บัตรประชาชนกับห้องดับจิต
เขียนความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองไปบ้างแล้ว เดี๋ยวคงทยอยขึ้นให้อ่านกันได้ ตอนนี้ขอคุยเรื่องที่สนใจสักเรื่อง ไม่ใช่เรื่องการเมืองโดยตรงแต่จะว่าไม่เกี่ยวกับการเมืองก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวว่ามีการเสนอให้ใช้มาตรการเพิกถอนบัตรประชาชนกับผู้ที่ไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต(กยศ.) จะเป็นเพราะได้พยายามหาวิธีต่างๆมาแล้วไม่สำเร็จหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ก็เลยคิดจะใช้วิธีนี้
เรื่องกยศ.ที่ผิดเพี้ยนไปจากแนวความคิดเดิมจนจำไม่ได้แล้วนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ถ้าจะคุยก็คุยกันได้ยาว แต่ขออนุญาตที่จะไม่พูดถึงในวันนี้
ที่อยากจะพูดถึง ก็คือ การจะใช้วิธีเพิกถอนบัตรประชาชนซึ่งออกจะเป็นเรื่องร้ายแรงเอาการอยู่ ใครถูกเพิกถอนบัตรประชาชนก็คงเดือดร้อนสาหัสสากรรจ์ จะติดต่ออะไรก็ไม่สะดวก ไปไหนมาไหนถูกตรวจสอบแล้วไม่มีก็อาจถูกควบคุมตัวหรือถูกดำเนินคดีเอาได้ ขึ้นเครื่องบินก็จะยุ่งยากหรือถึงขั้นตกเครื่องเอาดื้อๆ
แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นเพียงตัวอย่างความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่มีบัตรประชาชนเท่านั้น ที่สำคัญในระบบกฎหมายและวัฒนธรรมของไทยซึ่งต่างจากบางประเทศที่เขาอาจไม่ต้องมีบัตรประชาชนกัน บัตรประชาชนของคนไทยกลายเป็นเครื่องแสดงความเป็นคนไทยกับเขาคนหนึ่ง พอไม่มีบัตรประชาชนเสียแล้ว นอกจากเสียสิทธิ์ต่างๆมากมาย ยังต้องสูญเสียศักดิ์ศรีของความเป็นคนอีกด้วย
การใช้วิธีเพิกถอนบัตรประชาชนมาจัดการกับนักศึกษาหรือบัณฑิตที่ค้างหนี้จึงไม่เพียงเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุไปมาก แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจความสำคัญของสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นคนที่ผู้มีอำนาจอยากจะลิดรอนกันเมื่อไรอย่างไรก็ได้
อีกเรื่องหนึ่งที่เพิ่งเกิดในช่วงสงกรานต์และไม่พบว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์เหมือนเรื่องบัตรประชาชนคือเรื่องการส่งคนเมาแล้วขับไปเข้าห้องดับจิตและให้ช่วยแต่งศพ
การจะหาทางแก้ปัญหาเมาแล้วขับนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะเมาแล้วขับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและบาดเจ็บบนถนนมากที่สุด แต่บทลงโทษก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่จะบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดจริงจังและรณรงค์กันอย่างไร
ส่วนการให้คนที่ทำผิดกฎหมายไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมก็เป็นวิธีการที่ช่วยให้คนได้เรียนรู้และปรับตัวให้เป็นคนที่ดีของสังคมได้ ในหลายๆประเทศก็ใช้กันอยู่ แต่จะให้ไปทำอะไรให้แก่สังคมจะต้องมีหลักมีเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ใช่อยากจะให้เขาไปทำอะไรก็ได้แล้วแต่ผู้มีอำนาจหน้าที่จะคิดกันตามใจชอบ
ผมเคยต้องเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนถนนซึ่งรวมถึงเรื่องเมาแล้วขับมาก่อน แต่ที่เคยทำอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมคิดถึงเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ ก็คือ การเคยเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ต้องเรียนผ่าศพในวิชากายวิภาคศาสตร์
การเข้าไปในห้องดับจิตและการแต่งศพนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยแล้วก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับหลายๆคน อาจเป็นเรื่องน่าหวาดกลัวจนถึงขั้นกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างรุนแรงได้ การบังคับให้ผู้กระทำผิดกฎหมายต้องไปอยู่ในห้องดับจิตหรือแต่งศพจึงเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเขา เป็นการทำร้ายเขาอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อีกทั้งการทำงานในห้องดับจิตและการแต่งศพก็เป็นงานอันมีเกียรติ ไม่ควรเอามาคิดมาพูดกันในลักษณะเป็นเรื่องที่มีไว้ลงโทษคนทำผิดกฎหมายให้สาแก่ใจ
จะลงโทษคนทำผิดกฎหมายก็ลงโทษกันไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนการจะให้คนทำผิดกฎหมายไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมควรมีหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนที่ต้องกำหนดประเภทของกิจกรรมอย่างเหมาะสม มีทางเลือก เป็นไปโดยสมัครใจและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ทำกิจกรรมนั้นด้วย
ทั้งเรื่องเพิกถอนบัตรประชาชนและส่งคนเข้าห้องดับจิตนี้ ทำให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีปัญหาความไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ไม่น้อย ที่น่าเป็นห่วง คือ มีปัญหานี้อยู่ในหมู่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ให้คุณให้โทษต่อผู้คนทั่วไปเสียด้วย
มันสะท้อนว่าบ้านเมืองเรายังป่าเถื่อนอยู่ครับ
เขียนความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองไปบ้างแล้ว เดี๋ยวคงทยอยขึ้นให้อ่านกันได้ ตอนนี้ขอคุยเรื่องที่สนใจสักเรื่อง ไม่ใช่เรื่องการเมืองโดยตรงแต่จะว่าไม่เกี่ยวกับการเมืองก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวว่ามีการเสนอให้ใช้มาตรการเพิกถอนบัตรประชาชนกับผู้ที่ไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต(กยศ.) จะเป็นเพราะได้พยายามหาวิธีต่างๆมาแล้วไม่สำเร็จหรืออย่างไรไม่ทราบได้ ก็เลยคิดจะใช้วิธีนี้
เรื่องกยศ.ที่ผิดเพี้ยนไปจากแนวความคิดเดิมจนจำไม่ได้แล้วนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ถ้าจะคุยก็คุยกันได้ยาว แต่ขออนุญาตที่จะไม่พูดถึงในวันนี้
ที่อยากจะพูดถึง ก็คือ การจะใช้วิธีเพิกถอนบัตรประชาชนซึ่งออกจะเป็นเรื่องร้ายแรงเอาการอยู่ ใครถูกเพิกถอนบัตรประชาชนก็คงเดือดร้อนสาหัสสากรรจ์ จะติดต่ออะไรก็ไม่สะดวก ไปไหนมาไหนถูกตรวจสอบแล้วไม่มีก็อาจถูกควบคุมตัวหรือถูกดำเนินคดีเอาได้ ขึ้นเครื่องบินก็จะยุ่งยากหรือถึงขั้นตกเครื่องเอาดื้อๆ
แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นเพียงตัวอย่างความเดือดร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่มีบัตรประชาชนเท่านั้น ที่สำคัญในระบบกฎหมายและวัฒนธรรมของไทยซึ่งต่างจากบางประเทศที่เขาอาจไม่ต้องมีบัตรประชาชนกัน บัตรประชาชนของคนไทยกลายเป็นเครื่องแสดงความเป็นคนไทยกับเขาคนหนึ่ง พอไม่มีบัตรประชาชนเสียแล้ว นอกจากเสียสิทธิ์ต่างๆมากมาย ยังต้องสูญเสียศักดิ์ศรีของความเป็นคนอีกด้วย
การใช้วิธีเพิกถอนบัตรประชาชนมาจัดการกับนักศึกษาหรือบัณฑิตที่ค้างหนี้จึงไม่เพียงเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุไปมาก แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจความสำคัญของสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นคนที่ผู้มีอำนาจอยากจะลิดรอนกันเมื่อไรอย่างไรก็ได้
อีกเรื่องหนึ่งที่เพิ่งเกิดในช่วงสงกรานต์และไม่พบว่ามีการวิพากษ์วิจารณ์เหมือนเรื่องบัตรประชาชนคือเรื่องการส่งคนเมาแล้วขับไปเข้าห้องดับจิตและให้ช่วยแต่งศพ
การจะหาทางแก้ปัญหาเมาแล้วขับนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำเพราะเมาแล้วขับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและบาดเจ็บบนถนนมากที่สุด แต่บทลงโทษก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่จะบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดจริงจังและรณรงค์กันอย่างไร
ส่วนการให้คนที่ทำผิดกฎหมายไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมก็เป็นวิธีการที่ช่วยให้คนได้เรียนรู้และปรับตัวให้เป็นคนที่ดีของสังคมได้ ในหลายๆประเทศก็ใช้กันอยู่ แต่จะให้ไปทำอะไรให้แก่สังคมจะต้องมีหลักมีเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ใช่อยากจะให้เขาไปทำอะไรก็ได้แล้วแต่ผู้มีอำนาจหน้าที่จะคิดกันตามใจชอบ
ผมเคยต้องเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนถนนซึ่งรวมถึงเรื่องเมาแล้วขับมาก่อน แต่ที่เคยทำอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ผมคิดถึงเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ ก็คือ การเคยเป็นนักศึกษาแพทย์ที่ต้องเรียนผ่าศพในวิชากายวิภาคศาสตร์
การเข้าไปในห้องดับจิตและการแต่งศพนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยแล้วก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับหลายๆคน อาจเป็นเรื่องน่าหวาดกลัวจนถึงขั้นกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างรุนแรงได้ การบังคับให้ผู้กระทำผิดกฎหมายต้องไปอยู่ในห้องดับจิตหรือแต่งศพจึงเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเขา เป็นการทำร้ายเขาอย่างที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น อีกทั้งการทำงานในห้องดับจิตและการแต่งศพก็เป็นงานอันมีเกียรติ ไม่ควรเอามาคิดมาพูดกันในลักษณะเป็นเรื่องที่มีไว้ลงโทษคนทำผิดกฎหมายให้สาแก่ใจ
จะลงโทษคนทำผิดกฎหมายก็ลงโทษกันไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนการจะให้คนทำผิดกฎหมายไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมควรมีหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนที่ต้องกำหนดประเภทของกิจกรรมอย่างเหมาะสม มีทางเลือก เป็นไปโดยสมัครใจและคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ทำกิจกรรมนั้นด้วย
ทั้งเรื่องเพิกถอนบัตรประชาชนและส่งคนเข้าห้องดับจิตนี้ ทำให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีปัญหาความไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ไม่น้อย ที่น่าเป็นห่วง คือ มีปัญหานี้อยู่ในหมู่ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ให้คุณให้โทษต่อผู้คนทั่วไปเสียด้วย
มันสะท้อนว่าบ้านเมืองเรายังป่าเถื่อนอยู่ครับ
ที่ท่านวิษณุ เครืองามบอกว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ยังไม่รู้จะทำอย่างไรนั้น ผมคิดว่าก็มีเหตุผลอยู่
มาถึงขั้นนี้ การจะกำหนดให้ชัดลงไปว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านในการลงประชามติแล้วจะเจอกับอะไรนั้น อาจจะทำไม่ได้และไม่แน่ว่าจะเป็นผลดีเสียแล้ว
สมมติว่าคสช.มอบให้ท่านวิษณุเป็นคนเตรียมการแล้วท่านวิษณุเกิดบอกว่าจะเอาร่าง 3-4 ฉบับมายำเข้าด้วยกัน แต่จะแถมเรื่องนายกฯคนนอกเข้าไป และเมื่อคำถามพ่วงตกไป แต่เกิดจะให้สว.มีอำนาจลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯได้ แล้วจะทำกันอย่างไร
...
มาถึงขั้นนี้ การจะกำหนดให้ชัดลงไปว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านในการลงประชามติแล้วจะเจอกับอะไรนั้น อาจจะทำไม่ได้และไม่แน่ว่าจะเป็นผลดีเสียแล้ว
สมมติว่าคสช.มอบให้ท่านวิษณุเป็นคนเตรียมการแล้วท่านวิษณุเกิดบอกว่าจะเอาร่าง 3-4 ฉบับมายำเข้าด้วยกัน แต่จะแถมเรื่องนายกฯคนนอกเข้าไป และเมื่อคำถามพ่วงตกไป แต่เกิดจะให้สว.มีอำนาจลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯได้ แล้วจะทำกันอย่างไร
...
พูดง่ายๆ ก็คือ หากบอกว่าถ้าไม่ผ่านจะได้รัฐธรรมนูญที่แย่กว่าเดิมแน่ๆ คนก็ต้องจำยอมออกเสียงให้ผ่าน หรือในทางตรงข้าม หากบอกว่าถ้าไม่ผ่านจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีกว่าเดิมแน่ๆ คนก็จะออกเสียงไม่ให้ผ่าน
การจัดให้มีการลงประชามตินั้น โดยตัวมันเองหมายความว่าคสช.ยินยอมให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะยอมรับร่างที่กรธ.ซึ่งคสช.แต่งตั้งขึ้นมาร่างภายใต้คำแนะนำของแม่น้ำอีก 4 สายนี้หรือไม่ หากผ่านก็ดำเนินการขั้นตอนต่อไปซึ่งกำหนดไว้แล้ว แต่ถ้าไม่ผ่านแล้วบอกว่าคสช.ก็จะกำหนดเอาตามใจชอบ ก็เท่ากับไม่ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกอะไรเลย กลายเป็นออกหัวหรือก้อยก็เป็นตามคสช.หมด อย่างนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการลงประชามติ
ทางที่ดีที่สุด คือ การตั้งประเด็นถามประชาชนไปเสียเลย เหมือนมีคำถามพ่วงเพิ่มขึ้นว่าถ้าไม่ผ่านจะให้ทำอย่างไร แต่สิ่งนี้คงไม่มีทางเกิดขึ้นเพราะใจไม่กว้างพอ ดังนั้น สิ่งที่จะทำได้และควรทำ ก็คือ การยืนยันว่าหากไม่ผ่าน จะยอมรับการตัดสินของประชาชนและการดำเนินการต่อไปจะรับฟังความเห็นฝ่ายต่างๆให้มากขึ้น
การลงประชามติที่เสรีและเป็นธรรมจะช่วยลดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม เพราะฝ่ายต่างๆได้แลกเปลี่ยนและรับรู้ข้อมูลและความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เมื่อผลออกมาอย่างไร แม้จะมีคนที่ยังไม่เห็นด้วย แต่ก็จะไม่ติดใจและมีโอกาสยอมรับได้มาก แต่ถ้าการลงประชามติทำไปแบบมัดมือชกอยู่ข้างเดียว ผลที่ออกมาก็บอกไม่ได้ว่าเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ความไม่พอใจก็จะยังมีอยู่มาก เมื่อปัญหาต่างๆเกิดขึ้นตามมาในภายหลังก็จะกลายเป็นความขัดแย้งแตกแยกในสังคมอย่างไม่จบไม่สิ้น จากนี้ไปจึงควรจะเปิดโอกาสและส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ไม่ใช่ผู้มีอำนาจสามารถพูดชี้นำสนับสนุนได้เต็มที่ แต่ผู้เห็นต่างกลับถูกคุกคาม จำกัดเสรีภาพหรืออิสรภาพอย่างที่เป็นอยู่
สำหรับรายงานการตรวจสอบสภาวะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐตามคำสั่งของรัฐสภาสหรัฐนั้น คสช.และรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะถือว่าเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นว่าต่างประเทศที่เป็นสากลนั้นเขามองประเทศไทยเราอย่างไร ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยมีพันธกรณีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนานาชาติร่วมกับประเทศต่างๆเขาไว้ ประเทศต่างๆเขาย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจาร์ณหรือเรียกร้องให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีนั้น ความจริงรายงานฉบับนี้ครอบคลุมเหตุการณ์ต่างถึงสิ้นปี 2558 เท่านั้น หากรวมสิ่งที่เกิดในปีนี้เข้าไปด้วยก็คงจะหนักกว่านี้อีกมาก เช่น การจัดหลักสูตรอบรมผู้เห็นต่างซึ่งนิยมทำกันในประเทศคอมมิวนิสต์หรือฟาสซิสต์ การควบคุมตัวผู้มีความเห็นแตกต่างซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างกรณีของคุณวัฒนา เมืองสุข เป็นต้น
รวมทั้งการออกคำสั่งคสช.ที่ 13/2559ที่ให้ทหารมีอำนาจจับกุมคุมขังและสอบสวนดำเนินคดีคนได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นการเปิดช่องให้เกิดการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง
#ประชามติ #รัฐธรรมนูญ #เผด็จการ #จาตุรนต์ ฉายแสง
Visa merการจัดให้มีการลงประชามตินั้น โดยตัวมันเองหมายความว่าคสช.ยินยอมให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะยอมรับร่างที่กรธ.ซึ่งคสช.แต่งตั้งขึ้นมาร่างภายใต้คำแนะนำของแม่น้ำอีก 4 สายนี้หรือไม่ หากผ่านก็ดำเนินการขั้นตอนต่อไปซึ่งกำหนดไว้แล้ว แต่ถ้าไม่ผ่านแล้วบอกว่าคสช.ก็จะกำหนดเอาตามใจชอบ ก็เท่ากับไม่ให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกอะไรเลย กลายเป็นออกหัวหรือก้อยก็เป็นตามคสช.หมด อย่างนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการลงประชามติ
ทางที่ดีที่สุด คือ การตั้งประเด็นถามประชาชนไปเสียเลย เหมือนมีคำถามพ่วงเพิ่มขึ้นว่าถ้าไม่ผ่านจะให้ทำอย่างไร แต่สิ่งนี้คงไม่มีทางเกิดขึ้นเพราะใจไม่กว้างพอ ดังนั้น สิ่งที่จะทำได้และควรทำ ก็คือ การยืนยันว่าหากไม่ผ่าน จะยอมรับการตัดสินของประชาชนและการดำเนินการต่อไปจะรับฟังความเห็นฝ่ายต่างๆให้มากขึ้น
การลงประชามติที่เสรีและเป็นธรรมจะช่วยลดความขัดแย้งแตกแยกในสังคม เพราะฝ่ายต่างๆได้แลกเปลี่ยนและรับรู้ข้อมูลและความคิดเห็นอย่างเต็มที่ เมื่อผลออกมาอย่างไร แม้จะมีคนที่ยังไม่เห็นด้วย แต่ก็จะไม่ติดใจและมีโอกาสยอมรับได้มาก แต่ถ้าการลงประชามติทำไปแบบมัดมือชกอยู่ข้างเดียว ผลที่ออกมาก็บอกไม่ได้ว่าเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่ ความไม่พอใจก็จะยังมีอยู่มาก เมื่อปัญหาต่างๆเกิดขึ้นตามมาในภายหลังก็จะกลายเป็นความขัดแย้งแตกแยกในสังคมอย่างไม่จบไม่สิ้น จากนี้ไปจึงควรจะเปิดโอกาสและส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ไม่ใช่ผู้มีอำนาจสามารถพูดชี้นำสนับสนุนได้เต็มที่ แต่ผู้เห็นต่างกลับถูกคุกคาม จำกัดเสรีภาพหรืออิสรภาพอย่างที่เป็นอยู่
สำหรับรายงานการตรวจสอบสภาวะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐตามคำสั่งของรัฐสภาสหรัฐนั้น คสช.และรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะถือว่าเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นว่าต่างประเทศที่เป็นสากลนั้นเขามองประเทศไทยเราอย่างไร ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยมีพันธกรณีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนานาชาติร่วมกับประเทศต่างๆเขาไว้ ประเทศต่างๆเขาย่อมมีสิทธิที่จะวิพากษ์วิจาร์ณหรือเรียกร้องให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีนั้น ความจริงรายงานฉบับนี้ครอบคลุมเหตุการณ์ต่างถึงสิ้นปี 2558 เท่านั้น หากรวมสิ่งที่เกิดในปีนี้เข้าไปด้วยก็คงจะหนักกว่านี้อีกมาก เช่น การจัดหลักสูตรอบรมผู้เห็นต่างซึ่งนิยมทำกันในประเทศคอมมิวนิสต์หรือฟาสซิสต์ การควบคุมตัวผู้มีความเห็นแตกต่างซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างกรณีของคุณวัฒนา เมืองสุข เป็นต้น
รวมทั้งการออกคำสั่งคสช.ที่ 13/2559ที่ให้ทหารมีอำนาจจับกุมคุมขังและสอบสวนดำเนินคดีคนได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นการเปิดช่องให้เกิดการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและขัดต่อหลักนิติธรรมอย่างร้ายแรง
#ประชามติ #รัฐธรรมนูญ #เผด็จการ #จาตุรนต์ ฉายแสง
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar