การตรวจสอบการทุจริตในหน่วยงานราชการ
ว่าจะเขียนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นก็ยังไม่ได้เขียนสักที รวบรวมข้อมูลไว้บ้างแล้ว มีประเด็นที่น่าวิเคราะห์โดยเฉพาะการมองปัญหาเชิงระบบที่นับวันจะยิ่งจำเป็นขึ้นทุกที แต่ถ้าจะพูดเรื่องนี้ก็คงต้องพูดกันยาว ขอผัด(ไม่ใช่ผลัด)ไปก่อนนะครับ
ตอนนี้ขอพูดอะไรสั้นๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจกันอยู่เสียก่อน
ว่าจะเขียนเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นก็ยังไม่ได้เขียนสักที รวบรวมข้อมูลไว้บ้างแล้ว มีประเด็นที่น่าวิเคราะห์โดยเฉพาะการมองปัญหาเชิงระบบที่นับวันจะยิ่งจำเป็นขึ้นทุกที แต่ถ้าจะพูดเรื่องนี้ก็คงต้องพูดกันยาว ขอผัด(ไม่ใช่ผลัด)ไปก่อนนะครับ
ตอนนี้ขอพูดอะไรสั้นๆที่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจกันอยู่เสียก่อน
ความจริงในหลายปีมานี้รวมทั้งในปัจจุบัน การตรวจสอบการทุจริต ประพฤติมิชอบหรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือทำผิดกฎหมายที่เกิดขึ้นในหน่วยราชการต่างๆนั้น อยู่ในอำนาจและเป็นหน้าที่ของหลายฝ่ายหลายองค์กร เช่น ปปช. สตง. ดีเอสไอ ตำรวจ กรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ รวมทั้งองค์กรต้นสังกัดเอง
ในระยะหลังที่บ้านเมืองปกครองโดยคสช. การตรวจสอบการทุจริตผิดกฎหมายยังมีองค์กรที่คสช.ตั้งขึ้นมารับผิดชอบอีกด้วย
สำหรับองค์กรต้นสังกัดนั้น อันที่จริงมีบทบาทได้ไม่มากนัก คือ สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อจะสอบสวนและลงโทษทางวินัย กับอาจรวบรวมข้อมูล พยานหลักฐานที่ค้นพบส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆเพื่อดำเนินการต่อไป
ปรกติหากเกิดกรณีที่เป็นที่สงสัยหรือมีการกล่าวหาว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น องค์กรต้นสังกัดจึงไม่ใช่ผู้ที่จะให้ข้อยุติได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นในหน่วยงานนั้นมีการทุจริตผิดกฎหมายหรือไม่ จนกว่าองค์กรที่มีหน้าที่จะได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่องค์กรต้นสังกัดมาสรุปเสียเองและไม่เปิดทางหรือยินยอมให้องค์กรที่มีหน้าที่ได้ทำหน้าที่ของตน จึงทำให้ไม่น่าเชื่อถือว่าการตรวจสอบนั้นจะเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
ในการตรวจสอบหรือสอบสวนโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งยังมีเรื่องที่จะต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ระดับใดบ้าง การตั้งผู้ตรวจสอบหรือสอบสวนต้องทำให้สอดคล้องเหมาะสม เช่น ต้องตั้งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีระดับสูงกว่าไม่ใช่ต่ำกว่า
ที่มีการประกาศผลการตรวจสอบและยืนยันว่าไม่ผิดนั้น ตามระบบกฎหมายของประเทศไทยเราแล้ว จึงยังถือตามผลการตรวจสอบไม่ได้ หากจะต้องให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ในเรื่องนั้นตรวจสอบหรือสอบสวนจนเป็นที่ยุติเสียก่อน
………….
คลิกดูเพิ่ม-Visa merในระยะหลังที่บ้านเมืองปกครองโดยคสช. การตรวจสอบการทุจริตผิดกฎหมายยังมีองค์กรที่คสช.ตั้งขึ้นมารับผิดชอบอีกด้วย
สำหรับองค์กรต้นสังกัดนั้น อันที่จริงมีบทบาทได้ไม่มากนัก คือ สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อจะสอบสวนและลงโทษทางวินัย กับอาจรวบรวมข้อมูล พยานหลักฐานที่ค้นพบส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านต่างๆเพื่อดำเนินการต่อไป
ปรกติหากเกิดกรณีที่เป็นที่สงสัยหรือมีการกล่าวหาว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น องค์กรต้นสังกัดจึงไม่ใช่ผู้ที่จะให้ข้อยุติได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นในหน่วยงานนั้นมีการทุจริตผิดกฎหมายหรือไม่ จนกว่าองค์กรที่มีหน้าที่จะได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่องค์กรต้นสังกัดมาสรุปเสียเองและไม่เปิดทางหรือยินยอมให้องค์กรที่มีหน้าที่ได้ทำหน้าที่ของตน จึงทำให้ไม่น่าเชื่อถือว่าการตรวจสอบนั้นจะเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
ในการตรวจสอบหรือสอบสวนโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งยังมีเรื่องที่จะต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ระดับใดบ้าง การตั้งผู้ตรวจสอบหรือสอบสวนต้องทำให้สอดคล้องเหมาะสม เช่น ต้องตั้งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่มีระดับสูงกว่าไม่ใช่ต่ำกว่า
ที่มีการประกาศผลการตรวจสอบและยืนยันว่าไม่ผิดนั้น ตามระบบกฎหมายของประเทศไทยเราแล้ว จึงยังถือตามผลการตรวจสอบไม่ได้ หากจะต้องให้มีหน่วยงานที่มีหน้าที่ในเรื่องนั้นตรวจสอบหรือสอบสวนจนเป็นที่ยุติเสียก่อน
………….
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar