บทวิเคราะห์—สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
การฝังหมุดครั้งนี้เป็นการตอบโต้กษัตริย์ เหล่านักการเมือง และนายพลรุ่นเก่าที่เชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างสุดจิตสุดใจ กลุ่มผู้ประท้วงฝังหมุดตามฤกษ์ประกอบพิธีและกล่าวคำสาปแช่งว่าขอให้ผู้ที่รื้อถอนหมุดออกเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 7/31
นี่เป็นอีกหนึ่งการตอบโต้เชิงสัญลักษณ์ซึ่งสะท้อนความสร้างสรรค์ของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ล้อเลียนความเชื่อโบราณงมงายของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ผู้กำลังเสวยสุขอยู่กับฮาเร็มสนมไม่ต่ำกว่า 20 คนโดยปราศจากความละอายในโรงแรมหรูในยุโรป 8/31
วชิราลงกรณ์ปกป้องอำนาจของตนด้วยการข่มขู่สร้างความหวาดกลัวมาโดยตลอด แต่การประท้วงอย่างสันติและการล้อเลียนอย่างชาญฉลาดทำให้เหล่านักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่สามารถทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริ ย์แบบที่ยากเกินกว่าจะซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมได้ 15/31
ผู้ชุมนุมประกาศว่าการชุมนุมประท้วงครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่รัฐสภา ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ท้าทาย เนื่องจากวันที่ 24 กันยายนเป็นวันมหิดลซึ่งเป็นวันรำลึกถึงปู่ของกษัตริย์ และวชิราลงกรณ์จะกลับมาร่วมพิธีรำลึกในวันดังกล่าว 16/31
แม้กำลังเผชิญกับวิกฤติล้มละลาย การบินไทยก็ยังจัดเที่ยวบินพิเศษเพื่อให้กษัตริย์ได้เดินทางกลับมากรุงเทพ โดยมีแผนจะเดินทางมากับเที่ยวบิน TG971 ในวันพุธ เวลา 13.30 น. จากซูริค และจะถึงกรุงเทพในวันพฤหัสบดี เวลา 05.30 น. 17/31
หลังจากเสร็จพิธี เที่ยวบิน TG970 จะออกจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อส่งกษัตริย์ ราชินี และคณะกลับยุโรปในวันที่ 25 กันยายน เวลา 01.05 น. 18/31
คาดว่าในวันพฤหัสบดีบรรยากาศในกรุงเทพจะตึงเครียดเมื่อวชิราลงกรณ์เดินทางมาถึงและเดินทางโดยขบวนเสด็จไปยังพระที่นั่งอัมพรสถานและอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในวันเดียวกันกับการประท้วง 19/31
ในส่วนของกองทัพได้ขู่ผู้ชุมนุมอย่างเปิดเผยว่าหากผู้ชุมนุม "ล้ำเส้น" ให้ระวังความรุนแรงจากการโต้ตอบจากกลุ่มสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ แต่คำขู่เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ 20/31
เนื่องจากผู้ชุมนุมจัดการประท้วงอย่างสันติและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีการเก็บกวาดทำความสะอาดสถานที่หลังการจัดกิจกรรมในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 21/31
เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าหากมีความรุนแรงใดๆเกิดขึ้น ก็น่าจะเป็นฝีมือของราชวงศ์ ทหาร และรัฐบาลในการข่มขู่ผู้ประท้วงให้ถอนข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 22/31
ทุกฝ่ายต่างย้อนกลับไปนึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ที่นักศึกษาหลายพันคนรวมตัวเรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าฝ่ายนักศึกษาจะระมัดระวังไม่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างเปิดเผย 23/31
ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ทหาร ตำรวจ และกลุ่มกองกำลังฝ่ายสนับสนุนเจ้าหัวรุนแรงบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาถูกยิง ปาระเบิด และซ้อมจนเสียชีวิต มีการลากร่างของผู้เสียชีวิตไปประจานและละเมิดซ้ำในที่สาธารณะ 25/31
นักเคลื่อนไหวยุคปัจจุบันได้ยกระดับการประท้วงไปไกลเกินกว่าที่ผู้ประท้วงในปี 2519 จะจินตนาการถึง และได้รับการโต้ตอบจากฝั่งทหารด้วยการปลุกปั่นให้ฝ่ายขวารักเจ้าออกมาประท้วงกลับ 26/31
แต่เหตุการณ์แตกต่างไปจากยุค 2519 เพราะฝ่ายหลังไม่มีผู้สนับสนุนมากเท่าในอดีตจนทำให้การประท้วงมีคนออกมาจำนวนน้อยมากอย่างน่าเห็นใจ อย่างที่เห็นกันว่าจำนวนผู้ประท้วงที่ออกมามีน้อยกว่าจำนวนนักข่าวที่ไปทำข่าว 27/31
เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีความเคารพและเชื่อถือวชิราลงกรณ์ คนไทยส่วนใหญ่ไม่ยืนตรงในช่วงที่มีการเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์อีกต่อไป เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 28/31
หากกองทัพพยายามใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงที่ออกมาเรียกร้องการปฏิรูป อาจนำไปสู่การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ได้ 29/31
แม้ว่าเผด็จการจะพยายามรักษาอำนาจของตนไว้ แต่ก็เป็นเพียงการนับถอยหลังไปสู่จุดจบ ความย้อนแย้งที่ชัดเจนที่สุดคือความล้มเหลวของวชิราลงกรณ์ในการพยายามสถาปนาระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์อีกครั้งในวัยไม้ใกล้ฝั่ง 68 ปีและไร้ซึ่งทายาทที่มีแววในการรักษาอำนาจของราชวงศ์ 30/31
ราชวงศ์และกองทัพไทยกำลังจะพ่ายแพ้ในการต่อสู้ครั้งนี้ คำถามในตอนนี้คือต้องใช้เวลานานเท่าไรในการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และกองทัพ และประชาชนจะต้องถูกฆาตกรรมอีกกี่คนจากการตอบโต้ของเผด็จการที่พยายามยึดยื้ออำนาจในการต่อสู้ที่ตนเองไม่มีวันชนะ 31/31
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar