วิจารณ์ลักษณะที่สอง ในสังคมการเมือง
อำนาจเป็นของประชาชนเสมอ เพียงแต่ว่ายุคใดสมัยใด อำนาจนั้นจะถูก “แย่งชิง”
ไปหรือไม่ หรือประชาชนจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ใคร ดังนั้น
หากจะย้อนกลับไปหาความเป็นเจ้าของอำนาจ
ในท้ายที่สุดก็จะเจอประชาชนในฐานะเจ้าของอยู่ดี
การอ้างว่ากษัตริย์เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ปกครอง มาตั้งแต่นมนาน
ในสังคมการเมืองหนึ่งอาจไม่เคยขาดซึ่งสถาบันกษัตริย์เลย
นั่นอาจเป็นการอ้างตามประวัติศาสตร์ของพวกราชาชาตินิยม
ประวัติศาสตร์ของเจ้า ไม่จำเป็นต้องเป็นโค้ดของเรา
Saint-Just อธิบายว่า
กษัตริย์นั้นเป็นทรราชโดยธรรมชาติและโดยตัวของมันเอง
เราไม่ต้องพิจารณาเลยว่าการกระทำของกษัตริย์หรือการบริหารราชการแผ่นดินของ
กษัตริย์มีความผิดทางอาญาหรือไม่ ถ้ากษัตริย์เป็นทรราช
นั่นไม่ใช่เพราะความผิดจากการบริหารราชการแผ่นดินของเขา
แต่เขาเป็นทรราชก็ด้วยลักษณะของความเป็นกษัตริย์นั่นแหละ Saint-Just
เสนออย่างชาญฉลาดว่า การที่กษัตริย์ยึดครองอำนาจสูงสุดของประชาชนไปใช้เอง
นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของความเป็นกษัตริย์เป็นอาชญากรรมนิรันดร (crime
éternel) ต่อประชาชน
มนุษย์จึงย่อมมีสิทธิสัมบูรณ์ในการลุกขึ้นสู้และติดอาวุธ Saint-Just
อธิบายว่า ไม่มีใครสามารถครองราชย์ได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะ
กษัตริย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นกบฏและเป็นผู้แย่งชิง (usurpateur)
อำนาจของประชาชนไป
หรือในประกาศคณะราษฎร
“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศของเรานี้เป็นของราษฎร
ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก
พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน
เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง”
หากพิจารณาตามแนวทางนี้
ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือไม่ เพราะ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเสมอ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตลอดกาล
เพียงแต่ว่าบางช่วงบางตอน ถูก “ฉกฉวยแย่งชิงขโมย” ไป และสักวันหนึ่ง
ประชาชนก็เอากลับคืนมาจนได้
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar