"วีรดา เมืองสุข" การต่อสู้บทที่หนึ่ง
ใน
สถานการณ์ที่ล่อแหลม และเสี่ยงต่อความเป็นไปของชีวิต
ย่อมเป็นปกติที่คนจำนวนหนึ่งจะหันหลัง
ก้มหน้าเดินกลับไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับตัวเอง
แม้ในความคิดความอ่านจะคงเหลือความเชื่อ อุดมการณ์อยู่ไม่น้อย…
ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม และเสี่ยงต่อความเป็นไปของชีวิต ย่อมเป็นปกติที่คนจำนวนหนึ่งจะหันหลัง
ก้มหน้าเดินกลับไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับตัวเอง แม้ในความคิดความอ่านจะคงเหลือความเชื่อ อุดมการณ์อยู่ไม่น้อย
แต่ที่สุดแล้วการปกป้องตัวเองไว้ในที่ปลอดภัยเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนกลุ่มนี้
แต่เป็นปกติเช่นกันที่จะมีบางคน เลือกที่จะยืดอกขึ้นอยู่ แม้หวั่นกังวลกับความไม่ราบรื่นของชีวิตจากทางเลือกนี้
และต้องพยายามอย่างมากที่จะหาทางให้ไม่ต้องเผชิญชะตากรรมที่หนักหนาสาหัส แต่ที่สุดแล้วบางคนเลือกที่จะเชิดหน้าขึ้นสู้
แทนที่จะก้มหน้าจำนนต่อความปวดร้าว
ขณะที่นักการเมืองส่วนใหญ่ จะเป็นคนกลุ่มที่เอาแต่รอเวลา
“วัฒนา เมืองสุข” กลับเหมือนจะเป็นบางคนเลือกที่จะยืนหยัดเปิดทางให้ตัวเอง อย่างพร้อมรับชะตากรรมที่เกิดขึ้น
เพียงแต่ว่าในหนทางที่ “วัฒนา” เลือกเดินนั้น ไม่โดดเดี่ยวเกินไปนัก
มีบางคน บางกลุ่มคนที่เปิดตัวออกมายืนหยัดเคียงข้าง อยู่ใกล้ๆ
เพียงแต่ว่าในความเคลื่อนไหวมีเรื่องราวหนึ่งที่ดึงดูดให้คนทั่วไปสนใจอย่างโดดเด่นขึ้นมา
นั่นคือบทบาทของ “วีรดา เมืองสุข” หรือ “น้องเฟ” ผู้เป็นลูกสาวของ “วัฒนา เมืองสุข”
ความยิ่งใหญ่ของคนในบันทึกของประวัติศาสตร์นั้น ล้วนเป็นเรื่องราวของผู้มีจิตใจเป็น “นักสู้” เป็น “ผู้ไม่ยอมจำนน”
ผู้ยากไร้ที่ไม่ยอมจำนนต่อความยากจน จนสร้างฐานะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี จึงเป็นผู้ได้รับการยกย่องในความสำเร็จ
ผู้ถูกกดขี่ ข่มเหงจากความเหลื่อมล้ำของชนชั้น และความแตกต่าง ที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม
สร้างความเข้าใจให้กับศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมควรมีใครมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าใคร
มักจะได้ชื่อเป็น “วีรบุรุษ” หรือ “รัฐบุรุษ” ที่โลกจะจารึกชื่อไว้
หลายครั้งหลายคราวเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน แต่หนักแน่น ต้องเผชิญชะตากรรม และแรงกดดัน
ความเข้าใจผิดหนักหน่วงก่อนที่จะได้รับการยอมรับ
และถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม
จิตวิญญาณแห่งความเป็นนักสู้คือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความชื่นชมนั้น
ในชั่วโมงนี้ ไม่ว่าจะจะยืนอยู่ฟากฝั่งไหนในเส้นแบ่งของความแตกแยก
ไม่ว่าจะพอใจ หรือหงุดหงิดรำคาญใจ แต่เชื่อว่าหากไม่โกหกตัวเองจนเกินไป
เชื่อว่าทุกคนทุกฝ่ายที่ใส่ใจการต่อสู้จะต้องยอมรับ “จิตใจนักสู้” ของ “วีรดา เมืองสุข”
หรือ “น้องเฟ” ลูกสาวของ “วัฒนา เมืองสุข” จากภารกิจสู้เพื่ออิสรภาพของพ่อ
แม้จะเป็นการต่อสู้ที่เนื้อหาสาระ และเป้าหมายหลักอยู่ที่ “ความรักที่มีต่อบุพการี” อันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์
แต่ความกล้าหาญ และมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ขัดขวางการไปสู้เป้าหมายอย่างองอาจ
สะท้อนให้เห็น “วิญญาณของนักสู้ที่เปี่ยมพลัง”
มี “สู้เพื่อพ่อ” เป็นบทแรกที่จิตวิญญาณของ “น้องเฟ” แสดงออกมาให้เห็น
นั่นหมายความว่า ไม่แปลกหากจะมีบทต่อๆ ไปที่ “จิตวิญญาณแห่งการไม่ยอมจำนน” นี้จะแสดงให้เห็นอีก
ในหนทางที่ “นักการเมืองส่วนใหญ่” เลือกที่จะก้มหน้า เก็บตัวเอง รอโอกาสที่ไม่มีแรงเสียดทานกดดันจากความเสี่ยง
เพื่อก้าวเข้ามาประกาศความเป็นนักสู้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์เรียบร้อยราบรื่น
ต่างจากบางคนที่ “ยืดอกต่อสู้เพื่อเปิดถากถางทางสู้โอกาส” ด้วยจิตวิญญาณอีกแบบ
ค่อนข้างชัดเจนว่าในวันข้างหน้า ใน “บทต่อไปของชีวิต”
“เฟ-วีรดา” จะเลือกทางเดินแบบไหน
ก้มหน้าเดินกลับไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยสำหรับตัวเอง แม้ในความคิดความอ่านจะคงเหลือความเชื่อ อุดมการณ์อยู่ไม่น้อย
แต่ที่สุดแล้วการปกป้องตัวเองไว้ในที่ปลอดภัยเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนกลุ่มนี้
แต่เป็นปกติเช่นกันที่จะมีบางคน เลือกที่จะยืดอกขึ้นอยู่ แม้หวั่นกังวลกับความไม่ราบรื่นของชีวิตจากทางเลือกนี้
และต้องพยายามอย่างมากที่จะหาทางให้ไม่ต้องเผชิญชะตากรรมที่หนักหนาสาหัส แต่ที่สุดแล้วบางคนเลือกที่จะเชิดหน้าขึ้นสู้
แทนที่จะก้มหน้าจำนนต่อความปวดร้าว
ขณะที่นักการเมืองส่วนใหญ่ จะเป็นคนกลุ่มที่เอาแต่รอเวลา
“วัฒนา เมืองสุข” กลับเหมือนจะเป็นบางคนเลือกที่จะยืนหยัดเปิดทางให้ตัวเอง อย่างพร้อมรับชะตากรรมที่เกิดขึ้น
เพียงแต่ว่าในหนทางที่ “วัฒนา” เลือกเดินนั้น ไม่โดดเดี่ยวเกินไปนัก
มีบางคน บางกลุ่มคนที่เปิดตัวออกมายืนหยัดเคียงข้าง อยู่ใกล้ๆ
เพียงแต่ว่าในความเคลื่อนไหวมีเรื่องราวหนึ่งที่ดึงดูดให้คนทั่วไปสนใจอย่างโดดเด่นขึ้นมา
นั่นคือบทบาทของ “วีรดา เมืองสุข” หรือ “น้องเฟ” ผู้เป็นลูกสาวของ “วัฒนา เมืองสุข”
ความยิ่งใหญ่ของคนในบันทึกของประวัติศาสตร์นั้น ล้วนเป็นเรื่องราวของผู้มีจิตใจเป็น “นักสู้” เป็น “ผู้ไม่ยอมจำนน”
ผู้ยากไร้ที่ไม่ยอมจำนนต่อความยากจน จนสร้างฐานะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี จึงเป็นผู้ได้รับการยกย่องในความสำเร็จ
ผู้ถูกกดขี่ ข่มเหงจากความเหลื่อมล้ำของชนชั้น และความแตกต่าง ที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม
สร้างความเข้าใจให้กับศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ที่ไม่สมควรมีใครมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าใคร
มักจะได้ชื่อเป็น “วีรบุรุษ” หรือ “รัฐบุรุษ” ที่โลกจะจารึกชื่อไว้
หลายครั้งหลายคราวเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน แต่หนักแน่น ต้องเผชิญชะตากรรม และแรงกดดัน
ความเข้าใจผิดหนักหน่วงก่อนที่จะได้รับการยอมรับ
และถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม
จิตวิญญาณแห่งความเป็นนักสู้คือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความชื่นชมนั้น
ในชั่วโมงนี้ ไม่ว่าจะจะยืนอยู่ฟากฝั่งไหนในเส้นแบ่งของความแตกแยก
ไม่ว่าจะพอใจ หรือหงุดหงิดรำคาญใจ แต่เชื่อว่าหากไม่โกหกตัวเองจนเกินไป
เชื่อว่าทุกคนทุกฝ่ายที่ใส่ใจการต่อสู้จะต้องยอมรับ “จิตใจนักสู้” ของ “วีรดา เมืองสุข”
หรือ “น้องเฟ” ลูกสาวของ “วัฒนา เมืองสุข” จากภารกิจสู้เพื่ออิสรภาพของพ่อ
แม้จะเป็นการต่อสู้ที่เนื้อหาสาระ และเป้าหมายหลักอยู่ที่ “ความรักที่มีต่อบุพการี” อันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์
แต่ความกล้าหาญ และมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่ขัดขวางการไปสู้เป้าหมายอย่างองอาจ
สะท้อนให้เห็น “วิญญาณของนักสู้ที่เปี่ยมพลัง”
มี “สู้เพื่อพ่อ” เป็นบทแรกที่จิตวิญญาณของ “น้องเฟ” แสดงออกมาให้เห็น
นั่นหมายความว่า ไม่แปลกหากจะมีบทต่อๆ ไปที่ “จิตวิญญาณแห่งการไม่ยอมจำนน” นี้จะแสดงให้เห็นอีก
ในหนทางที่ “นักการเมืองส่วนใหญ่” เลือกที่จะก้มหน้า เก็บตัวเอง รอโอกาสที่ไม่มีแรงเสียดทานกดดันจากความเสี่ยง
เพื่อก้าวเข้ามาประกาศความเป็นนักสู้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์เรียบร้อยราบรื่น
ต่างจากบางคนที่ “ยืดอกต่อสู้เพื่อเปิดถากถางทางสู้โอกาส” ด้วยจิตวิญญาณอีกแบบ
ค่อนข้างชัดเจนว่าในวันข้างหน้า ใน “บทต่อไปของชีวิต”
“เฟ-วีรดา” จะเลือกทางเดินแบบไหน
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar