมพ์ ในฉบับประจำวันที่ ๒๒ ธันวาคม คือประมาณ หนึ่งปีมาแล้ว  และได้ประกาศแถลงว่า  หลวงประดิษฐฯ บุคคลผู้มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์นั้นกำหนดจะ มาถึงประเทศอังกฤษโดยเรือเดินสมุทร  ควีน  เอลิซาเบท  พรุ่งนี้เช้า
ลอร์ด เมานท์แบทเตน  กล่าวว่า ปรีดี พนมยงค์  รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม  ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในนามหลวงประดิษฐ์ฯ “   และพวกเราหลายคนแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์  รู้จักเขาตามชื่อระหัสว่า “ รู้ธ “ เขามาเยี่ยมประเทศนี้ ( อังกฤษ )  และข้าพเจ้าหวังว่าเราจะใช้โอกาศนี้ให้การรับรองเขาอย่างอบอุ่น  เพราะเหตุที่หลวงประดิษฐ์ฯเป็นบุรุษผู้มีบทบาทอันน่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่ง สงครามในเอเชียอาคเนย์  เป็นที่ทราบกันว่าในระหว่างสงครามนั้นไม่มีการกล่าวถึงชื่อของเขาอย่างเปิด เผยและเรื่องราวทั้งปวงเกี่ยวกับเขาก็ถูกถือว่าเป็น  “ ความลับสุดยอด” แม้ กระทั่งทุกวันนี้  คนอังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยทราบกันเท่าไรนักถึงพฤติกรรมอันอาจหาญที่เขากระทำ สำเร็จมาแล้ว   ขณะญี่ปุ่นรุกรานสยามหลวงประดิษฐฯ เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาล  แต่เขาปฏิเสธที่จะลงนามในการประกาศสงครามต่อเรา  หลวงพิบูลฯ “ ควิสลิง “ ( QUISLING คือ นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายนาซี- หมายเหตุผู้เรียบเรียง ) รู้ว่าเขา ( หลวงประดิษฐ์ฯ )  เป็นคนหนึ่งที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศ  และก็หวังที่จะทำให้เขาเป็นหุ่นเชิดโดยให้เขาขึ้นไปเป็นคนหนึ่งในคณะผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์  ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ ยอมรับตำแหน่งนี้  หลวงพิบูลฯหรือญี่ปุ่นมิได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่า  ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯ ยอมรับตำแหน่งหน้าที่นั้น  เขาก็ได้เริ่มต้นดำเนินการจัดตั้งและอำนวยการขบวนการต่อต้านของชาวสยามขึ้น"
" คณะผู้แทนหายสาบสูญไป  “ 
"เรา ได้รับรู้จากแหล่งต่างๆว่า หลวงพิบูลฯ มิได้ประสบผลทุกๆอย่างตามวิถีทางของเขาในประเทศสยามแต่การจะติดต่อ  ( กับขบวนการต่อต้านภายในสยาม )นั้น ก็ลำบากมากและทั้งนี้ก็เป็นการยากที่จะล่วงรู้ได้ด้วยว่า อะไรเกิดขึ้นกันแน่คณะผู้แทนของหลวงประดิษฐฯ ๒ คณะได้หายสาปสูญไประหว่างการเดินทางไปยังประเทศจีน  ซึ่งเต็มไปด้วยภยันตราย  แต่ในที่สุด ก็ได้มีการพบปะกันระหว่างสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทย  เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับการแต่ง ตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร  นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เราก็ได้ติดต่อกันเป็นประจำ  การติดต่อทั้งนี้นับได้ว่า เป็นความสัมพันธ์พิเศษยิ่งอย่างหนึ่ง  เพราะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนแผนการทหารที่สำคัญๆ กับประมุขแห่งรัฐ  ซึ่งโดยทางเทคนิคแล้วถือว่าอยู่ในสถานะสงครามกับเรา   “  เราจะเห็นได้ว่าหลวงประดิษฐ์ฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี  และเขากล้าหาญที่สามารถจัดการให้มีการล้มรัฐบาลของหลวงพิบูลฯได้สำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๗  โดยจัดให้มีรัฐบาลใหม่ขึ้น  ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เขาแต่งตั้งเอง  และทำให้เขาสามารถดำเนินแผนการต่อต้านญี่ปุ่นได้ดีขึ้น
กอง กำลังเสรีไทยที่ได้รับการฝึกฝนในประเทศเราและได้ปฏิบัติการร่วมกันกับกอง กำลังบริติชที่ ๕ และกองกำลัง ที่ ๑๓๖  รวมทั้งกองกำลังอเมริกัน  O.S.S. นั้นบางส่วนได้กระโดดร่มเข้าไปร่วมงานของหลวงประดิษฐ์ฯ  บางคนถูกจับกุมคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหลวงพิบูลฯ  แต่ก็ถูกคุมขังพอเป็นพิธีเท่านั้น  เพราะพวกเขาก็พบปะกับหลวงประดิษฐ์ฯได้อย่างลับๆ  และได้ตั้งสถานีวิทยุติดต่อกับกองบัญชาการของข้าพเจ้า
ใน เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงประดิษฐ์ฯได้ส่งบุคคลชั้นหัวหน้าสำคัญๆแห่งขบวนการต่อต้านนำโดยนายดิ เรก  ชัยนาม  รัฐมนตรีต่างประเทศสยามมาปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าที่เมืองแคนดี  เราจัดให้คณะดังกล่าวออกมาและส่งกลับโดยเครื่องบินทะเล  หรือโดยเรือบิน ( ชนิดที่ต่อเป็นลำเรือไม่ใช่ทุ่น )  ในระหว่างสนทนา เราก็ได้วางแผนการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิบัติการภายหน้า  เพื่อให้ประสานกับหลักสำคัญแห่งยุทธภูมิของข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าเองได้มีการตระเตรียมพร้อมเสมอเมื่อถึงความจำเป็นที่จะให้หลวง ประดิษฐ์ฯบินออกมาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน  ตราบจนถึงตอนปลายสงคราม  เขาได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อก่อวินาศกรรม  และจัดตั้งกำลังพลพรรคประมาณ ๖ หมื่นคน  กับทั้งการสนับสนุนอีกมากมายที่เตรียมพร้อมอย่างเงียบๆ  เพื่อที่จะร่วมปฏิบัติการ ซึ่งล้วนแต่อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆในสยาม “  “ หลวงประดิษฐ์ฯ ( เขา ) ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง “ 
“ ข้าพเจ้าเข้าใจดีทีเดียวถึงความยากลำบากที่เขาต้องควบคุมพลังนี้  แต่ข้าพเจ้าเองก็ต้องระลึกอยู่เสมอเช่นเดียวกันถึงภยันตรายอันใหญ่หลวงแห่ง การเคลื่อนไหวโดยที่ยังไม่ถึงเวลา  ซึ่งจะเป็นผลให้ญี่ปุ่นทำการตอบโต้ทำลาย  และจะทำให้แผนยุทธศาสตร์แห่งยุทธภูมิทั้งปวงของข้าพเจ้าเกิดผลกระทบปั่นป่วน วุ่นวาย  ความเครียดที่บังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯต้องแบกรับไว้  และภยันตรายที่เขาต้องเผชิญตลอดเวลา ๓ ปี  นับว่าเป็นสิ่งที่น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง  แต่ก็อาศัยความที่มีวินัยของเขาเองประกอบกับที่เขาได้ชักจูงให้บรรดาผู้ เชื่อถือเลื่อมใสในตัวเขาปฏิบัติตามนั่นเอง  ที่ทำให้ได้ประสบชัยชนะในที่สุด  เขาไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลย
ข้าพเจ้า รู้ว่ามีบุคคลมากหลายที่เคยตกเป็นเชลยศึกในสยาม  ได้มีความสำนึกอันถูกต้องในแง่ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อความปราถนาดีของหลวง ประดิษฐ์ฯ  ซึ่งมีต่อเรา ดัง นั้นจึงขอให้เราให้เกียรติแก่บุคคลผู้นี้  ที่ได้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่ออุดมการณ์ของพันธมิตรและต่อประเทศของเขา เอง  ข้าพเจ้าทราบด้วยว่า เขาเป็นบุคคลที่ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับสยามอย่างแข็งขัน  การต่อต้านการกดขี่ของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ดำเนินไปอย่างเกือบไม่ขาดสาย ทั้งนี้ก็เพราะ หลวงประดิษฐ์ฯ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนี้  ( เสียงตบมือแสดงความชื่นชมยินดีก้องขึ้นเป็นเวลายาวนาน )  "
-๔-         รัฐบาลสหรัฐอเมริกา  โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ไม่มีนโยบายที่จะทำให้ประเทศของเราเป็น “ อาณานิคม “ จะเห็นได้จากบันทึกที่จัดทำโดยกรมกิจการแปชิฟิคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเตรียมเผื่อท่านประธานาธิบดีจะใช้ในการสนทนากับ มร. เชอร์ชิล และจอมพลสตาลิน  ที่นครยัลต้าในปี พ.ศ. ๒๔๘๘  บันทึกนี้กล่าวถึงสถานภาพภายหน้าของสยามที่ข้าพเจ้าขอยกข้อความตอนหนึ่งมา ดังนี้
“  เหตุการณ์ที่ชาวยุโรปบีบบังคับประเทศไทย  และการที่ชาวยุโรปได้ยึดเอาดินแดนแห่งเอเชียอาคเนย์ไปนั้นยังอยู่ในความทรง จำของชาวเอเชีย  รัฐบาลนี้ ( ส.ร.อ. ) ไม่อาจจะร่วมในการปฏิบัติต่อประเทศไทย ไม่ว่าในรูปแบบใด  เยี่ยงจักรวรรดินิยมสมัยก่อนสงครามได้ “ บันทึกนี้ยังกล่าวย้ำอีกว่า
“  เรามิได้ถือว่า  ประเทศไทยเป็นศัตรู   แต่เป็นประเทศที่ถูกยึดครองโดยศัตรู  เรารับรองเอกอัครราชทูตประเทศไทยในกรุงวอชิงตันเป็น “ อัครราชทูตแห่งประเทศไทย “  ฐานะเหมือนกันกับอัครราชทูตเดนมาร์ก  เราสนับสนุนให้มีประเทศไทยที่เป็นเอกราชและมีเสรีภาพ  พร้อมด้วยอธิปไตยที่ไม่ถูกบั่นทอน  และปกครองโดยรัฐบาลที่ชาวไทยเลือกเอง   ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์  ซึ่งเป็นประเทศเอกราชอยู่ก่อนสงคราม  แม้ว่าเราจะมีส่วนสำคัญในการทำให้ญี่ปุ่นพ่ายแพ้  แต่ถ้าหากผลแห่งสงครามทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนที่ตนมีอยู่ก่อน สงครามหรือเอกราชถูกบั่นทอนเราเชื่อว่า  ผลประโยชน์ของ ส.ร.อ. ทั่วตะวันออกไกลจะถูกกระทบกระเทือน ภาย ในประเทศไทยซึ่งเดิมยอมจำนนต่อญี่ปุ่นและต่อมาร่วมมือกับญี่ปุ่น   อันเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางทั่วไปนั้น  ได้ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐบาลใหม่ซึ่งส่วนใหญ่คุมโดยหลวงประดิษฐ์ฯ  ผู้สำเร็จราชการฯปัจจุบันที่ได้รับการนับถือที่สุดของบรรดาผู้นำไทย  และเป็นผู้ต่อต้านญี่ปุ่นมาตั้งแต่ต้น”
นอกจากนี้ นายคอร์ เดล ฮัลล์ ( Cordel  Hull )  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีจดหมายลงวันที่  ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖  แจ้งไปยังรองผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล อเมริกันที่มีต่อประเทศไทย  ดังความต่อไปนี้
“  สหรัฐอเมริกาถือว่า ไทยเป็นรัฐเอกราชที่บัดนี้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองด้วยทหารญี่ปุ่น .... “  รัฐบาลอเมริกันหวังว่า จะสถาปนาเอกราชของประเทศไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้  จากข่าวสารต่างๆที่ได้รับแสดงให้เห็นว่า  ในรัฐบาลไทยปัจจุบันก็ยังมีข้าราชการส่วนหนึ่งที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการ ที่รัฐบาลไทยยอมจำนนต่อการกดดันของฝ่ายญี่ปุ่น  เป็นที่ทราบกันดีว่า  มีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( หรือที่รู้จักกันในนาม นายปรีดี พนมยงค์ )  คนหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมอยู่ด้วย  นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์ฯ ยังมีส่วนสำคัญในขบวนการใต้ดิน  ซึ่งมีจุดเพื่อฟื้นสถานภาพของรัฐบาลไทยที่เคยเป็นอยู่ก่อนหน้าการรุกรานของ ญี่ปุ่น
ด้วย เหตุผลดังกล่าว  รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาจึงถือว่าหลวงประดิษฐ์ฯ เป็นตัวแทนแห่งการสืบต่อมาของรัฐบาลแห่งประเทศไทยตามที่เป็นอยู่ก่อนหน้าที่ นายกรัฐมนตรีไทยสมัยนั้น ( จอมพลป. พิบูลสงคราม )  จะไปเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่นในตอนที่ญี่ปุ่นบุก  และยอมรับว่า ( หลวงประดิษฐ์ฯ )  เป็นผู้นำคนสำคัญในขบวนการเพื่อเอกราชของชาติไทย ด้วย เหตุนี้ โดยไม่เป็นการผูกมัด รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในอนาคต  เราจึงถือว่า หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นตัวแทนและผู้นำสำคัญคนหนึ่งของชาติไทย  ตราบใดที่ชาวไทยยังไม่ได้แสดงออกในทางตรงกันข้าม
คอร์เดล  ฮัลล์   "
-๕-      ส่วนท่าทีของสหราชอาณาจักรนั้น  แม้ว่าผู้นำทางทหาร ดังเช่นลอร์ด เมานท์แบทเตน  จะแสดงความชื่นชมต่อคุณูปการของเราที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร   ( ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ ๓ )  ในเบื้องแรก  รัฐบาลสหราชอาณาจักร  ซึ่งประกอบด้วยนักการเมืองที่มีแนวโน้มนิยมชมชอบลัทธิจักรวรรดินิยมไม่ ยินยอมเจรจากับเราในทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับเอกราชของชาติไทยภายหลัง ที่ฝ่ายสัมพัธมิตรได้ชัยชนะ  ดังนั้นลอร์ดเมานท์แบทเตน  จึงได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลของตนให้เจรจากับผู้แทนฝ่ายเรา เพียงเฉพาะเรื่องกิจการทางทหารอย่างเดียวเท่านั้น  นักการเมืองชาวอังกฤษในยุคนั้นทราบดีทีเดียวว่า  การประกาศสงครามระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักรนั้น ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย  อย่างไรก็ตามอังกฤษถือว่า  ประเทศเราจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่อังกฤษ
 เมื่อ รัฐบาลอังกฤษมีท่าทีปฏิเสธการเจรจาทางการเมืองเช่นนี้  เราจึงได้หันมาใช้ความพยายามเจรจาในเรื่องนี้กับรัฐบาลอเมริกัน  ที่นำโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์  ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนสยาม  และพยายามเจรจากับรัฐบาลผสมของจีน   (ระหว่างจีนคณะชาติกับจีนคอมมิวนิสต์  )  โดยทางเราได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาเรื่องเอกราชของชาติ
เรา ได้ขอให้สถานอัครราชทูตของเราที่กรุงสต็อกโฮล์มติดต่อกับสถานอัครราชทูตของ โซเวียตที่นั่นเช่นกัน  ให้ช่วยส่งบันทึกรายงานฉบับหนึ่งไปยังรัฐบาลโซเวียต  เพื่อสนับสนุนความต้องการอันชอบธรรมของเรารัฐบาลของประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ ให้ความช่วยเหลือแก่เราหลายครั้งหลายคราว  เพื่อที่จะทำให้อังกฤษเปลี่ยนใจ  หรืออย่างน้อยที่สุดให้อังกฤษมีท่าทีเดียวกับ ส.ร.อ.  ในการยอมรับว่าประเทศสยามมิได้เป็นศัตรู  แต่เป็นประเทศอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น
อย่าง ไรก็ตาม  ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เราได้พิจารณาเห็นว่า  ถึงเวลาแล้วที่ขบวนการเสรีไทยจะต่อสู้การรุกรานของญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย  แทนที่จะกระทำการอย่างลับๆ  แต่ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการ  เราได้ปรารถนาที่จะให้รัฐบาลอเมริกันและอังกฤษยืนหยัดต่อเราก่อนว่า  จะเคารพความเป็นเอกราชของประเทศสยามแม้ว่า  จอมพลป. พิบูลสงครามจะได้ประกาศสงครามกับประเทศทั้งสองโดยไม่ถูกต้อง  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ส่งโทรเลขลับด่วนมาก ๒ ฉบับ  ซึ่งมีข้อความตรงกัน ฉบับหนึ่งถึงกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ.  และอีกฉบับถึงลอร์ดเมานท์แบทเตน  
 ข้าพเจ้าขอยกข้อความในโทรเลขของข้าพเจ้า  ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศของ ส.ร.อ. ได้พิมพ์ภายหลังญี่ปุ่นยอมจำนนไปแล้ว ๒๕ ปี ดังนี้
 ๑)     บันทึกจัดทำโดยกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ. เลขที่ ๓๔๐๐๐๑๑  p.w./ ๕๒๙๔๕  วอชิงตัน ๒๘ พฤษภา ๒๔๘๘
 สาส์ นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศจากรู้ธ ( ปรีดี พนมยงค์ ) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศส.ร.อ. ได้รับเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘  มีข้อความดังต่อไปนี้
 “  การต่อต้านเสรีไทยในการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนั้น  ได้ทำตามคำแนะนำของผู้แทนอเมริกันเสนอมาในการที่มิให้ปฏิบัติการใดๆต่อสู้ ญี่ปุ่นก่อนถึงเวลาอันควร  แต่ขณะนี้  ข้าพเจ้าเชื่อว่า  กำลังใจรบของญี่ปุ่นจะลดน้อยลงไป  ถ้าขบวนการเสรีไทยไม่คงอยู่ภายในฉากกำบังอีกต่อไป  ญี่ปุ่นจะถูกบีบให้ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรเร็วขึ้น  เพราะการสลายตัวของสิ่งที่เรียกว่า  วงไพบูลย์ร่วมกัน  อย่างไรก็ตาม  เราได้ถือตามคำแนะนำว่าขบวนการเสรีไทยจะต้องพยายามขัดขวางความร่วมมือที่ ญี่ปุ่นจะได้จากประเทศไทย  เราได้ยึดถือนโยบายนี้อย่างเคร่งครัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  แต่ท่านย่อมเห็นได้ว่า  ญี่ปุ่นนับวันยิ่งจะมีความสงสัยขบวนการเสรีไทยมากยิ่งขึ้น  เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทย  (รัฐบาลควง ฯ )  ไม่ยอมทำตามคำขอของญี่ปุ่นที่ขอเครดิตเพิ่มเติมอีก ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐  บาท  ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากรัฐบาลปัจจุบันว่า  จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้  ถ้าหากญี่ปุ่นบีบบังคับให้ปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว

 ถ้า ญี่ปุ่นยืนยันเช่นนั้น  รัฐบาลใหม่ก็จะตั้งขึ้นและปฏิการต่อสู้ญี่ปุ่น  โดยประการแรกประกาศโมฆะกรรม  ซึ่งหนี้สินและข้อตกลงซึ่งรัฐบาลพิบูล ฯกับญี่ปุ่นได้ทำกันไว้ตลอดทั้งสนธิสัญญาที่ผนวก ๔ รัฐมาลัย (มาเล  ผู้เรียบเรียง )และรัฐฉานไว้กับประเทศไทย  รวมทั้งการประกาศสงครามต่ออังกฤษและ ส.ร.อ. ด้วยพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ชาตินี้กับประเทศไทยจะสถาปนาขึ้นดังที่เป็นอยู่ก่อนญี่ปุ่นบุกเพิร์ล ฮาร์เบอร์  ก่อนที่จะดำเนินแผนการนี้  ข้าพเจ้าปรารถนาแจ้งให้ท่านทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่  แม้ว่าข้าพเจ้าตระหนักว่า  ส.ร.อ. มีเจตนาดีต่อเอกราชของประเทศไทย  และมีไมตรีจิตต่อราษฎรไทย  ข้าพเจ้าเชื่อว่าในวันที่เราลงมือปฏิบัติการนั้น ส.ร.อ.จะประกาศเคารพความเป็นเอกราชของประเทศไทย  และถือว่าประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติและไม่ถือว่าประเทศไทยเป็น ประเทศศัตรู ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมกำลังใจอย่างใหญ่หลวงต่อมวลราษฎรไทย ซึ่งเตรียมพร้อมแล้วในการเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง “

ข้าพเจ้าได้ส่งสาระในโทรเลขฉบับนี้ไปยังผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรเอเชียอาคเนย์ด้วยเช่นกัน
 ๒ )  วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘  ข้าพเจ้าได้รับคำตอบจากผู้รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส.ร.อ. มีความดังต่อไปนี้

“  ขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อสาส์นของท่านถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  เราเข้าใจความปราถนาของท่านที่จะให้ประเทศไทยต่อสู้ศัตรูทางปฏิบัติการโดย เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เราเชื่อแน่ว่าอย่างไรก็ตามท่านย่อมตระหนักว่า  การต่อสู้ศัตรูร่วมกันของเรานั้น  ต้องสมานกับยุทธศาสตร์ทั้งปวงในการต่อสู้กับญี่ปุ่น  และไม่เป็นผลดีถ้าไทยทำก่อนเวลาอันสมควร  และก่อนที่จะมีหลักประกันพอสมควรว่าจะได้ชัยชนะ  หรือถ้าลงมือปฏิการอย่างเปิดเผยโดยมิได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ เรา หวังว่า  ท่านจะใช้ความพยายามต่อไปที่จะป้องกันการกระทำก่อนถึงเวลาอันสมควร  โดยขบวนการเสรีไทย  หรือการปฏิบัติอันเร่งให้ญี่ปุ่นยึดอำนาจจากรัฐบาลไทย (รัฐบาลควง ฯ ) เรา เชื่อมั่นว่า  ท่านจะแจ้งให้เราและอังกฤษทราบถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทั้งๆที่ท่านพยายามยับยั้งไว้แล้วก็ตาม  ส.ร.อ. เข้าใจแจ่มแจ้ง  และเห็นคุณค่าในความปรารถนาจริงใจของท่านและมวลราษฎรไทยในการปฏิเสธการ ประกาศสงครามและข้อตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับรัฐบาลพิบูลฯนั้น  แต่ยังไม่เข้าใจแจ้งชัดว่าเหตุใดรัฐบาลปัจจุบัน ( รัฐบาลควง ฯ ) จะลาออกขณะนี้  หรือจะมีการบีบบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดต่อไปต้องเลือกเอา การปฏิเสธการประกาศสงครามและข้อตกลงกับญี่ปุ่นเป็นการกระทำในเบื้องแรก ย่อม จะเห็นได้ว่า  ขบวนการเสรีไทยจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้ดีกว่าเมื่อออกมาปฏิบัติการเปิด เผยแล้ว คือโดยจู่โจมการลำเลียงการคมนาคมกองกำลังยุทโธปกรณ์ของศัตรู  อย่างฉับพลันและอย่างมีการประสานงาน  รวมทั้งยึดตัวนายทหาร  พนักงาน เอกสาร  จุดสำคัญของศัตรู  แล้วการปฏิบัติทางการเมืองเพื่อปฏิเสธการประกาศสงครามและการเข้ามีฐานะเสมอ กันกับสัมพันธมิตรก็จะตามมาภายหลัง เรา ให้ความสำคัญต่อการมีรัฐบาลไทยที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงบนผืน แผ่นดินไทย  เพื่อที่จะทำการร่วมมือกับสัมพันธมิตร เราหวังว่า  การเตรียมทุกอย่างที่จะเป็นไปได้  จะต้องทำขึ้นในอันที่จะป้องกันการจับกุมหรือการแยกย้ายบุคคลสำคัญที่เป็น ฝ่ายสัมพันธมิตร  เพื่อว่ารัฐบาลดังกล่าวนั้นจะเข้ารับงานได้ทันทีในบริเวณที่ปลอดญี่ปุ่น  และสามารถสั่งการทางทหารให้กองทัพไทยปฏิบัติการร่วมมือกับสัมพันธมิตร  และสามารถรื้อฟื้นกลไกของรัฐบาลพลเรือนในบริเวณที่กู้อิสรภาพแล้ว ส.ร.อ. ไม่อาจประกาศโดยลำพังได้ว่าชาติอื่นชาติใดเป็นสมาชิกสหประชาชาติ  แต่จะมีความยินดีประกาศซ้ำอีกโดยเปิดเผยในโอกาศเหมาะสมถึงการเคารพความเป็น เอกราชของชาติไทย และประกาศว่า ส.ร.อ. ไม่เคยถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู เรารอคอยวันที่ประเทศของเราทั้งสองสามารถที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงจุดหมายร่วมกันในการต่อสู้ศัตรูร่วมกัน"
(ลงนาม )  กรูว์   ( Grew )          รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ 
๓)    แม้ว่าลอร์ดเมาน์ทแบทเตน  ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด  จะรู้สึกเห็นใจในขบวนการของเรา  แต่ก็ตอบรับได้เฉพาะในแง่ของแผนการทางทหารเท่านั้นโดยขอให้ข้าพเจ้าป้องกันมิให้มีการกระทำการใดๆก่อนถึงเวลาอันสมควร  เมื่อ เราส่งนายดิเรก ชัยนาม  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นไปที่ประเทศซีลอน  เพื่อเจรจากับลอร์ดเมาน์ทแบทเตน  บรรดาที่ปรึกษาทางการเมืองที่รัฐบาลอังกฤษส่งมาเจรจา ต่างก็ปฏิเสธที่จะยอมรับความเป็นเอกราชของสยาม
-๖-   สำหรับรัฐบาลจีนโดยการนำของจอมพลเจียงไคเช็ค  ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายคอมมิวนิสต์เองรับรองว่า  เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่  ๒ นั้น  ขบวนการเสรีไทยได้ส่งผู้แทนไปเจรจา ๓ ครั้ง เรื่องความเป็นเอกราชของสยาม  และขอให้คณะผู้แทนของขบวนการ ฯผ่านประเทศจีน เพื่อไปติดต่อกับประเทศสัมพันธมิตรอื่นๆได้ง่ายขึ้น รัฐบาล จีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จีน ซื่อ เหลียง ( เกิดในเมืองไทย ) เป็นผู้ดำเนินการเจรจากับคณะผู้แทนของขบวนการฯ  เจ้าหน้าที่ผู้นี้ทำงานในหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลจีนและเป็นที่ไว้วางใจ มาก  อันที่จริงแล้ว  เจ้าหน้าที่ผู้นี้สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์และได้เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของข้ารัฐการชั้นสูงของจีนที่มีต่อประเทศสยาม  ( ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมกับฝ่าย คอมมิวนิสต์ และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าในการเตรียมการเดินทางไปยังสาธารณรัฐ ราษฎรจีน )
รัฐบาล จีนไม่พอใจประเทศไทยมาก  พราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ  ไม่เพียงแต่จะส่งกองทหารไปยึดพื้นที่บริเวณตลอดชายแดนจีน-พม่า  ที่ขึ้นกับอังกฤษเท่านั้น  แต่ยังรับรองรัฐบาลหุ่นของมานจูกั๊วะ  ที่ตั้งขึ้นภายใต้การบงการของญี่ปุ่นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน  ( อดีตจักรพรรดิปูยี PU YI ) ซึ่งได้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จีนโดยการอภิวัฒน์ชนชั้นเจ้าสมบัติในปีพ.ศ. ๒๔๕๔  ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิในรัฐใหม่แห่งนี้ ) นอกจากนี้จอมพลพิบูลฯยังรับรองรัฐบาลวังจิงไว ( Wang Jing-wei ) ว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนด้วย รัฐบาล จีนได้ออกข่าวผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ขู่ว่า  จะบุกเข้าประเทศไทยจับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดมาชำระคดีฐานเป็น อาชญากรสงคราม  การเจรจาของเรากับรัฐบาลจีนจึงลำบากมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องพยายามให้รัฐบาลจีนไม่ถือว่าประเทศสยามเป็นศัตรูและ เคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ การ เดินทางของผู้แทนคนแรกของขบวนการฯ คือนายจำกัด พลางกูร  ไม่อาจผ่านประเทศจีน เพื่อไปยังประเทศสัมพันธมิตรได้เพราะติดขัดทางฝ่ายรัฐบาลจีนจึงทำให้เขาไม่ สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปได้  การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากมากมายนายจำกัดฯได้เสียชีวิตลงที่นครจุ งกิง  ผู้แทนคนที่ ๒ คือนายสงวน ตุลารักษ์  ได้รับความสะดวกขึ้นบ้างในการเดินทางไปอังกฤษและ ส.ร.อ.
คณะ ผู้แทนชุดที่ ๓  นำโดยนายถวิล อุดล  สามารถประสานการทำงานระหว่างขบวนการฯ ของเรากับรัฐบาลจีนได้จนสิ้นสงคราม ด้วยความพยายามของเราและด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลส.ร.อ.  โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์  รัฐบาลจีนยอมถือนโยบายของรัฐบาลอเมริกันในการเคารพความเป็นเอกราชของสยามภาย หลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะอย่างไรก็ตาม  ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นั้นจอมพลเจียงไคเช็คได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่าย สัมพันธมิตรเพื่อบัญชาการสู้รบในประเทศจีนและในอินโดจีน  หลังปีพ.ศ. ๒๔๘๖  เจียงไคเช็คจึงได้รับผิดชอบการสู้รบเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ เนื่องจากเส้นแบ่งเขตทางเหนือของเอเชียอาคเนย์ยังไม่แน่นอน  เจียงไคเช็คพยายามขอให้สัมพันธมิตรยอมให้เขตแดนสยามและอินโดจีนฝรั่งเศส (อินโดจีนของฝรั่งเศส ผู้เรียบเรียง ) เหนือเส้นขนานที่ ๑๖  อยู่ในเขตยุทธภูมิจีนที่เจียงไคเช็ครับผิดชอบอยู่  ข้าพเจ้าได้แสดงความวิตกกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลอเมริกัน  เนื่องจากถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรยินยอมตามเจียงไคเช็ค  กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่มีอยู่จำนวนมากในสยามย่อมฉวยโอกาสในขณะ ที่กองทัพจีนเข้ามาอยู่ในประเทศสยามก่อความวุ่นวายขึ้นหลังการยอมจำนน ญี่ปุ่นในปีพ.ศ. ๒๔๘๘  เจียงไคเช็คได้ขอความเห็นจากสัมพันธมิตรว่า  เขาจะส่งกองทัพเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตแดนสยามและอินโดจีนบริเวณ เหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้หรือไม่  ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอเมริกันเพื่อชี้แจงว่า ขบวนการเสรีไทยพร้อมที่จะปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทยเอง ประธานาธิบดี ทรูแมน  ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากรูสเวลท์ตระหนักดีถึงปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าว  จึงแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารอเมริกันที่รับผิดชอบด้านญี่ปุ่นเป็นผู้ออกคำ สั่งให้กองกำลังทหารญี่ปุ่นในดินแดนสยามยอมจำนนต่อลอร์ดเมาน์ทแบทเตน  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ส่วนเจียงไคเช็คนั้นได้รับภาระให้ส่งกองทัพเข้าไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางตอนเหนือของอินโดจีนของฝรั่งเศสเท่านั้น

-๗-      ภายหลังที่ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วข้าพเจ้าได้เปิดเผยขบวนการใต้ดิน และได้ประกาศฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ว่า  การประกาศสงครามของจอมพลพิบูลฯ ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่  ตลอดจนการผนวกเอาดินแดนบางส่วนของพม่าและมลายูของอังกฤษในระหว่างสงครามนั้น เป็นโมฆะ  ข้าพเจ้าได้แถลงเช่นเดียวกันว่าให้ถือวันที่ ๑๖ สิงหาคมเป็น  “ วันสันติภาพ “  และจะมีการฉลองในวันนี้ของทุกปี  แต่รัฐบาลภายหลังรัฐประหาร  ๒๔๙๐ ได้ยกเลิก  “วันสันติภาพ “ นี้เสีย
รัฐบาล อเมริกันได้ส่งนักการทูตมาเพื่อสถาปนาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ สยามดังที่ได้ให้สัญญาไว้  รัฐบาลอเมริกันไม่มีเงื่อนไขใดๆ  นอกจากขอให้เราคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทอเมริกัน  เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ  และญี่ปุ่นได้ยึดทรัพย์สินของบริษัทนั้นไป  และขอให้จับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดฟ้องศาลเป็นอาชญากรสงคราม
ฝ่าย รัฐบาลอังกฤษเรียกร้องให้ส่งคณะผู้แทนไปพบลอร์ดเมาน์ทแบทเตนที่กองบัญชาการ ทหารในประเทศซีลอน  เพื่อเจรจากับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ  โดยให้สยามยอมรับเงื่อนไขในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ใน ช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง  เราได้ตกลงให้กองทหารอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพียงเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น เท่านั้นและให้ถอนกำลังทหารนี้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้คือในทันที ที่ปฏิบัติภารกิจในการปลดอาวุธเสร็จสิ้นแล้ว
ใน ระหว่างนั้นลอร์ดเมาน์ทแบทเตนและภรรยาได้เดินทางมากรุงเทพฯ ๒ ครั้ง  และได้พบปะกับข้าพเจ้า  ซึ่งได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารอาสาสมัครอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทย เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๘  เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในความเป็นเอกราชของชาติไทยและองค์พระประมุข
ส่วน เงื่อนไขทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษยื่นข้อเรียกร้องมานั้น  เราพิจารณาแล้วเห็นว่า  เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมจำนนกลายๆนั่นเอง  แตกต่างกันแต่ในเรื่องวิธีการและคำพูดเท่านั้น  ดังนั้น เราจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว  การเจรจากันในเรื่องนี้ใช้เวลา ๑ ปีโดยที่ไม่บรรลุผลใดๆ  ช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสยามตามวิถีทางรัฐธรรมนูญถึง ๓ ครั้ง  ในที่สุด  รัฐบาลสยามจำเป็นต้องส่งมอบข้าวให้รัฐบาลอังกฤษจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ ตัน  และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทอังกฤษที่ตั้งขึ้นในสยามก่อนสงครามและที่ถูก ญี่ปุ่นและรัฐบาลพิบูลฯยึดไปตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยทางอากาศใน ระหว่างสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กระทำเอง   อย่างไรก็ตาม  เราเห็นว่าเป็นข้อเสนอเรียกร้องที่ไม่ยุติธรรมต่อประเทศเล็กอย่างสยามในการ ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น  ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรเองเป็นผู้ก่อ  แต่เราจำต้องยอมลงนามในความตกลงดังกล่าวนั้น  เพื่อที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศหลังสงครามได้เร็วที่สุดและเพื่อหาโอกาศอัน สมควรในการเจรจาอย่างสันติอีกครั้งหนึ่งกับรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ  เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆที่ไม่ยุติธรรมสำหรับเรา
ความ ตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลสยามจับกุมและลงโทษบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอาชญากร สงคราม  ข้อความนี้ตรงกับความต้องการของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญๆทุกประเทศ  เมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. ๒๔๘๙ ข้าพเจ้าได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมจ่ายเงินค่าข้าวที่เราต้องชดใช้ให้ เป็นค่าเสียหาย  ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาใน ตลาดโลก  นับว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ส่วน เรื่องความเสียหายของบริษัทห้างร้านอังกฤษที่เราต้องชดใช้นั้นเราเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสยามเช่นกัน  เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๙๔  ฝ่ายสัมพันธมิตร  ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลอังกฤษด้วยได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ ซานฟรานซิสโก  ตามสนธิสัญญาฉบับนี้  รัฐบาลอังกฤษเองได้ยกเลิกข้อเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในสงคราม
-๘-      ฝ่ายรัฐบาลจีนเมื่อยอมรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบาลสยามแล้ว  ก็ได้ส่งอัครรัฐทูตมาประจำกรุงสยาม  เพื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูต
ส่วน กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่คิดว่ากองกำลังทหารจีนจะเข้ามาปลดอาวุธ ทหารญี่ปุ่นในประเทศสยามนั้น  พากันแปลกใจที่กลายเป็นกองทหารอังกฤษ  ฉนั้นจึงก่อจลาจลโดยใช้ปืนยาวปืนสั้น  ยิงเข้าใส่ฝูงชนอย่างบ้าคลั่งในใจกลางพระนคร
ชาว ไทยได้โต้ตอบทันที  สภาพการจลาจลเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่ง  รัฐบาลจำต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม  เพื่อให้เกิดความสงบโดยเร็วที่สุด  การจลาจลครั้งนี้เรียกว่า  “  เลียะพะ “  ( ภาษาจีนแต้จิ๋ว ) ที่เรียกเช่นนี้  เพราะได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับกบฏของนักมวยจีน   ซึ่งต่อต้านกองกำลังอำนาจต่างชาติในปีพ.ศ  ๒๔๔๓  ในปัจจุบันยังมีคนกล่าวถึงเหตุการณ์เลียะพะครั้งนั้นอยู่  โดยมักจะเป็นพวกที่ไม่ยอมรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐราษฎรจีน  และยกเอาเหตุการณ์นี้มาข่มขวัญผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่  โดยอธิบายอย่างไม่มีเหตุผลว่า  เมื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูตกับสาธารณรัฐราษฎรจีนแล้ว  เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดซ้ำอีกโดยพวกชาวจีนโพ้นทะเลจะเป็นผู้ก่อขึ้นด้วย ความสนับสนุนของสถานเอกอัครรัฐทูตสาธารณรัฐราษฎรจีน  อันที่จริงระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบนี้  พวกคอมมิวนิสต์จีนที่ลี้ภัยเข้ามาในสยาม เพราะถูกรัฐบาลจีนคณะชาติตามล่านั้น  กลับต่อต้านการเลียะพะครั้งนี้
-๙-      รัฐบาลโชเวียตกำลังวุ่นวายอยู่กับปัญหาภายในประเทศ จึงไม่พร้อมที่จะเข้ามาแทรกแซงในกิจการของเอเชียอาคเนย์  อย่างไรก็ตาม  รัฐบาลนี้ได้แสดงความเคารพความเป็นเอกราชของสยามโดยปริยาย  โดยการมอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตที่กรุงสต็อกโฮล์มเข้าร่วมในงานเลี้ยง รับรองที่จัดขึ้นโดยสถานอัครราชทูตสยาม  ทั้งในระหว่างและหลังสงคราม
-๑๐-      ส่วนฝ่ายรัฐบาลกู้ชาติฝรั่งเศส  (Comite’ francais  de Libe’ration  nationale) ซึ่งต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศส  ลงความเห็นว่ารัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น  และฝรั่งเศสกับประเทศไทยถือว่าเป็นศัตรูกันนับแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ อันเป็นวันที่กองทัพอากาศไทย ( สมัยรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ) ได้ทิ้งระเบิดบนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส  รัฐบาลชั่วคราวของฝรั่งเศสเห็นว่าคำประกาศของข้าพเจ้าในฐานะผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ได้ยกเลิกการยึดครองดินแดนที่รัฐบาลจอมพลพิบูลฯยึดครองนั้น  ครอบคลุมถึงดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย  ดังนั้นเราจึงได้ทำความตกลงร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ให้นำเรื่องนี้สู่อนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสิน ทั้งนี้เพราะทางฝ่ายเราเห็นว่า  ดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่นั้นเป็นของประเทศสยามมาก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้ว  นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่าง ๒ ประเ ทศก็กลับคืนสู่สภาพปกติ
-๑๑-        เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบรรลุนิติภาวะ  ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จนิวัติคืนสู่สยาม  พระองค์เสด็จถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘   หน้าที่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพเจ้าจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ในทันที  พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งต่งตั้งข้าพเจ้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส  อันเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์  ซึ่งจะไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดิน  เป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้พักผ่อน  ซึ่งข้าพเจ้ามีความปราถนาอยู่แล้วหลังจากที่ข้าพเจ้าได้ทำงานมาอย่างลำบาก และเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่มีสงครามและหลังสงครามอีก ๓ เดือน
ภาย หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง  ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร  ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว  มีรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางคนเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม  ความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพิ่มมาก ขึ้น  ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลต้องลาออก  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าจัดตั้งรัฐบาล  โดยข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  โดยได้เสียงสนับสนุนจากฝ่ายข้างมาก  ซึ่งเป็นฝ่ายก้าวหน้าในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. ๒๔๘๙  รัฐสภาจะประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎร  โดยสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง
ความ ขัดแย้งระหว่างฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายอนุรักษ์นิยม  ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไป  แต่กลับเพิ่มมากขึ้น  เมื่อศาลฎีกาได้ตัดสินปล่อยตัวจอมพลพิบูลฯ  โดยประกาศว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม  ( ซึ่งร่างขึ้นและประกาศใช้หลังสงคราม ) ไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังได้
เมื่อจอมพลพิบูลฯได้รับการปล่อยตัว ก็ได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
-๑๒-      ๒-๓  เดือนถัดมา  ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต  โดยต้องพระแสงปืนที่พระเศียรในห้องพระบรรทมในพระบรมมหาราชวัง  จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและโดยคำแนะนำของพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุน ชัยนาทนเรนทร  ทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ประกาศว่า  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ  โดยกระสุนจากพระแสงปืนของพระองค์เอง
ใน วันนั้นเอง  ข้าพเจ้าในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เสนอรัฐสภาให้อันเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชสมบัติสืบแทนพระเชษฐาที่เสด็จสวรรคต  เนื่องจากพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ  สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  โดยพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน  คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่
หลัง การเลือกตั้งช่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยไม่มีผู้สมัครแข่งขัน  ข้าพเจ้าสมัครใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  หลังจากนั้น  มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่  ซึ่งก็คงประกอบด้วยรัฐมนตรีฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายประชาธิปไตย  แต่พวกอนุรักษ์นิยมกล่าวหาว่ารัฐบาลใหม่อยู่ภายใต้อาณัติของข้าพเจ้า  ด้วยเหตุนี้พวกอนุรักษ์นิยมจึงเริ่มโจมตีข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว  โดยใส่ร้ายข้าพเจ้าต่างๆนาๆ  เช่น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ  แต่ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอดีตราชเลขานุการส่วนพระองค์  และมหาดเล็กของพระองค์เอง  โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
การเผยแพร่ข่าวให้ร้ายข้าพเจ้าเช่นนี้  เป็นแผนการทำให้ประชาชนสับสน  เพื่ออ้างเป็นเหตุให้คณะทหารก่อการรัฐประหารปฏิกิริยา
เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐  เกิดการรัฐประหารของฝ่ายทหาร  โดยการสนับสนุนของพวกอนุรักษ์นิยมขวาจัดและพวกคลั่งชาติ  โค่นล้มรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของพลเรือตรีถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์  ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นพรรคพวกของข้าพเจ้า  พวกเขาได้บุกเข้าไปในบ้าน  เพื่อจะทำลายชีวิตข้าพเจ้ารวมทั้งภรรยาและบุตรเล็กๆ  หาว่าข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในกรณีสวรรคตฯ  จอมพลพิบูลฯ  ซึ่งถูกปล่อยก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน  เพราะกฏหมายอาชญากรสงครามไม่มีผลย้อนหลังมาใช้บังคับ  ก็ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย  ทำให้มีอำนาจควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐ  คณะรัฐประหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่  ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามิได้มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมอีกต่อไป  แต่จะมาจากการแต่งตั้งโดยตรงจากประมุขแห่งรัฐ  โดยมีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  ก่อนรัฐประหารอายุต่ำสุดของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำหนด ไว้ ๒๓ ปี  แต่ตามรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารกำหนดไว้เป็น ๓๕ ปี  ซึ่งเท่ากับอายุต่ำสุดของผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา  อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ก็ใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น  เพราะต่อมาประเทศไทยถูกปกครองโดยรัฐธรรมนูญฟาสซิสต์กึ่งฟาสซิสต์  และฟาสซิสต์ใหม่ๆ  ฯลฯ อีกหลายฉบับ  ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองหลายประการ .  

โปรดเกล้าฯ เลื่อนระดับข้าราชการในพระองค์ให้สูงขึ้นและปรับโอนข้าราชการทหารและพลเรือน เป็นข้าราชการในพระองค์ (?)

ประกาศการเลื่อนระดับข้าราชการในพระองค์ให้สูงขึ้นและปรับโอนข้าราชการทหารและพลเรือน เป็นข้าราชการในพระองค์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2563


ตำนานเสรีไทย The Story of Seri Thai โดย แอนดรู แมคเกรเกอร์ มาแซล

I’m writing a book about the death of King Ananda of Thailand, killed by his brother Bhumibol, and how it impacted Thai history. A big part of the story is the Free Thai movement. Really appreciate this work by ⁦⁩ and ⁦
thaienquirer.com

Update ; มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์

มาตราในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ที่แก้ตามความต้องการของกษัตริย์

(รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://goo.gl/SI9Ijo)

ประเด็นที่ให้แก้มี ๓ ประเด็นใหญ่ อย่างที่มีการลือๆกันมาก่อนหน้านี้ และมีประเด็นย่อยเพิ่มเข้ามาอีกนิดหน่อย ดังนี้

#ประเด็นที่หนึ่ง
"มาตรา ๕" ที่มาจาก "มาตรา ๗" เดิม ที่พันธมิตรฯเคยอ้างขอ "นายกพระราชทาน"

รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ได้เขียนใหม่ สร้างกลไกในการแก้วิกฤติขึ้นมา (ที่ประชุมผู้นำศาล สภา รัฐบาล)

กษัตริย์ใหม่ ให้แก้กลับไปเป็นแบบ "มาตรา ๗" เดิม คงเพื่อสงวนสำหรับกรณีที่กษัตริย์ต้องการออกมาแสดงบทบาทอำนาจแทรกแซงในการแก้วิกฤติด้วยตัวเอง

#ประเด็นที่สอง
ว่าด้วย "ผู้สำเร็จราชการ" (มาตรา ๑๖, ๑๗ และ ๑๙)

แก้ให้กษัตริย์ใหม่สะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องตั้ง ซึ่งได้มีการแก้ไปแล้วในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ เช่น การไปเที่ยวเยอรมันครั้งหลังสุด (จนเมื่อเช้านี้ที่เพิ่งกลับ) ก็ไม่มีการตั้งผู้สำเร็จแล้ว ฉบับ ๒๕๖๐ มีการเพิ่มให้กษัตริย์สามารถทำลิสต์คนที่จะให้เป็นผู้สำเร็จไว้ล่วงหน้าได้ ถึงเวลาถ้าไม่ได้มีการตั้งไว้ และต้องตั้ง (คงเช่นเผื่อเซ็นชื่อตอนกษัตริย์ไม่อยู่) ก็ให้เอาคนจากในลิสต์มาเป็น

#ประเด็นที่สาม
เรื่อง "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ" (มาตรา ๑๘๒)

เดิมในรัฐธรรมนูญก่อนๆ มีเพียงบอกว่าต้องมี "ผู้รับสนองฯ" และละไว้เรื่องผู้รับสนองฯคือผู้รับผิดชอบในการกระทำในประกาศ, พระบรมราชโองการ ที่ "รับสนองฯ" นั้นๆ

ในร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๙ ที่ผ่าน "ประชามติ" ไปแล้ว ได้เพิ่มวรรคสอง ระบุชัดเจนว่า ผู้รับสนองฯ "เป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงในบรรดาที่ได้รับสนองพระบรมราชโองการ"

กษัตริย์ให้ตัดวรรคสองนี้ออกไป เรื่องนี้ ผมยอมรับว่าแปลกใจเหมือนกัน เพราะวรรคสองที่เพิ่มเข้ามาในร่าง ๒๕๕๙ ก็เพื่อให้ชัดเจนลงไปว่า ผู้รับสนองฯรับผิดชอบ กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบ การที่กษัตริย์ให้ตัดออกไป อาจจะเพียงเพราะเห็นว่า(หรือที่ปรึกษาแนะว่า) ปล่อยไว้ตามเดิม เป็นที่เข้าใจกันพอแล้ว หรือไม่ก็กลัวว่า การเพิ่มเข้าไปเช่นนั้น จะกลายเป็นช่องให้ตีความได้ว่า อำนาจจริงในการกระทำตามประกาศในทุกกรณี กลายเป็นของผู้รับสนองฯไปด้วยหมด กษัตริย์มีหน้าที่แค่เซ็นเฉยๆ (ทำนองเดียวกับที่เป็นไปตามหลักสากล เช่นในอังกฤษ ราชินีเซ็นอย่างเดียว จึงไม่เกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ)

#ประเด็นย่อยเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีการและตั้งสมุหราชองครักษ์
 

มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๕

มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มข้อยกเว้นเรื่องคุณสมบัติองคมนตรีว่า "ต้องไม่เป็นข้าราชการ...เว้นแต่การเป็นข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" คิดว่าคงแค่เป็นประเด็นทางเทคนิค เพราะเดิมยกเว้นว่าคนเป็น "ข้าราชการ" เป็นองคมนตรีไม่ได้ เพิ่มอันนี้เข้าไป เพื่อให้รัดกุม เพราะอันที่จริง คนเป็นองคมนตรีถือเป็นข้าราชการเหมือนกัน ก็ให้เป็นได้ เพราะถือเป็น "ข้าราชการในพระองค์ในตำแหน่งองคมนตรี" อยู่

มาตรา ๑๕ เดิมในร่าง ๒๕๕๙ เขียนว่า "การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย"

ฉบับที่แก้ใหม่นี้ ตัดคำว่า "สมุหราชองครักษ์" ออกไป

ผมยอมรับว่างงเรื่องนี้ เพราะเหมือนเป็นการไปลดอำนาจกษัตริย์ แต่มานึกๆดู ตำแหน่งสมุหราชองครักษ์ คือระดับผู้บังคับบัญชาและบริหารของกรมราชองครักษ์ สังกัดกระทรวงกลาโหม คือเป็นทหารทั่วไปที่ไม่จำเป็นว่าต้องเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกษัตริย์โดยตรง กษัตริย์ใหม่อาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากไปที่จะคอยมาดูการแต่งตั้งตำแหน่งพวกนี้ทั้งหมด เลยให้ตัดออกไป

          Ingen fotobeskrivning tillgänglig.

               Bilden kan innehålla: text

               Ingen fotobeskrivning tillgänglig.

               Ingen fotobeskrivning tillgänglig.


tisdag 29 september 2020

คลิป :- รักชาติกันอย่างไร ?


คลิกฟัง-(รีรัน) เสวนาวิชาการ ถ้าการเมืองดี นักเรียน-นักศึกษาจะ 'รักชาติ' กันอย่างไร?

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่ง สันติบาล-สมช. ส่งข้อมูลให้ ณฐพร โตประยูร นำไปประกอบสำนวนคดีล้มล้างการปกครองฯ..

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่ง สันติบาล-สมช. ส่งข้อมูลให้ ณฐพร โตประยูร นำไปประกอบสำนวนคดีล้มล้างการปกครองฯ

ธรรมศาสตร์จะไม่ทน : เปิดคำร้องคดี 10 สิงหา กับข้อกล่าวหา อานนท์-ไมค์ ภาณุพงศ์-รุ้ง ปนัสยา ล้มล้างการปกครองฯ

  • หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย

ทนายความของ 3 ผู้ปราศรัยหลักบนเวที "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เมื่อ 10 ส.ค. ซึ่งตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เตรียมยื่นหนังสือถึงศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอขยายเวลาในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาออกไปอีก 30 วัน ขณะที่นายกรัฐมนตรีสั่งหน่วยงานความมั่นคงให้นำพยานหลักฐานส่งมอบแก่ "นักร้องการเมือง" เพื่อนำไปประกอบสำนวนคดี

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ทำหนังสือ "ด่วนที่สุด" ตอบกลับนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงวันที่ 24 ก.ย. 2563 ภายหลังเจ้าตัวดอดส่งหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในช่วง 7 วันก่อนหน้านั้น แจ้งขอพยานหลักฐานของส่วนราชการ ได้แก่ กองบังคับการตำรวจสันติบาล (บช.ส.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคดีที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนญ

"นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บช.ส. และ สมช. ดำเนินการต่อไป" ข้อความจากหนังสือของ สลน. ระบุตอนหนึ่ง และยังบอกด้วยว่า ได้แจ้งให้ทั้ง 2 หน่วยงานรับทราบแล้ว

เอกสารตีตรา "ลับ" ฉบับนี้ลงนามโดย น.ส.ปราณี ศรีประเสริฐ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกฯ

นายณฐพรเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่งให้คณะบุคคลเลิกการกระทำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง หลังเกิดปรากฏการณ์ "ทะลุเพดาน" อันหมายถึงการประกาศ 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ในระหว่างการชุมนุมภายใต้ชื่อ "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. จัดโดยกลุ่มนักศึกษาที่เรียกตัวเองว่า "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม"

โปรยกระดาษ
คำบรรยายภาพ,

น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล โปรยกระดาษที่มีเนื้อหา 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันฯ บนเวที 10 ส.ค. หลังอ่านข้อความจนจบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยเมื่อ 16 ก.ย. พร้อมกำหนดให้ผู้ถูกร้อง 3 คน ประกอบด้วย นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ ระยอง แกนนำกลุ่ม "เยาวชนภาคตะวันออก" และ น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง แกนนำกลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง และมีคำสั่งให้อัยการสูงสุด (อสส.) แจ้งผลการดำเนินการและส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเช่นกัน

น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความสิทธิมนุษยชน เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ลูกความของเธอทั้ง 3 คนเพิ่งได้รับหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 19 และ 22 ก.ย. ซึ่งในการจัดทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต้องดำเนินการเป็นรายบุคคล จึงเตรียมยื่นหนังสือเพื่อขอขยายเวลาออกไปอีก 30 วัน

ทนายความหญิงรายนี้ยังแสดงความประหลาดใจที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องคดีนี้ไว้พิจารณา เพราะความมุ่งหมายของมาตรา 49 คือการขอศาลสั่งให้ยกเลิกการกระทำ แต่การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 ได้จบสิ้นไปแล้วพร้อมกับการชุมนุมเมื่อ 10 ส.ค.

เล็งใช้คำวินิจฉัยศาล รธน. เป็นฐานเอาผิดอาญา-วินัย-ปิดปากปม 10 ข้อปฏิรูปสถาบันฯ

ความคาดหวังของนายณฐพรคือ "การเปิดโปงเบื้องหลังขบวนการนักศึกษา" และใช้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นฐานในการดำเนินคดีอาญาและเอาผิดทางวินัยกับ "ผู้ร่วมขบวนการ 10 สิงหา" ทุกระดับ

นายภาณุพงศ์ จาดนอก เป็น 1 ใน 3 บุคคลที่ปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันฯ บนเวทีเมื่อ 10 ส.ค.
คำบรรยายภาพ,

นายภาณุพงศ์ จาดนอก เป็น 1 ใน 3 บุคคลที่ปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันฯ บนเวทีเมื่อ 10 ส.ค.

เขากล่าวกับบีบีซีไทยว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการชุมนุมเมื่อ 10 ส.ค. เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ศาลก็จะสั่งให้ยกเลิกการกระทำ นั่นเท่ากับว่ากลุ่ม "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "ผู้สนับสนุน" จะเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายทันที

  • พรรคการเมือง ต้องถูกตั้งคดียุบพรรคต่อไป เพราะกระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) พรรคการเมือง มาตรา 92
  • นักวิชาการ 105 คนที่ออกแถลงการณ์สนับสนุนการชุมนุมของนักศึกษา มีความผิดตามประมวลจริยธรรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งกำหนดให้ "ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มีโทษถึงขั้นไล่ออก
  • โรงพิมพ์ที่รับพิมพ์หนังสือ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย" และหนังสือ "ปรากฏการณ์สะท้านฟ้า" ที่นำออกแจกจ่ายในสถานที่ชุมนุมต่าง ๆ มีความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116

ก่อนหน้านี้ นายณฐพรได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษผู้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเมื่อ 10 ส.ค. ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เอาไว้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา พนักงานสอบสวนก็จะเดินหน้าเอาผิดทางอาญาได้ทันที ซึ่งเขาคาดการณ์ว่าความชัดเจนจะเกิดขึ้นภายในสิ้นปีนี้

"ธรรมศาสตร์จะไม่ทน

"นักร้องการเมือง" วัยเฉียด 70 ปียัง "ตีความอย่างกว้าง" ว่า คำสั่งให้ยกเลิกการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ ของศาลรัฐธรรมนูญ จะครอบคลุมถึงการชุมนุมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และทำให้การพูดถึง 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันฯ เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป

เปิดคำร้อง ณฐพร เอาผิด 7 เวที 8 นักปราศรัย

บีบีซีไทยตรวจสอบคำร้องของนายณฐพรจำนวน 38 หน้าที่ยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 พบว่า ได้อ้างถึงการชุมนุม 6 ครั้ง พร้อมระบุชื่อบุคคลที่ปราศรัยเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันฯ 8 คน ดังนี้

  • วันที่ 3 ส.ค. - เวที "เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย" อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กทม. อ้างถึงคำปราศรัยของนายอานนท์ นำภา
  • วันที่ 9 ส.ค. - เวที "เชียงใหม่จะไม่ทน" จ.เชียงใหม่ อ้างถึงคำปราศรัยของนายอานนท์ นำภา
  • วันที่ 10 ส.ค. - เวที "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" มธ. ศูนย์รังสิต จ.ปทุมธานี อ้างถึงคำปราศรัยของนายอานนท์ นำภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก, น.ส. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
  • วันที่ 20 ส.ค. - เวที "ขอนแก่นพอกันที่" จ.ขอนแก่น อ้างถึงคำปราศรัยของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์
  • วันที่ 21 ส.ค. - เวที "อยุธยาไม่สิ้นประชาธิปไตย" จ.พระนครศรีอยุธยา อ้างถึงคำปราศรัยของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์
  • วันที่ 30 ส.ค. - เวที "สมุทรปรากาธ์ดีดนิ้วไล่เผด็จการ" จ.สมุทรปราการ อ้างถึงคำปราศรัยของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์, น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, น.ส.สิริพัชระ จึงธีรพานิช, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ น.ส.อาทิตยา พรพรม
นายอานนท์ นำภา ขึ้นบนเวทีของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ อีกครั้งเมื่อ 19 ก.ย.
คำบรรยายภาพ,

นายอานนท์ นำภา ขึ้นปราศรัยบนเวทีของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ อีกครั้งเมื่อ 19 ก.ย.

ทว่ามีเพียงเหตุการณ์เดียวที่นายณฐพรเคยยื่นคำร้องผ่าน อสส. เมื่อ 18 ส.ค. เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทำให้ศาลรับคำร้องเฉพาะเหตุการณ์วันที่ 10 ส.ค. ไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณีเดียว

อย่างไรก็ตามนายณฐพรเปิดเผยว่า เขาได้เข้ายื่นคำร้องต่อ อสส. เพิ่มเติมในทุกกรณี รวมถึงการชุมนุมวันที่ 19-20 ก.ย. ด้วย เพราะมีพฤติกรรมที่เข้าองค์ประกอบล้มล้างการปกครองฯ อย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่ อสส. ต้องรวบรวมทั้ง 7 เหตุการณ์การชุมนุมเพื่อนำส่งศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่ง

"การตีความว่าล้มล้างหรือไม่ ต้องดูที่พฤติกรรม คนเหล่านี้เขาไม่ได้ต้องการปฏิรูปอย่างที่ปากว่า แต่ต้องการปฏิวัติคือพลิกเลย เช่น ประกาศให้งดยืนถวายความเคารพ หรือการปักหมุดคณะราษฎร 2563 มันปฏิรูปที่ไหน" นายณฐพรกล่าว

ยกคำวินิจฉัยศาล รธน. คดียุบไทยรักษาชาติ เทียบพฤติกรรม "เซาะกร่อน บ่อนทำลาย"

คำร้องของนายณฐพรระบุว่า การปราศรัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีเนื้อหาบิดเบือน จาบจ้วง ล้อเลียน และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนไทยผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่ได้รับทราบและเห็นภาพการกระทำที่บังอาจเหิมเกริมของคนกลุ่มผู้ชุมนุมนี้แล้ว มีความรู้สึกห่วงใยและกังวลใจอย่างยิ่งที่เยาวชนของชาติกลุ่มนี้มีทัศนคติและการแสดงออกที่จาบจ้วงบังอาจเช่นนี้ เป็นการกระทำที่มีเจตนาล้มล้างระบอบการปกครองฯ

นักกฎหมายฝ่ายอนุรักษนิยมรายนี้ยังยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 7 มี.ค. 2562 ในคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) จากกรณีนำเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกฯ ในบัญชีของพรรค ที่เคยตีความคำว่า "ล้มล้าง" และ "ปฏิปักษ์" มาเทียบเคียงด้วย

  • ล้มล้าง หมายถึงการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลาย หรือล้างผลาญให้สูญสิ้นสลายหมดไป ไม่ให้ธำรงอยู่ หรือมีอยู่ต่อไปอีก
  • ปฏิปักษ์ ไม่จำเป็นต้องรุนแรงถึงขนาดมีเจตนาจะล้มล้างทำลายให้สิ้นไป ทั้งยังไม่จำเป็นต้องถึงขนาดตั้งตนเป็นศัตรูหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น เพียงแค่เป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการขัดขวาง หรือสกัดกั้นมิให้เจริญก้าวหน้า หรือกระทำที่ก่อให้เกิดผลเป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลาย จนเกิดความชำรุดทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง ก็เข้าลักษณะการกระทำเป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว

เหตุผลอีกด้านของ "นักร้อง" ที่โต้กลับ 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ

คำร้องของนายณฐพรยังระบุด้วยว่า 10 ข้อเรียกร้องในการปฏิรูปสถาบันฯ ของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ คือข้อเสนอที่รับเอาความคิดที่เสนอโดยนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กับอดีตนักการเมืองพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และผู้ไม่ประสงค์ดีต่อสถาบันฯ มา อีกทั้งยังเป็นการเสนอโดยไม่ได้ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ของกฎหมายในหลายเรื่อง

นายณฐพร โตประยูร
คำบรรยายภาพ,

นายณฐพร โตประยูร อ้างมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ "พิทักษ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ในการยื่นคำร้องยุบพรรคอนาคตใหม่ และอ้างถึงข้อกฎหมายเดียวกันในการฟ้องดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ 10 สิงหา

เขายังร่ายเหตุผลส่วนตนตอบโต้เอาไว้ สรุปใจความสำคัญได้ ดังนี้

ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันฯ อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด

การบริจาคหรือการให้นั้น ถือเป็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงเจตนาโดยอิสระของแต่ละบุคคลที่ย่อมมีเสรีภาพที่จะเลือกให้หรือไม่ให้กับใครก็ได้ ทั้งนี้การบริจาคให้กับสถาบันฯ หรือการร่วมบริจาคทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลนั้น "ถือเป็นความเชื่อของประชาชนชาวไทยจำนวนมากที่มีมายาวนานหลายสิบปีที่เชื่อกันว่าการทำบุญกับในหลวงหรือร่วมบุญกับในหลวง ตนเองจะได้บุญมากขึ้น ไม่ต่างจากการทำบุญกับพระ เพราะคติที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญเพียรในชาตินี้"

ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันฯ แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด

เป็นข้อเสนอที่ตั้งบนสมมติฐานว่าประชาชนชาวไทยถูกล้างสมองในความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ จากสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่เป็นความเชื่อตามทฤษฎีของนักวิชาการที่เป็นฝ่ายตรงข้ามสถาบันฯ โดยขาดหลักคิดตามหลัก "กาลามสูตร" ขณะเดียวกันหลักของสื่อสารมวลชนย่อมนำเสนอข่าวที่ประชาชนสนใจและอยากรับรู้เป็นปกติธรรมชาติ "ข่าวพระราชสำนักคือข่าวที่คนไทยตั้งแต่รุ่นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อยากรับรู้รับทราบว่าท่านเป็นอย่างไร อยากได้เห็นภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชวงศ์ อยากได้ยินพระสุรเสียงเพราะพระองค์เปรียบเสมือนพ่อของแผ่นดินที่ชาวไทยผูกพันกับพระองค์มายาวนาน"

แนวร่วมของกลุ่ม "ไทยภักดี" ได้แสดงพลังปกป้องสถาบันฯ เพื่อตอบโต้ขบวนการนักศึกษา
คำบรรยายภาพ,

แนวร่วมของกลุ่ม "ไทยภักดี" ได้แสดงพลังปกป้องสถาบันฯ เพื่อตอบโต้ความเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา

สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความข้องเกี่ยวใด ๆ กับสถาบันฯ

เป็นการเชื่อข้อมูลข่าวลือข่าวลวงในโลกออนไลน์ และทำการกล่าวหาอย่างเลื่อนลอยโดยไร้ความรับผิดชอบในพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก

เป็นความไม่เข้าใจในบทบาทพระราชสถานะในความเป็นกลางทางการเมือง การที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็น "ผู้ปกเกล้า แต่ไม่ได้ปกครอง" และ "ไม่มีครั้งใดที่พระองค์ทรงรับรองการรัฐประหาร นับเป็นความเข้าใจผิดของคณะบุคคลที่ร้ายแรง เพราะเป็นการนำพระองค์ไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยในความเป็นจริงที่ภายหลังการทำรัฐประหารสาเร็จ คณะผู้ก่อการย่อมจะต้องเข้าเฝ้าฯ พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของราชอาณาจักรไทย การโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ให้คณะผู้ทำการรัฐประหาร ไม่ใช่การรับรองการรัฐประหาร แต่เป็นการทำให้บุคคลเหล่านั้นเข้าสวมบทบาทหน้าที่ในทางการเมืองที่ตนได้ยึดอำนาจเป็นรัฎฐาธิปัตย์แล้วเท่านั้น"