torsdag 10 september 2020

บีบีซีไทย - BBC Thai
1 tim

วรงค์ : มีบางพรรคการเมืองมีแนวทางชัดเจนว่าจะอภิปรายและนำไปสู่การแก้ไขหมวด 1 เพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นรัฐเดี่ยวของไทยเพราะมีแนวคิดแบ่งแยกประเทศ และหมวด 2 สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะเห็นว่า “ม็อบที่เกิดขึ้นมีนักการเมืองหนุนหลัง จึงเกรงว่าจะมีนักการเมืองอภิปรายยั่วยุ และถือโอกาสใช้เวทีสภาปลุกระดมประชาชน”
.
ปิยบุตร : “เราต้องไม่สร้างความเข้าใจผิด ๆ ว่าหมวด 1 หมวด 2 แตะต้องไม่ได้ ทั้ง 2 หมวดนี้แก้ไขได้ ถ้าแก้แล้วเป็นคุณแก่บ้านเมือง และทำให้ประเทศธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็จำเป็นต้องแก้”

รัฐธรรมนูญ 2560 : “ไทยภักดี” ประกาศล่าชื่อประชาชนป้องขบวนการ “ล้มประชามติ” ขณะที่ ก้าวไกล-ก้าวหน้า ประสานเสียงกลางสภา หมวด 1-2 แก้ได้

  • หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม์
คำบรรยายภาพ,

นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม

กลุ่มประชาชนที่ใช้ชื่อว่ากลุ่ม "ไทยภักดี" เตรียมเดินสายทั่วประเทศเพื่อรณรงค์คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 พร้อมประกาศล่ารายชื่อประชาชนให้ได้ 5 หมื่นชื่อเพื่อเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา

ในวันที่ 20 ก.ย. นี้ กลุ่มไทยภักดีจะจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ "ถามประชาชนหรือยัง" ที่ จ.นครศรีธรรมราช โดยเชิญชวนชาว จ.สุราษฎร์ธานี และพัทลุง มาร่วมรับฟังในเวทีแรก ก่อนตระเวนไปพื้นที่อื่น ๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อแสดงพลังปกป้องสิทธิของประชาชนกว่า 16.8 ล้านคนที่ร่วมลงประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 2560 และปกป้องเม็ดเงินราว 1.5 หมื่นล้านบาทที่คาดว่าต้องเสียไปหากมีการแก้ไขกติกาสูงสุดฉบับนี้

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานกลุ่มไทยภักดี แถลงยืนยันว่าจะไม่เกิดภาพ "ม็อบชนม็อบ" เพราะการจัดกิจกรรมของทางกลุ่มจะเกิดขึ้นภายในห้องประชุมเพื่อให้ความรู้ประชาชนเท่านั้น

"หลายสื่อกังวลว่าเราจะจัดม็อบชนม็อบ ไม่มีเลยครับ ไม่อยู่ในหัวเลย หลักเราคือเอาความจริง เอา fact (ความจริง) ไปปะทะกับ fake (ความเท็จ) นพ. วรงค์กล่าว

ประธานกลุ่มไทยภักดีกล่าวว่า รัฐธรรมนูญไม่ใช่ปัญหา แต่นักการเมืองต่างหากที่เป็นปัญหา พร้อมยก 5 เหตุผลที่ต้องเคลื่อนไหวคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • รัฐธรรมนูญปี 2560 ผ่านการลงประชามติด้วยคะแนน 16.8 ล้านเสียง ต่อ 10.5 ล้านเสียง ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจทางตรงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยที่ต้องเคารพ
  • ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องใช้งบประมาณถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมานักการเมืองหลายคนเคยวิจารณ์การจัดซื้อเรือดำน้ำว่าขณะนี้ประเทศกำลังวิกฤต ประชาชนยังอดอยาก จึงไม่ให้จัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อดูแลผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศที่มีมูลค่าถึง 24 ล้านล้านบาท จึงไม่สมควรจะใช้งบ 1.5 หมื่นล้านบาทเพื่อกรณีนี้
  • คำถามพ่วงที่ปรากฏในบทเฉพาะกาล กรณีให้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นผลจากประชามติเช่นกัน โดยมีประชาชนเห็นชอบ 15.1 ล้านเสียง ต่อ 10.9 ล้านเสียง และเชื่อว่าไม่มี ส.ว. คนไหนจะฝ่าฝืนมติของประชาชน อย่างไรก็ต้องลงมติเลือกนายกฯ ที่มาจากพรรคที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาได้ อีกทั้งใน 3 ปีนี้ ส.ว. ชุดปัจจุบันก็จะหมดวาระแล้ว
  • ขณะนี้มีบางพรรคการเมืองมีแนวทางชัดเจนว่าจะอภิปรายและนำไปสู่การแก้ไขหมวด 1 เพื่อเปลี่ยนแปลงความเป็นรัฐเดี่ยวของไทยเพราะมีแนวคิดแบ่งแยกประเทศ และหมวด 2 สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งจะเห็นว่า "ม็อบที่เกิดขึ้นมีนักการเมืองหนุนหลัง จึงเกรงว่าจะมีนักการเมืองอภิปรายยั่วยุ และถือโอกาสใช้เวทีสภาปลุกระดมประชาชน"
  • จากการศึกษาแนวคิดของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่พบว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ตรงไหน มีแต่ประโยชน์ของนักการเมือง
รัฐธรรมนูญ 2560

"ถ้าแพ้แล้วไม่ยอมแพ้ ขอโหวตใหม่ สังคมไทยก็อยู่ไม่ได้"

นพ. วรงค์เห็นว่า ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการทำลายหลักพื้นฐานของประชาธิปไตย เพราะรัฐธรรมนูญเพิ่งผ่านประชามติมาไม่กี่ปี มีผลบังคับใช้ได้ไม่นาน "อีกหน่อยถ้าแพ้แล้วไม่ยอมแพ้ ขอโหวตใหม่ ๆ สังคมไทยก็อยู่ไม่ได้" และไม่มีประเทศไหนในโลกที่ทำประชามติแล้วขอทำประชามติใหม่ จึงเห็นว่าจำเป็นต้องให้รัฐธรรมนูญได้ทำงานด้วยตัวเองสักระยะ อย่างน้อยจนกระทั่งมี ส.ว. ชุดใหม่ที่มาจากการเลือกกันเองระหว่างกลุ่มอาชีพได้เข้ามาทำหน้าที่เสียก่อน หากมีปัญหาอะไรค่อยแก้ไข

ส่วนกรณีที่ ส.ว. บางส่วนส่งสัญญาณว่าพร้อม "ปิดสวิตช์" ตัวเอง ด้วยการยกเลิกอำนาจในการร่วมลงมติเลือกนายกฯ กับสภาล่าง ประธานกลุ่มไทยภักดีติงว่า ส.ว. ก็ต้องเคารพประชาชนและเห็นหัวประชาชนที่อุตส่าห์ตัดสินใจให้อำนาจ ส.ว. ด้วยการผ่านคำถามพ่วง

"หาก ส.ว. ไม่เคารพประชาชนในเรื่องเหล่านี้ ก็ลาออกไปเลย" นพ. วรงค์กล่าว

การออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวของกลุ่มไทยภักดีในวันนี้ ถือเป็นการตอกย้ำ 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่ม ได้แก่ ต้องไม่ยุบสภา, ให้ดำเนินคดีกับแกนนำจัดการชุมนุมที่สนับสนุนการล้มล้างสถาบันฯ และไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยปราศจากฉันทามติจากประชาชน โดยเป็นจุดยืนที่สวนทางกับความเคลื่อนไหวของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

ยืนยัน 19 ก.ย. ไม่มีไทยภักดีไปสนามหลวง

กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม

ส่วนกรณีที่นักศึกษากลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" นัดชุมนุมใหญ่วันที่ 19 ก.ย. ทางประธานกลุ่มไทยภักดีมองว่า "ไม่มีความชอบธรรม" ในการเคลื่อนไหว เพราะเหตุผลตามข้อเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญและยุบสภายังไม่เพียงพอ อีกทั้งในระยะหลังมีการ "ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประชาชน" ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้

กับมุมมองต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นพ. วรงค์บอกว่า "ยังไม่มีอะไรเลวร้ายจนต้องออกมาไล่" พร้อมวิเคราะห์ข่าวลือเรื่องรัฐประหารที่ออกมาว่าเป็นวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกระตุ้นมวลชนให้เกิดความรู้สึกว่าต้องออกมาช่วยกัน เพราะถ้าพิจารณาสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่มีจุดเขม็งเกลียวถึงขนาดต้องรัฐประหาร

อย่างไรก็ตามในวันที่ 19 ก.ย. จะไม่เห็นสมาชิกกลุ่มไทยภักดีปรากฏตัวที่สนามหลวงตามคำยืนยันของ นพ. วรงค์ แต่จะ "นั่งดูอยู่บ้าน" และย้ำว่ากลุ่มยังไม่มีแนวคิดจะจัดการชุมนุม และจะไม่มีการปะทะกับน้อง ๆ เพราะทุกคนคือลูกหลาน

ก้าวไกล-คณะก้าวหน้าประสานเสียงกลางสภา หมวด 1-2 แก้ไขได้

วันเดียวกัน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

แม้ในรายงานของ กมธ. ระบุว่า ในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ "ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาศึกษา" จึงข้ามไปเริ่มพิจารณาตั้งแต่หมวด 3 แต่ก็มี ส.ส. อภิปรายถึงเรื่องนี้

รายงานการศึกษาของ กมธ. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นรายงานของ กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 เป็นรายงานของคณะอนุ กมธ. และส่วนที่ 3 เป็นการสรุปความคิดเห็นของประชาชนและนักศึกษา
คำบรรยายภาพ,

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ยื่นรายงานต่อประธานสภาเมื่อ 31 ส.ค. โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นรายงานของ กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 เป็นรายงานของคณะอนุ กมธ. และส่วนที่ 3 เป็นการสรุปความคิดเห็นของประชาชนและนักศึกษา

2 ส.ส. พรรคก้าวไกลคือ น.ส.เบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม ต่างตั้งคำถามว่าเหตุใด กมธ. ถึงไม่ศึกษาเนื้อหาใน 2 หมวดนี้ ทั้งที่ในรัฐธรรมนูญไม่มีตรงไหนเขียนว่าห้ามแก้ไข และที่ผ่านมาก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายฉบับในหมวด 1 และหมวด 2 เช่น หมวด 1 เคยแก้ไขข้อความจากคำว่า "อำนาจอธิปไตยมาจากประชาชน" เป็น "อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน" และหมวด 2 เคยแก้ไขเรื่ององคมนตรี ทั้งเพื่อรับรองสถานะ และเพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจ หน้าที่ และจำนวน

น.ส.สุทธวรรณยืนยันในความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ทุกพระองค์ และ "ต้องการเห็นสถาบันฯ คงอยู่อย่างสง่างาม มั่นคง สมพระเกียรติ และเป็นของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่จะผู้ขาดความจงรักภักดี และป้ายสีให้คนเห็นต่างเป็นพวกทำลายชาติ"

เช่นเดียวกับ น.ส.เบญจาที่บอกว่า "ดิฉันและพรรคก้าวไกลต้องการธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่อยู่เหนือการเมือง และอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ดังนั้น กมธ. ที่เป็นตัวแทนของสภาควรเปิดพื้นที่ให้ศึกษา และปล่อยให้ทุกฝ่ายได้ถกเถียงกัน ไม่ใช่ล็อคไม่ให้มีการแก้ไขเลย การทำแบบนั้นเท่ากับเป็นการแช่แข็งประเทศ"

ส.ส.หญิงจากพรรคฝ่ายค้านออกตัวว่า การลุกขึ้นมาอภิปรายประเด็นนี้ ไม่ใช่ว่าเธอหรือพรรคต้นสังกัดจะเสนอให้แก้ไขหมวด 1 และ 2 แต่อย่างใด แต่เพื่อบอกว่าสามารถแก้ไขได้ และขออย่าบิดเบือนว่าเป็นการก้าวล่วง พร้อมฝากบอกบรรดา "นักร้อง" ทั้งหลายว่าให้เลิกเสียเถอะ หากอยากร้องให้ไปร้องนายทหารที่ก่อรัฐประหารแล้วตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เขียนรัฐธรรมนูญเองและประกาศใช้เอง

น.ส.เบญจา ส.ส.บัญชีรายชื่อ เคยเป็นเพื่อนร่วมพรรคของนายปิยบุตร แสงกนกกุล มาก่อน
คำบรรยายภาพ,

น.ส.เบญจา ส.ส.บัญชีรายชื่อ เคยเป็นเพื่อนร่วมพรรคของนายปิยบุตร แสงกนกกุล มาก่อน

ขณะที่ ส.ส. รัฐบาลอย่างนายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มองว่า หมวด 1 และ 2 มีความสมบูรณ์ครบถ้วนอยู่แล้ว ทำให้เราอยู่เป็นประเทศได้จนถึงทุกวันนี้ ความเห็นของ กมธ. จึงตอกย้ำว่า "สิ่งที่เป็นสถาบันหลักของประเทศที่เราเทิดทูนจะยังคงอยู่กับพวกเรา" จึงไม่เห็นด้วยกับ ส.ส. ที่ตั้งคำถามว่าทำไมถึงไม่ศึกษา 2 หมวดนี้

นายชาดา ไทยเศรษฐ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย (ภท.) เห็นว่า หมวด 1 และ 2 สามารถแก้ไขได้ แต่วันนี้ไม่ใช่เวลาที่ต้องทำ อีกทั้งมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ทันสมัย โดยเฉพาะมาตรา 16 เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว

"พระมหากษัตริย์ก็เป็นปุถุชนธรรมดา ไม่จำเป็นต้องมาตั้งตัวแทน และผมว่าเป็นความพึงพอใจของพระองค์ท่าน" นายชาดากล่าว

สำหรับมาตรา 16 ระบุว่า "ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ"

นายปิยบุตร แสงกนกกุล ยังทำหน้าที่ กมธ.ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ หลังต้องพ้นจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกสั่งยุบเมื่อต้นปี 2563
คำบรรยายภาพ,

นายปิยบุตร แสงกนกกุล ยังทำหน้าที่ กมธ.ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ หลังต้องพ้นจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกสั่งยุบเมื่อต้นปี 2563

ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล ยังทำหน้าที่ กมธ.ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ หลังต้องพ้นจากสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. เมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกสั่งยุบเมื่อต้นปี 2563 กมธ.ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ลุกขึ้นชี้แจงข้อจำกัดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ตามมาตรา 255 ห้ามเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ดังนั้นรัฐธรรมนูญทั้ง 279 มาตรา สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด แต่อย่าไปกระทบกระเทือน 2 เงื่อนไขนี้

"ผมเป็นความเห็นข้างน้อยที่เห็นว่าหลายเรื่องต้องปรับปรุงแก้ไข เราต้องไม่สร้างความเข้าใจผิด ๆ ว่าหมวด 1 หมวด 2 แตะต้องไม่ได้ ทั้ง 2 หมวดนี้แก้ไขได้ ถ้าแก้แล้วเป็นคุณแก่บ้านเมือง และทำให้ประเทศธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ก็จำเป็นต้องแก้" นายปิยบุตร ซึ่งปัจจุบันเคลื่อนไหวทางการเมืองในนาม "คณะก้าวหน้า" กล่าว

อดีตนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนยังเสนอความเห็นด้วยว่า หากจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ อาจมีการเพิ่มหลักการพื้นฐานของประเทศไทยลงไปในหมวด 1 ซึ่งหลายประเทศมีการสถาปนา "บทนิรันดรของรัฐธรรมนูญ" หรือ "อัตลักษณ์ทางรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญ ๆ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น รูปแบบของรัฐคือความเป็นรัฐเดี่ยว เป็นสหราชอาณาจักร มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐโดยสืบทอดทางสายโลหิต, หลักประชาธิปไตย, ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการสถาปนาให้รัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งอยู่เหนือกองทัพ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาจากการเกิดรัฐประหารบ่อยครั้ง หากไทยมีอัตลักษณ์ทางรัฐธรรมนูญก็จะได้ยึดเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ

ขณะที่ในหมวด 2 หากพิจารณาแล้วจำเป็นต้องแก้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากขึ้นก็ต้องแก้ไข แต่ทั้งหมดนี้ยังอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เกือบทันทีทันใด นายพีระพันธุ์ได้ลุกชี้แจงสวนความเห็นของเพื่อนร่วม กมธ. โดยกล่าวว่าการใช้คำว่า "กมธ. เสียงข้างน้อยไม่ถูก" เพราะประเด็นในหมวด 1 และ 2 ที่ประชุม กมธ. ไม่เคยลงมติ ไม่เคยพูดคุยกันแม้แต่ครั้งเดียว มีแต่คุยกันว่าต้องศึกษาหรือไม่ ต้องปรับปรุงหรือไม่ โดย กมธ. เห็นสอดคล้องกันว่า "ไม่มีประเด็นอะไรต้องปรับปรุงแก้ไข" จึงไม่มีการบันทึกชวเลขเรื่องนี้เลย และไม่มีผลศึกษา 

บีบีซีไทย - BBC Thai

Bilden kan innehålla: 1 person, text där det står ”หลายสื่อกังวลว่า เราจะจัดม็อบชนม็อบ ไม่มีเลยครับ ไม่อยู่ในหัวเลย หลักเราคือเอาความจริง ควา เอา fact (ความจริง) ไปปะทะ กับ fake (ความเท็จ) นพ. วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานกลุ่มไทยภักดี 10 ก.ย. 2563 NEWS ไทย”

กลุ่มประชาชนที่ใช้ชื่อว่ากลุ่ม “ไทยภักดี” เตรียมเดินสายทั่วประเทศเพื่อรณรงค์คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ภายใต้คำขวัญรณรงค์ “ถามประชาชนหรือยัง” พร้อมประกาศล่ารายชื่อประชาชนให้ได้ 5 หมื่นชื่อเพื่อเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา
.
แตถึงกระนั้น นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานกลุ่มไทยภักดี ยืนยันว่าจะไม่เกิดภาพ “ม็อบชนม็อบ” เพราะการจัดกิจกรรมของทางกลุ่มจะเกิดขึ้นภายในห้องประชุมเพื่อให้ความรู้ประชาชนเท่านั้น
.
“หลายสื่อกังวลว่าเราจะจัดม็อบชนม็อบ ไม่มีเลยครับ ไม่อยู่ใน...Visa mer

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar