สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
สยาม ราชอาณาจักรใต้ดิน
โดย ปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐมนูธรรม ) รัฐบุรุษอาวุโส อดีตผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ ๘ และ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย
จากหนังสือ ชีวิตผันผวนของข้าพเจ้า และ ๒๑ ปีที่ลี้ภัยในสาธารณรัฐราษฎรจีน.
(
เอกสารประวัติศาสตร์ ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสซื่อ MA VIE
MOUVEMENTÈE ET MES 21 ANS D´ EXIL EN CHINE POPULAIRE แปลโดย จำนงค์
ภควรวุฒิ พรทิพย์ โตใหญ่ )
-๑-
เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพีร์ลฮาเบอร์ในวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
และได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลสยามเพื่อนำทัพญี่ปุ่นผ่านดินแดนสยามในการที่จะไป
โจมตีพะม่าและมลายู ซึ่งอยู่ในปกครองของอังกฤษ ข้าพเจ้าทราบดีว่า
นี่เป็นการเข้ายึดครองสยามนั่นเอง
การกระทำเช่นนี้ของญี่ปุ่นขัดกับอุดมคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของ
ข้าพเจ้า ในระหว่างที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีการประชุมหารือ
เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นในการเดินทัพผ่านดินแดนสยาม
ข้าพเจ้าได้พยายามผลักดันให้รัฐบาลดำเนินนโยบายที่เราได้แถลงไว้หลายครั้ง
หลายหนในอดีต กล่าวคือ
เราจะต่อต้านการรุกรานของกองทัพทหารต่างชาติไม่ว่าชาติใด
เพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของชาติ นอกจากนี้
ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า จะเป็นการต่อสู้เพื่อเหตุผลอันชอบธรรม
เพราะนี่เป็นการต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ
ขณะที่ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ นายกรัฐมนตรี
จอมพลป. พิบูลสงครามก็ขัดจังหวะ และห้ามข้าพเจ้าพูดต่อ
มีรัฐมนตรีบางคนที่เห็นว่า
เพียงอนุญาตให้กองทหารญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศสยามนั้นยังไม่พอ
หากยังคิดอีกว่า ประเทศสยามน่าจะเข้าเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
เพื่อจะได้ดินแดนที่สูญเสียให้อังกฤษและฝรั่งเศสไปกลับคืนมา
แต่ผลที่สุดความเห็นของข้าพเจ้าก็จัดอยู่ในกลุ่มเสียงข้างน้อย
การที่ข้าพเจ้าคัดค้านการยินยอมของรัฐบาลจอมพลป.
พิบูลสงครามนั้นทำให้ญี่ปุ่นโกรธแค้นข้าพเจ้ามาก
และได้บีบบังคับให้นายกรัฐมนตรีย้ายข้าพเจ้าออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังไปรับตำแหน่งอื่นที่สูงขึ้น
แต่ต้องไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารราชการ
ข้าพเจ้าจึงได้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี
และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเอกฉันท์ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งในคณะผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์ที่ว่างอยู่ ๑ ตำแหน่ง
ต่อมาภายหลังข้าพเจ้าได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
แม้ว่าข้าพเจ้าจะรู้สึกว่าถูกบังคับก็ตาม ข้าพเจ้าก็ยอม
เพราะคิดว่าตำแหน่งใหม่นี้จะทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสจัดตั้งองค์การต่อต้าน
ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมารู้จักกันในนาม “ ขบวนการเสรีไทย “
นอก
จากกลุ่มคนไทยผู้รักชาติที่อยู่ในประเทศแล้ว นักเรียนไทยในต่างประเทศ
เช่น ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้รวมตัวกันจัดตั้ง “ ขบวนการเสรีไทย “
โดยได้เข้าร่วมกับขบวนการที่เราจัดตั้งขึ้นภายในประเทศ
กลายเป็นขบวนการเดียวกัน โดยมีข้าพเจ้าเป็นหัวหน้า
ในระหว่างที่ญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ นั้น
มีผู้สนับสนุนและเข้าร่วมเป็นแนวหน้าของขบวนการเสรีไทยจำนวนประมาณ ๘๐,๐๐๐ คน และอีก ๕๐๐,๐๐๐ คนพร้อมที่จะเข้าร่วมเมื่อคราวจำเป็น
-๒-
กองทหารญี่ปุ่นได้ชัยชนะในมลายูในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน
และรุกรานคืบหน้ารวดเร็วถึงประเทศพม่า
นับเป็นการคุกคามทั่วทั้งเอเชียอาคเนย์ รัฐบาลไทยสมัยจอมพลป.
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
โดยหวังว่าอาจจะได้ดินแดนบางส่วนที่สยามเคยสูญเสียไปและที่ญี่ปุ่นเข้าไปยึด
ครองนั้นกลับคืนมา นอกจากนี้
รัฐบาลไทยยังได้แสดงท่าทีเป็นศัตรูต่อประเทศจีนด้วย การประกาศสงครามนั้น
ถือว่าไม่ถูกต้องตามกฏหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
และข้าพเจ้า ซึ่งอยู่ในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็ไม่ได้ลงนาม
ถึงกระนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรบางประเทศถือว่า
ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงคราม
เจ้า
หน้าที่หลายคนที่ฝ่ายรัฐบาลสัมพันธมิตรส่งเข้ามาในประเทศสยามอย่างลับๆ
เพื่อมาเป็นที่ปรึกษาในการทำสงครามพลพรรค
และเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานฝ่ายสัมพันธมิตรนั้น เรียกขบวนการของเราว่า “ สยาม ราชอานาจักรใต้ดิน “
-๓-
ขบวนการของเราได้กำหนดภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ ๒ ด้านประกอบกันคือ
ด้านหนึ่งต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน และอีกด้านหนึ่ง
เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อให้สัมพันธมิตรเห็นว่า
การประกาศสงครามของจอมพลป. พิบูลสงคราม ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย
เพื่อให้สัมพันธมิตรรับรองขบวนการของเรา
และรัฐบาลพลัดถิ่นที่เราคิดจะตั้งขึ้น ตลอดจนยอมรับว่าเป็นพันธมิตรด้วย
ดังเช่นที่พวกเขาได้รับรอง COMITE FRANCAIS DE LIBERATION NATIONALE นำ
โดยนายพล เดอโกลล์ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้ส่งทูตพิเศษเพื่อไปเจรจาเรื่องนี้
อย่างลับๆ
เราได้มอบให้สถานเอกอัครราชทูตสยามที่ประจำอยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์ม
ซึ่งได้ร่วมขบวนการด้วยเป็นผู้ติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตโซเวียตที่ประจำ
อยู่ที่กรุงสต็อกโฮล์มเช่นกัน
การ
เจรจาครั้งนี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวัง
ความรอบคอบและเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เพราะประเทศอังกฤษถือว่าการประกาศสงครามของจอมพลป.
พิบูลสงครามนั้นมีผลสมบูรณ์ในขณะที่ประเทศสัมพันธมิตรอื่น (
สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต รัฐบาลผลัดถิ่นของฝรั่งเศส )
ต่างก็มีท่าทีเฉพาะของตน แต่ในแง่ของการทหารนั้น บทความหลายชิ้น
และหนังสือหลายเล่มที่ตีพิมพ์ในสหราชอานาจักร
และสหรัฐอเมริกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความช่วยเหลือ
และความร่วมมือของเรานานัปการ
อันเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร
ข้าพเจ้าขอนำคำเปิดเผยของลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบทเตน
ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทมส์ ฉบับวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ มากล่าวอ้างไว้ดังนี้
หนังสือพิมพ์ไทมส์ ๑๘/๑๒/๑๙๔๖
“ อาคันตุกะผู้หนึ่งจากสยาม การรณรงค์ของหลวงประดิษฐฯ
คำเปิดเผยของลอร์ด เมานท์แบทเตน “
“
ลอร์ด เมานท์แบทเตน แห่งพม่า ผู้ซึ่งไม่นานมานี้
เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ได้รับการต้อนรับเลี้ยงอาหารกลางวันโดยชิตี้ ลิเวอรี่ คลับ ณ ไซออน
คอลเลจ
เมื่อวานนี้ได้บรรยายไว้ในสุนทรพจน์ของท่านถึงบทบาทอันยิ่งใหญ่ของหลวง
ประดิษฐ์ฯ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม
ในการกำจัดกองทัพญี่ปุ่นซึ่งยึดครองประเทศนั้น
ท่านลอร์ดได้สาธยายเกี่ยวกับรายละเอียดซึ่งหนังสือพิมพ์ไทมส์ได้เคยลงพิมพ์
ในฉบับประจำวันที่ ๒๒ ธันวาคม คือประมาณ หนึ่งปีมาแล้ว
และได้ประกาศแถลงว่า หลวงประดิษฐฯ
บุคคลผู้มีบทบาทที่น่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่งสงครามในเอเชียอาคเนย์นั้นกำหนดจะ
มาถึงประเทศอังกฤษโดยเรือเดินสมุทร ควีน เอลิซาเบท พรุ่งนี้เช้า
ลอร์ด
เมานท์แบทเตน กล่าวว่า ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสแห่งสยาม
ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในนามหลวงประดิษฐ์ฯ “
และพวกเราหลายคนแห่งกองบัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
รู้จักเขาตามชื่อระหัสว่า “ รู้ธ “ เขามาเยี่ยมประเทศนี้ ( อังกฤษ )
และข้าพเจ้าหวังว่าเราจะใช้โอกาศนี้ให้การรับรองเขาอย่างอบอุ่น
เพราะเหตุที่หลวงประดิษฐ์ฯเป็นบุรุษผู้มีบทบาทอันน่าตื่นเต้นคนหนึ่งแห่ง
สงครามในเอเชียอาคเนย์
เป็นที่ทราบกันว่าในระหว่างสงครามนั้นไม่มีการกล่าวถึงชื่อของเขาอย่างเปิด
เผยและเรื่องราวทั้งปวงเกี่ยวกับเขาก็ถูกถือว่าเป็น “ ความลับสุดยอด”
แม้
กระทั่งทุกวันนี้
คนอังกฤษส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยทราบกันเท่าไรนักถึงพฤติกรรมอันอาจหาญที่เขากระทำ
สำเร็จมาแล้ว ขณะญี่ปุ่นรุกรานสยามหลวงประดิษฐฯ
เป็นรัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาล
แต่เขาปฏิเสธที่จะลงนามในการประกาศสงครามต่อเรา หลวงพิบูลฯ “ ควิสลิง “ ( QUISLING คือ
นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายนาซี-
หมายเหตุผู้เรียบเรียง ) รู้ว่าเขา ( หลวงประดิษฐ์ฯ )
เป็นคนหนึ่งที่ทรงอำนาจและได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศ
และก็หวังที่จะทำให้เขาเป็นหุ่นเชิดโดยให้เขาขึ้นไปเป็นคนหนึ่งในคณะผู้
สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งหลวงประดิษฐ์ฯ ยอมรับตำแหน่งนี้
หลวงพิบูลฯหรือญี่ปุ่นมิได้ตระหนักแม้แต่น้อยว่า ขณะที่หลวงประดิษฐ์ฯ
ยอมรับตำแหน่งหน้าที่นั้น
เขาก็ได้เริ่มต้นดำเนินการจัดตั้งและอำนวยการขบวนการต่อต้านของชาวสยามขึ้น"
" คณะผู้แทนหายสาบสูญไป “
"เรา
ได้รับรู้จากแหล่งต่างๆว่า หลวงพิบูลฯ
มิได้ประสบผลทุกๆอย่างตามวิถีทางของเขาในประเทศสยามแต่การจะติดต่อ (
กับขบวนการต่อต้านภายในสยาม )นั้น
ก็ลำบากมากและทั้งนี้ก็เป็นการยากที่จะล่วงรู้ได้ด้วยว่า
อะไรเกิดขึ้นกันแน่คณะผู้แทนของหลวงประดิษฐฯ ๒
คณะได้หายสาปสูญไประหว่างการเดินทางไปยังประเทศจีน
ซึ่งเต็มไปด้วยภยันตราย แต่ในที่สุด
ก็ได้มีการพบปะกันระหว่างสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทย
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าได้รับการแต่ง
ตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตร นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
เราก็ได้ติดต่อกันเป็นประจำ การติดต่อทั้งนี้นับได้ว่า
เป็นความสัมพันธ์พิเศษยิ่งอย่างหนึ่ง
เพราะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของสัมพันธมิตรได้แลกเปลี่ยนแผนการทหารที่สำคัญๆ
กับประมุขแห่งรัฐ ซึ่งโดยทางเทคนิคแล้วถือว่าอยู่ในสถานะสงครามกับเรา “
เราจะเห็นได้ว่าหลวงประดิษฐ์ฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
และเขากล้าหาญที่สามารถจัดการให้มีการล้มรัฐบาลของหลวงพิบูลฯได้สำเร็จในปี
พ.ศ. ๒๔๘๗ โดยจัดให้มีรัฐบาลใหม่ขึ้น ซึ่งเป็นรัฐบาลที่เขาแต่งตั้งเอง
และทำให้เขาสามารถดำเนินแผนการต่อต้านญี่ปุ่นได้ดีขึ้น
กอง
กำลังเสรีไทยที่ได้รับการฝึกฝนในประเทศเราและได้ปฏิบัติการร่วมกันกับกอง
กำลังบริติชที่ ๕ และกองกำลัง ที่ ๑๓๖ รวมทั้งกองกำลังอเมริกัน O.S.S.
นั้นบางส่วนได้กระโดดร่มเข้าไปร่วมงานของหลวงประดิษฐ์ฯ
บางคนถูกจับกุมคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลหลวงพิบูลฯ
แต่ก็ถูกคุมขังพอเป็นพิธีเท่านั้น
เพราะพวกเขาก็พบปะกับหลวงประดิษฐ์ฯได้อย่างลับๆ
และได้ตั้งสถานีวิทยุติดต่อกับกองบัญชาการของข้าพเจ้า
ใน
เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘
หลวงประดิษฐ์ฯได้ส่งบุคคลชั้นหัวหน้าสำคัญๆแห่งขบวนการต่อต้านนำโดยนายดิ
เรก ชัยนาม
รัฐมนตรีต่างประเทศสยามมาปรึกษาหารือกับข้าพเจ้าที่เมืองแคนดี
เราจัดให้คณะดังกล่าวออกมาและส่งกลับโดยเครื่องบินทะเล หรือโดยเรือบิน (
ชนิดที่ต่อเป็นลำเรือไม่ใช่ทุ่น ) ในระหว่างสนทนา
เราก็ได้วางแผนการที่เป็นรูปธรรมสำหรับการปฏิบัติการภายหน้า
เพื่อให้ประสานกับหลักสำคัญแห่งยุทธภูมิของข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าเองได้มีการตระเตรียมพร้อมเสมอเมื่อถึงความจำเป็นที่จะให้หลวง
ประดิษฐ์ฯบินออกมาในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ตราบจนถึงตอนปลายสงคราม
เขาได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อก่อวินาศกรรม และจัดตั้งกำลังพลพรรคประมาณ ๖
หมื่นคน กับทั้งการสนับสนุนอีกมากมายที่เตรียมพร้อมอย่างเงียบๆ
เพื่อที่จะร่วมปฏิบัติการ
ซึ่งล้วนแต่อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญๆในสยาม “
“ หลวงประดิษฐ์ฯ ( เขา ) ไม่เคยทำให้เราผิดหวัง “
“
ข้าพเจ้าเข้าใจดีทีเดียวถึงความยากลำบากที่เขาต้องควบคุมพลังนี้
แต่ข้าพเจ้าเองก็ต้องระลึกอยู่เสมอเช่นเดียวกันถึงภยันตรายอันใหญ่หลวงแห่ง
การเคลื่อนไหวโดยที่ยังไม่ถึงเวลา
ซึ่งจะเป็นผลให้ญี่ปุ่นทำการตอบโต้ทำลาย
และจะทำให้แผนยุทธศาสตร์แห่งยุทธภูมิทั้งปวงของข้าพเจ้าเกิดผลกระทบปั่นป่วน
วุ่นวาย ความเครียดที่บังคับให้หลวงประดิษฐ์ฯต้องแบกรับไว้
และภยันตรายที่เขาต้องเผชิญตลอดเวลา ๓ ปี
นับว่าเป็นสิ่งที่น่าพรั่นพรึงอย่างยิ่ง
แต่ก็อาศัยความที่มีวินัยของเขาเองประกอบกับที่เขาได้ชักจูงให้บรรดาผู้
เชื่อถือเลื่อมใสในตัวเขาปฏิบัติตามนั่นเอง
ที่ทำให้ได้ประสบชัยชนะในที่สุด เขาไม่เคยทำให้เราผิดหวังเลย
ข้าพเจ้า
รู้ว่ามีบุคคลมากหลายที่เคยตกเป็นเชลยศึกในสยาม
ได้มีความสำนึกอันถูกต้องในแง่ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อความปราถนาดีของหลวง
ประดิษฐ์ฯ ซึ่งมีต่อเรา
ดัง
นั้นจึงขอให้เราให้เกียรติแก่บุคคลผู้นี้
ที่ได้มีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่ออุดมการณ์ของพันธมิตรและต่อประเทศของเขา
เอง ข้าพเจ้าทราบด้วยว่า
เขาเป็นบุคคลที่ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างอังกฤษกับสยามอย่างแข็งขัน
การต่อต้านการกดขี่ของญี่ปุ่นในเอเชียอาคเนย์ดำเนินไปอย่างเกือบไม่ขาดสาย
ทั้งนี้ก็เพราะ หลวงประดิษฐ์ฯ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนี้ (
เสียงตบมือแสดงความชื่นชมยินดีก้องขึ้นเป็นเวลายาวนาน ) "
-๔-
รัฐบาลสหรัฐอเมริกา
โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ไม่มีนโยบายที่จะทำให้ประเทศของเราเป็น “ อาณานิคม “
จะเห็นได้จากบันทึกที่จัดทำโดยกรมกิจการแปชิฟิคตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเตรียมเผื่อท่านประธานาธิบดีจะใช้ในการสนทนากับ มร. เชอร์ชิล
และจอมพลสตาลิน ที่นครยัลต้าในปี พ.ศ. ๒๔๘๘
บันทึกนี้กล่าวถึงสถานภาพภายหน้าของสยามที่ข้าพเจ้าขอยกข้อความตอนหนึ่งมา
ดังนี้
“
เหตุการณ์ที่ชาวยุโรปบีบบังคับประเทศไทย
และการที่ชาวยุโรปได้ยึดเอาดินแดนแห่งเอเชียอาคเนย์ไปนั้นยังอยู่ในความทรง
จำของชาวเอเชีย รัฐบาลนี้ ( ส.ร.อ. )
ไม่อาจจะร่วมในการปฏิบัติต่อประเทศไทย ไม่ว่าในรูปแบบใด
เยี่ยงจักรวรรดินิยมสมัยก่อนสงครามได้ “
บันทึกนี้ยังกล่าวย้ำอีกว่า
“
เรามิได้ถือว่า ประเทศไทยเป็นศัตรู
แต่เป็นประเทศที่ถูกยึดครองโดยศัตรู
เรารับรองเอกอัครราชทูตประเทศไทยในกรุงวอชิงตันเป็น “
อัครราชทูตแห่งประเทศไทย “ ฐานะเหมือนกันกับอัครราชทูตเดนมาร์ก
เราสนับสนุนให้มีประเทศไทยที่เป็นเอกราชและมีเสรีภาพ
พร้อมด้วยอธิปไตยที่ไม่ถูกบั่นทอน และปกครองโดยรัฐบาลที่ชาวไทยเลือกเอง
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียอาคเนย์
ซึ่งเป็นประเทศเอกราชอยู่ก่อนสงคราม
แม้ว่าเราจะมีส่วนสำคัญในการทำให้ญี่ปุ่นพ่ายแพ้
แต่ถ้าหากผลแห่งสงครามทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนที่ตนมีอยู่ก่อน
สงครามหรือเอกราชถูกบั่นทอนเราเชื่อว่า ผลประโยชน์ของ ส.ร.อ.
ทั่วตะวันออกไกลจะถูกกระทบกระเทือน
ภาย
ในประเทศไทยซึ่งเดิมยอมจำนนต่อญี่ปุ่นและต่อมาร่วมมือกับญี่ปุ่น
อันเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางทั่วไปนั้น
ได้ถูกเปลี่ยนเป็นรัฐบาลใหม่ซึ่งส่วนใหญ่คุมโดยหลวงประดิษฐ์ฯ
ผู้สำเร็จราชการฯปัจจุบันที่ได้รับการนับถือที่สุดของบรรดาผู้นำไทย
และเป็นผู้ต่อต้านญี่ปุ่นมาตั้งแต่ต้น”
นอกจากนี้ นายคอร์ เดล ฮัลล์ ( Cordel Hull )
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีจดหมายลงวันที่ ๒๖
สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
แจ้งไปยังรองผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล
อเมริกันที่มีต่อประเทศไทย ดังความต่อไปนี้
“ สหรัฐอเมริกาถือว่า ไทยเป็นรัฐเอกราชที่บัดนี้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองด้วยทหารญี่ปุ่น ....
“
รัฐบาลอเมริกันหวังว่า
จะสถาปนาเอกราชของประเทศไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
จากข่าวสารต่างๆที่ได้รับแสดงให้เห็นว่า
ในรัฐบาลไทยปัจจุบันก็ยังมีข้าราชการส่วนหนึ่งที่คัดค้านไม่เห็นด้วยกับการ
ที่รัฐบาลไทยยอมจำนนต่อการกดดันของฝ่ายญี่ปุ่น เป็นที่ทราบกันดีว่า
มีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( หรือที่รู้จักกันในนาม นายปรีดี พนมยงค์ )
คนหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมอยู่ด้วย
นอกจากนี้หลวงประดิษฐ์ฯ ยังมีส่วนสำคัญในขบวนการใต้ดิน
ซึ่งมีจุดเพื่อฟื้นสถานภาพของรัฐบาลไทยที่เคยเป็นอยู่ก่อนหน้าการรุกรานของ
ญี่ปุ่น
ด้วย
เหตุผลดังกล่าว รัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาจึงถือว่าหลวงประดิษฐ์ฯ
เป็นตัวแทนแห่งการสืบต่อมาของรัฐบาลแห่งประเทศไทยตามที่เป็นอยู่ก่อนหน้าที่
นายกรัฐมนตรีไทยสมัยนั้น ( จอมพลป. พิบูลสงคราม )
จะไปเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่นในตอนที่ญี่ปุ่นบุก และยอมรับว่า ( หลวงประดิษฐ์ฯ
) เป็นผู้นำคนสำคัญในขบวนการเพื่อเอกราชของชาติไทย
ด้วย
เหตุนี้ โดยไม่เป็นการผูกมัด รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในอนาคต เราจึงถือว่า
หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นตัวแทนและผู้นำสำคัญคนหนึ่งของชาติไทย
ตราบใดที่ชาวไทยยังไม่ได้แสดงออกในทางตรงกันข้าม
คอร์เดล ฮัลล์ "
-๕-
ส่วนท่าทีของสหราชอาณาจักรนั้น แม้ว่าผู้นำทางทหาร ดังเช่นลอร์ด
เมานท์แบทเตน จะแสดงความชื่นชมต่อคุณูปการของเราที่มีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
( ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ ๓ ) ในเบื้องแรก
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
ซึ่งประกอบด้วยนักการเมืองที่มีแนวโน้มนิยมชมชอบลัทธิจักรวรรดินิยมไม่
ยินยอมเจรจากับเราในทางการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับเอกราชของชาติไทยภายหลัง
ที่ฝ่ายสัมพัธมิตรได้ชัยชนะ ดังนั้นลอร์ดเมานท์แบทเตน
จึงได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลของตนให้เจรจากับผู้แทนฝ่ายเรา
เพียงเฉพาะเรื่องกิจการทางทหารอย่างเดียวเท่านั้น
นักการเมืองชาวอังกฤษในยุคนั้นทราบดีทีเดียวว่า
การประกาศสงครามระหว่างสยามกับสหราชอาณาจักรนั้น ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย
อย่างไรก็ตามอังกฤษถือว่า
ประเทศเราจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่อังกฤษ
เมื่อ รัฐบาลอังกฤษมีท่าทีปฏิเสธการเจรจาทางการเมืองเช่นนี้ เราจึงได้หันมาใช้ความพยายามเจรจาในเรื่องนี้กับรัฐบาลอเมริกัน ที่นำโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนสยาม และพยายามเจรจากับรัฐบาลผสมของจีน (ระหว่างจีนคณะชาติกับจีนคอมมิวนิสต์ ) โดยทางเราได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาเรื่องเอกราชของชาติ เรา ได้ขอให้สถานอัครราชทูตของเราที่กรุงสต็อกโฮล์มติดต่อกับสถานอัครราชทูตของ โซเวียตที่นั่นเช่นกัน ให้ช่วยส่งบันทึกรายงานฉบับหนึ่งไปยังรัฐบาลโซเวียต เพื่อสนับสนุนความต้องการอันชอบธรรมของเรารัฐบาลของประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ ให้ความช่วยเหลือแก่เราหลายครั้งหลายคราว เพื่อที่จะทำให้อังกฤษเปลี่ยนใจ หรืออย่างน้อยที่สุดให้อังกฤษมีท่าทีเดียวกับ ส.ร.อ. ในการยอมรับว่าประเทศสยามมิได้เป็นศัตรู แต่เป็นประเทศอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น อย่าง ไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เราได้พิจารณาเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ขบวนการเสรีไทยจะต่อสู้การรุกรานของญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย แทนที่จะกระทำการอย่างลับๆ แต่ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการ เราได้ปรารถนาที่จะให้รัฐบาลอเมริกันและอังกฤษยืนหยัดต่อเราก่อนว่า จะเคารพความเป็นเอกราชของประเทศสยามแม้ว่า จอมพลป. พิบูลสงครามจะได้ประกาศสงครามกับประเทศทั้งสองโดยไม่ถูกต้อง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ส่งโทรเลขลับด่วนมาก ๒ ฉบับ ซึ่งมีข้อความตรงกัน ฉบับหนึ่งถึงกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ. และอีกฉบับถึงลอร์ดเมานท์แบทเตน
ข้าพเจ้าขอยกข้อความในโทรเลขของข้าพเจ้า ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศของ ส.ร.อ. ได้พิมพ์ภายหลังญี่ปุ่นยอมจำนนไปแล้ว ๒๕ ปี ดังนี้
๑) บันทึกจัดทำโดยกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ. เลขที่ ๓๔๐๐๐๑๑ p.w./ ๕๒๙๔๕ วอชิงตัน ๒๘ พฤษภา ๒๔๘๘
สาส์ นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศจากรู้ธ ( ปรีดี พนมยงค์ ) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศส.ร.อ. ได้รับเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ มีข้อความดังต่อไปนี้
“ การต่อต้านเสรีไทยในการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนั้น ได้ทำตามคำแนะนำของผู้แทนอเมริกันเสนอมาในการที่มิให้ปฏิบัติการใดๆต่อสู้ ญี่ปุ่นก่อนถึงเวลาอันควร แต่ขณะนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า กำลังใจรบของญี่ปุ่นจะลดน้อยลงไป ถ้าขบวนการเสรีไทยไม่คงอยู่ภายในฉากกำบังอีกต่อไป ญี่ปุ่นจะถูกบีบให้ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรเร็วขึ้น เพราะการสลายตัวของสิ่งที่เรียกว่า วงไพบูลย์ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เราได้ถือตามคำแนะนำว่าขบวนการเสรีไทยจะต้องพยายามขัดขวางความร่วมมือที่ ญี่ปุ่นจะได้จากประเทศไทย เราได้ยึดถือนโยบายนี้อย่างเคร่งครัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ท่านย่อมเห็นได้ว่า ญี่ปุ่นนับวันยิ่งจะมีความสงสัยขบวนการเสรีไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทย (รัฐบาลควง ฯ ) ไม่ยอมทำตามคำขอของญี่ปุ่นที่ขอเครดิตเพิ่มเติมอีก ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากรัฐบาลปัจจุบันว่า จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ ถ้าหากญี่ปุ่นบีบบังคับให้ปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว
ถ้า ญี่ปุ่นยืนยันเช่นนั้น รัฐบาลใหม่ก็จะตั้งขึ้นและปฏิการต่อสู้ญี่ปุ่น โดยประการแรกประกาศโมฆะกรรม ซึ่งหนี้สินและข้อตกลงซึ่งรัฐบาลพิบูล ฯกับญี่ปุ่นได้ทำกันไว้ตลอดทั้งสนธิสัญญาที่ผนวก ๔ รัฐมาลัย (มาเล ผู้เรียบเรียง )และรัฐฉานไว้กับประเทศไทย รวมทั้งการประกาศสงครามต่ออังกฤษและ ส.ร.อ. ด้วยพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ชาตินี้กับประเทศไทยจะสถาปนาขึ้นดังที่เป็นอยู่ก่อนญี่ปุ่นบุกเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ก่อนที่จะดำเนินแผนการนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาแจ้งให้ท่านทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ แม้ว่าข้าพเจ้าตระหนักว่า ส.ร.อ. มีเจตนาดีต่อเอกราชของประเทศไทย และมีไมตรีจิตต่อราษฎรไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่าในวันที่เราลงมือปฏิบัติการนั้น ส.ร.อ.จะประกาศเคารพความเป็นเอกราชของประเทศไทย และถือว่าประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติและไม่ถือว่าประเทศไทยเป็น ประเทศศัตรู ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมกำลังใจอย่างใหญ่หลวงต่อมวลราษฎรไทย ซึ่งเตรียมพร้อมแล้วในการเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง “ ข้าพเจ้าได้ส่งสาระในโทรเลขฉบับนี้ไปยังผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรเอเชียอาคเนย์ด้วยเช่นกัน
๒ ) วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ข้าพเจ้าได้รับคำตอบจากผู้รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส.ร.อ. มีความดังต่อไปนี้ “ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อสาส์นของท่านถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เราเข้าใจความปราถนาของท่านที่จะให้ประเทศไทยต่อสู้ศัตรูทางปฏิบัติการโดย เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อแน่ว่าอย่างไรก็ตามท่านย่อมตระหนักว่า การต่อสู้ศัตรูร่วมกันของเรานั้น ต้องสมานกับยุทธศาสตร์ทั้งปวงในการต่อสู้กับญี่ปุ่น และไม่เป็นผลดีถ้าไทยทำก่อนเวลาอันสมควร และก่อนที่จะมีหลักประกันพอสมควรว่าจะได้ชัยชนะ หรือถ้าลงมือปฏิการอย่างเปิดเผยโดยมิได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ เรา หวังว่า ท่านจะใช้ความพยายามต่อไปที่จะป้องกันการกระทำก่อนถึงเวลาอันสมควร โดยขบวนการเสรีไทย หรือการปฏิบัติอันเร่งให้ญี่ปุ่นยึดอำนาจจากรัฐบาลไทย (รัฐบาลควง ฯ ) เรา เชื่อมั่นว่า ท่านจะแจ้งให้เราและอังกฤษทราบถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทั้งๆที่ท่านพยายามยับยั้งไว้แล้วก็ตาม ส.ร.อ. เข้าใจแจ่มแจ้ง และเห็นคุณค่าในความปรารถนาจริงใจของท่านและมวลราษฎรไทยในการปฏิเสธการ ประกาศสงครามและข้อตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับรัฐบาลพิบูลฯนั้น แต่ยังไม่เข้าใจแจ้งชัดว่าเหตุใดรัฐบาลปัจจุบัน ( รัฐบาลควง ฯ ) จะลาออกขณะนี้ หรือจะมีการบีบบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดต่อไปต้องเลือกเอา การปฏิเสธการประกาศสงครามและข้อตกลงกับญี่ปุ่นเป็นการกระทำในเบื้องแรก ย่อม จะเห็นได้ว่า ขบวนการเสรีไทยจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้ดีกว่าเมื่อออกมาปฏิบัติการเปิด เผยแล้ว คือโดยจู่โจมการลำเลียงการคมนาคมกองกำลังยุทโธปกรณ์ของศัตรู อย่างฉับพลันและอย่างมีการประสานงาน รวมทั้งยึดตัวนายทหาร พนักงาน เอกสาร จุดสำคัญของศัตรู แล้วการปฏิบัติทางการเมืองเพื่อปฏิเสธการประกาศสงครามและการเข้ามีฐานะเสมอ กันกับสัมพันธมิตรก็จะตามมาภายหลัง เรา ให้ความสำคัญต่อการมีรัฐบาลไทยที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงบนผืน แผ่นดินไทย เพื่อที่จะทำการร่วมมือกับสัมพันธมิตร เราหวังว่า การเตรียมทุกอย่างที่จะเป็นไปได้ จะต้องทำขึ้นในอันที่จะป้องกันการจับกุมหรือการแยกย้ายบุคคลสำคัญที่เป็น ฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อว่ารัฐบาลดังกล่าวนั้นจะเข้ารับงานได้ทันทีในบริเวณที่ปลอดญี่ปุ่น และสามารถสั่งการทางทหารให้กองทัพไทยปฏิบัติการร่วมมือกับสัมพันธมิตร และสามารถรื้อฟื้นกลไกของรัฐบาลพลเรือนในบริเวณที่กู้อิสรภาพแล้ว ส.ร.อ. ไม่อาจประกาศโดยลำพังได้ว่าชาติอื่นชาติใดเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่จะมีความยินดีประกาศซ้ำอีกโดยเปิดเผยในโอกาศเหมาะสมถึงการเคารพความเป็น เอกราชของชาติไทย และประกาศว่า ส.ร.อ. ไม่เคยถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู เรารอคอยวันที่ประเทศของเราทั้งสองสามารถที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงจุดหมายร่วมกันในการต่อสู้ศัตรูร่วมกัน" (ลงนาม ) กรูว์ ( Grew ) รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ๓) แม้ว่าลอร์ดเมาน์ทแบทเตน ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด จะรู้สึกเห็นใจในขบวนการของเรา แต่ก็ตอบรับได้เฉพาะในแง่ของแผนการทางทหารเท่านั้นโดยขอให้ข้าพเจ้าป้องกันมิให้มีการกระทำการใดๆก่อนถึงเวลาอันสมควร เมื่อ เราส่งนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นไปที่ประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับลอร์ดเมาน์ทแบทเตน บรรดาที่ปรึกษาทางการเมืองที่รัฐบาลอังกฤษส่งมาเจรจา ต่างก็ปฏิเสธที่จะยอมรับความเป็นเอกราชของสยาม -๖- สำหรับรัฐบาลจีนโดยการนำของจอมพลเจียงไคเช็ค ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายคอมมิวนิสต์เองรับรองว่า เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ขบวนการเสรีไทยได้ส่งผู้แทนไปเจรจา ๓ ครั้ง เรื่องความเป็นเอกราชของสยาม และขอให้คณะผู้แทนของขบวนการ ฯผ่านประเทศจีน เพื่อไปติดต่อกับประเทศสัมพันธมิตรอื่นๆได้ง่ายขึ้น รัฐบาล จีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จีน ซื่อ เหลียง ( เกิดในเมืองไทย ) เป็นผู้ดำเนินการเจรจากับคณะผู้แทนของขบวนการฯ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ทำงานในหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลจีนและเป็นที่ไว้วางใจ มาก อันที่จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นี้สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์และได้เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของข้ารัฐการชั้นสูงของจีนที่มีต่อประเทศสยาม ( ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมกับฝ่าย คอมมิวนิสต์ และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าในการเตรียมการเดินทางไปยังสาธารณรัฐ ราษฎรจีน ) รัฐบาล จีนไม่พอใจประเทศไทยมาก พราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ไม่เพียงแต่จะส่งกองทหารไปยึดพื้นที่บริเวณตลอดชายแดนจีน-พม่า ที่ขึ้นกับอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรับรองรัฐบาลหุ่นของมานจูกั๊วะ ที่ตั้งขึ้นภายใต้การบงการของญี่ปุ่นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ( อดีตจักรพรรดิปูยี PU YI ) ซึ่งได้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จีนโดยการอภิวัฒน์ชนชั้นเจ้าสมบัติในปีพ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิในรัฐใหม่แห่งนี้ ) นอกจากนี้จอมพลพิบูลฯยังรับรองรัฐบาลวังจิงไว ( Wang Jing-wei ) ว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนด้วย รัฐบาล จีนได้ออกข่าวผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ขู่ว่า จะบุกเข้าประเทศไทยจับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดมาชำระคดีฐานเป็น อาชญากรสงคราม การเจรจาของเรากับรัฐบาลจีนจึงลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องพยายามให้รัฐบาลจีนไม่ถือว่าประเทศสยามเป็นศัตรูและ เคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ การ เดินทางของผู้แทนคนแรกของขบวนการฯ คือนายจำกัด พลางกูร ไม่อาจผ่านประเทศจีน เพื่อไปยังประเทศสัมพันธมิตรได้เพราะติดขัดทางฝ่ายรัฐบาลจีนจึงทำให้เขาไม่ สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปได้ การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากมากมายนายจำกัดฯได้เสียชีวิตลงที่นครจุ งกิง ผู้แทนคนที่ ๒ คือนายสงวน ตุลารักษ์ ได้รับความสะดวกขึ้นบ้างในการเดินทางไปอังกฤษและ ส.ร.อ. คณะ ผู้แทนชุดที่ ๓ นำโดยนายถวิล อุดล สามารถประสานการทำงานระหว่างขบวนการฯ ของเรากับรัฐบาลจีนได้จนสิ้นสงคราม ด้วยความพยายามของเราและด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลส.ร.อ. โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ รัฐบาลจีนยอมถือนโยบายของรัฐบาลอเมริกันในการเคารพความเป็นเอกราชของสยามภาย หลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นั้นจอมพลเจียงไคเช็คได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่าย สัมพันธมิตรเพื่อบัญชาการสู้รบในประเทศจีนและในอินโดจีน หลังปีพ.ศ. ๒๔๘๖ เจียงไคเช็คจึงได้รับผิดชอบการสู้รบเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ เนื่องจากเส้นแบ่งเขตทางเหนือของเอเชียอาคเนย์ยังไม่แน่นอน เจียงไคเช็คพยายามขอให้สัมพันธมิตรยอมให้เขตแดนสยามและอินโดจีนฝรั่งเศส (อินโดจีนของฝรั่งเศส ผู้เรียบเรียง ) เหนือเส้นขนานที่ ๑๖ อยู่ในเขตยุทธภูมิจีนที่เจียงไคเช็ครับผิดชอบอยู่ ข้าพเจ้าได้แสดงความวิตกกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลอเมริกัน เนื่องจากถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรยินยอมตามเจียงไคเช็ค กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่มีอยู่จำนวนมากในสยามย่อมฉวยโอกาสในขณะ ที่กองทัพจีนเข้ามาอยู่ในประเทศสยามก่อความวุ่นวายขึ้นหลังการยอมจำนน ญี่ปุ่นในปีพ.ศ. ๒๔๘๘ เจียงไคเช็คได้ขอความเห็นจากสัมพันธมิตรว่า เขาจะส่งกองทัพเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตแดนสยามและอินโดจีนบริเวณ เหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอเมริกันเพื่อชี้แจงว่า ขบวนการเสรีไทยพร้อมที่จะปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทยเอง ประธานาธิบดี ทรูแมน ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากรูสเวลท์ตระหนักดีถึงปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าว จึงแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารอเมริกันที่รับผิดชอบด้านญี่ปุ่นเป็นผู้ออกคำ สั่งให้กองกำลังทหารญี่ปุ่นในดินแดนสยามยอมจำนนต่อลอร์ดเมาน์ทแบทเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
เมื่อ รัฐบาลอังกฤษมีท่าทีปฏิเสธการเจรจาทางการเมืองเช่นนี้ เราจึงได้หันมาใช้ความพยายามเจรจาในเรื่องนี้กับรัฐบาลอเมริกัน ที่นำโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนสยาม และพยายามเจรจากับรัฐบาลผสมของจีน (ระหว่างจีนคณะชาติกับจีนคอมมิวนิสต์ ) โดยทางเราได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาเรื่องเอกราชของชาติ เรา ได้ขอให้สถานอัครราชทูตของเราที่กรุงสต็อกโฮล์มติดต่อกับสถานอัครราชทูตของ โซเวียตที่นั่นเช่นกัน ให้ช่วยส่งบันทึกรายงานฉบับหนึ่งไปยังรัฐบาลโซเวียต เพื่อสนับสนุนความต้องการอันชอบธรรมของเรารัฐบาลของประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ ให้ความช่วยเหลือแก่เราหลายครั้งหลายคราว เพื่อที่จะทำให้อังกฤษเปลี่ยนใจ หรืออย่างน้อยที่สุดให้อังกฤษมีท่าทีเดียวกับ ส.ร.อ. ในการยอมรับว่าประเทศสยามมิได้เป็นศัตรู แต่เป็นประเทศอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น อย่าง ไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เราได้พิจารณาเห็นว่า ถึงเวลาแล้วที่ขบวนการเสรีไทยจะต่อสู้การรุกรานของญี่ปุ่นอย่างเปิดเผย แทนที่จะกระทำการอย่างลับๆ แต่ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติการ เราได้ปรารถนาที่จะให้รัฐบาลอเมริกันและอังกฤษยืนหยัดต่อเราก่อนว่า จะเคารพความเป็นเอกราชของประเทศสยามแม้ว่า จอมพลป. พิบูลสงครามจะได้ประกาศสงครามกับประเทศทั้งสองโดยไม่ถูกต้อง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ส่งโทรเลขลับด่วนมาก ๒ ฉบับ ซึ่งมีข้อความตรงกัน ฉบับหนึ่งถึงกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ. และอีกฉบับถึงลอร์ดเมานท์แบทเตน
ข้าพเจ้าขอยกข้อความในโทรเลขของข้าพเจ้า ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศของ ส.ร.อ. ได้พิมพ์ภายหลังญี่ปุ่นยอมจำนนไปแล้ว ๒๕ ปี ดังนี้
๑) บันทึกจัดทำโดยกระทรวงต่างประเทศ ส.ร.อ. เลขที่ ๓๔๐๐๐๑๑ p.w./ ๕๒๙๔๕ วอชิงตัน ๒๘ พฤษภา ๒๔๘๘
สาส์ นถึงรัฐมนตรีต่างประเทศจากรู้ธ ( ปรีดี พนมยงค์ ) ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศส.ร.อ. ได้รับเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ มีข้อความดังต่อไปนี้
“ การต่อต้านเสรีไทยในการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายนั้น ได้ทำตามคำแนะนำของผู้แทนอเมริกันเสนอมาในการที่มิให้ปฏิบัติการใดๆต่อสู้ ญี่ปุ่นก่อนถึงเวลาอันควร แต่ขณะนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า กำลังใจรบของญี่ปุ่นจะลดน้อยลงไป ถ้าขบวนการเสรีไทยไม่คงอยู่ภายในฉากกำบังอีกต่อไป ญี่ปุ่นจะถูกบีบให้ยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อสัมพันธมิตรเร็วขึ้น เพราะการสลายตัวของสิ่งที่เรียกว่า วงไพบูลย์ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เราได้ถือตามคำแนะนำว่าขบวนการเสรีไทยจะต้องพยายามขัดขวางความร่วมมือที่ ญี่ปุ่นจะได้จากประเทศไทย เราได้ยึดถือนโยบายนี้อย่างเคร่งครัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ท่านย่อมเห็นได้ว่า ญี่ปุ่นนับวันยิ่งจะมีความสงสัยขบวนการเสรีไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทย (รัฐบาลควง ฯ ) ไม่ยอมทำตามคำขอของญี่ปุ่นที่ขอเครดิตเพิ่มเติมอีก ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากรัฐบาลปัจจุบันว่า จะอยู่ในตำแหน่งต่อไปไม่ได้ ถ้าหากญี่ปุ่นบีบบังคับให้ปฏิบัติตามคำขอดังกล่าว
ถ้า ญี่ปุ่นยืนยันเช่นนั้น รัฐบาลใหม่ก็จะตั้งขึ้นและปฏิการต่อสู้ญี่ปุ่น โดยประการแรกประกาศโมฆะกรรม ซึ่งหนี้สินและข้อตกลงซึ่งรัฐบาลพิบูล ฯกับญี่ปุ่นได้ทำกันไว้ตลอดทั้งสนธิสัญญาที่ผนวก ๔ รัฐมาลัย (มาเล ผู้เรียบเรียง )และรัฐฉานไว้กับประเทศไทย รวมทั้งการประกาศสงครามต่ออังกฤษและ ส.ร.อ. ด้วยพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ชาตินี้กับประเทศไทยจะสถาปนาขึ้นดังที่เป็นอยู่ก่อนญี่ปุ่นบุกเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ก่อนที่จะดำเนินแผนการนี้ ข้าพเจ้าปรารถนาแจ้งให้ท่านทราบถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ แม้ว่าข้าพเจ้าตระหนักว่า ส.ร.อ. มีเจตนาดีต่อเอกราชของประเทศไทย และมีไมตรีจิตต่อราษฎรไทย ข้าพเจ้าเชื่อว่าในวันที่เราลงมือปฏิบัติการนั้น ส.ร.อ.จะประกาศเคารพความเป็นเอกราชของประเทศไทย และถือว่าประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติและไม่ถือว่าประเทศไทยเป็น ประเทศศัตรู ทั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมกำลังใจอย่างใหญ่หลวงต่อมวลราษฎรไทย ซึ่งเตรียมพร้อมแล้วในการเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง “ ข้าพเจ้าได้ส่งสาระในโทรเลขฉบับนี้ไปยังผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรเอเชียอาคเนย์ด้วยเช่นกัน
๒ ) วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ข้าพเจ้าได้รับคำตอบจากผู้รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ส.ร.อ. มีความดังต่อไปนี้ “ ขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อสาส์นของท่านถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เราเข้าใจความปราถนาของท่านที่จะให้ประเทศไทยต่อสู้ศัตรูทางปฏิบัติการโดย เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราเชื่อแน่ว่าอย่างไรก็ตามท่านย่อมตระหนักว่า การต่อสู้ศัตรูร่วมกันของเรานั้น ต้องสมานกับยุทธศาสตร์ทั้งปวงในการต่อสู้กับญี่ปุ่น และไม่เป็นผลดีถ้าไทยทำก่อนเวลาอันสมควร และก่อนที่จะมีหลักประกันพอสมควรว่าจะได้ชัยชนะ หรือถ้าลงมือปฏิการอย่างเปิดเผยโดยมิได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของผู้บัญชาการ ทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ เรา หวังว่า ท่านจะใช้ความพยายามต่อไปที่จะป้องกันการกระทำก่อนถึงเวลาอันสมควร โดยขบวนการเสรีไทย หรือการปฏิบัติอันเร่งให้ญี่ปุ่นยึดอำนาจจากรัฐบาลไทย (รัฐบาลควง ฯ ) เรา เชื่อมั่นว่า ท่านจะแจ้งให้เราและอังกฤษทราบถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทั้งๆที่ท่านพยายามยับยั้งไว้แล้วก็ตาม ส.ร.อ. เข้าใจแจ่มแจ้ง และเห็นคุณค่าในความปรารถนาจริงใจของท่านและมวลราษฎรไทยในการปฏิเสธการ ประกาศสงครามและข้อตกลงระหว่างญี่ปุ่นกับรัฐบาลพิบูลฯนั้น แต่ยังไม่เข้าใจแจ้งชัดว่าเหตุใดรัฐบาลปัจจุบัน ( รัฐบาลควง ฯ ) จะลาออกขณะนี้ หรือจะมีการบีบบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลชุดต่อไปต้องเลือกเอา การปฏิเสธการประกาศสงครามและข้อตกลงกับญี่ปุ่นเป็นการกระทำในเบื้องแรก ย่อม จะเห็นได้ว่า ขบวนการเสรีไทยจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้ดีกว่าเมื่อออกมาปฏิบัติการเปิด เผยแล้ว คือโดยจู่โจมการลำเลียงการคมนาคมกองกำลังยุทโธปกรณ์ของศัตรู อย่างฉับพลันและอย่างมีการประสานงาน รวมทั้งยึดตัวนายทหาร พนักงาน เอกสาร จุดสำคัญของศัตรู แล้วการปฏิบัติทางการเมืองเพื่อปฏิเสธการประกาศสงครามและการเข้ามีฐานะเสมอ กันกับสัมพันธมิตรก็จะตามมาภายหลัง เรา ให้ความสำคัญต่อการมีรัฐบาลไทยที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงบนผืน แผ่นดินไทย เพื่อที่จะทำการร่วมมือกับสัมพันธมิตร เราหวังว่า การเตรียมทุกอย่างที่จะเป็นไปได้ จะต้องทำขึ้นในอันที่จะป้องกันการจับกุมหรือการแยกย้ายบุคคลสำคัญที่เป็น ฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อว่ารัฐบาลดังกล่าวนั้นจะเข้ารับงานได้ทันทีในบริเวณที่ปลอดญี่ปุ่น และสามารถสั่งการทางทหารให้กองทัพไทยปฏิบัติการร่วมมือกับสัมพันธมิตร และสามารถรื้อฟื้นกลไกของรัฐบาลพลเรือนในบริเวณที่กู้อิสรภาพแล้ว ส.ร.อ. ไม่อาจประกาศโดยลำพังได้ว่าชาติอื่นชาติใดเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่จะมีความยินดีประกาศซ้ำอีกโดยเปิดเผยในโอกาศเหมาะสมถึงการเคารพความเป็น เอกราชของชาติไทย และประกาศว่า ส.ร.อ. ไม่เคยถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู เรารอคอยวันที่ประเทศของเราทั้งสองสามารถที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนถึงจุดหมายร่วมกันในการต่อสู้ศัตรูร่วมกัน" (ลงนาม ) กรูว์ ( Grew ) รักษาการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ๓) แม้ว่าลอร์ดเมาน์ทแบทเตน ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด จะรู้สึกเห็นใจในขบวนการของเรา แต่ก็ตอบรับได้เฉพาะในแง่ของแผนการทางทหารเท่านั้นโดยขอให้ข้าพเจ้าป้องกันมิให้มีการกระทำการใดๆก่อนถึงเวลาอันสมควร เมื่อ เราส่งนายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นไปที่ประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับลอร์ดเมาน์ทแบทเตน บรรดาที่ปรึกษาทางการเมืองที่รัฐบาลอังกฤษส่งมาเจรจา ต่างก็ปฏิเสธที่จะยอมรับความเป็นเอกราชของสยาม -๖- สำหรับรัฐบาลจีนโดยการนำของจอมพลเจียงไคเช็ค ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายคอมมิวนิสต์เองรับรองว่า เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั้น ขบวนการเสรีไทยได้ส่งผู้แทนไปเจรจา ๓ ครั้ง เรื่องความเป็นเอกราชของสยาม และขอให้คณะผู้แทนของขบวนการ ฯผ่านประเทศจีน เพื่อไปติดต่อกับประเทศสัมพันธมิตรอื่นๆได้ง่ายขึ้น รัฐบาล จีนได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่จีน ซื่อ เหลียง ( เกิดในเมืองไทย ) เป็นผู้ดำเนินการเจรจากับคณะผู้แทนของขบวนการฯ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ทำงานในหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลจีนและเป็นที่ไว้วางใจ มาก อันที่จริงแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้นี้สนับสนุนฝ่ายคอมมิวนิสต์และได้เปิดเผยรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับจุดประสงค์ของข้ารัฐการชั้นสูงของจีนที่มีต่อประเทศสยาม ( ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เจ้าหน้าที่ผู้นี้ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าร่วมกับฝ่าย คอมมิวนิสต์ และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าในการเตรียมการเดินทางไปยังสาธารณรัฐ ราษฎรจีน ) รัฐบาล จีนไม่พอใจประเทศไทยมาก พราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ ไม่เพียงแต่จะส่งกองทหารไปยึดพื้นที่บริเวณตลอดชายแดนจีน-พม่า ที่ขึ้นกับอังกฤษเท่านั้น แต่ยังรับรองรัฐบาลหุ่นของมานจูกั๊วะ ที่ตั้งขึ้นภายใต้การบงการของญี่ปุ่นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ( อดีตจักรพรรดิปูยี PU YI ) ซึ่งได้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จีนโดยการอภิวัฒน์ชนชั้นเจ้าสมบัติในปีพ.ศ. ๒๔๕๔ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นจักรพรรดิในรัฐใหม่แห่งนี้ ) นอกจากนี้จอมพลพิบูลฯยังรับรองรัฐบาลวังจิงไว ( Wang Jing-wei ) ว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของประเทศจีนด้วย รัฐบาล จีนได้ออกข่าวผ่านทางวิทยุกระจายเสียงและหนังสือพิมพ์ขู่ว่า จะบุกเข้าประเทศไทยจับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดมาชำระคดีฐานเป็น อาชญากรสงคราม การเจรจาของเรากับรัฐบาลจีนจึงลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องพยายามให้รัฐบาลจีนไม่ถือว่าประเทศสยามเป็นศัตรูและ เคารพความเป็นเอกราชของสยามภายหลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ การ เดินทางของผู้แทนคนแรกของขบวนการฯ คือนายจำกัด พลางกูร ไม่อาจผ่านประเทศจีน เพื่อไปยังประเทศสัมพันธมิตรได้เพราะติดขัดทางฝ่ายรัฐบาลจีนจึงทำให้เขาไม่ สามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงไปได้ การเดินทางครั้งนี้ประสบความลำบากมากมายนายจำกัดฯได้เสียชีวิตลงที่นครจุ งกิง ผู้แทนคนที่ ๒ คือนายสงวน ตุลารักษ์ ได้รับความสะดวกขึ้นบ้างในการเดินทางไปอังกฤษและ ส.ร.อ. คณะ ผู้แทนชุดที่ ๓ นำโดยนายถวิล อุดล สามารถประสานการทำงานระหว่างขบวนการฯ ของเรากับรัฐบาลจีนได้จนสิ้นสงคราม ด้วยความพยายามของเราและด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลส.ร.อ. โดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ รัฐบาลจีนยอมถือนโยบายของรัฐบาลอเมริกันในการเคารพความเป็นเอกราชของสยามภาย หลังที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ นั้นจอมพลเจียงไคเช็คได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่าย สัมพันธมิตรเพื่อบัญชาการสู้รบในประเทศจีนและในอินโดจีน หลังปีพ.ศ. ๒๔๘๖ เจียงไคเช็คจึงได้รับผิดชอบการสู้รบเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ เนื่องจากเส้นแบ่งเขตทางเหนือของเอเชียอาคเนย์ยังไม่แน่นอน เจียงไคเช็คพยายามขอให้สัมพันธมิตรยอมให้เขตแดนสยามและอินโดจีนฝรั่งเศส (อินโดจีนของฝรั่งเศส ผู้เรียบเรียง ) เหนือเส้นขนานที่ ๑๖ อยู่ในเขตยุทธภูมิจีนที่เจียงไคเช็ครับผิดชอบอยู่ ข้าพเจ้าได้แสดงความวิตกกังวลในเรื่องนี้ต่อรัฐบาลอเมริกัน เนื่องจากถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรยินยอมตามเจียงไคเช็ค กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่มีอยู่จำนวนมากในสยามย่อมฉวยโอกาสในขณะ ที่กองทัพจีนเข้ามาอยู่ในประเทศสยามก่อความวุ่นวายขึ้นหลังการยอมจำนน ญี่ปุ่นในปีพ.ศ. ๒๔๘๘ เจียงไคเช็คได้ขอความเห็นจากสัมพันธมิตรว่า เขาจะส่งกองทัพเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตแดนสยามและอินโดจีนบริเวณ เหนือเส้นขนานที่ ๑๖ ได้หรือไม่ ข้าพเจ้าได้ส่งโทรเลขไปถึงรัฐบาลอเมริกันเพื่อชี้แจงว่า ขบวนการเสรีไทยพร้อมที่จะปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในดินแดนไทยเอง ประธานาธิบดี ทรูแมน ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากรูสเวลท์ตระหนักดีถึงปัญหาชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าว จึงแต่งตั้งให้ผู้บัญชาการทหารอเมริกันที่รับผิดชอบด้านญี่ปุ่นเป็นผู้ออกคำ สั่งให้กองกำลังทหารญี่ปุ่นในดินแดนสยามยอมจำนนต่อลอร์ดเมาน์ทแบทเตน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ส่วนเจียงไคเช็คนั้นได้รับภาระให้ส่งกองทัพเข้าไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นทางตอนเหนือของอินโดจีนของฝรั่งเศสเท่านั้น
-๗-
ภายหลังที่ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
แล้วข้าพเจ้าได้เปิดเผยขบวนการใต้ดิน
และได้ประกาศฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
ว่า การประกาศสงครามของจอมพลพิบูลฯ ต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่
ตลอดจนการผนวกเอาดินแดนบางส่วนของพม่าและมลายูของอังกฤษในระหว่างสงครามนั้น
เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าได้แถลงเช่นเดียวกันว่าให้ถือวันที่ ๑๖ สิงหาคมเป็น “
วันสันติภาพ “ และจะมีการฉลองในวันนี้ของทุกปี
แต่รัฐบาลภายหลังรัฐประหาร ๒๔๙๐ ได้ยกเลิก “วันสันติภาพ “ นี้เสีย
รัฐบาล
อเมริกันได้ส่งนักการทูตมาเพื่อสถาปนาฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ
สยามดังที่ได้ให้สัญญาไว้ รัฐบาลอเมริกันไม่มีเงื่อนไขใดๆ
นอกจากขอให้เราคืนเงินจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทอเมริกัน
เพราะรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ และญี่ปุ่นได้ยึดทรัพย์สินของบริษัทนั้นไป
และขอให้จับตัวจอมพลพิบูลฯและผู้สมรู้ร่วมคิดฟ้องศาลเป็นอาชญากรสงคราม
ฝ่าย
รัฐบาลอังกฤษเรียกร้องให้ส่งคณะผู้แทนไปพบลอร์ดเมาน์ทแบทเตนที่กองบัญชาการ
ทหารในประเทศซีลอน เพื่อเจรจากับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอังกฤษ
โดยให้สยามยอมรับเงื่อนไขในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ใน
ช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง
เราได้ตกลงให้กองทหารอังกฤษเข้ามาในประเทศไทยเพียงเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่น
เท่านั้นและให้ถอนกำลังทหารนี้ออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้คือในทันที
ที่ปฏิบัติภารกิจในการปลดอาวุธเสร็จสิ้นแล้ว
ใน
ระหว่างนั้นลอร์ดเมาน์ทแบทเตนและภรรยาได้เดินทางมากรุงเทพฯ ๒ ครั้ง
และได้พบปะกับข้าพเจ้า
ซึ่งได้กระชับมิตรภาพระหว่างเราให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ลอร์ดเมาน์ทแบทเตนในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดสัมพันธมิตรภาคเอเชียอาคเนย์
ได้จัดพิธีสวนสนามของกองทหารอาสาสมัครอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทย
เพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๘
เพื่อเป็นการแสดงความเคารพในความเป็นเอกราชของชาติไทยและองค์พระประมุข
ส่วน
เงื่อนไขทางการเมืองของรัฐบาลอังกฤษยื่นข้อเรียกร้องมานั้น
เราพิจารณาแล้วเห็นว่า
เงื่อนไขดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมจำนนกลายๆนั่นเอง
แตกต่างกันแต่ในเรื่องวิธีการและคำพูดเท่านั้น ดังนั้น
เราจึงไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว การเจรจากันในเรื่องนี้ใช้เวลา ๑
ปีโดยที่ไม่บรรลุผลใดๆ
ช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลสยามตามวิถีทางรัฐธรรมนูญถึง ๓ ครั้ง
ในที่สุด รัฐบาลสยามจำเป็นต้องส่งมอบข้าวให้รัฐบาลอังกฤษจำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐
ตัน
และชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บริษัทอังกฤษที่ตั้งขึ้นในสยามก่อนสงครามและที่ถูก
ญี่ปุ่นและรัฐบาลพิบูลฯยึดไปตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยทางอากาศใน
ระหว่างสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กระทำเอง อย่างไรก็ตาม
เราเห็นว่าเป็นข้อเสนอเรียกร้องที่ไม่ยุติธรรมต่อประเทศเล็กอย่างสยามในการ
ที่ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่างๆที่เกิดขึ้น
ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรเองเป็นผู้ก่อ
แต่เราจำต้องยอมลงนามในความตกลงดังกล่าวนั้น
เพื่อที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศหลังสงครามได้เร็วที่สุดและเพื่อหาโอกาศอัน
สมควรในการเจรจาอย่างสันติอีกครั้งหนึ่งกับรัฐบาลพรรคแรงงานของอังกฤษ
เพื่อแก้ไขข้อความต่างๆที่ไม่ยุติธรรมสำหรับเรา
ความ
ตกลงดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลสยามจับกุมและลงโทษบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอาชญากร
สงคราม
ข้อความนี้ตรงกับความต้องการของรัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญๆทุกประเทศ
เมื่อข้าพเจ้าเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. ๒๔๘๙
ข้าพเจ้าได้เจรจากับรัฐบาลอังกฤษให้ยอมจ่ายเงินค่าข้าวที่เราต้องชดใช้ให้
เป็นค่าเสียหาย
ฝ่ายรัฐบาลอังกฤษตกลงยินยอมที่จะจ่ายเงินค่าข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาใน
ตลาดโลก นับว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ส่วน
เรื่องความเสียหายของบริษัทห้างร้านอังกฤษที่เราต้องชดใช้นั้นเราเห็นว่า
เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสยามเช่นกัน เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๙๔
ฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งรวมทั้งรัฐบาลอังกฤษด้วยได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่
ซานฟรานซิสโก ตามสนธิสัญญาฉบับนี้
รัฐบาลอังกฤษเองได้ยกเลิกข้อเรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในสงคราม
-๘-
ฝ่ายรัฐบาลจีนเมื่อยอมรับรองความเป็นเอกราชของรัฐบาลสยามแล้ว
ก็ได้ส่งอัครรัฐทูตมาประจำกรุงสยาม เพื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูต
ส่วน
กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่คลั่งชาติที่คิดว่ากองกำลังทหารจีนจะเข้ามาปลดอาวุธ
ทหารญี่ปุ่นในประเทศสยามนั้น พากันแปลกใจที่กลายเป็นกองทหารอังกฤษ
ฉนั้นจึงก่อจลาจลโดยใช้ปืนยาวปืนสั้น
ยิงเข้าใส่ฝูงชนอย่างบ้าคลั่งในใจกลางพระนคร
ชาว
ไทยได้โต้ตอบทันที สภาพการจลาจลเกิดขึ้นในชุมชนหลายแห่ง
รัฐบาลจำต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม เพื่อให้เกิดความสงบโดยเร็วที่สุด
การจลาจลครั้งนี้เรียกว่า “ เลียะพะ “ ( ภาษาจีนแต้จิ๋ว )
ที่เรียกเช่นนี้
เพราะได้เปรียบเทียบเหตุการณ์ครั้งนี้กับกบฏของนักมวยจีน
ซึ่งต่อต้านกองกำลังอำนาจต่างชาติในปีพ.ศ ๒๔๔๓
ในปัจจุบันยังมีคนกล่าวถึงเหตุการณ์เลียะพะครั้งนั้นอยู่
โดยมักจะเป็นพวกที่ไม่ยอมรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐราษฎรจีน
และยกเอาเหตุการณ์นี้มาข่มขวัญผู้ไม่รู้อีโหน่อีเหน่
โดยอธิบายอย่างไม่มีเหตุผลว่า
เมื่อสถาปนาความสัมพันธทางการทูตกับสาธารณรัฐราษฎรจีนแล้ว
เหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดซ้ำอีกโดยพวกชาวจีนโพ้นทะเลจะเป็นผู้ก่อขึ้นด้วย
ความสนับสนุนของสถานเอกอัครรัฐทูตสาธารณรัฐราษฎรจีน
อันที่จริงระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ไม่สงบนี้
พวกคอมมิวนิสต์จีนที่ลี้ภัยเข้ามาในสยาม
เพราะถูกรัฐบาลจีนคณะชาติตามล่านั้น กลับต่อต้านการเลียะพะครั้งนี้
-๙-
รัฐบาลโชเวียตกำลังวุ่นวายอยู่กับปัญหาภายในประเทศ
จึงไม่พร้อมที่จะเข้ามาแทรกแซงในกิจการของเอเชียอาคเนย์ อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนี้ได้แสดงความเคารพความเป็นเอกราชของสยามโดยปริยาย
โดยการมอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตที่กรุงสต็อกโฮล์มเข้าร่วมในงานเลี้ยง
รับรองที่จัดขึ้นโดยสถานอัครราชทูตสยาม ทั้งในระหว่างและหลังสงคราม
-๑๐- ส่วนฝ่ายรัฐบาลกู้ชาติฝรั่งเศส (Comite’ francais de Libe’ration nationale)
ซึ่งต่อมาได้ตั้งขึ้นเป็นรัฐบาลชั่วคราวของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ลงความเห็นว่ารัฐบาลไทยเป็นพันธมิตรกับประเทศญี่ปุ่น
และฝรั่งเศสกับประเทศไทยถือว่าเป็นศัตรูกันนับแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๘๓ อันเป็นวันที่กองทัพอากาศไทย ( สมัยรัฐบาลจอมพลพิบูลฯ )
ได้ทิ้งระเบิดบนดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศส
รัฐบาลชั่วคราวของฝรั่งเศสเห็นว่าคำประกาศของข้าพเจ้าในฐานะผู้สำเร็จราชการ
แทนพระองค์ได้ยกเลิกการยึดครองดินแดนที่รัฐบาลจอมพลพิบูลฯยึดครองนั้น
ครอบคลุมถึงดินแดนอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย
ดังนั้นเราจึงได้ทำความตกลงร่วมกันกับรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ให้นำเรื่องนี้สู่อนุญาโตตุลาการเพื่อตัดสิน
ทั้งนี้เพราะทางฝ่ายเราเห็นว่า
ดินแดนที่เป็นปัญหาอยู่นั้นเป็นของประเทศสยามมาก่อนปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้ว
นับแต่นั้นมาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่าง ๒ ประเ ทศก็กลับคืนสู่สภาพปกติ
-๑๑-
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงบรรลุนิติภาวะ
ข้าพเจ้าได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จนิวัติคืนสู่สยาม
พระองค์เสด็จถึงกรุงเทพฯเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
หน้าที่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของข้าพเจ้าจึงเป็นอันสิ้นสุดลง
ในทันที พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งต่งตั้งข้าพเจ้าเป็นรัฐบุรุษอาวุโส
อันเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะไม่มีอำนาจในการบริหารแผ่นดิน
เป็นโอกาสที่ข้าพเจ้าจะได้พักผ่อน
ซึ่งข้าพเจ้ามีความปราถนาอยู่แล้วหลังจากที่ข้าพเจ้าได้ทำงานมาอย่างลำบาก
และเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลาช่วงที่มีสงครามและหลังสงครามอีก ๓ เดือน
ภาย
หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว
มีรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีบางคนเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ความขัดแย้งในรัฐสภาระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านเพิ่มมาก
ขึ้น ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลต้องลาออก
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าจัดตั้งรัฐบาล
โดยข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
โดยได้เสียงสนับสนุนจากฝ่ายข้างมาก
ซึ่งเป็นฝ่ายก้าวหน้าในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. ๒๔๘๙
รัฐสภาจะประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยสภาทั้งสองมาจากการเลือกตั้ง
ความ
ขัดแย้งระหว่างฝ่ายก้าวหน้ากับฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไป
แต่กลับเพิ่มมากขึ้น เมื่อศาลฎีกาได้ตัดสินปล่อยตัวจอมพลพิบูลฯ
โดยประกาศว่าพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม (
ซึ่งร่างขึ้นและประกาศใช้หลังสงคราม ) ไม่อาจใช้บังคับย้อนหลังได้
เมื่อจอมพลพิบูลฯได้รับการปล่อยตัว ก็ได้กลับคืนสู่เวทีการเมืองเดิมอีกครั้งหนึ่ง โดยร่วมมือกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม
-๑๒-
๒-๓ เดือนถัดมา ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต
โดยต้องพระแสงปืนที่พระเศียรในห้องพระบรรทมในพระบรมมหาราชวัง
จากการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจและโดยคำแนะนำของพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุน
ชัยนาทนเรนทร ทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ประกาศว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ
โดยกระสุนจากพระแสงปืนของพระองค์เอง
ใน
วันนั้นเอง
ข้าพเจ้าในฐานะนายกรัฐมนตรีได้เสนอรัฐสภาให้อันเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชสมบัติสืบแทนพระเชษฐาที่เสด็จสวรรคต
เนื่องจากพระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ
สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
โดยพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทรเป็นประธาน
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ขอร้องให้ข้าพเจ้าตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่
หลัง
การเลือกตั้งช่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยไม่มีผู้สมัครแข่งขัน ข้าพเจ้าสมัครใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้น มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
ซึ่งก็คงประกอบด้วยรัฐมนตรีฝ่ายก้าวหน้าและฝ่ายประชาธิปไตย
แต่พวกอนุรักษ์นิยมกล่าวหาว่ารัฐบาลใหม่อยู่ภายใต้อาณัติของข้าพเจ้า
ด้วยเหตุนี้พวกอนุรักษ์นิยมจึงเริ่มโจมตีข้าพเจ้าเป็นการส่วนตัว
โดยใส่ร้ายข้าพเจ้าต่างๆนาๆ เช่น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลไม่ได้เสด็จสวรรคตโดยอุปัทวเหตุ
แต่ถูกลอบปลงพระชนม์โดยอดีตราชเลขานุการส่วนพระองค์
และมหาดเล็กของพระองค์เอง โดยมีข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
การเผยแพร่ข่าวให้ร้ายข้าพเจ้าเช่นนี้ เป็นแผนการทำให้ประชาชนสับสน เพื่ออ้างเป็นเหตุให้คณะทหารก่อการรัฐประหารปฏิกิริยา
เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เกิดการรัฐประหารของฝ่ายทหาร
โดยการสนับสนุนของพวกอนุรักษ์นิยมขวาจัดและพวกคลั่งชาติ
โค่นล้มรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นพรรคพวกของข้าพเจ้า พวกเขาได้บุกเข้าไปในบ้าน
เพื่อจะทำลายชีวิตข้าพเจ้ารวมทั้งภรรยาและบุตรเล็กๆ
หาว่าข้าพเจ้าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในกรณีสวรรคตฯ จอมพลพิบูลฯ
ซึ่งถูกปล่อยก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน
เพราะกฏหมายอาชญากรสงครามไม่มีผลย้อนหลังมาใช้บังคับ
ก็ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐประหาร ให้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย
ทำให้มีอำนาจควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คณะรัฐประหารได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ซึ่งสมาชิกวุฒิสภามิได้มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมอีกต่อไป
แต่จะมาจากการแต่งตั้งโดยตรงจากประมุขแห่งรัฐ
โดยมีหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ก่อนรัฐประหารอายุต่ำสุดของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกำหนด
ไว้ ๒๓ ปี แต่ตามรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารกำหนดไว้เป็น ๓๕ ปี
ซึ่งเท่ากับอายุต่ำสุดของผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ก็ใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
เพราะต่อมาประเทศไทยถูกปกครองโดยรัฐธรรมนูญฟาสซิสต์กึ่งฟาสซิสต์
และฟาสซิสต์ใหม่ๆ ฯลฯ อีกหลายฉบับ
ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังลิดรอนเสรีภาพทางการเมืองหลายประการ .
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar