torsdag 20 augusti 2015

Verapat Pariyawong on BBC World re Bangkok bombing



วีรพัฒน์ ปริยวงศ์


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
https://www.facebook.com/video.php?v=10 … cation=ufi
[ฉบับแปลไทย] Verapat Pariyawong on BBC World re Bangkok bombing

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ให้สัมภาษณ์ BBC World หลังเกิดเหตุระเบิดราชประสงค์

17 สิงหาคม 2558
17 August 2015

BBC: ตอนนี้เราพบกับคุณ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอาคันตุกะ ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS ในฐานะคนที่เติบโตใน กทม.คุณรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองของคุณ

วีรพัฒน์: มันเลวร้ายมาก สมัยวัยรุ่น ผมเคยเที่ยวเล่นละแวกนั้น มันมีห้างร้านค้าที่เที่ยวกับเพื่อน เมื่อเห็นภาพระเบิดที่เกิดขึ้น ผมจึงรู้สึกเศร้ามาก แต่เราต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองอย่างรุนแรงมาหลายปีแล้ว ผมหวังว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ใช่ปริ่มของปัญหาใหญ่ที่รออยู่

BBC: คำถามที่คนสนใจมากอตอนนี้ คือใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง คุณเห็นว่าอย่างไร

วีรพัฒน์: อย่างแรกเลย ผมคิดว่ามันเร็วเกินไปที่เราจะคาดเดา ในชั่วโมงแรกหลังเหตุระเบิด หนึ่งในโฆษกรัฐบาลทหารได้พูดทำนองว่าอาจเกี่ยวกับกลุ่มทางการเมือง แต่ไม่นานหลังจากนั้นก็ทางกองทัพก็ออกมาแก้ข่าวว่ายังเร็วไปที่จะระบุ ชัดเจนว่ารัฐบาลทหารเองก็ตระหนักว่าไม่เป็นการดีที่จะโยนความผิดให้กลุ่มทางการเมือง



ตอนนี้เราเริ่มมาพิจารณากลุ่มผู้ก่อการร้าย ถ้าพูดในมุมมองของท้องถิ่นคนหนึ่งที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย เมื่อวันก่อนเกิดเหตุ มีงานกิจกรรมใหญ่ที่สำคัญมาก นั่นคือกิจกรรม ‘ปั่นเพื่อแม่’ ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมเป็นหมื่นเป็นแสนคน ถ้าผู้ก่อการร้ายมีเป้าหมายสร้างความเสียหายให้ได้มาก ก็อาจถามว่า เหตุใดจึงไม่ได้ก่อเหตุในวันดังกล่าว


คำถามต่อมา คือ เหตุระเบิดมุ่งโจมตีการท่องเที่ยวจริงหรือ ไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งมากที่มีนักท่องเที่ยวหนาแน่น ถ้ายังจำกันได้ เคยมีเหตุการณ์วางระเบิดที่จอดรถบนเกาะสมุยเลื่องชื่อของประเทศไทย ซึ่งชื่อของเกาะสมุยนั้นเป็นที่จดจำได้มากกว่าในหมู่นักท่องเที่ยว แต่เมื่อเราพูดถึงศาลเอราวัณ ในฐานะที่ผมเป็นคนท้องถิ่นก็ย่อมรู้จัก แต่ผมสงสัยว่าขบวนการก่อการร้ายจะเลือกจุดนี้เป็นเป้านักท่องเที่ยวจริงหรือ?
ตอนนี้เราจึงยังมีแง่มุมที่ไม่ชัดเจนอีกมาก

BBC: คุณคิดว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อ และปฏิกิริยาของรัฐบาลทหาร ที่ยึดอำนาจเมื่อเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว จะเป็นอย่างไร พวกเขาจะทำอะไรต่อ

วีรพัฒน์: นี่เป็นคำถามที่สำคัญมาก เรามักจะมองปัญหาเฉพาะหน้า จนลืมภาพใหญ่ของประเทศ เหตุการณ์นี้แม้จะรุนแรงในระดับที่คน กทม. ไม่เคยประสบมาก่อน แต่มันเกิดขึ้นบ่อยมากกับพี่น้องของเราในพื้นที่ชายแดนใต้

วันนี้ผมเห็นการติดป้าย
#PrayForBangkok #PrayForThailand (ห่วง กทม. และ ประเทศไทย) ผมว่าคงถึงเวลาที่เราต้องไม่ลืม PrayForTheSouth (ห่วงภาคใต้) ด้วย เพราะมี เด็ก ครู พระสงฆ์ ชาวพุทธและมุสลิมผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นปัญหาของกระบวนการทางการเมืองประชาธิปไตยของไทย เราไม่เหมือนกับสหราชอาณาจักร สหรัฐฯ หรือประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มันยากที่เราจะทวงถามความรับผิดชอบจากฝ่ายอำนาจทหารถึงปัญหาด้านข่าวกรอง

เทียบดูในสหราชอาณาจักรมีการตั้งกรรมการสอบกรณีสงครามอิรัค หรือในสหรัฐฯ ก็มีการสอบสวนเรื่องสถานทูตถูกโจมตีในลิเบีย แต่ไทยมีการตรวจสอบน้อยมากว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในฝ่ายทหาร ใครรับผิดชอบทำหน้าที่อะไร เขาทำงานได้ดีพอหรือยัง

ผมคิดว่าเราต้องสนใจกระบวนการทางการเมืองให้มากกว่านี้ ผู้มีอำนาจรับผิดชอบต้องสามารถถูกนำมาตั้งคำถาม เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะรู้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

BBC: มาตรการด้านความมั่นคงที่รัฐบาลจะใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนไทยหรือไม่

วีรพัฒน์: ผมหวังว่าคนไทยจะใช้ชีวิตต่อไปด้วยใจที่เข้มแข็ง เราเป็นประเทศที่เปิดกว้างและน่ารักอบอุ่นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

แต่ผมคาดว่าเราคงจะต้องมีความกลัวกันบ้าง เพราะเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว รัฐบาลทหารเพิ่งประกาศว่าแม้เราจะได้เลือกตั้งหรือไม่ในปีหน้า แต่จากนั้นก็จะมีรัฐธรรมนูญที่มีคณะกรรมการพิเศษที่จะสามารถใช้อำนาจเหนือฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติได้ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ ผมคิดว่ารัฐบาลทหารรู้ถึงความเสี่ยงที่ตนกำลังประสบอยู



ที่สุดแล้วเราต้องกลับไปที่รากเหง้าของปัญหาการเมืองไทยที่มีตึงเครียดและขัดแย้งรุนแรง และเมื่อบ้านเมืองถูกปกครองด้วยกระบอกปืน สิ่งที่ตามมาก็คือกระสุนและระเบิดในที่สุด

BBC: ขอบคุณคุณ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ มากค่ะที่มาร่วมรายการ

Verapat Pariyawong
Visiting Scholar
SOAS University of London


คลิกดูเพิ่ม-http://www.verapat.com/
คลิกดูเพิ่ม-https://www.facebook.com/verapat

คลิกอ่าน-#BangkokBlast

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar