นิธิ เอียวศรีวงษ์ : นายทุนกับนายพล (2)
ผมอยากจะกล่าวย้ำว่า หลังจากที่ทักษิณครองอำนาจอยู่ไม่กี่ปี ชนชั้นนำไทยก็รู้สึกเป็นอริกับทักษิณ ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นนำทางการเมือง, ทางสังคม และทางวัฒนธรรม จะมียกเว้นก็แต่ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งคือนายทุนขนาดใหญ่ต่างๆ แม้ไม่ถึงกับนิยมยกย่องทักษิณ แต่ก็ไม่มีเหตุจะทำให้รู้สึกเป็นอริกับทักษิณอย่างรุนแรงนัก
ในบรรดาชนชั้นนำทางการเมืองทั้งหมด นายพลรู้สึกถูกกระทบกระเทือนที่สุด
หลังพฤษภามหาโหด 2535 กองทัพต้องกลับเข้ากรมกอง เหลืออยู่แต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น บริหารรัฐวิสาหกิจ, สื่อวิทยุและโทรทัศน์ และธุรกิจขายความคุ้มครองต่างๆ แก่ธุรกิจสีเทาแข่งกับตำรวจ ทักษิณเองนั่นแหละที่เป็นผู้ฟื้นฟูบทบาทของกองทัพนอกกรมกองขึ้นมาใหม่ ยืนยันบทบาทของทหารในการปราบยาเสพติด, รักษาป่าไม้ และรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน แต่ทักษิณฟื้นฟูกองทัพไม่ใช่เพื่อกองทัพเอง แต่ฟื้นฟูเพื่อให้กองทัพกลายเป็นกองกำลังปกป้องอำนาจทางการเมืองของทักษิณ ฉะนั้น จึงผลักดันญาติ, เพื่อนร่วมรุ่น และกลุ่มนายทหารที่ภักดีต่อตนเข้าดำรงตำแหน่งบังคับบัญชาในหน่วยต่างๆ เกิดการข้ามหัวข้ามห้วยกันอุตลุดในกองทัพ ยิ่งกว่านี้ยังเสริมแนวโน้มที่เป็นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ คือนักการเมืองพลเรือนจะเป็นผู้วางนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้านเอง ไม่ปล่อยให้อยู่ในการตัดสินใจของกองทัพตามลำพังอย่างแต่ก่อน
ทักษิณทำอย่างเดียวกันกับตำรวจ ฉะนั้น เขาจึงสร้างความเป็นศัตรูให้แก่กองกำลังติดอาวุธของรัฐไปอย่างพร้อมหน้า
ทักษิณเปลี่ยนฐานอำนาจของการเมืองไทยในระบอบเลือกตั้งจากอิทธิพลท้องถิ่นหรือเจ้าพ่อ รวมตัวกันเป็นพรรค และพรรครวมตัวกันเป็นรัฐบาลผสม มาเป็นรัฐบาลกลางที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น ตลอดสมัยแรกของรัฐบาล ทรท. ทักษิณบ่อนทำลายอิทธิพลของเจ้าพ่อท้องถิ่นลงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ประกาศว่าจะปราบปรามอิทธิพล (ทำจริงในบางจังหวัดที่เป็นเจ้าพ่อของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน) ไปจนถึงวางนโยบายให้รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้อุปถัมภ์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่ต้องผ่าน ส.ส.เขตเลย ด้วยเหตุดังนั้น หัวหน้ารัฐบาลกลางจึงมีสถานะที่แตกต่างจากหัวหน้ารัฐบาลกลางที่ผ่านมา เขาคือคนที่ประชาชนจำนวนมากในท้องถิ่นให้ความภักดีอย่างพร้อมเพรียงกัน
ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีอย่างนี้ในเมืองไทย นับตั้งแต่การมรณกรรมของสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา สถานะใหม่ของนายกฯเช่นนี้จึงกระทบต่ออำนาจนำระดับชาติทั้งหมด ขอยกตัวอย่างปัญญาชนคนดีบางท่าน เช่น ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี ซึ่งนอกจากมีหูของปัญญาชนด้วยกันไว้รับฟังคำเสนอแนะต่างๆ ของท่านแล้ว ท่านยังมีหูของชาวบ้านอีกมากในเมืองไทยที่รับฟังท่านอยู่เหมือนกัน แต่อำนาจนำที่ใหญ่กว่าท่านเสียอีกคือ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนอกจากช่วงชิงอำนาจนำไปแล้ว ยังมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในมือด้วย
(ผมไม่ได้หมายความว่า ด้วยเหตุดังนั้น ท่านอาจารย์ประเวศจึงไม่ชอบทักษิณ ท่านจะชอบไม่ชอบหรือด้วยเหตุใด ผมไม่ทราบ เพียงแต่ยกให้ดูเป็นตัวอย่างของอำนาจนำทางสังคมและปัญญา ซึ่งสถานะใหม่ของนายกฯที่ทักษิณสร้างขึ้นมากระทบเท่านั้น)
ในบรรดาชนชั้นนำทางการเมืองทั้งหมด นายพลรู้สึกถูกกระทบกระเทือนที่สุด
หลังพฤษภามหาโหด 2535 กองทัพต้องกลับเข้ากรมกอง เหลืออยู่แต่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น บริหารรัฐวิสาหกิจ, สื่อวิทยุและโทรทัศน์ และธุรกิจขายความคุ้มครองต่างๆ แก่ธุรกิจสีเทาแข่งกับตำรวจ ทักษิณเองนั่นแหละที่เป็นผู้ฟื้นฟูบทบาทของกองทัพนอกกรมกองขึ้นมาใหม่ ยืนยันบทบาทของทหารในการปราบยาเสพติด, รักษาป่าไม้ และรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน แต่ทักษิณฟื้นฟูกองทัพไม่ใช่เพื่อกองทัพเอง แต่ฟื้นฟูเพื่อให้กองทัพกลายเป็นกองกำลังปกป้องอำนาจทางการเมืองของทักษิณ ฉะนั้น จึงผลักดันญาติ, เพื่อนร่วมรุ่น และกลุ่มนายทหารที่ภักดีต่อตนเข้าดำรงตำแหน่งบังคับบัญชาในหน่วยต่างๆ เกิดการข้ามหัวข้ามห้วยกันอุตลุดในกองทัพ ยิ่งกว่านี้ยังเสริมแนวโน้มที่เป็นมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ คือนักการเมืองพลเรือนจะเป็นผู้วางนโยบายกับประเทศเพื่อนบ้านเอง ไม่ปล่อยให้อยู่ในการตัดสินใจของกองทัพตามลำพังอย่างแต่ก่อน
ทักษิณทำอย่างเดียวกันกับตำรวจ ฉะนั้น เขาจึงสร้างความเป็นศัตรูให้แก่กองกำลังติดอาวุธของรัฐไปอย่างพร้อมหน้า
ทักษิณเปลี่ยนฐานอำนาจของการเมืองไทยในระบอบเลือกตั้งจากอิทธิพลท้องถิ่นหรือเจ้าพ่อ รวมตัวกันเป็นพรรค และพรรครวมตัวกันเป็นรัฐบาลผสม มาเป็นรัฐบาลกลางที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น ตลอดสมัยแรกของรัฐบาล ทรท. ทักษิณบ่อนทำลายอิทธิพลของเจ้าพ่อท้องถิ่นลงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ประกาศว่าจะปราบปรามอิทธิพล (ทำจริงในบางจังหวัดที่เป็นเจ้าพ่อของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน) ไปจนถึงวางนโยบายให้รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้อุปถัมภ์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่ต้องผ่าน ส.ส.เขตเลย ด้วยเหตุดังนั้น หัวหน้ารัฐบาลกลางจึงมีสถานะที่แตกต่างจากหัวหน้ารัฐบาลกลางที่ผ่านมา เขาคือคนที่ประชาชนจำนวนมากในท้องถิ่นให้ความภักดีอย่างพร้อมเพรียงกัน
ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีอย่างนี้ในเมืองไทย นับตั้งแต่การมรณกรรมของสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นต้นมา สถานะใหม่ของนายกฯเช่นนี้จึงกระทบต่ออำนาจนำระดับชาติทั้งหมด ขอยกตัวอย่างปัญญาชนคนดีบางท่าน เช่น ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี ซึ่งนอกจากมีหูของปัญญาชนด้วยกันไว้รับฟังคำเสนอแนะต่างๆ ของท่านแล้ว ท่านยังมีหูของชาวบ้านอีกมากในเมืองไทยที่รับฟังท่านอยู่เหมือนกัน แต่อำนาจนำที่ใหญ่กว่าท่านเสียอีกคือ ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนอกจากช่วงชิงอำนาจนำไปแล้ว ยังมีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจอยู่ในมือด้วย
(ผมไม่ได้หมายความว่า ด้วยเหตุดังนั้น ท่านอาจารย์ประเวศจึงไม่ชอบทักษิณ ท่านจะชอบไม่ชอบหรือด้วยเหตุใด ผมไม่ทราบ เพียงแต่ยกให้ดูเป็นตัวอย่างของอำนาจนำทางสังคมและปัญญา ซึ่งสถานะใหม่ของนายกฯที่ทักษิณสร้างขึ้นมากระทบเท่านั้น)
Inga kommentarer:
Skicka en kommentar