khaosod-
ข่าวสดออนไลน์
ประเด็นร้อน :: 5 สายใส่เกียร์ เดินหน้าเต็มตัว
วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:39 น.
แม่น้ำ 5 สายโฉมใหม่ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ฤกษ์ใส่เกียร์เดินหน้าลุยโรดแม็ปเต็มตัว หลังมีการแต่งตั้งโยกย้ายสมาชิกแต่ละสายเรียบร้อย
เริ่มตั้งแต่การปรับครม.เมื่อเดือน ส.ค. ประเด็นใหญ่อยู่ตรงการโละทีมเศรษฐกิจของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หันไปพึ่งบริการดรีมทีมของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ต่อมาในเดือนต.ค. เมื่อมีการแต่งตั้งผบ.เหล่าทัพใหม่ จึงต้องปรับโครงสร้างคสช.ตามไปด้วย
หลักๆ คือดึง พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.คนใหม่ เข้ามาทำหน้าที่เลขาธิการคสช. แทน พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ที่เกษียณเหลือแค่เก้าอี้รมช.กลาโหม
ต่อมาผลจากการที่สปช.ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ทำให้แม่น้ำ 2 สาย สปช.และกมธ.ยกร่างฯ ต้องหมดสภาพตายตกตามกัน
สถานการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวน 21 คน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จำนวน 200 คน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ หนึ่งในสมาชิก คสช. ได้รับการทาบทามโดยตรงจากพล.อ.ประยุทธ์ ให้เข้ามารับตำแหน่งประธานกรธ. คุมเกมร่างรัฐธรรมนูญแทนนายบวรศักดิ์
เปลี่ยนคน แต่ธงเดิมขณะที่สปท. ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกให้ดำรงตำแหน่งประธาน โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นรองประธานคนที่ 1 น.ส.วลัยรัตน์ ศรีอรุณ เป็นรองประธานคนที่ 2 แบบไม่มีการเสนอชื่อคนอื่นเข้าแข่งขัน
ทุกอย่างเป็นไปตามโผล็อกล่วงหน้า แสดงสัญญาณราบรื่นตั้งแต่เริ่ม
ชนิดที่คนแต่งตั้งมากับมืออย่างพล.อ.ประยุทธ์ สบายใจได้ว่าไม่มีสมาชิกกรธ.-สปท.คนไหนเดินล้ำเส้นเล่นเลยธงเหมือนสปช.และกมธ.ยกร่างฯในอดีต
ในบรรดาแม่น้ำ 5 สาย นอกจากคสช. ณ เวลานี้บทบาทกรธ.ของนายมีชัยเป็นจุดสนใจจับตามองจากสังคมมากกว่าแม่น้ำสายอื่น
พล.อ.ประยุทธ์เองก็ให้ความสำคัญกับกรธ.มากเช่นเดียวกัน
เป็นเช่นนั้นก็เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่กรธ.กำลังจัดทำอยู่ ถ้าหากออกมาเป็นที่ยอมรับของประชาชน สามารถผ่านด่านการออกเสียงประชามติไปได้ กระทั่งไปสู่การจัดการเลือกตั้ง
นอกเหนือจากเป็นผลดีต่อประเทศชาติในการกลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตย ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ปลดล็อกสถานการณ์โลกล้อมไทย
ยังเป็นผลดีต่อพล.อ.ประยุทธ์และคสช.เองในฐานะผู้ปฏิบัติตามสัญญาโรดแม็ปที่ให้ ไว้กับคนไทยและให้ไว้กับประชาคมโลกในการประชุมยูเอ็นที่ผ่านมา
สารจากใจพล.อ.ประยุทธ์ส่งถึงประชาชนคนไทย ที่มีการนำมาเผยแพร่ทางทีวีรวมการเฉพาะกิจเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจ 2 เรื่องหลักๆ ด้วยกันคือ การยกร่างรัฐธรรมนูญกับเรื่องความปรองดอง
ในเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ขอให้นำปัญหาประเทศในห้วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นโจทย์ แล้วหาวิธีแก้ไขด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตยที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
ไม่เอาประชาธิปไตยเสรีไร้ขีดจำกัด
โดยพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ไม่แบ่งแยก แต่ต้องผ่านช่องทางที่กรธ.จัดไว้ให้ ดีกว่าแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน
สำหรับกรอบเป้าหมายและสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
การแก้ไขเผด็จการรัฐสภา แก้ไขการทุจริตประพฤติมิชอบ การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและตุลาการ การบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล รวมถึงการปฏิรูปประเทศให้ยั่งยืนในทุกมิติ ฯลฯ
โดยสรุปการร่างรัฐธรรมนูญต้องมีทั้งที่เป็นสากล ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย มีกระบวนการและกลไกสำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งที่จะปฏิรูปจนกระทั่งประเทศมั่นคง มีเสถียรภาพ และไม่ฝ่าฝืนกฎกติกาประชาธิปไตยสากล
ส่วนหัวข้อความปรองดอง มีการชี้ว่าการนิรโทษกรรมไม่ใช่วิธีนำไปสู่ความปรองดอง แต่เป็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยยึดมั่นในข้อกฎหมาย
ใครทำผิดต้องถูกลงโทษโดยกระบวนการยุติธรรมอย่างเด็ดขาดและเสมอภาครัฐบาลยังขอให้ประชาชนพิจารณาคำพูดข้อเสนอของนักการเมือง นักวิชาการ นักการสื่อสารบางคนหรือสื่อมวลชนบางแขนงว่าได้ให้ข้อมูลถูกต้องหรือไม่
ทั้งยืนยันไม่ให้ใครที่มุ่งร้ายต่อสถาบัน คิดทุจริต ทำร้ายประชาชนและประเทศ มากดดันการทำงานของคสช. รัฐบาลและกรธ.อย่างเด็ดขาด
กระนั้นก็ตามสารจากใจพล.อ. ประยุทธ์ ถูกวิจารณ์ในแง่ที่ว่ามีเนื้อหาก้ำๆ กึ่งๆ เกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญจะเปิดกว้างก็ไม่ใช่ จะปิดกั้นก็ไม่เชิง
เช่น ตรงที่บอกว่า พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย แต่ต้องเป็นไปตามช่องทางที่กรธ.กำหนดไว้ให้เท่านั้น ไม่ให้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ
หรือคำว่าเผด็จการรัฐสภา ก็ยังมีข้อถกเถียงกันว่าการใช้เสียงข้างมากในสภาที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน เป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดแก้ไขปัญหาประเทศชาติ เป็นเผด็จการรัฐสภาหรือไม่ อย่างไร
ตรงนี้เป็นการบ้านที่พล.อ.ประยุทธ์แจกจ่ายให้นายมีชัยและกรธ.รับไปคิดไปทำ
ในการเรียกประชุมสมาชิกแม่น้ำ 5 สาย กว่า 700 คน ในวันที่ 28 ต.ค. คาดว่าจะมีการนำสารจากใจไปขยายความทำความเข้าใจกันโดยละเอียดอีกครั้ง
สุดท้ายต้องดูว่าเมื่อผ่านกระบวน การนำไปใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะมีรูปร่างหน้าตาออกมาอย่างไร
บางคนทักท้วงว่าร่างรัฐธรรมนูญยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงไม่ควรติเรือ(แป๊ะ)ทั้งโกลน
เพราะถึงอย่างไรสถานการณ์ภาพรวมตอนนี้ ก็ยังบอกอนาคตข้างหน้าได้ไม่มากนัก เนื่องจากตัวแปรสถานการณ์ไม่ได้มีแต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว
ยังมีปัจจัยอื่นมากมาย ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง การต่างประเทศ การปฏิรูป การทุจริต สิทธิเสรีภาพ ฯลฯ แยกย่อยออกเป็นปัญหาไอยูยู การบินพลเรือน ค้ามนุษย์ สสส. ไทยพีบีเอส ซิงเกิล เกตเวย์ ราคาข้าว-ยางพารา ภัยแล้ง ฯลฯ
รวมถึงมหากาพย์คดีรับจำนำข้าวที่กลับมาเล่นแรงกันอีกรอบ ถึงขั้นมีการประเมินกันว่างานนี้ไม่ใครก็ใครต้องพังกันไปข้าง
ปัญหาที่ประเดประดังเข้ามาพร้อมกันเหล่านี้ รวมๆ กันแล้วจึงเป็นปัจจัยที่จะชี้ขาดความสำเร็จและความล้มเหลวต่อการร่างรัฐ ธรรมนูญ สร้างความปรองดองที่พยายามทำกันมา
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สถานการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวน 21 คน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จำนวน 200 คน
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ หนึ่งในสมาชิก คสช. ได้รับการทาบทามโดยตรงจากพล.อ.ประยุทธ์ ให้เข้ามารับตำแหน่งประธานกรธ. คุมเกมร่างรัฐธรรมนูญแทนนายบวรศักดิ์
ทุกอย่างเป็นไปตามโผล็อกล่วงหน้า แสดงสัญญาณราบรื่นตั้งแต่เริ่ม
ในบรรดาแม่น้ำ 5 สาย นอกจากคสช. ณ เวลานี้บทบาทกรธ.ของนายมีชัยเป็นจุดสนใจจับตามองจากสังคมมากกว่าแม่น้ำสายอื่น
พล.อ.ประยุทธ์เองก็ให้ความสำคัญกับกรธ.มากเช่นเดียวกัน
นอกเหนือจากเป็นผลดีต่อประเทศชาติในการกลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตย ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ปลดล็อกสถานการณ์โลกล้อมไทย
ยังเป็นผลดีต่อพล.อ.ประยุทธ์และคสช.เองในฐานะผู้ปฏิบัติตามสัญญาโรดแม็ปที่ให้ ไว้กับคนไทยและให้ไว้กับประชาคมโลกในการประชุมยูเอ็นที่ผ่านมา
ในเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ขอให้นำปัญหาประเทศในห้วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นโจทย์ แล้วหาวิธีแก้ไขด้วยกระบวนการทางประชาธิปไตยที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
โดยพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ไม่แบ่งแยก แต่ต้องผ่านช่องทางที่กรธ.จัดไว้ให้ ดีกว่าแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อมวลชน
สำหรับกรอบเป้าหมายและสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
โดยสรุปการร่างรัฐธรรมนูญต้องมีทั้งที่เป็นสากล ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย มีกระบวนการและกลไกสำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งที่จะปฏิรูปจนกระทั่งประเทศมั่นคง มีเสถียรภาพ และไม่ฝ่าฝืนกฎกติกาประชาธิปไตยสากล
ส่วนหัวข้อความปรองดอง มีการชี้ว่าการนิรโทษกรรมไม่ใช่วิธีนำไปสู่ความปรองดอง แต่เป็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยยึดมั่นในข้อกฎหมาย
ทั้งยืนยันไม่ให้ใครที่มุ่งร้ายต่อสถาบัน คิดทุจริต ทำร้ายประชาชนและประเทศ มากดดันการทำงานของคสช. รัฐบาลและกรธ.อย่างเด็ดขาด
เช่น ตรงที่บอกว่า พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย แต่ต้องเป็นไปตามช่องทางที่กรธ.กำหนดไว้ให้เท่านั้น ไม่ให้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อ
ตรงนี้เป็นการบ้านที่พล.อ.ประยุทธ์แจกจ่ายให้นายมีชัยและกรธ.รับไปคิดไปทำ
ในการเรียกประชุมสมาชิกแม่น้ำ 5 สาย กว่า 700 คน ในวันที่ 28 ต.ค. คาดว่าจะมีการนำสารจากใจไปขยายความทำความเข้าใจกันโดยละเอียดอีกครั้ง
บางคนทักท้วงว่าร่างรัฐธรรมนูญยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงไม่ควรติเรือ(แป๊ะ)ทั้งโกลน
เพราะถึงอย่างไรสถานการณ์ภาพรวมตอนนี้ ก็ยังบอกอนาคตข้างหน้าได้ไม่มากนัก เนื่องจากตัวแปรสถานการณ์ไม่ได้มีแต่เรื่องร่างรัฐธรรมนูญอย่างเดียว
รวมถึงมหากาพย์คดีรับจำนำข้าวที่กลับมาเล่นแรงกันอีกรอบ ถึงขั้นมีการประเมินกันว่างานนี้ไม่ใครก็ใครต้องพังกันไปข้าง
ปัญหาที่ประเดประดังเข้ามาพร้อมกันเหล่านี้ รวมๆ กันแล้วจึงเป็นปัจจัยที่จะชี้ขาดความสำเร็จและความล้มเหลวต่อการร่างรัฐ ธรรมนูญ สร้างความปรองดองที่พยายามทำกันมา
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar