tisdag 15 september 2020

Update : ปัญหาทหารเป็นของใคร ไม่ใช่ตอบโดยหลีกเลี่ยงความจริง อย่างที่ทุกพรรคทำกัน เมื่อไรจึงจะยอมรับกันเสียที?

มติที่ สว. ทุกเหล่าทัพพร้อมใจร่วมลงมติมากที่สุด (ปกติโดดประชุมประจำ) คือ มติโอนหน่วยทหารเป็นของวชิราลงกรณ์ facebook.com/iLawClub/photo

ปัญหาทหารเป็นของใคร ไม่ใช่ตอบโดยหลีกเลี่ยงความจริง อย่างที่ทุกพรรคทำกัน เมื่อไรจึงจะยอมรับกันเสียที?

มติเดียวที่ส.ว.ทุกเหล่าทัพเข้าไปโหวตพร้อมกันมากที่สุด นั่นคือ...

คนที่ไม่ได้มาลงมติมากที่สุดในบรรดา ส.ว.ทั้งสภา คือ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เขาขาดการลงมติถึง 144 มติจาก 145 มติ แปลว่า เขาลงมติอยู่ครั้งเดียว
.
มติเดียวที่ พล.ร.อ.ลือชัย และส.ว.อีก 4 คนที่มีโควตาจากกองทัพ และตำรวจเข้ามาลงมติพร้อมกันมากที่สุด ก็คือเรื่อง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณของกองทัพบกไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์ โดยเป็นเรื่องที่ที่ประชุมวุฒิสภาจะพิจารณาว่าอนุมัติให้ พ.ร.ก.มีผลเป็น พ.ร.บ.หรือไม่
.
มติดังกล่าวเกิดขึ้นในการประชุม สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1 เป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2562 มี ส.ว. เข้าร่วมลงมติ 226 คน มีคนเห็นชอบ 223 คน งดออกเสียง 3 คน และ ไม่เห็นชอบ 0 คน มีคนขาด 24 คน ซึ่งถือว่ามีค่อนข้างต่ำมาก จากค่าเฉลี่ยแต่ละมติที่มักมีคนขาดประชุมอยู่ราว 63 คน
.
เรื่องนี้ยังเป็นมติเดียวจาก 145 เรื่องที่ ส.ว.เหล่าทัพเข้าไปลงมติในที่ประชุมพร้อมกันมากที่สุดคือ 5 คน ได้แก่ ผบ.ทบ. ผบ.สส. ปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.ตร. และ ผบ.ทร ส่วน ผบ.ทอ.นั้นขาดประชุม ที่ผ่านมาไม่เคยมีมติไหนที่ ส.ว.เหล่าทัพจะเข้าไปลงมติพร้อมกันเกิน 2 คน
.
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การลงมติ พ.ร.ก.โอนกำลังพลฯ หลังจากที่ลงมติ พ.ร.ก.โอนกำลังพลฯ กันจบแล้ว พบว่า ในการลงมติถัดไปซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันนั้นเอง ปรากฏว่า ส.ว.ทหารตำรวจทั้ง 5 คน ไม่มีใครอยู่ร่วมลงมติเลย
.
อ่านทั้งหมดได้ที่: https://www.ilaw.or.th/node/5663

——————————
*ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดสังเคราะห์จากเอกสารบันทึกการลงมติรายบุคคลของ ส.ว. แต่เนื่องจากเอกสารนี้ไม่ได้เผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปค้นหาได้ในเว็ปไซต์ เพราะไม่ได้มีข้อบังคับ ส.ว.กำหนดไว้ไอลอว์จึงใช้สิทธิผ่าน พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 เพื่อขอข้อมูลจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา จากนั้นจึงได้คัดถ่ายบันทึกการลงมติรายบุคคลตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 9 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง (5 สิงหาคม 2562 จนถึง การประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 22 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง (24 กุมภาพันธ์ 2563) รวมการประชุม 34 ครั้ง 145 มติ
.
ส่วนบันทึกการลงมติรายบุคคลของ ส.ว. ในการประชุมครั้งที่ 1-8 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง (24 พฤษภาคม 2562 – 15 กรกฎาคม 2562) เป็นการประชุมในสถานที่ชั่วคราว หอประชุมใหญ่บริษัททีโอที จำกัด(มหาชน) โดยใช้ระบบการลงคะแนนด้วยการเขียนลงกระดาษทั้งหมด เอกสารแต่ละมติมีจำนวนมาก ไอลอว์จึงไม่ได้ทำการขอคัดถ่ายเอกสารดังกล่าว ดังนั้น การประชุม 8 ครั้งแรกซึ่งมีการลงมติทั้งหมด 7 มติจะไม่ถูกนำมานับรวมกับ 145 มติในรายงานนี้

 Bilden kan innehålla: 5 personer, text

กษัตริย์ไม่ควรมีสิทธิ์เลือกผู้นำกองทัพ ข้อมูลนี้เป็นของคุณวาสนา นาน่วม เอง การเลือกแม่ทัพอากาศคนใหม่ กำหนดโดยวชิราลงกรณ์ "ได้ทำหน้าที่สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต" คือได้รับใช้วชิราลงกรณ์ (รับส่งเครื่องบินไปเยอรมัน? เรามิอาจทราบได้) พวกที่ท่องแต่ว่ากษัตริย์ไม่ยุ่งการบริหารควรตื่นเสียที

Bild 

เมื่อวานนี้ มีประกาศแต่งตั้ง พ.อ. สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์
บางคนรู้สึกชื่อคุ้นๆ

เมษายน ปี 2557 มีการแต่งตั้ง "นาวาตรีหญิง สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์" เป็นพนักงานทั่วไป

ต่อมาในปีเดียวกัน ก็ถูกปลดออก (เมษายน-กันยายน) แล้วมีการตั้งใหม่

วันที่ 1 กันยายน 2558 ถูกปลดออกจากราชการ "เนื่องจากมีทัศนคดติไม่ดีต่อสถาบัน ไม่มีวินัย ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการ... เป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง" (แต่หนังสือเพิ่งมาปลด ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559)

ชื่อของ "สุทัตตาภักดิ์ ยุวราชบริรักษ์" หายไป กลายมาเป็น "สุทัตตาภักดิ์ บริรักษ์ภูมินทร์" และได้รับแต่งตั้งเป็น "พันเอก"

รูปที่ปรากฎนี้ รวมทั้งชื่อเล่น จะใช่เจ้าตัวหรือไม่ ยากจะบอกได้

..........................

นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่เห็น ยกมาให้ดู ตำแหน่งทั้งหลายนั้น ล้วนเป็น "ข้าราชการ" กินเงินเดือน ภาษี ของประชาชนทั้งสิ้น

Bilden kan innehålla: 3 personer, text

เปลี่ยนชื่อ “ตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904” เป็น “กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ” พร้อมกันนั้น ได้เพิ่มอำนาจในการควบคุมฝูงชนให้กับหน่วยดังกล่าว และอนุมัติงบประมาณเช่ารถใหม่คันละ 15 ล้านบาทให้หน่วยดังกล่าว 14 คัน ...................... ขอบคุณ "มิตรสหายท่านหนึ่ง"
 
Bild
BildBild
 
สมศักดิ์ เจียม@somsakjeam

การโอนกรมทหารราบที่ ๑ และ กรมทหารราบที่ ๑๑ เป็นส่วนราชการในพระองค์ เท่ากับโอนงบประมาณ และการบัญชาการของสองหน่วยงานนี้ ไปเป็นสมบัติส่วนตัว หลุดพ้นจากการดูแลของส่วนอื่นๆโดยสิ้นเชิง
 
 
ราชกิจจาฯเผยแพร่พ.ร.ก.โอนกรมทหารราบที่ 1 และ ราบ 11 ไปเป็นส่วนราชการในพระองค์
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกำหนด โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วน ของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วน

 

Inga kommentarer:

Skicka en kommentar