ผู้นำโลกเริ่มการประชุม COP21 แล้ว
ผู้นำชาติต่าง ๆ ทั่วโลกเกือบ 150 คน เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (คอป 21) ที่กรุงปารีสในวันนี้ (30 พ.ย.) เพื่อเจรจาต่อรองประเด็นการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นต้นเหตุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
สำหรับที่ยุโรป ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการแก้ไขกฎหมายและสร้างความตระหนักให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตโดยหันมารักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังรักษาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเอาไว้ #cop21
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP21) เปิดฉากขึ้นแล้วในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส เพื่อหาข้อตกลงฉบับใหม่ในการยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประชุมครั้งนี้มีขึ้นที่ศูนย์การประชุมเลอ บูร์เกต์ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยคณะผู้แทนเจรจาจาก 195 ประเทศจะพยายามบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก และคาดว่า ภายในสุดสัปดาห...์นี้จะได้ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ เพื่อให้บรรดารัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมประเทศต่างๆได้เจรจาต่อรองกันในช่วงครึ่งหลังของการประชุม
ผู้นำชาติต่าง ๆ ทั่วโลกเกือบ 150 คน เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (คอป 21) ที่กรุงปารีสในวันนี้ (30 พ.ย.) เพื่อเจรจาต่อรองประเด็นการจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นต้นเหตุทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
สำหรับที่ยุโรป ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการแก้ไขกฎหมายและสร้างความตระหนักให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตโดยหันมารักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังรักษาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเอาไว้ #cop21
การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (COP21) เปิดฉากขึ้นแล้วในกรุงปารีส ของฝรั่งเศส เพื่อหาข้อตกลงฉบับใหม่ในการยับยั้งปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การประชุมครั้งนี้มีขึ้นที่ศูนย์การประชุมเลอ บูร์เกต์ ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยคณะผู้แทนเจรจาจาก 195 ประเทศจะพยายามบรรลุข้อตกลงให้ได้ภายใน 2 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก และคาดว่า ภายในสุดสัปดาห...์นี้จะได้ร่างข้อตกลงฉบับใหม่ เพื่อให้บรรดารัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมประเทศต่างๆได้เจรจาต่อรองกันในช่วงครึ่งหลังของการประชุม
ขณะที่บรรดาผู้นำจาก 147 ประเทศ ก็เตรียมขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมในวันนี้ (30 พ.ย.) ซึ่งรวมถึงประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ และนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ โดยคณะผู้นำโลกจะอยู่ร่วมการประชุมวันนี้เพียงวันเดียว แล้วจะประกาศแผนการต่างๆ อาทิ แผนการที่เรียกว่า Mission Innovation ของ 20 ประเทศซึ่งรวมถึง สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส และอินเดีย ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยพลังงานสะอาดขึ้นเป็นสองเท่าในเวลา 5 ปี
ขณะที่มหาเศรษฐี บิล เกตส์ และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ค ประกาศจะลงทุนในโครงการพลังงานสะอาดราคาถูกทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ฝรั่งเศสและอินเดียจะประกาศพันธมิตรระดับโลกที่มีเป้าหมายในการดึงประเทศในเขตร้อน ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรแสงอาทิตย์เข้าร่วม เพื่อขยายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้อย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกัน เยอรมนี, นอร์เวย์, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ จับมือกับธนาคารโลก ประกาศจัดตั้งกองทุนมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการตัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ส่วนสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่จากการประเมินแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ของกว่า 180 ประเทศกลับพบว่า หากประเทศเหล่านี้ดำเนินการตามแผนที่เสนอมา จะยังไม่สามารถจำกัดอุณหภูมิของโลกได้ตามเป้าหมาย แต่อุณหภูมิโลกจะกลับร้อนขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียส
ด้านกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (แอลดีซี) 48 ประเทศ แสดงความกังวลว่า จะถูก “ทิ้งไว้เบื้องหลัง” ในการรีบเร่งบรรลุข้อตกลงครั้งนี้ และชี้ว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศเหล่านี้
ภาพประกอบ: เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงจุมพิตที่มือของรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของฝรั่งเศส เพื่อเป็นการทักทาย ในพิธีเปิดการประชุม COP21
ขณะที่มหาเศรษฐี บิล เกตส์ และมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ค ประกาศจะลงทุนในโครงการพลังงานสะอาดราคาถูกทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ฝรั่งเศสและอินเดียจะประกาศพันธมิตรระดับโลกที่มีเป้าหมายในการดึงประเทศในเขตร้อน ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรแสงอาทิตย์เข้าร่วม เพื่อขยายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้อย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกัน เยอรมนี, นอร์เวย์, สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ จับมือกับธนาคารโลก ประกาศจัดตั้งกองทุนมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาในการตัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ส่วนสาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การจำกัดไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส แต่จากการประเมินแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ของกว่า 180 ประเทศกลับพบว่า หากประเทศเหล่านี้ดำเนินการตามแผนที่เสนอมา จะยังไม่สามารถจำกัดอุณหภูมิของโลกได้ตามเป้าหมาย แต่อุณหภูมิโลกจะกลับร้อนขึ้นเกือบ 3 องศาเซลเซียส
ด้านกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (แอลดีซี) 48 ประเทศ แสดงความกังวลว่า จะถูก “ทิ้งไว้เบื้องหลัง” ในการรีบเร่งบรรลุข้อตกลงครั้งนี้ และชี้ว่าอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส จะก่อให้เกิดภัยพิบัติอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศเหล่านี้
ภาพประกอบ: เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงจุมพิตที่มือของรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของฝรั่งเศส เพื่อเป็นการทักทาย ในพิธีเปิดการประชุม COP21
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar