“พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” The Master Mind
Tue, 2009-05-05 13:43
เปรมาธิปไตย …
อำมาตยาธิปไตย…
ระบอบเปรม...
ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ...
Super power…
ยังมีคำจัดความใน “อำนาจ” ของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อีกมากมายที่อธิบายไปในทำนองเดียวกันว่า มีลักษณะ “ครอบงำ” “ชี้นำ” “รวมศูนย์ และ “บงการ” ลักษณะการเมืองไทยในตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเมืองช่วงหลัง “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่จบลงด้วยความสะบักสบอมของ “บ้านสี่เสาเทเวศร์” ซึ่งถูกตอบโต้จาก “ระบอบทักษิณ” แบบ “สวนหมัดตรง” ว่า เป็นอำมาตยาธิปไตย ที่อยู่เบื้องหลังการเมืองไทยมาตลอด 8 ปี
.อาจเป็นเพราะว่า “อำนาจ” ของ “เปรม” ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถูก “องค์ความรู้” กระแสหลักจัดเฉด ในฐานะ “ขั้วตรงข้าม” และ “อุปสรรค” ในการพัฒนาการเมืองมาหลายทศวรรษ
แต่อีกด้านหนึ่ง... สถานะ “เปรม” ในการเมืองไทย มีความพิสดาร และมีบทบาทอย่างสูงยิ่ง ในการลดแรง “กระแทก” ของกลุ่มผลประโยชน์ ท่ามกลางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
บทบาทของ “เปรม” ในฐานะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ยังมีเค้าลางของการทำหน้าที่ “Agent” เชื่อมต่อระหว่าง “อำนาจบนสุด” กับ “คนชั้นกลาง” ในประเทศ ให้เกิดความสมดุลในการทำธุรกิจ ซึ่งกลุ่มทุนที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบเศรษฐกิจในภาพใหญ่
ประเด็นของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่พูดถึง “ทุนไทย” ซึ่งสนิทสนม และพึ่งพาบารมี “บ้านสี่เสาฯ” มีเป้าหมายหลักเพื่ออธิบาย “เบื้องหลัง” การก่อม็อบของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้เห็นว่า “คนเสียประโยชน์” จาก “ระบอบทักษิณ” รวมหัวกับกลุ่มการเมืองที่ถูกกดดัน โค่นล้มอำนาจที่ชอบธรรมจากการเลือกตั้งของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้นยังพุ่งเป้าไปที่ “ป๋าเปรม” ว่าเป็น “ผู้บงการ” ในการรัฐประหารครั้งล่าสุด สร้างความสั่นสะเทือนให้กับองค์กร “องคมนตรี”
“องคมนตรี ไม่มีหน้าที่ที่จะไปเกี่ยวข้องเรื่องนี้เลย โปรดเข้าใจให้ถูก ถ้าใครยังไม่เข้าใจ โปรดเข้าใจให้ถูกว่าองคมนตรีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองเลย เราจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ” พล.อ.เปรมพยายามอธิบายถึงหลักการตามกฎหมาย
แต่ในมุมแกนนำ นปช. “ไม่เชื่อ”
พร้อมทั้งหยิบยกพฤติกรรมในการทำหน้าที่ของ “ป๋าเปรม” ช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า
แทรกแซง ...
ขี้อิจฉา ...
และ... อื่นๆ อีกมากมาย
เพราะ “ทักษิณ” ได้รับคะแนนนิยมสูงสุด และมีอำนาจบริหารเข้มแข็ง รวมถึง นโยบายประชานิยม ได้สร้างความพอใจให้คนส่วนใหญ่
ในช่วงแรก “ทักษิณ” เข้าบ้าน “ป๋า” เยี่ยมคารวะตามประเพณีการเมือง ในฐานะผู้ด้อยอาวุโสกว่า
“ป๋าเปรม” ชื่นชม “ทักษิณ” ว่าเป็นนายกฯ ที่มีฝีมือ...
หากแต่ว่าพฤติกรรม “ทักษิณ” ต่อจากนั้น สะท้อนให้เห็นความผิดเพี้ยนของอำนาจ ที่เข้าไปครอบงำทุกองค์กร ด้วยเครือข่ายพวกพ้อง พร้อมทั้งสถาปนา “รัฐตำรวจ” ให้เป็นกลไกทรงอิทธิพล
เหลือเพียง “กองทัพ” กลไกของรัฐ ที่ทำหน้าที่ปกป้องรักษา ชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ “ทักษิณ” รู้ดีว่าต้อง “แตะ” อย่างระมัดระวัง
ตลอดระยะเวลาแห่งการวางฐานอำนาจในกองทัพ กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและนุ่มนวล แต่นักสังเกตการณ์ทราบดีว่าการวางไลน์อำนาจกองทัพผ่านเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 นั้น น่ากลัว และรอเพียงจังหวะ “เข้าฮอร์ส”
และถ้าทักษิณ “คุมกองทัพ” ได้หมด
Absolute power !!!
แต่ดูเหมือนจะไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อ “โผทหาร” ต้องผ่าน “องคมนตรี” ซึ่งหลายครั้งที่มีการลัดขั้นตอน และชิงจังหวะ “ยิงตรง” ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง
มีการมอง “กลยุทธ์” ตรงนี้ว่า “ทักษิณ” จะผ่านประตูบานนี้ไปได้ ก็ต้องคุม “ป๋าเปรม” ให้ได้…
แต่ทว่าคนอย่าง “ป๋า” ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ครบวาระ" ถึง 3 สมัย นับตั้งแต่สมัยแรก 2523-2526 สมัยที่สอง 2526-2529 และสมัยที่ต้องออกปาก "ผมพอแล้ว" เมื่อปี 2529-2531
จะยอมให้พันตำรวจโท “คุม” หรือ ? …
สถานะก่อนการรัฐประหารของ “ป๋าเปรม” จึงจัดอยู่ในฟากของ Non- absolute power เพราะเห็นว่า “ความเบ็ดเสร็จในอำนาจ” น่ากลัว และมีผลเสียต่อกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมมากกว่า
มาตรการแรก คือ การเตือน โดยการหยิบ “เครื่องแบบทหาร” ขึ้นมาใส่ พร้อมไปปาฐกถาที่ ร.ร.นายร้อย จปร. ร.ร.นายเรือ ร.ร. นายเรืออากาศ มีเนื้อหากระทบชิ่งรัฐบาล ด้วย “พล็อตเรื่อง” ม้า กับ จ๊อกกี้
“รัฐบาลก็เหมือนกับจ๊อกกี้ คือเข้ามาดูแลทหาร แต่ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลเข้ามาดูแลกำหนดใช้พวกเราตามที่ประกาศนโยบายไว้ต่อรัฐสภา เด็กขี่ม้าบางคนก็ขี่ดีขี่เก่ง บางคนก็ไม่ดี ขี่ไม่เก่ง รัฐบาลก็เหมือนกัน รัฐบาลบางรัฐบาลก็ทำงานดี ทำงานเก่ง บางรัฐบาลก็ทำงานไม่ดี หรือไม่เก่งก็มี นี่เป็นเรื่องจริง” พล.อ.เปรม กล่าว
เป็นภาคปฏิบัติของ Non-absolute power…ที่เปิดเผยตัวให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า “ไม่ยอมรับ” อำนาจเบ็ดเสร็จของ “ระบอบทักษิณ” ที่คิดจะคุม “กองทัพ” และคุมตัวเอง เพื่อสถาปนาอำนาจของ “รัฐบาลทักษิณ” ไปอีกหนึ่งสมัย
การรัฐประหารเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยมี “ป๋าเปรม” อยู่ร่วมในภาพของคณะยึดอำนาจที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ในการเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ยิ่งทำ “ป๋าเปรม” ถูกโจมตีจากกลุ่มที่ต้าน “อำมาตย์” ที่ผนวกกับ “เสื้อแดง” ผู้นิยมทักษิณ อย่างดุเดือดกว่าทุกยุคทุกสมัย
“ลูกป๋า” อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถูก “แฉ” ว่าร่วมเป็นผู้บงการ “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549” และต้องเอาตัวรอดจาก “สันดอน” ของพายุการเมืองที่ถล่มเข้ามาให้ได้ การตบเท้าให้กำลังใจต่อสู้กับกระแสโจมตีจึงไม่มีปรากฏให้เห็น ในขณะที่ขั้วอำนาจใหม่ในกองทัพก็ไม่ยอม “เปลืองตัว” ออกมาปกป้อง
“ป๋าเปรม” อยู่ในสภาวะที่โดดเดี่ยวกว่าการต่อสู้ทุกครั้ง…
เพราะครั้งนี้เป็น “ศึกใหญ่” ที่สถานะของเขาอยู่ใน “ฟากตรงข้าม” กับ “Absolute power” อันเป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้ “ต้นทุน” ที่มีอยู่ “แลก” มาซึ่งการดำรงอยู่ของ “รัฐจารีต” แบบไทยๆ
เพื่อหยุดกระบวนการ “ประชาธิปไตยจำแลง” ที่คิดสวมยอด “อำนาจ” บนสุดของประเทศไทยไว้ได้ก่อน...
ระบอบเปรม...
ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ...
Super power…
ยังมีคำจัดความใน “อำนาจ” ของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อีกมากมายที่อธิบายไปในทำนองเดียวกันว่า มีลักษณะ “ครอบงำ” “ชี้นำ” “รวมศูนย์ และ “บงการ” ลักษณะการเมืองไทยในตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเมืองช่วงหลัง “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่จบลงด้วยความสะบักสบอมของ “บ้านสี่เสาเทเวศร์” ซึ่งถูกตอบโต้จาก “ระบอบทักษิณ” แบบ “สวนหมัดตรง” ว่า เป็นอำมาตยาธิปไตย ที่อยู่เบื้องหลังการเมืองไทยมาตลอด 8 ปี
.อาจเป็นเพราะว่า “อำนาจ” ของ “เปรม” ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถูก “องค์ความรู้” กระแสหลักจัดเฉด ในฐานะ “ขั้วตรงข้าม” และ “อุปสรรค” ในการพัฒนาการเมืองมาหลายทศวรรษ
แต่อีกด้านหนึ่ง... สถานะ “เปรม” ในการเมืองไทย มีความพิสดาร และมีบทบาทอย่างสูงยิ่ง ในการลดแรง “กระแทก” ของกลุ่มผลประโยชน์ ท่ามกลางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
บทบาทของ “เปรม” ในฐานะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ยังมีเค้าลางของการทำหน้าที่ “Agent” เชื่อมต่อระหว่าง “อำนาจบนสุด” กับ “คนชั้นกลาง” ในประเทศ ให้เกิดความสมดุลในการทำธุรกิจ ซึ่งกลุ่มทุนที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียกับระบบเศรษฐกิจในภาพใหญ่
ประเด็นของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่พูดถึง “ทุนไทย” ซึ่งสนิทสนม และพึ่งพาบารมี “บ้านสี่เสาฯ” มีเป้าหมายหลักเพื่ออธิบาย “เบื้องหลัง” การก่อม็อบของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้เห็นว่า “คนเสียประโยชน์” จาก “ระบอบทักษิณ” รวมหัวกับกลุ่มการเมืองที่ถูกกดดัน โค่นล้มอำนาจที่ชอบธรรมจากการเลือกตั้งของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้นยังพุ่งเป้าไปที่ “ป๋าเปรม” ว่าเป็น “ผู้บงการ” ในการรัฐประหารครั้งล่าสุด สร้างความสั่นสะเทือนให้กับองค์กร “องคมนตรี”
“องคมนตรี ไม่มีหน้าที่ที่จะไปเกี่ยวข้องเรื่องนี้เลย โปรดเข้าใจให้ถูก ถ้าใครยังไม่เข้าใจ โปรดเข้าใจให้ถูกว่าองคมนตรีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองเลย เราจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ” พล.อ.เปรมพยายามอธิบายถึงหลักการตามกฎหมาย
แต่ในมุมแกนนำ นปช. “ไม่เชื่อ”
พร้อมทั้งหยิบยกพฤติกรรมในการทำหน้าที่ของ “ป๋าเปรม” ช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า
แทรกแซง ...
ขี้อิจฉา ...
และ... อื่นๆ อีกมากมาย
เพราะ “ทักษิณ” ได้รับคะแนนนิยมสูงสุด และมีอำนาจบริหารเข้มแข็ง รวมถึง นโยบายประชานิยม ได้สร้างความพอใจให้คนส่วนใหญ่
ในช่วงแรก “ทักษิณ” เข้าบ้าน “ป๋า” เยี่ยมคารวะตามประเพณีการเมือง ในฐานะผู้ด้อยอาวุโสกว่า
“ป๋าเปรม” ชื่นชม “ทักษิณ” ว่าเป็นนายกฯ ที่มีฝีมือ...
หากแต่ว่าพฤติกรรม “ทักษิณ” ต่อจากนั้น สะท้อนให้เห็นความผิดเพี้ยนของอำนาจ ที่เข้าไปครอบงำทุกองค์กร ด้วยเครือข่ายพวกพ้อง พร้อมทั้งสถาปนา “รัฐตำรวจ” ให้เป็นกลไกทรงอิทธิพล
เหลือเพียง “กองทัพ” กลไกของรัฐ ที่ทำหน้าที่ปกป้องรักษา ชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ “ทักษิณ” รู้ดีว่าต้อง “แตะ” อย่างระมัดระวัง
ตลอดระยะเวลาแห่งการวางฐานอำนาจในกองทัพ กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและนุ่มนวล แต่นักสังเกตการณ์ทราบดีว่าการวางไลน์อำนาจกองทัพผ่านเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 นั้น น่ากลัว และรอเพียงจังหวะ “เข้าฮอร์ส”
และถ้าทักษิณ “คุมกองทัพ” ได้หมด
Absolute power !!!
แต่ดูเหมือนจะไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อ “โผทหาร” ต้องผ่าน “องคมนตรี” ซึ่งหลายครั้งที่มีการลัดขั้นตอน และชิงจังหวะ “ยิงตรง” ขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง
มีการมอง “กลยุทธ์” ตรงนี้ว่า “ทักษิณ” จะผ่านประตูบานนี้ไปได้ ก็ต้องคุม “ป๋าเปรม” ให้ได้…
แต่ทว่าคนอย่าง “ป๋า” ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี "ครบวาระ" ถึง 3 สมัย นับตั้งแต่สมัยแรก 2523-2526 สมัยที่สอง 2526-2529 และสมัยที่ต้องออกปาก "ผมพอแล้ว" เมื่อปี 2529-2531
จะยอมให้พันตำรวจโท “คุม” หรือ ? …
สถานะก่อนการรัฐประหารของ “ป๋าเปรม” จึงจัดอยู่ในฟากของ Non- absolute power เพราะเห็นว่า “ความเบ็ดเสร็จในอำนาจ” น่ากลัว และมีผลเสียต่อกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมมากกว่า
มาตรการแรก คือ การเตือน โดยการหยิบ “เครื่องแบบทหาร” ขึ้นมาใส่ พร้อมไปปาฐกถาที่ ร.ร.นายร้อย จปร. ร.ร.นายเรือ ร.ร. นายเรืออากาศ มีเนื้อหากระทบชิ่งรัฐบาล ด้วย “พล็อตเรื่อง” ม้า กับ จ๊อกกี้
“รัฐบาลก็เหมือนกับจ๊อกกี้ คือเข้ามาดูแลทหาร แต่ไม่ใช่เจ้าของทหาร เจ้าของทหารคือชาติ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลเข้ามาดูแลกำหนดใช้พวกเราตามที่ประกาศนโยบายไว้ต่อรัฐสภา เด็กขี่ม้าบางคนก็ขี่ดีขี่เก่ง บางคนก็ไม่ดี ขี่ไม่เก่ง รัฐบาลก็เหมือนกัน รัฐบาลบางรัฐบาลก็ทำงานดี ทำงานเก่ง บางรัฐบาลก็ทำงานไม่ดี หรือไม่เก่งก็มี นี่เป็นเรื่องจริง” พล.อ.เปรม กล่าว
เป็นภาคปฏิบัติของ Non-absolute power…ที่เปิดเผยตัวให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า “ไม่ยอมรับ” อำนาจเบ็ดเสร็จของ “ระบอบทักษิณ” ที่คิดจะคุม “กองทัพ” และคุมตัวเอง เพื่อสถาปนาอำนาจของ “รัฐบาลทักษิณ” ไปอีกหนึ่งสมัย
การรัฐประหารเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยมี “ป๋าเปรม” อยู่ร่วมในภาพของคณะยึดอำนาจที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ในการเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ยิ่งทำ “ป๋าเปรม” ถูกโจมตีจากกลุ่มที่ต้าน “อำมาตย์” ที่ผนวกกับ “เสื้อแดง” ผู้นิยมทักษิณ อย่างดุเดือดกว่าทุกยุคทุกสมัย
“ลูกป๋า” อย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ถูก “แฉ” ว่าร่วมเป็นผู้บงการ “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549” และต้องเอาตัวรอดจาก “สันดอน” ของพายุการเมืองที่ถล่มเข้ามาให้ได้ การตบเท้าให้กำลังใจต่อสู้กับกระแสโจมตีจึงไม่มีปรากฏให้เห็น ในขณะที่ขั้วอำนาจใหม่ในกองทัพก็ไม่ยอม “เปลืองตัว” ออกมาปกป้อง
“ป๋าเปรม” อยู่ในสภาวะที่โดดเดี่ยวกว่าการต่อสู้ทุกครั้ง…
เพราะครั้งนี้เป็น “ศึกใหญ่” ที่สถานะของเขาอยู่ใน “ฟากตรงข้าม” กับ “Absolute power” อันเป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้ “ต้นทุน” ที่มีอยู่ “แลก” มาซึ่งการดำรงอยู่ของ “รัฐจารีต” แบบไทยๆ
เพื่อหยุดกระบวนการ “ประชาธิปไตยจำแลง” ที่คิดสวมยอด “อำนาจ” บนสุดของประเทศไทยไว้ได้ก่อน...
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar