พล.อ. สายหยุด-‘คณะรัฐบุคคล’ เสนอป๋าเปรมนำทูลนายกฯ คนกลาง
คณะรัฐบุคคล นำโดยพล.อ.สายหยุด เกิดผล แถลงข่าวเสนอพล.อ.เปรม เป็นคนกลางพูดคุยทุกฝ่ายพร้อมเสนอนายกฯ คนกลางให้ในหลวงลงปรมาภิไธย ย้ำไม่ต้องรอสุญญากาศก็ทำได้
เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานเมื่อวันที่ 14 เม.ย. ว่า ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น คณะรัฐบุคคล นำโดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ พล.อ.อ.เทิดศักดิ์ สัจจะรักษะอดีตรอง ผบ.ทอ. และ ร.อ.ปราศรัย ทรงสุรเวทย์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “ทางออกประเทศไทยเมื่อยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศทั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัย
"สายหยุด นำรัฐบุคคล เพื่อนำทูลเกล้าถวายนายกรัฐมนตรี ม. 7 โดยให้เปรมเป็นนายกฯ"
เมื่อวันที่14 เม.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่นคณะรัฐบุคคล นำโดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอิสระ พล.อ.อ.เทิดศักดิ์ สัจจะรักษะอดีตรอง ผบ.ทอ. และ ร.อ.ปราศรัย ทรงสุรเวทย์ อดีตผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ได้ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “ทางออกประเทศไทยเมื่อยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมในการปกครองประเทศทั้งทางด้านนิตินัยและพฤตินัย ”
โดยพล.อ.สายหยุด กล่าวว่า จากวิกฤติทางการเมืองขณะนี้ กลุ่มรัฐบุคคลได้ย้อนดูประวัติศาสตร์และอำนาจหน้าที่ของส่วนต่าง ๆตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬประเทศเราต่างผ่านวิกฤติมาได้ด้วยพระบารมีของประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ก็เห็นว่า พระบารมีจะทำให้ประเทศไทยผ่านไปได้แต่เนื่องจากพระองค์ท่านไม่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ ซึ่งคณะรัฐบุคคลเห็นว่าโครงสร้างของประเทศไทยยังมีตำแหน่งรัฐบุรุษอยู่และตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงตำแหน่งที่มีเกียรติศักดิ์ศรี แต่มีหน้าที่ที่รับสนองพระบรมราชโองการโดยรัฐบุรุษในประเทศไทยขณะนี้ก็มีพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่จะทำหน้าที่ได้ ในการรับสนองพระบรมราชโองการและพยายามที่จะร่างพระบรมราชโองการขึ้นทูลเกล้าฯ เสนอเมื่อเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองยุ่งเหยิงดังนั้นคณะรัฐบุคคล จึงเสนอให้ รัฐบุรุษทำหน้าที่พูดคุยกับองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นหลักของบ้านเมืองทั้งตุลาการและทหารและผู้นำทางสังคม เพื่อร่างพระบรมราชโองการ เสนอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เพื่อให้ลงปรมาภิไธยแต่กรณีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับการเสนอใช้พระราชอำนาจ ตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 7 โดยเราเชื่อว่า เมื่อมีพระบรมราชโองการออกมาแล้วสังคมไทยจะยอมรับเหมือนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาขณะที่หน้าที่ของเราเป็นเพียงการเสนอแนวทางว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง ส่วนเนื้อหาร่างพระบรมราชโองการเป็นเรื่องที่ผู้มีหน้าที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการและรับผิดชอบ
เมื่อถามว่าได้มีการนำข้อเสนอนี้แจ้งไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ รับทราบและมีการตอบกลับแล้วหรือไม่พล.อ.สายหยุด กล่าวว่า คณะรัฐบุคคล ได้มอบหมายให้นายปราโมทย์ เป็นผู้ประสานไปซึ่งได้มีการส่งไปทั้งในรูปแบบของจดหมายและบทความไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบรับมา การแถลงข่าวครั้งนี้เราต้องการให้ทุกฝ่าย รวมถึงสื่อมวลชนเข้าใจเนื้อหาดังกล่าวหากสื่อมวลชนเห็นด้วยก็จะได้ช่วยกันเรียกร้องดำเนินการแนวทางดังกล่าว ขณะที่เราเห็นว่าแนวทางดังกล่าวสามารถดำเนินการได้เลยในขณะนี้เพราะเห็นว่าประเทศมีปัญหามากแล้วไม่ต้องรอให้เข้าสู่สภาวะสุญญากาศ เพราะหากฝ่าย กปปส. สามารถปฏิรูปแล้วตั้งรัฐบาลใหม่ได้อีกฝ่ายหนึ่งก็คงจะออกมาต่อต้านใหม่แล้วดำเนินการเหมือนกปปส.ในขณะนี้สุดท้ายสถานการณ์ก็ยังจะไม่ยุติลง
ด้านนายปราโมทย์กล่าวยืนยันว่า ข้อเสนอนี้ไม่ได้เป็นการบีบคั้นแล้วทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเหมือนที่หลายฝ่ายโจมตีว่าเราเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่พูดจาเลอะเทอะโดยแนวทางของกลุ่มได้มีการศึกษาและย้อนดูประวัติศาสตร์แล้วและเราในฐานะประชาชนก็มีสิทธิและหน้าที่ในการตรวจสอบให้ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตน
ขณะที่นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่ได้มาร่วมงานแถลงข่าวในครั้งนี้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะเป็นข้อเสนอที่เหมาะสมตามหลักรัฐศาสตร์ด้วยหรือไม่ว่า แนวทางเรื่องของรัฐบุรุษดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในหลายแนวทางที่สังคมพยายามหาทางออกแต่ก็คงมีประเด็นสำคัญในเรื่องช่วงเวลาว่าต้องรอให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองหรือไม่โดยคณะรัฐบุคคล มองว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดสุญญากาศ แต่อีกมุมมองหนึ่งอาจมองว่าต้องให้มีสุญญากาศซึ่งจะเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 7 ซึ่งจะให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้เสนอและรับสนองพระบรมราชโองการขณะที่ตนคิดว่าในแง่ของคนไทยต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าจะแก้ปัญหาและวิกฤติที่เกิดขึ้นขณะนี้มีความหลากหลายทางความคิดบนพื้นฐานที่อยากให้วิกฤติของชาติยุติลงและหาทางออกดังนั้นแนวทางใดถึงเส้นชัยก่อนตนก็คิดว่า เป็นความพยายามของสังคมในการที่จะหาทางออก
นายบรรเจิดยังได้กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี กรณีการย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคง( สมช.) ด้วยว่า กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความแตกต่างกับกรณีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกร้องให้สิ้นสุดสถานภาพส.ส. กรณีการหนีการเกณฑ์ทหาร เพราะเมื่อยุบสภา นายอภิสิทธิ์ ก็สิ้นสุดจากการเป็นส.ส. ไปโดยปริยาย แต่กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังคงปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีอยู่โดยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 182 บัญญัติว่าความเป็นรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวด้วยเหตุการตาย ลาออก ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และขาดคุณสมบัตรหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 174 เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่พ้นสภาพการเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตราดังกล่าว ประเด็นที่มีการกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยได้แต่ถ้าระหว่างนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลาออกแล้วฐานะความเป็นรัฐมนตรีย่อมสิ้นสุดลงเฉพาะตัวแล้วจะทำให้วัตถุแห่งคดีที่ศาลจะทำการวินิจฉัยหมดไป ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกและถ้านายกรัฐมนตรีพ้นจากสภาพแล้วส่วนตัวก็มองว่าในทางปฏิบัติและหลักรัฐศาสตร์ คณะรัฐมนตรีก็ไม่น่าจะอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไปแต่อาจกรณีนี้อาจมีการตีความอย่างหลากหลาย.
เมื่อถามว่าได้มีการนำข้อเสนอนี้แจ้งไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ รับทราบและมีการตอบกลับแล้วหรือไม่พล.อ.สายหยุด กล่าวว่า คณะรัฐบุคคล ได้มอบหมายให้นายปราโมทย์ เป็นผู้ประสานไปซึ่งได้มีการส่งไปทั้งในรูปแบบของจดหมายและบทความไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบรับมา การแถลงข่าวครั้งนี้เราต้องการให้ทุกฝ่าย รวมถึงสื่อมวลชนเข้าใจเนื้อหาดังกล่าวหากสื่อมวลชนเห็นด้วยก็จะได้ช่วยกันเรียกร้องดำเนินการแนวทางดังกล่าว ขณะที่เราเห็นว่าแนวทางดังกล่าวสามารถดำเนินการได้เลยในขณะนี้เพราะเห็นว่าประเทศมีปัญหามากแล้วไม่ต้องรอให้เข้าสู่สภาวะสุญญากาศ เพราะหากฝ่าย กปปส. สามารถปฏิรูปแล้วตั้งรัฐบาลใหม่ได้อีกฝ่ายหนึ่งก็คงจะออกมาต่อต้านใหม่แล้วดำเนินการเหมือนกปปส.ในขณะนี้สุดท้ายสถานการณ์ก็ยังจะไม่ยุติลง
ด้านนายปราโมทย์กล่าวยืนยันว่า ข้อเสนอนี้ไม่ได้เป็นการบีบคั้นแล้วทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเหมือนที่หลายฝ่ายโจมตีว่าเราเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่พูดจาเลอะเทอะโดยแนวทางของกลุ่มได้มีการศึกษาและย้อนดูประวัติศาสตร์แล้วและเราในฐานะประชาชนก็มีสิทธิและหน้าที่ในการตรวจสอบให้ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตน
ขณะที่นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ที่ได้มาร่วมงานแถลงข่าวในครั้งนี้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะเป็นข้อเสนอที่เหมาะสมตามหลักรัฐศาสตร์ด้วยหรือไม่ว่า แนวทางเรื่องของรัฐบุรุษดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในหลายแนวทางที่สังคมพยายามหาทางออกแต่ก็คงมีประเด็นสำคัญในเรื่องช่วงเวลาว่าต้องรอให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองหรือไม่โดยคณะรัฐบุคคล มองว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดสุญญากาศ แต่อีกมุมมองหนึ่งอาจมองว่าต้องให้มีสุญญากาศซึ่งจะเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 7 ซึ่งจะให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้เสนอและรับสนองพระบรมราชโองการขณะที่ตนคิดว่าในแง่ของคนไทยต่างฝ่ายต่างก็คิดว่าจะแก้ปัญหาและวิกฤติที่เกิดขึ้นขณะนี้มีความหลากหลายทางความคิดบนพื้นฐานที่อยากให้วิกฤติของชาติยุติลงและหาทางออกดังนั้นแนวทางใดถึงเส้นชัยก่อนตนก็คิดว่า เป็นความพยายามของสังคมในการที่จะหาทางออก
นายบรรเจิดยังได้กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี กรณีการย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคง( สมช.) ด้วยว่า กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความแตกต่างกับกรณีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกร้องให้สิ้นสุดสถานภาพส.ส. กรณีการหนีการเกณฑ์ทหาร เพราะเมื่อยุบสภา นายอภิสิทธิ์ ก็สิ้นสุดจากการเป็นส.ส. ไปโดยปริยาย แต่กรณีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังคงปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีอยู่โดยรัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 182 บัญญัติว่าความเป็นรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวด้วยเหตุการตาย ลาออก ต้องคำพิพากษาให้จำคุก และขาดคุณสมบัตรหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 174 เมื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังไม่พ้นสภาพการเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาตราดังกล่าว ประเด็นที่มีการกล่าวหาศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจที่จะรับวินิจฉัยได้แต่ถ้าระหว่างนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ลาออกแล้วฐานะความเป็นรัฐมนตรีย่อมสิ้นสุดลงเฉพาะตัวแล้วจะทำให้วัตถุแห่งคดีที่ศาลจะทำการวินิจฉัยหมดไป ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอีกและถ้านายกรัฐมนตรีพ้นจากสภาพแล้วส่วนตัวก็มองว่าในทางปฏิบัติและหลักรัฐศาสตร์ คณะรัฐมนตรีก็ไม่น่าจะอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไปแต่อาจกรณีนี้อาจมีการตีความอย่างหลากหลาย.
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar