fredag 25 september 2020

นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า "ไทยภักดี" ระบุว่าแฮชแท็กดังกล่าวที่ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ถึง "การสมรู้ร่วมคิดของต่างชาติ" ที่ต้องการครอบงำ มีอำนาจเหนือประเทศไทย

รอยเตอร์-ไฟแนนเชียล์ไทมส์ รายงาน #RepublicofThailand ว่อนทวิตเตอร์ หลังรัฐสภาไม่รับร่างแก้ รธน.

ประท้วง
คำบรรยายภาพ,

กลุ่มผู้ประท้วงหน้ารัฐสภา เมื่อ 24 ก.ย.

แฮชแท็ก #RepublicofThailand ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ หลัง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรครัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เลื่อนการพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป 1 เดือน โดยมีมติตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ

รอยเตอร์รายงานว่า ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ติดแฮชแท็กเป็นภาษาอังกฤษว่า RepublicofThailand หรือแปลว่า "สาธารณรัฐไทย" กว่า 820,000 ครั้ง และติดอันดับหนึ่งเทรนด์ประเทศไทยบนทวิตเตอร์ ตั้งแต่กลางดึกวันที่ 24 ก.ย.

รอยเตอร์ ระบุอีกว่า ในช่วงการการเคลื่อนไหวทางการเมืองกว่า 2 เดือนของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล แม้จะมีแกนนำบางกลุ่มเรียกร้องการปฏิรูปลดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ทว่าไม่มีเป้าหมายหรือข้อเรียกร้องเพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนไปปกครองด้วย "ระบอบสาธารณรัฐ" แต่อย่างใด

บรรยากาศการชุมนุมหน้ารัฐสภาช่วงค่ำวันที่ 24 ก.ย. 2020
คำบรรยายภาพ,

บรรยากาศการชุมนุมหน้ารัฐสภาช่วงค่ำวันที่ 24 ก.ย. 2020

สำนักพระราชวังไม่ได้ให้ความเห็นและไม่ตอบกลับต่อคำถามของสำนักข่าวรอยเตอร์ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของผู้ชุมนุมบางกลุ่ม ส่วน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกรัฐบาลบอกว่ายังไม่เห็นแฮชแท็กนี้

ส่วน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน หลังการหารือกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า การเคลื่อนไหวของนักศึกษามีกลุ่มคนอยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุน และระบุนายกฯ ได้กับชับเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมเหมือนลูกหลาน แต่ถ้ากระทำผิดกฏหมายให้ดำเนินการไปตามกระบวนการ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ระบุในมาตรา 1 ว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้

มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

ผู้ชุมนุมชูสามนิ้ว ฉากหลังเป็นพระบรมมหาราชวัง

แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม vs ไทยภักดี

พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กล่าวว่า ความโกรธแค้นของฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลควรตอบรับข้อเรียกร้องอย่างน้อยบางข้อของกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึง ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ

"เมื่อผู้คนสิ้นหวังจากการปฏิรูป พวกเขาก็จะคิดถึงการปฏิวัติ" พริษฐ์ระบุกับรอยเตอร์

ด้าน นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม แกนนำกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า "ไทยภักดี" ระบุว่าแฮชแท็กดังกล่าวที่ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ถึง "การสมรู้ร่วมคิดของต่างชาติ" ที่ต้องการครอบงำ มีอำนาจเหนือประเทศไทย

"สถาบันกษัตริย์ไทยเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาติ หากสถาบันฯ ถูกทำให้อ่อนแอลง จะเป็นการสร้างความขัดแย้ง และง่ายสำหรับพวกเขาที่จะเข้ามาแทรกแซง" นพ.วรงค์กล่าว

"คนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ประเทศกลายเป็นสาธารณรัฐ"

บรรดาแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ชู 3 นิ้วร่ายรำอย่างรื่นเริงหลังประกาศชัยชนะในการชุมนุมระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. 2020
คำบรรยายภาพ,

บรรดาแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ชู 3 นิ้วร่ายรำอย่างรื่นเริงหลังประกาศชัยชนะ ในการชุมนุมระหว่างวันที่ 19-20 ก.ย. ที่ผ่านมา

ด้านหนังสือพิมพ์ ไฟแนนเชียล์ไทมส์ รายงานเมื่อวันศุกร์ว่า #RepublicofThailand กลายเป็นแฮชแท็กอันดับต้นของวันที่ 25 ก.ย. ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่สมาชิกสภานิติบัญญัติสร้างความขุ่นเคืองให้ผู้ประท้วงรุ่นเยาว์โดยไม่ยอมรับข้อเสนอให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญ

จอห์น รีด ผู้สื่อข่าวของไฟแนนเชียล์ไทมส์ ประจำกรุงเทพฯ รายงานว่า ความไม่พอใจทางทวิตเตอร์มีขึ้นหลังจากที่ผู้ประท้วงรุ่นเยาว์ออกมาวิจารณ์สถาบันกษัตริย์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งที่มีกฎหมายที่มีบทลงโทษรุนแรงต่อผู้วิจารณ์

ไฟแนนเชียล์ไทมส์ อ้างความเห็นของ ทามารา ลูส์ รองศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และเอชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยคอร์แนล ว่า ตอนนี้ความกลัวในหมู่ผู้วิจารณ์สถาบันได้ลดลงแล้ว

"เป็นเรื่องที่น่าเหลือเชื่อที่ได้เห็นพวกเขาทลายข้อห้ามดั้งเดิม และทุกคนกำลังเดินหน้าออกจากจากที่ซ่อน"

ที่ประชุมในรัฐสภา

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar